Science

ทำไมครอบครัวเดียวกัน ไม่ควรแต่งงานกันเอง ด้วยเหตุทางพันธุศาสตร์

By Arnon Puitrakul - 23 ธันวาคม 2022

ทำไมครอบครัวเดียวกัน ไม่ควรแต่งงานกันเอง ด้วยเหตุทางพันธุศาสตร์

เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะบทสนทนาบนโต๊ะอาหารเมื่อหลายวันก่อนมาก ๆ ละ ที่มาของเรื่องนี้เราไม่เล่าละกัน แต่มันทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมการแต่งงานกันในสายเลือดเดียวกันมันถึงเป็นเรื่องที่ไม่โอเค เราไม่เล่าถึงเรื่องของสังคม จารีตอะไรแบบนั้นนะ วันนี้เราจะมาพูดกันในมุมของพันธุศาสตร์ และ การแพทย์กันว่า มันมีผลดีหรือเสียอย่างไรกันบ้าง

Mendelian inheritance

เวลาเรามองไปที่ตัวเรา หรือคนอื่น เราอาจจะเห็นว่า เขามีลักษณะที่แตกต่างกัน หน้าเรา และ หน้าเพื่อนเราไม่เหมือนกัน หรือกระทั่ง แม่เรา และเราเอง ก็อาจจะมีอะไรที่คล้ายกัน แต่ไม่ได้เหมือนกัน 100% ซึ่งในร่างกายของคนเรา พวกนี้เราเรียกว่า ลักษณะ เช่นพวก สีผิว, สีผม และสีตา ทั้งหมดถูกกำหนดโดย Gene ซึ่งแต่ละ Gene มันก็จะมีทั้งหมด 2 Alleles มาจากพ่อ และ แม่อย่างละ 1

เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า ลักษณะเด่น (Dominant) และ ลักษณะด้อย (Recessive) เราอาจจะเข้าใจว่า ลักษณะด้อย คือลักษณะที่ไม่ดี เช่นเป็นโรคต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ได้เป็นแบบนั้นซะทีเดียว จริง ๆ แล้ว การที่เราจะบอกว่า ลักษณะนี้เป็นลักษณะเด่น หรือ ด้อย เราต้องมาดูที่นิยามของมันก่อน

ลักษณะเด่นคือ Alleles ที่สามารถแสดงลักษณะของตัวเองได้ แม้ว่า มันจะมีแค่ Copy เดียว กลับกัน ลักษณะด้อย คือลักษณะที่จะต้องปรากฏในทั้งสอง Copy ถึงจะมีการแสดงลักษณะออกมา

เราลองยกตัวอย่างง่าย ๆ เราสมมุติว่า ลักษณะของสีตา ให้ลักษณะเด่นเป็นสีน้ำตาล และ ลักษณะด้อยเป็นสีฟ้าละกัน นั่นทำให้ถ้าคนที่มีตาสีฟ้าจะต้องมี Alleles ที่เป็นลักษณะด้อยทั้ง 2 Copy และ ตาสีน้ำตาล เกิดจากแค่มี Allele สีน้ำตาลแค่ 1 ด้านก็เพียงพอแล้ว

เรายกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าเกิด พ่อมีตาสีฟ้า กับ แม่ตาสีน้ำตาล ตัวของแม่เอง อาจจะเกิดจาก Allele ที่เป็นตาสีน้ำตาลทั้งสองด้าน หรือจะเป็นตาสีน้ำตาลด้านเดียว เราลองทั้งสองเคสเลยละกัน

เอาเคสถ้าเกิด Alleles ของแม่เป็นสีน้ำตาลทั้งคู่เลย ดูจากภาพด้านบน เราจะเห็นว่า ถึงพ่อจะมีตาสีน้ำเงิน แต่ลูกออกมา 100% จะมีตาสีน้ำตาลทั้งหมดเลย แต่ถ้าเราลองสังเกตจะเห็นว่า ตาสีน้ำเงินก็จริง แต่เป็นแบบที่ไม่ได้เป็นตาน้ำตาลเพียว ๆ ซะทีเดียว ทำให้ในรุ่นลูก ถ้าแต่งงานมีลูกต่อ อาจจะได้เห็นตาสีฟ้าอีกครั้งก็เป็นไปได้

