Science

นอกจากคนจะกินฉี่แล้ว คนยังกิน อึ เป็นยาได้จริง ๆ เหรอ

By Arnon Puitrakul - 16 มิถุนายน 2023

นอกจากคนจะกินฉี่แล้ว คนยังกิน อึ เป็นยาได้จริง ๆ เหรอ

เมื่อหลายวันก่อน มีเพื่อนมาถามว่า ที่จีนเขามีการรับซื้อ อึ คน ไปทำอะไรบางอย่างด้วย ทำให้เราคิดได้ว่า เออ เรื่องที่เรารู้ครั้งแรกก็ช๊อคนิด ๆ ว่า การแพทย์แผนปัจจุบันมีการรักษาด้วยการให้กิน อึ ของคนอื่นเข้าไปด้วยนะ วันนี้เรามาเล่ากันดีกว่าว่า หลักการมันคืออะไร และ ทำไมเราต้องแก้ปัญหาในลักษณะนี้

ปล. พวกลิงค์ไปหา Paper พวกนี้ไปตามอ่านได้เด้อ เราก็หาอ่านจากพวกนี้ประกอบกับที่เคยเรียนมาผ่าน ๆ แหละ คืออ่านจน ขี้เต็มหัว

ประเทศลำไส้ใหญ่

ภาพของลำไส้ใหญ่ที่เราเรียนกันมา มันก็คืออวัยวะที่ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารหลังจากย่อยเสร็จแล้ว เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อให้ร่างกายเอาไปใช้ต่อใช่ป่ะ ภาพมันก็จะเป็นท่อยาว ๆ อยู่ในตัวเรา

What is the Healthy Gut Microbiota Composition? A Changing Ecosystem across Age, Environment, Diet, and Diseases - PubMed
Each individual is provided with a unique gut microbiota profile that plays many specific functions in host nutrient metabolism, maintenance of structural integrity of the gut mucosal barrier, immunomodulation, and protection against pathogens. Gut microbiota are composed of different bacteria speci…

แต่ภาพของนักจุลชีววิทยา ไม่ได้มองแค่นั้น ในนั้นมันเหมือนประเทศเลยก็ว่าได้ มีประชากรจุลชีพอยู่เพียบ มีประชากรหลายสายพันธุ์อาจจะถึง 400 ชนิดได้เลย เยอะมาก ๆ ทำหน้าที่หลากหลายอย่าง มีสังคม มีกิจกรรมอะไรเยอะแยะมากมาย โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว พวกจุลชีพในลำไส้เราพวกนี้ มันก็อยู่อย่างมีความสุข มีสมดุล ร่างกายเราก็ได้สารอาหารที่เรากินเข้าไป และ จุลชีพพวกนี้มันก็ได้อาศัยอยู่ในลำไส้ของเราด้วย เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน

Enterotypes of the human gut microbiome - PubMed
Our knowledge of species and functional composition of the human gut microbiome is rapidly increasing, but it is still based on very few cohorts and little is known about variation across the world. By combining 22 newly sequenced faecal metagenomes of individuals from four countries with previously…

เรายกตัวอย่างเช่น Firmicutes และ Bacteroidetes พวกนี้ เราเจอได้เป็นส่วนใหญ่ในลำไส้คนเลยทีเดียว คิดเป็นประมาณ 90% ของประชากรจุลชีพที่อยู่ในลำไส้เราเลย

How Gut Bacteria Help Make Us Fat and Thin
Intestinal bacteria may help determine whether we are lean or obese