กลับกัน ถ้าเกิด Alleles ของแม่มาเป็นสีน้ำตาลครึ่งเดียว แต่ความเป็นลักษณะเด่น ทำให้เราก็จะเห็นว่าแม่ตาสีน้ำตาลแหละ ลูกที่ออกมามีโอกาส 50% จะเป็นตาสีน้ำตาล แต่เป็นสีน้ำตาลแบบ Alleles แบบแม่เลยคือ เป็นน้ำตาลแค่หนึ่ง และอีก 50% ที่เหลือจะเป็นตาสีฟ้า

แต่ในความเป็นจริงแล้ว หลาย ๆ ลักษณะ ก็ไม่ได้ Follow ตาม Simple Mendelian inheritance ที่เราเล่าไปหรอก มันมีพวกลักษณะบางอย่างที่เป็น ลักษณะเด่นร่วมกัน (Codominant) ตัวอย่าง Classic เลยคือ กรุ๊ปเลือดของเรานี่แหละ เราอาจจะมีลักษณะเด่นร่วมกัน เราอาจจะเคยได้ยินคนที่มีกรุ๊ปเลือด AB ใช่มะ นี่แหละคือลักษณะเด่นร่วมกัน

เพราะถ้าเราลองไปดูที่ลักษณะ Alleles ของคนเลือดกรุ๊ป A มันจะเป็นไปได้ทั้ง AA และ AO ในขณะที่กรุ๊ป B เองก็เป็นไปได้ทั้ง BB และ BO เห็นอะไรมั้ยว่า ไม่ว่าอะไรก็ตาม ถ้า A หรือ B มันอยู่กับ O มันจะข่ม​ O ทำให้ O เป็นลักษณะด้อยไป แต่มันก็จะมีเคสที่ AB อยู่ด้วยกันเลยเกิดเป็นเลือดกรุ๊ป AB นั่นเอง (ไว้วันหลังเรามาเล่าเรื่องกรุ๊ปเลือดให้ละเอียดขึ้นกัน)

ตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าเกิดว่า พ่อเราเลือดกรุ๊ป O แม่เลือดกรุ๊ป B เด็กที่ออกมา ก็จะมีโอกาสเป็นได้แค่ ไม่ O ก็ B เท่านั้นถูกมะ ถ้าออกมาเป็น A ต้องไปเช็คแล้วนะว่า แม่ได้กับใครรึเปล่า ไม่น่าใช่นะ เรื่องพีคคือ เคยเจอเรื่องแบบนี้มาแล้ว ปรากฏว่า ชิบหาย I am not your father ค่าาาา จากคุยกันขำ ๆ สัส เรื่องจริง

นอกจากนั้นมันก็ยังมีลักษณะหลาย ๆ อย่างที่เกิดจากหลาย ๆ จุดของ Gene ทำให้เราไม่สามารถอธิบายได้ด้วย Mendelian inheritance ได้อีกเยอะ พวกกลุ่มของ Complex Disease เช่นพวก เบาหวาน ความดัน มะเร็งอะไรแบบนั้น

Mendelian inheritance และ การได้กันเองในครอบครัว

เพื่อให้อธิบายแล้วเห็นภาพมากขึ้น เราจะเอาว่า การสืบทอดลักษณะมันเกิดตามรูปแบบของ Mendelian inheritance ละกัน  เราสมมุติ เป็นโรคทางพันธุกรรมที่คนไทยเป็นกันเยอะ ๆ ดีกว่าอย่างโรค Thalassemia (ธาลัสซีเมีย) เราสมมุติว่า A เป็นลักษณะเด่นที่ทำให้ไม่เกิดความผิดปกติ และ a เป็นลักษณะด้อยที่ทำให้เกิดความผิดปกติ (จริง ๆ อยากใช้ T,t นะ แต่ ตอนวาดรูปลืม ถถถถ)

เราไล่ Family Tree ลงไป เราให้ พ่อ และ แม่ ไม่เป็นโรคเลย แต่พ่ออาจจะมาพาหะของโรคอยู่ ส่วนแม่ไม่เป็นอะไรเลย ไม่เป็นพาหะเลย ใน Generation แรก เราก็จะเห็นว่า โอเค ไม่มีใครเกิดมามีความผิดปกติเลย ก็ดูจะโอเค มีโอกาสแค่อย่างละ 50% ที่จะเป็นพาหะ และ ไม่เป็นพาหะเลย

งั้นถ้า​ ซวย ๆ หน่อย เราเอา 50% นั้นที่เป็นพาหะ มาแต่งงานกันบ้างละ เราก็จะออกมาว่า 25% ไม่เป็นอะไรเลย ไม่ได้เป็นเกิดความผิดปกติและพาหะ อีก 50% ไม่ได้เป็นโรค แต่เป็นพาหะ และ อีก 25% เกิดความผิดปกติ

ไปต่อ สมมุติว่าคนที่เป็นพาหะ จะได้กับคนที่เกิดความผิดปกติ รอบนี้หนักเลยใช่มั้ยฮะ เพราะ 50% เป็นพาหะ และ อีกถึง 50% เลยเกิดความผิดปกติขึ้นมา เราจะเห็นว่า ยิ่งกาลเวลาผ่านไป รุ่นไกลขึ้นเรื่อย ๆ ลักษณะด้อยที่เราสนใจมันเกิดมาเยอะขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือเกิดความผิดปกติมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง

เพิ่มระดับความพีคเข้าไปอีกนะ ในที่นี้เราใช้ลักษณะใดลักษณะหนึ่งในการอธิบายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง มันมีแบบนี้เยอะมาก ๆ เรียกว่าทั้งตัวอะ ลอง ๆ คูณความเป็นไปได้เล่น ๆ ดูสิ มันเยอะมาก ๆ เลยนะที่จะเจอกับความผิดปกติ

เรายังไม่นับเรื่องของการสืบทอดลักษณะบางอย่างที่มีความพิเศษเช่น Habsburgs jaw ที่จะขากรรไกรล่างจะยื่นออกมาเยอะ ๆ หน่อยเดี๋ยวเราไปเล่าอันนี้ของ Royal Family ในยุโรปเลย

ดังนั้น การที่เรามีลูกกันเองในครอบครัว เลยเป็นเรื่องที่เสี่ยงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งเรื่องนี้เราว่า ธรรมชาติมันก็มีความฉลาดของมันนะ เพราะถ้าเราลองคิดดี ๆ อะ การที่มันเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น มันส่งผลได้ 2 รูปแบบด้วยกันคือ การลดโอกาสในการสืบพันธ์ เช่น การเกิดความผิดปกติเช่นการเป็นโรคบางอย่างที่ทำให้รอดในสภาพแวดล้อมได้ยากขึ้น หรือการมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากกลุ่ม (ถ้าเทียบชัด ๆ ต้องไปดูสัตว์บางชนิดที่โตมา อาจจะมีสี หรือลักษณะบางอย่างที่ต่างจากฝูง ทำให้ไม่มีใครเอา) และ การทำให้สืบพันธ์ุไม่ได้เลย สั้น ๆ คือ หมัน แน่นอนว่า คนเรามันฉลาด ก็ฝืนได้

อ้าว... ก็อาจจะมาจากญาติห่าง ๆ กันป่าว ก็ไม่ได้ ได้กันเองในครอบครัวนิ

อ่านมาตรงนี้ อาจจะสงสัยว่า ก็คนเรามันอาจจะมีบรรพบุรุษร่วมกันนิ ถ้าเราบอกแบบนี้ทุกคนไม่ชิบหายเจออะไรแปลก ๆ ไปหมดแล้วเหรอ ในความเป็นจริงมันมีนิยามของมันอยู่ มันใช้สิ่งที่เรียกว่า Inbreeding Coefficient ในการอธิบาย แต่เราขอไม่เล่าถึงการคำนวณอะไรละกัน มันจะลึกไปหน่อย

เราอธิบายสั้น ๆ ละกันในทางชีววิทยา เราดูง่าย ๆ ถ้าเราเป็นรุ่นลูก เรา และ คู่เราไม่ควรมี ปู่ ยา ตา หรือ ยายคนเดียวกัน  ก็คือ ให้ดูขึ้นไป 3 รุ่น หรือมองในมุมของรุ่นปู่อะ ถ้าหลานแต่งงานกันเองนี่แหละ คือใช่เลย