ที่เรายกตัวอย่าง เพราะบทความด้านบนเลย ปล่อยออกมาเมื่อปี 2014 หลัก ๆ แล้วเนี่ย เขาพูดว่าแบคทีเรียในลำไส้ของเรานี่แหละ ทำให้เรา อ้วน หรือ ผอมได้เลยนะ เขาบอกว่า​ โดยทั่ว ๆ ไปคนธรรมดา สัดส่วนของ Firmicutes และ Bacteroidetes จะพอ ๆ กัน แต่กลับกัน ในคนที่อ้วนหน่อย พบว่า มี Firmicutes ที่มากว่า และ คนผอมจะพบ Bacteroidetes ในอัตราส่วนมากกว่า เออ เรามานั่ง Research ก็พึ่งรู้เหมือนกัน เขาอธิบายกลไกไว้ด้วยนะ แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญของบทความนี้ ถ้าอยากรู้ก็ลองไปอ่านดูได้

และการทีมีแบคทีเรีย จุลชีพต่าง ๆ อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของเรา พวกนี้แหละ มันก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ อึ ของเรามีกลิ่นด้วยนะ กลิ่น จริง ๆ มันก็คือพวกแก๊สต่าง ๆ ที่เป็น Byproduct ของพวกจุลชีพนี่แหละ

เพื่อให้เห็นภาพ เรายกตัวอย่างเช่น การหมักเบียร์ หลักการง่าย ๆ คือ เราจะใส่พวกข้าวมอล์ท หรือธัญพืชต่าง ๆ เข้าไป แล้วเราก็ไปผ่านกระบวนการต่าง ๆ จากนั้น เราก็จะใส่ ยีส เข้าไป เจ้ายีส นี่แหละที่ทำหน้าที่ในการสร้าง แอลกอฮอล์ ออกมา บ้าน ๆ เราเรียกกระบวนการนี้ว่า การหมัก หลักการก็คือ การเปลี่ยนน้ำตาล ให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ แต่อีกหนึ่ง Byproduct ที่เราจะได้มาด้วยนั่นคือ CO2 หรือ Carbon Dioxide ที่ทำให้เบียร์มันมีฟอง ๆ นั่นเอง หรือขนมปังที่ต้องบ่ม (มันเรียก บ่ม หรือ หมักอะ) แปบนึงแล้วมันจะฟู ก็เพราะยีสมันย่อยน้ำตาล กลายเป็น CO2 ภายในเนื้อแป้ง มันก็เลยฟูขึ้นมา

ลำไส้เราก็เหมือนกับ พวกแบคทีเรีย พวกจุลชีพพวกนี้ มันก็มีกลไกการทำงานของมัน บางตัว Byproduct ที่เป็นแก๊สของมันคือ Hydrogen Sulfide บ้าน ๆ เราเรียกแก๊สไข่เน่า มันมักจะออกจากตัวคน โดยการ ตด ทำให้บางคน ตดเหม็น บางคนเหม็นน้อย ส่วนนึงก็เกิดจากสมดุลของแบคทีเรียกที่ก่อให้เกิดแก๊สพวกนี้ได้เหมือนกัน นอกจากแก๊ส มันก็อาจจะมาในรูปแบบของสารอื่น ๆ ที่ระเหยมีกลิ่นได้ เลยทำให้อึมีกลิ่นด้วย นอกจาก ตด

เรื่องนี้เราเล่าให้ใครฟังทุกคนแมร่งขำหมด คือเรื่องของเรื่องคือ เราไปสังเกตว่า กลิ่นของห้องน้ำสาธารณะ ของแต่ละประเทศมันไม่เหมือนกันเลย กลิ่นของไทย ก็จะเป็นแบบนึง ไต้หวันแบบนึง ญี่ปุ่นแบบนึง มันไม่เหมือนกันเลย แล้วมันไม่ใช่กลิ่นของสารทำความสะอาด กลิ่นขี้คนนี่แหละ