ถ้าเราเรียนลงไปอะ มันจะมี Pattern อยู่ประมาณ 6 แบบด้วยกันที่เจอเยอะ ๆ ถ้าเราเจอ เราน่าจะฟันธงได้เลยว่า ใช่เลย แบบที่เราเล่าง่าย ๆ ที่สุดคือ First Cousins คือ ปู่ ย่า มีลูกออกมา 2 คน แล้ว 2 คนนั้นก็ไปแต่งงาน แล้วได้ลูกออกมา ลูกที่ออกมานั่นแหละ ได้กันเอง

ในโลกแห่งความเป็นจริง ส่วนใหญ่ที่เราจะเจอกันคือแบบ First Cousins นี่แหละ เพราะเราว่ามันก็มีแบบไม่รู้กันจริง ๆ นะ เช่นในบางจังหวัด อำเภอ หรือชนเผ่าที่เล็กมาก ๆ ก็คือไม่รู้ว่า จริง ๆ แล้วเราอาจจะมีปู่ หรือ ทวดคนเดียวกันด้วยซ้ำ ดังนั้น มันไม่ได้เป็นเรื่องง่ายเท่าไหร่ในการที่จะเช็ค ถ้ามันไม่ได้แบบ ชัด ๆ จัง ๆ เช่น พ่อ แม่ คนเดียวกัน พี่น้องได้กันเอง

ถ้าใครอยากอ่านพวกเรื่องของการกระจายตัวของประชากรที่มีการแต่งงานกันเองอะไรพวกนั้นเราอ่านเจอ บทความนี้ น่าสนใจดี

การแต่งงานกันเอง ส่งผลเสียอย่างไร

ก่อนหน้า เราใช้หลักการทางพันธุศาสตร์มาอธิบายไปแล้ว ถามว่า แล้วทางปฏิบัติละ มันทำให้เกิดอะไรขึ้นได้บางในโลกแห่งความเป็นจริง แน่นอนว่า เป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ๆ ทำให้มีการศึกษาในเรื่องของผลกระทบค่อนข้างเยอะ

เอาส่วนที่ตรงไปตรงมากันก่อน คือ มันเพิ่มโอกาสการเกิดลักษณะ Autosomal Recessive หรือลักษณะด้อย ที่เราลองพิสูจน์กันก่อนหน้านี้ รวมไปถึงการเกิด Congenital Anomalies หรือภาษาไทยเราเรียกว่า ความผิดปกติแต่กำเนิด อาจจะเป็นในแง่ของร่างกายที่มีส่วนที่ผิดปกติ หรือในแง่ของการทำงาน ก็ได้เหมือนกัน [เอามาจาก The prevalence of congenital malformations and its correlation with consanguineous marriages]

กระทั่งก่อนเกิดเอง ด้วยความที่เกิดความผิดปกติในกลุ่ม Congenital Anomalies มันยังส่งผลไปในเรื่องของอัตราการรอดชีวิตของตัวทารกเองด้วย aka. โอกาสที่จะไม่แท้ง นั่นแหละ

หรือเมื่อเกิดมาแล้วก็ยังมีความเสี่ยงต่อกลุ่มโรคบางชนิดได้อีก เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบหมุนเวียนเลือด และ กลุ่มของมะเร็งบางชนิดอีกด้วย

ทำไมการแต่งงานในครอบครัวถึงเกิดขึ้น

หลังจากที่เรานั่งคิดเรื่องนี้ไป เราก็สงสัยว่า เออ ทำไม เราถึงยังแต่งงานกันเองในครอบครัวอยู่ทั้ง ๆ ที่จากประวัติศาสตร์ และ เคสตัวอย่างหลาย ๆ เคสก็บ่งชี้แล้วว่า มันเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพค่อนข้างมาก

จนเราไปอ่าน Paper ฉบับนึงคือเรื่อง A review of the reproductive consequences of consanguinity บอกไว้ว่า การแต่งงานภายในครอบครัวที่เรากล่าวถึงกันไปเนี่ย มันมีไม่น้อยในประชากรโลกของเรานะ ถึง 10% กันไปเลย และในกลุ่มนี้ ถึง 80.6% เป็นบางกลุ่มประเทศในแถบตะวันออกกลาง เราเลยหาไปต่อให้ลึกเข้าไปอีกบอกว่า ประเทศปาเลสไตน์, เลบานอน, อียิปต์, อิสราเอล และ ปากีสถาน เรียกว่าเป็นที่ ๆ ยังแต่งงานกันเองในครอบครัวเยอะมาก ๆ อยู่ ทำให้มีการศึกษาถึงผลกระทบของการแต่งงานกันเองในลักษณะนี้บนกลุ่มประชากรในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางค่อนข้างเยอะ  ยกตัวอย่างอันที่เก่าหน่อยละกันอย่าง Consanguinity as a determinant of reproductive behaviour and mortality in Pakistan อันนี้เป็นการศึกษาในปี 1993 ย้อนไปไกลอยู่เหมือนกัน

ประเทศตรงนี้ส่วนใหญ่ก็จะแต่งงานกันเองซะเยอะ เลยทำให้เราเกิดคำถามต่อว่าทำไม เราเลยไปเจออีกงานนึงที่ค่อนข้างใหม่เลยปี 2020 เรื่อง Genetic and reproductive consequences of consanguineous marriage in Bangladesh บอกถึงสาเหตุในกลุ่มที่ศึกษาไว้ว่า สาเหตุหลัก ๆ คือเรื่องของการรักษาความบริสุทธิ์ของสายเลือดตัวเอง เพื่อช่วยให้หาคู่ครองได้ง่ายขึ้น สนับสนุนสถานะของผู้หญิง (ต้องเข้าใจเนอะว่า ประเทศแถวนั้น วัฒธรรมชายเป็นใหญ่ยังครองอยู่), ลดต้นทุนการสมรส เราว่าอันนี้น่าจะเป็นภาคต่อของเรื่องสถานะหรือไม่ ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ การรักษาความมั่นคงของชีวิตคู่ให้ยืนยาวขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ เป็นบริบททางวัฒธรรมที่สำคัญมาก ๆ ในกลุ่ม ตะวันออกกลาง, เอเชีย และ กลุ่มทางแอฟริกาในทะเลทรายซาฮารา

อีกกลุ่มหนึ่งที่ถ้าเราพูดถึงเรื่องนี้แล้วจะไม่พูดถึงคนกลุ่มนี้ไม่ได้เลย นั่นคือ กลุ่มของ Noble และ Royal Family ทั้งหลาย ในประวัติศาสตร์ เราน่าจะเคยเห็นเรื่องแบบนี้แหละ คือพยายามแต่งงานกันเอง เพื่อรักษาความสายเลือดที่บริสุทธิ์เอาไว้ คำนึงที่เกิดจากเรื่องแบบนี้คือคำว่า Blue Bloods เขาไม่ได้มี เลือดสีน้ำเงินจริง ๆ นะ อย่าเข้าใจผิด จนเราไปคุยกับเพื่อนที่เรียนภาษามา ทำให้รู้ว่า อ้าวชิบหาย คำนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในอังกฤษเหรอ

แต่มันเกิดขึ้นในแถบ ๆ ยุโรป ช่วงศตวรรษที่ 8 โน้นเลย คือเขามีฟิล ๆ ค่านิยมแบบว่ากลุ่มของคนที่เป็นชนชั้นสูงพวกนั้น เขาก็จะไม่ได้ออกไปทำงานกลางแดด (ซึ่งก็ไม่ได้ไปทำจริง ๆ แหละ) ทำให้เขามีผิวที่ซีด ๆ ขาว ๆ จนทำให้เห็นเส้นเลือดที่บางทีมันจะเห็นคล้าย ๆ กับสีฟ้า เลยทำให้มีการเรียกกลุ่มชนชั้นสูงเหมือนเป็นชื่อเล่นว่า Blue bloods กันมา สุดท้ายเวลาผ่านไป ชาวอังกฤษ ก็เลยเริ่มเอามาใช้เรียก Royal Family ของประเทศตัวเองไปเฉย

Classical Case : ราชวงศ์ Habsburgs และการได้กันเองจนราชวงศ์ล่มสลาย

ก่อนหน้านี้เรามีการพูดถึง Habsburg Jaw มาละ เราว่ามันเป็น Classical Case ของคนที่อ่านเรื่องพวกนี้เลยนะ เพราะมันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหญ่ในแง่ของ กาลเวลา คนที่เป็น และ ผลกระทบทางการเมืองหลาย ๆ อย่าง