ซึ่งเรื่องนี้มันอธิบายได้จาก จุลชีพในลำไส้ของเรา ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจาก อาหารที่เรากิน มันไม่เหมือนกัน เรายกตัวอย่าง เช่น ตอนที่เราไปไต้หวัน ก็คือ กินอาหารที่มัน มัน ๆ มาก ๆ ส่วนนึง อาจจะเป็นตัวกลิ่นที่เกิดจากไขมันเป็นสารตั้งต้นด้วย เลยทำให้กลิ่นมัน Unique ออกไป หรือญี่ปุ่น มันก็จะชัดมาก ๆ เขากินพวก มิโซะ พวกนั้นเป็นของหมัก มันก็จะมี แบคทีเรีย ที่ใช้หมักอยู่นะ aka. ก็คือ เรากินเหมือน Probiotics เข้าไปนั่นเอง เอาจริงนะ จะมีใครบ้าแบบเรามั้ย ไปนั่งสังเกต กลิ่นขี้แต่ละประเทศเนี่ย

Ethnicity influences the gut microbiota of individuals sharing a geographical location: a cross-sectional study from a middle-income country - Scientific Reports
Scientific Reports - Ethnicity influences the gut microbiota of individuals sharing a geographical location: a cross-sectional study from a middle-income country

เราไปนั่งหาอ่านไปก็เจอว่า มันมีคนเข้าไปเก็บตัวอย่าง เพื่อดู จุลชีพในลำไส้ของคนกลาย ๆ กลุ่มด้วยนะ แล้วเอามาหาว่ามันแตกต่างกันแค่ไหน โดยสรุปก็คือ มันต่างกันจริง ๆ อาจจะเกิดจาก Lifestyle ที่แตกต่างกัน ก็ได้ ทำให้มันสนับสนุนสิ่งที่เราคิดได้เลยว่า เออ มันน่าจะทำให้กลิ่นอึต่างกันได้นะ

ประเทศโดนคุกคาม

ถ้าเกิดลำไส้ใหญ่ของเรา ทำงานได้อย่างปกติ มันก็จะไม่มีอะไรใช่ป่ะ ในลำไส้ใหญ่ เรายังมีทหารมือทองคือ พวกเชื้อประจำถิ่น แต่ในความเป็นจริง มันก็จะมีกลุ่มอาการบางอย่างที่ทำให้จุลชีพลำไส้ของเราไม่ปกติได้ด้วยเช่นกัน สาเหตุเกิดจากได้จากหลากหลายสาเหตุมาก ๆ เช่น ความสะอาด (Hygiene) เช่น การล้างมือที่ไม่เพียงพอหลังการเข้าห้องน้ำ ทำให้เชื้อมันอาจจะกระจายไปเรื่อยได้

หรืออาจจะเกิดจากการให้ยาปฏิชีวนะบางประเภทก็ได้เช่น Metronidzole, Clidamycin Penicillin และ Cephalosporin (พอละ นึกออกเท่านี้ เภมีอันไหนเพิ่มอีก บอกด้วย) พวกนี้ทำงานตามชื่อเลยคือ ปฏิชีวนะ ทำให้จุลชีพที่ดีมันอาจจะลดลง หรือก็คือ ทำให้ทหารมือทองตุย การ์ดก็ตก ทำให้ติดโควิด ถุ้ย !! ไม่ใช่ ทำให้ คนร้าย หรือเชื้อที่ไม่ดี ทำร้ายเราได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

โดยศัตรูตัวตึงวงการที่เข้ามาปั่นป่วนประเทศลำไส้ใหญ่คือ Clostridium difficile หรือ เราจะเรียกสั้น ๆ ว่า C. Diff มันเป็นพวก Bacillius หรือ แบบแท่ง และเป็นแบบ Non-arobic ด้วย หรือ เติบโตได้โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน (เราขอไม่เอารูปให้ดูละกัน กลัวจะอ้วกแตกกัน คิดภาพตามว่าลำไส้เราเป็นทาง แล้วมีคราบเหลือง ๆ ติดอะ อะแบบนั้นละกัน)