เราขอพูดถึงเรื่องเบา ๆ ก่อน อย่างลักษณะพิเศษที่เจอจากเรื่องนี้คือ Habsburg Jaw มันเป็นลักษณะความผิดปกติแบบหนึ่งที่เรียกว่าเป็นลักษณะด้อยละกัน แต่อย่างที่เราคุยกัน เมื่อมีการแต่งงานแบบใกล้ชิดมาก ๆ ลักษณะด้อยมันเลยมีโอกาสเจอสูงขึ้น ซึ่งในราชวงศ์นี้ ก็คือ เพียบ จนทำให้เราเอาชื่อของราชวงศ์มาตั้งเป็นชื่อของลักษณะความผิดปกติไปเลย

Albrecht Dürer, Public domain, via Wikimedia Commons

Habsburg Jaw ลักษณะก็คือ การที่ขากรรไกร ยื่นออกมาเยอะมาก ๆ เมื่อเทียบกับขากรรไกรด้านบน ให้เรานึกภาพว่า เราพยายามจะยื่นฟันล่างออกมาให้เยอะ ๆ แต่ผู้ที่มีความผิดปกตินี้ก็จะมีอาการแบบนี้ตั้งแต่ต้นเลย ทำให้ การพูด และ การกิน เป็นเรื่องยากมาก ๆ

เอาเรื่องของการกิน เราว่าน่าจะจินตนาการง่ายสุด มันทำให้ฟัน บน และ ล่าง ของเราที่ควรจะสบกัน ทำให้เราสามารถเคี้ยวอาหารได้ มันก็สบกันได้น้อยลง ทำให้การเคี้ยว และ กิน อาหารเป็นเรื่องที่ยาก ส่งผลไปในเรื่องอื่น ๆ อีกหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพของการใช้ชีวิต ที่เราบอกเลยว่า ยากกว่าคนทั่ว ๆ ไปแน่นอน และ ในยุคนั้นเทคโนโลยีอะไรมันก็ไม่เหมือนปัจจุบันด้วย ก็ยิ่งทำให้ยุ่งยากเข้าไปใหญ่เลย

Portrait of Charles II by Juan Carreño de Miranda, c. 1680, Prado - Public Domain, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=76765595

ศตวรรษต่อมา หลังจากสืบกันไปเรื่อย ๆ จนถึงยุคของ Charles II ที่เรียกว่าเป็นลูกหลานคนสุดท้ายแล้วละ เกิดความผิดปกติหลายจุดมาก ๆ แต่จุดที่หลาย ๆ คนตั้งข้อสังเกตว่ามันเป็นเหตุที่ทำให้สิ้นสุดราชวงศ์นี้เป็นเพราะ ความผิดปกติในเรื่องของฮอร์โมน ที่ทำให้เป็นหมัน, มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง, มีปัญหาเกี่ยวกับพวกระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงภาวะที่เราเรียกว่า Distal renal tubular acidosis (dRTA) หรือก็คือภาวะที่ไต ไม่สามารถที่จะดึงกรดออกจากเลือดเพื่อขับออกทางปัสสวะได้ แน่นอนว่า ส่งผลไปต่อในระบบอื่น ๆ อีกเยอะ เราไม่เล่าต่อละกัน ด้วยความผิดปกติเหล่านี้เลยทำให้เป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ในที่สุด

เราว่าความน่าเศร้าของเรื่องนี้คือ ถึงจะมีอำนาจล้นฟ้าล้นโลกอะไรก็ตาม แต่สุดท้ายความพยายามในการที่จะรักษาความบริสุทธิ์ของสายเลือดตัวเอง กลับกลายเป็นคนถือพวงมาลัยควบคุมเขาจนล้มสลายไปในที่สุด

ถ้าเราลองไปอ่านดูในราชวงศ์ของหลาย ๆ ประเทศก็มีเรื่องการแต่งงานกันในครอบครัวแล้วเกิดเรื่องกันหลายประเทศมาก ๆ อีก Classical Case คือ รัสเชีย ที่เกิดความผิดปกติที่เรียกว่า Hemophilia หรืออาการที่เลือดออกไม่หยุด เมื่อเกิดแผล หรืออะไรที่ทำให้เลือดออก มันจะเป็นเรื่องยากมาก ๆ ที่จะหยุดเลือดไม่ให้ไหล ซึ่งคนปกติมันก็จะมีกลไกที่ทำงานเพื่อหยุดอยู่แล้ว