ปกติคนอื่นเวลาเขาอยู่ด้วยกัน เขาก็จะอยู่ด้วยกันจริง ๆ คือ เป็นมิตร ทำงานอยู่ด้วยกัน จนกระทั่งการเข้ามาของ C.Diff บอกว่า มีชั้นไม่มีแก เผาเลยครับ ผมรับผิดชอบเอง สิ่งที่มันทำก็คือ การไปฆ่าพวกจุลชีพที่มีประโยชน์กับตัวเราให้ตุยให้หมด โดยการปล่อยสารพิษออกมา เพื่อจะ Take over ประเทศแทนพวกกลุ่มประจำถิ่น

ถามว่า มันอันตรายได้ขนาดไหน ก็บอกเลยว่า การติด C. diff ก็มีสิทธิ์ถึงแก่ชีวิตได้เลยนะ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีพวกโรคเรื้อรังทั้งหลาย และ อายุเยอะด้วยดังนั้น มันไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยละ ลองหาได้พวก กลุ่มอาการที่เกี่ยวกับ C. Diff Infection (CDI)

การกิน Probiotics และ Prebiotics มันไม่ช่วยเหรอ ?

ทำให้เกิดคำถามว่า งั้น ถ้าเกิดว่า ทหารมือทอง ของเราโดน C. Diff ตุยเรียบ ทำไม เราไม่กินพวก Probiotics หรือ Prebiotics เข้าไปละ

เราต้องเล่าก่อนว่า ทั้ง Probiotics และ Prebiotics คืออะไร หลาย ๆ คนเข้าใจผิดกันเยอะมาก ๆ

Prebiotics เราจำง่าย ๆ คือ Pre- คือ ก่อน ก่อนจะมีพวกแบคทีเรีย ดังนั้น ใน Probiotics ไม่ได้มีแบคทีเรียเลย เป็นพวกสิ่งที่ลำไส้ใหญ่เราไม่ได้ดูดซึมด้วย แต่เป็นของที่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เราใช้งาน ทำให้สั้น ๆ คือ เป็นเหมือนอาหารของเจ้าแบคทีเรียนี่แหละ ทำให้การทำงานของเจ้าพวกนี้มันทำงานได้ดีขึ้น ออกลูกออกหลานได้เยอะขึ้น ซึ่งเราจะพบได้เยอะตาม กระเทียม, หัวหอม, ถั่วแดง และ พวกผักผลไม้ต่าง ๆ

Probiotics ตรงข้ามกัน คือ พวกจุลชีพขนาดเล็ก ๆ ที่เป็นมิตรกับจุลชีพในลำไส้ของเรา ที่เมื่อเรากินเข้าไป มันก็เหมือนเราส่งทหารเข้าไป ทำให้มันมีกำลังในการต่อต้าน หรือ กำจัดพวกเชื้อที่ไม่ดีทั้งหลายได้ ซึ่งพวกนี้ เราจะพบได้ในอาหารเช่น นมเปรี้ยว ที่ข้างขวดเขียนว่า มีเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีถึง xxxxxxx ตัวต่อขวดอะไรพวกนั้นแหละ กินเข้าไปที่รอดมา มันก็จะไปจับกับบริเวณผิวของลำไส้ใหญ่ และทำหน้าที่ที่ดีให้กับตัวเรานั่นเอง

ถามว่า พวกนี้คือถ้าอาการเราไม่ได้เยอะมาก พวกเชื้อประจำถิ่นเรายังพอมีกำลังบ้าง เราก็อัดตัวช่วยเป็นอาหารเสริมให้มันโตได้ดีขึ้น หรือจะส่งกำลังทหารเข้าไปเพิ่มก็ได้ แต่บางครั้งในกลุ่มคนที่เป็นโรคพวกนี้หนักมาก ๆ เป็นมานาน เรื้อรังเลย การทำเท่านี้มันก็อาจจะไม่พอ

Fecal Microbiota Transplantation (FMT)

ทีนี้ พอวิธีการในปัจจุบันมันอาจจะช่วยผู้ป่วยบางกลุ่มไม่ไหวละ ทำให้มีคนที่ออกไอเดียขึ้นมาว่า ในเมื่อเชื้อประจำถิ่นที่ควรจะอยู่ และ เราส่งตัวเสริมเข้าไปมันก็ไม่รอดอีก งั้น เราก็ย้ายกองทัพจากประเทศลำไส้ใหญ่ที่สุขภาพดี กำลังทหารยอดเยี่ยม เข้าไปช่วยรบเลยมั้ยละ

Fecal microbiota transplantation: in perspective
There has been increasing interest in understanding the role of the human gut microbiome to elucidate the therapeutic potential of its manipulation. Fecal microbiota transplantation (FMT) is the administration of a solution of fecal matter from a donor ...

ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Fecal Microbiota Transplantation (FMT) ถ้าแปลทีละคำ Fecel ก็คือ อึ แล้ว Microbiota ก็คือพวกจุลชีพทั้งหลาย และ Transplantation ก็คือ การปลูกถ่าย ทำให้ทั้งหมดแปลรวมกันก็คือ การปลูกถ่ายจุลชีพโดยการใช้ อึ นั่นเอง

จริง ๆ เรื่องของการกินอึเข้าไปเพื่อเสริมการทำงาน หรือทำให้ลำไส้ทำงานได้ ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่เลยนะ เพราะ สัตว์บางชนิดเอง ก็ชอบกินอึของตัวเองเหมือนกัน เช่น คาปิบาร่า หรือที่บ้านเราเรียกกันเล่น ๆ ว่า หมามะพร้าว หรือกระทั่ง กระต่าย มันก็กินอึของตัวเองเหมือนกัน

เราว่าตอนนี้ทุกคนที่กำลังอ่าน ภาพน่าจะมาละว่าเราจะเอา อึ เข้าไปได้ยังไง เอาวิธีการเบา ๆ ก่อนละกัน คือ การทำระหว่างการทำ Colonoscopy หรือการสอดกล้องตรวจลำไส้ ก็คือ การเข้าทางตรูด แน่นอนว่า ขนาดเราฟังเอง ยังห่ะ เหรอ เลยใช่ป่ะ

Fecal Transplantation for the Treatment of Clostridium difficile Infection

อันที่พีคกว่าคือ มีการนำส่งอึนี่แหละ ผ่านการสอดท่อจากจมูกลงไปในท้อง (Nasogastric) แน่นอนว่าเป็นกระบวนการที่โคตร Invasive และ คนไข้ ไม่น่าจะรู้สึกสบายทั้งตัวและใจแน่ ๆ ใส่ท่อไป อาจจะมีอาการสำลัก จนเอ่ออ ไม่พูดต่อละกัน

หรือบางคนจะบอกว่า เห้ย แบบนี้ เราไปขายอึของเรากันดีกว่า เราจะบอกว่า อึ ที่จะเอามาใช้นี่ มันไม่ใช่อึอะไรก็ได้นะ มันมีเกณฑ์ในการพิจารณาด้วยนะว่า อึ ใครจะเหมาะ หรือไม่เหมาะน่ะ พูดง่าย ๆ คือ อึคุณต้องอุดมไปด้วยเชื้อที่จำเป็น และไม่มีพวกข้อห้ามบางอย่าง เช่น ไม่ได้กินยาปฏิชีวนะมาสัก 3-4 เดือนก่อนหน้า ไม่ได้กินพวกยากดภูมิ (Immunosuppression) อะไรพวกนั้นด้วยนะ

VOWST
VOWST is indicated to prevent the recurrence of Clostridioides difficile infection (CDI) in individuals 18 years of age and older following antibacterial treatment for recurrent CDI (rCDI).