สรุป

ด้วยเทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์และการแพทย์ที่ดีขึ้น ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นถึงผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแต่งงานในครอบครัวเดียวกัน มันส่งผลกระทบที่แรงมาก ๆ ต่อรุ่นลูก และ รุ่นต่อ ๆ ไป เพราะต้องแบกรับความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น และจากเรื่องที่เราเอามาเล่า เราจะเห็นเลยว่า ผลกระทบมันคือแรงมาก บางครั้ง อาจจะถึงชีวิตเลยก็ได้ ซึ่งในปัจจุบัน เรามีการขนส่งที่ดีมากขึ้น ข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ก็น้อยลงเรื่อย ๆ คนไปมาหาสู่กันได้ง่ายขึ้น (แหม่ แกร Tinder Gold ยังพาไปหาผู้ที่ ตปท ได้เลย) นอกจากนั้นการแต่งกันในลักษณะนี้ถูกห้ามในหลาย ๆ ประเทศแล้ว และในกลุ่มของราชวงศ์ และ ชนชั้นสูงในหลาย ๆ ประเทศก็เปิดกว้างมากขึ้น ทำให้มีการแต่งจากคนนอกมากขึ้น ทำให้ลดปัญหาของที่เกิดจากความผิดปกติเหล่านี้ได้นั่นเอง

Read Next...

หลังจากมะนาวโซดา ไปโซดามิ้นท์กันแล้วชะลอวัยกี่โมง

หลังจากมะนาวโซดา ไปโซดามิ้นท์กันแล้วชะลอวัยกี่โมง

มันมีลัทธิกิน โซดามิ้นท์ กันแล้วหวะทุกคน นี่มันอะไรกันวะเนี่ย หลังจากมะนาวโซดาฆ่ามะเร็ง สู่โซดามิ้นชะลอวัยกันแล้ว วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า คนที่เขาอ้าง เขาอ้างว่ากินยังไง ทำไมถึงมีผลแบบที่เขาบอกได้จริง และเราจะเล่าในเชิงวิทยาศาตร์ทางการแพทย์ว่า ทำไมมันอันตรายกว่าที่ทุกคนคิด...

เจาะลึกเบื้องหลังการทำงานของ กันแดด ทำไมมีหลายแบบ จะเลือกอย่างไร

เจาะลึกเบื้องหลังการทำงานของ กันแดด ทำไมมีหลายแบบ จะเลือกอย่างไร

ถ้าต้องให้เลือก Skin Care แค่อย่างเดียวเราะจะเลือกอะไร เราคงตอบได้อย่างรวดเร็วว่า กันแดด แน่นอน แต่ถ้าเราลองไปดูกันแดดในท้องตลาดบ้านเรา มันมีเยอะมาก มีหลายประเภทสารพัด วันนี้เรามาเล่าให้อ่านกันในเชิงวิทยาศาสตรดีกว่าว่า มันมีแบบไหน และ แบบไหนเหมาะอะไรกับใครบ้าง...

มันจะไม่มีอีกแล้วหมาล่าแดง ๆ กับ Sudan Red

มันจะไม่มีอีกแล้วหมาล่าแดง ๆ กับ Sudan Red

เราอ่านข่าวเจอเรื่องการที่ไตหวันพบการแพร่ระบาดของการผสมสีอย่าง Sudan Red ลงไปในเครื่องปรุงต่าง ๆ โดยเฉพาะพริก และพวกผงหมาล่าที่นำเข้าจากประเทศจีน วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า สรุปแล้วเรื่องมันเป็นอย่างไร และ สีเจ้าปัญหาอย่าง Sudan Red มันเป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างไร...

Perfume Science 101: ทำไมน้ำหอมถึงมีกลิ่น ?

Perfume Science 101: ทำไมน้ำหอมถึงมีกลิ่น ?

ช่วงนี้เราอินกับ น้ำหอมมาก ๆ เรื่องที่เราคิดว่าน่าใจมาก ๆ สำหรับ เราที่สนใจน้ำหอม และวิทยาศาสตร์คือ วิทยาศาสตร์เบื้องหลังของน้ำหอม มันมีอะไรมากกว่าที่เราคิดมาก ๆ ทำไมกลิ่นนี้ทำให้เรารู้สึกแบบนี้ หรือเรื่องที่เรามา Cover กันในวันนี้คือ ทำไมน้ำหอมถึงมีกลิ่น ?...