หรือ ถ้าเราไม่อยากโดนผ่านการทำ Colonoscopy มันก็ยังมี แบบแคปซูลด้วยนะ ใช่แล้ว อึแคปซูล มีตัวนึงที่ FDA Approved แล้วคือ VOWST ใช่ฮะ มันคือภาพที่ทุกคนกำลังคิดเลย Stool Capsule มันคือ อึที่ไปทำให้แห้ง ที่พวกแบคทีเรียต่าง ๆ ก็ยังคงอยู่ และให้มันยังคงอยู่ทำให้เวลาเก็บ เขาก็จะเอาไปแช่แข็งไว้ แล้วเรามันออกมา แล้วก็กลืนมันเข้าไปเหมือนยาปกติเลย แน่นอนว่า บริษัทที่ทำ เรามั่นใจว่า คุณรู้จักกันดีคือ Nestle ช่ายย เขามีธุรกิจในการวิจัย และผลิตยาด้วย แค่ในไทยเราเห็นกันในกลุ่มของอาหารอะไรแบบนั้น

แต่ยานี้ เขาเขียนชัดเลยนะว่า ไม่ได้เอามาใช้รักษาในคนที่เป็นพวก CDI แต่เอามาใช้รักษาในกลุ่มคนที่เป็น rCDI (Recurrence CDI) ดังนั้น ไม่ใช่ว่า อ่อ เราติดเชื้อนี้ แล้วเราจะได้รับยาตัวนี้เลยนะ

Frozen Fecal Microbiota for C difficile Infection
This open-label, single-group feasibility study among patients with relapsing C difficile infection provides data on adverse events and rates of diarrhea resolution following fecal microbiota transplantation using frozen encapsulated inoculum from unrelated donors.

พีคกว่านั้นคือ มีการทดลองโดยการใช้ อึ แช่แข็งนี่แล้วจริง ๆ ด้วยนะ ก็คือพวกการใช้เป็นรูปแบบแคปซูลให้ผลได้ใกล้ ๆ กับการให้ผ่าน Colonoscopic และ Nasogastric tube แต่เราว่าการทดลองนี้มันอาจจะยังไม่ Valid มากเท่าไหร่ อย่างที่งานก็ยังบอกเลยว่า Sample Size เขาเล็กเกินไป N=21 เท่านั้นเอง อาจจะต้องรองานวิจัยที่มันมี Sample Size สูงกว่านี้ออกมาอีกที

สรุป : คนเรากินอึเป็นยาจริง ๆ แบบทางการแพทย์เลย ไม่เหมือนพวกกินฉี่ด้วย

ดังนั้นจากเรื่องท้ังหมดที่เราเล่ามา ใช่แล้วฮะ คนเรากิน อึ เป็นยาจริง ๆ ไม่ได้เป็นเรื่องตลกด้วย โดยการใช้ Fecal Microbiota Transplantation (FMT) ที่เป็นการเอาจุลชีพของคนที่สุขภาพดีมาให้คนไข้ที่มีปัญหาทั้ง กลุ่มที่เป็น CDI และ rCDI ซึ่งอาจจะมาในลักษณะของการให้ทางสายยางทั้งทางจมูก และ ทางก้น หรือจะเป็นแบบ Capsule ที่ใช้กลืนเข้าไปเหมือนยาปกติ แต่ ๆ ๆๆๆๆ ไม่ใช่ว่า วันนี้เราจะเดินไป แล้วบอกว่า แม่ฮ่ะ ๆ ขออึกินหน่อยนะ ไม่ใช่นะ และ ไม่ได้นะ  !!!!!!!! หรือจะเปิดสมาคมคนกินอึอันนี้ไม่โอเคชิบหายเลยนะ (ไว้จะมาเล่าว่าทำไมคนแมร่งกินฉี่ เตรียมไม้เรียวไว้ละ เข้าไปสวมอยู่ในกลุ่มคนกินฉี่มาละ)  ทั้งหมดนี้คือ เราเอามาใช้กันทางการแพทย์ที่มีการควบคุมนะ ไม่ทำสุ่มสี่สุ่มห้ากันเล่น ๆ ก็หวังว่า FMT ก็จะเป็นอีกทางเลือกนึงในการที่จะช่วยรักษากลุ่มพวก rCDI ให้หายได้ หรือถ้าอนาคต เราจะมีวิธีใหม่ ๆ มาก็จะดีมาก ๆ เลยนะ

ปล. ไว้ในบทความต่อ ๆ ไป เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า เราศึกษาพวก เชื้อในลำไส้ (Gut Microbiota) ว่ามันมีองค์ประกอบอะไรบ้าง มันต่างกันยังไง กันโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างการทำ DNA Sequencing ได้อย่างไร จะได้เข้า Field เราหน่อย

Read Next...

หลังจากมะนาวโซดา ไปโซดามิ้นท์กันแล้วชะลอวัยกี่โมง

หลังจากมะนาวโซดา ไปโซดามิ้นท์กันแล้วชะลอวัยกี่โมง

มันมีลัทธิกิน โซดามิ้นท์ กันแล้วหวะทุกคน นี่มันอะไรกันวะเนี่ย หลังจากมะนาวโซดาฆ่ามะเร็ง สู่โซดามิ้นชะลอวัยกันแล้ว วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า คนที่เขาอ้าง เขาอ้างว่ากินยังไง ทำไมถึงมีผลแบบที่เขาบอกได้จริง และเราจะเล่าในเชิงวิทยาศาตร์ทางการแพทย์ว่า ทำไมมันอันตรายกว่าที่ทุกคนคิด...

เจาะลึกเบื้องหลังการทำงานของ กันแดด ทำไมมีหลายแบบ จะเลือกอย่างไร

เจาะลึกเบื้องหลังการทำงานของ กันแดด ทำไมมีหลายแบบ จะเลือกอย่างไร

ถ้าต้องให้เลือก Skin Care แค่อย่างเดียวเราะจะเลือกอะไร เราคงตอบได้อย่างรวดเร็วว่า กันแดด แน่นอน แต่ถ้าเราลองไปดูกันแดดในท้องตลาดบ้านเรา มันมีเยอะมาก มีหลายประเภทสารพัด วันนี้เรามาเล่าให้อ่านกันในเชิงวิทยาศาสตรดีกว่าว่า มันมีแบบไหน และ แบบไหนเหมาะอะไรกับใครบ้าง...

มันจะไม่มีอีกแล้วหมาล่าแดง ๆ กับ Sudan Red

มันจะไม่มีอีกแล้วหมาล่าแดง ๆ กับ Sudan Red

เราอ่านข่าวเจอเรื่องการที่ไตหวันพบการแพร่ระบาดของการผสมสีอย่าง Sudan Red ลงไปในเครื่องปรุงต่าง ๆ โดยเฉพาะพริก และพวกผงหมาล่าที่นำเข้าจากประเทศจีน วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า สรุปแล้วเรื่องมันเป็นอย่างไร และ สีเจ้าปัญหาอย่าง Sudan Red มันเป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างไร...

Perfume Science 101: ทำไมน้ำหอมถึงมีกลิ่น ?

Perfume Science 101: ทำไมน้ำหอมถึงมีกลิ่น ?

ช่วงนี้เราอินกับ น้ำหอมมาก ๆ เรื่องที่เราคิดว่าน่าใจมาก ๆ สำหรับ เราที่สนใจน้ำหอม และวิทยาศาสตร์คือ วิทยาศาสตร์เบื้องหลังของน้ำหอม มันมีอะไรมากกว่าที่เราคิดมาก ๆ ทำไมกลิ่นนี้ทำให้เรารู้สึกแบบนี้ หรือเรื่องที่เรามา Cover กันในวันนี้คือ ทำไมน้ำหอมถึงมีกลิ่น ?...