By Arnon Puitrakul - 23 สิงหาคม 2018
ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่เด็กมหาลัยเปิดเทอมกันแล้ว น้อง ๆ ปี 1 หลาย ๆ คน ก็รู้สึกเหมือนได้เริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ สถานที่ใหม่ ๆ เพื่อนใหม่ ๆ การเรียนที่ยากขึ้น บ้างปีอื่น ๆ ก็ได้กลับมาเจอเพื่อนและอาจารย์ที่ไม่ได้เจอกันทั้งปิดเทอม
ที่เล่ามาคือประสบการณ์ที่ผมเคยได้จากตอนเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหิดล ตอนนี้ผมก็เปิดเทอมแล้วเหมือนกัน แต่ในฐานะของนักศึกษาปริญญาโท (ทำไมรู้สึกแก่ชอบกล) คณะใหม่ เพื่อนใหม่ วิชาเรียนใหม่ ใหม่ไปหมดทุกอย่าง วันนี้จะมาเล่าประสบการณ์เปิดเทอมครั้งแรกที่ทั้งโหด มัน ฮ่าของผมกัน
ก็อย่างที่บางคนรู้แล้ว ตอนนี้ผมก็เรียนจบปริญญาตรีจากคณะ ICT ที่ม.มหิดล ใช่ครับ ผมเรียนคอมพิวเตอร์ แต่ตอนนี้ผมกลายมาเรียนอยู่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (เข้ !! สะกดชื่อคณะตัวเองถูกสักที ครั้งแรกสะกดเป็น แพทย์ศาสตร์ ตอนนั่งทำเอกสารก็ปริ้นใหม่อยู่หลายรอบ) อ่านมาจนถึงตอนนี้ ทุกคน งง แน่นอนว่า อีคนที่จบคอมพิวเตอร์มา มาเรียนอะไรที่คณะแพทยศาสตร์ !!
ก็นะ ผมก็ไม่เชิงว่าเปลี่ยนสายเท่าไหร่หรอก ผมมาเรียน ป.โท สาขา Medical Bioinformatics หรือภาษาไทยใช้คำว่า สาขาชีวสารสนเทศทางการแพทย์ ที่เป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างจะใหม่ในศิริราช และน่าจะค่อนข้างใหม่สำหรับใครบ้างคนก็ได้นะ แต่ที่ต่างประเทศมันน่าจะมีมาชาติเศษแล้วละ
Bioinformatics คืออะไร ?
สำหรับคนที่ถามคำถามนี้ก็อยากให้ดูที่คำดี ๆ เพราะมันมาจากคำว่า Biology + Information เพราะฉะนั้นมันเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของการ เก็บ, จัดการ และ วิเคราะห์ (คำว่า Information มันมาจากตรงนี้) ข้อมูลทางชีววิทยา (คำว่า Biology ก็ตรงตัวเลย) ซึ่งมันเป็นศาสตร์ที่เหมือนกับรวมทั้งฝั่งคอมพิวเตอร์ในแง่ของ Information ที่ผมถนัด กับชีววิทยาที่ผมชอบ แต่ไม่เหมือนกับ Medical Informatics นะ ไม่เหมือนเลย การเรียนสาขานี้เลยเหมือนกับการรวมสิ่งที่ผมถนัดเข้ากับสิ่งที่ผมชอบ
จุดนึงที่พอเราเข้ามาหาสายวิชานี้มากขึ้น เราจะเห็นว่ามันเป็นเหมือนลูกครึ่ง เอา Information ที่เราจะได้เรียนในคอมพิวเตอร์ มาผสมโรงกับ Biology มันเรียกสาขาที่ผสมกันว่า Interdisciplinarity จุดนึงที่ผมรู้สึกได้คือ การที่เราจะเรียนในสาขาพวกนี้ คือเราต้อง เปิดใจ เพราะถ้าเรามาจากฝั่งชีวะ เราก็ต้องมีความกระหายในการอย่างเรียนฝั่งคอมด้วยกลับกัน ถ้าเรามาจากฝั่งคอม เราก็ต้องอยากเรียนชีวะด้วยเหมือนกัน
ช่วงที่เรียน ป.ตรี อยู่ตั้งแต่ราว ๆ ปี 2 ที่ได้ไปแข่งหลาย ๆ รายการ ผมก็ถามตัวเองอยู่ตลอดนะว่า เออจริง ๆ เราชอบคอมพิวเตอร์ขนาดนั้นมั้ย ? จนอีกปีถัดไปเราก็ตอบตัวเองได้แล้วว่า คอมพิวเตอร์อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราอยากอยู่ด้วยทั้งชีวิต เพราะ Life Goal เราไม่ได้มีสิ่งนั้นอยู่ ตอน ม.ปลาย เราบอกว่า เราอยากเป็นคนคิดวิธีที่จะช่วยผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ได้ เพราะตอนนั้นรู้สึกว่า คนหลายคนป่วยเป็นโรคนี้ บ้างก็โอเค สูบบุหรี่เลยเป็น แต่กับบางคนที่แข็งแรงมาก ๆ ออกกำลังกายตลอดกลับเป็นซะงั้น คนเหล่านี้เขาไม่ได้ทำอะไรผิด มิหนำซ้ำเขายังดูแลสุขภาพแล้วทำไมถึงต้องมาป่วยอีก เลยรู้สึกว่า มันแปลกดี อยากเข้ามาแก้ปัญหานี้ (บางคนบอกว่า ก็ไปเป็นหมอสิ เอิ่มคือ ก็รู้กันเนอะว่า การเข้าไปเรียนหมอมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ได้เกรดสูง พึ่งจะ 3 ต้น ๆ เอง จะรอดอะไร)
แต่โลกแห่งความเป็นจริงมันช่างต่างจากโลกแห่งความฝันยิ่งนัก ตอนนั้นสิ่งที่ถนัดของผมมันเป็นเรื่องของคอมพิวเตอร์ และผู้ใหญ่ก็เชื่อกันว่า เรียนคอมพิวเตอร์มามันก็จะทำงานหาเงินได้ ก็เลยเลือกเรียนคอมพิวเตอร์ แต่ถามว่าตอนนั้นชอบมั้ย ก็ตอบไปนะว่าชอบ แต่ถามว่ามันคือที่สุดมั้ย? ก็ตอบว่ามันคงไม่ใช่เราสักเท่าไหร่ ถึงจะเห็นผมชอบนั่งเขียนโน้นนี่นั่น แต่การที่เขียนโน้นนี่นั่น มันไม่ได้เกิดจากผมอยากเขียนโปรแกรมนะ มันเกิดจากผมชอบ แก้ปัญหามากกว่า โดยที่คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือนึงที่ผมถนัดในการใช้แก้ปัญหา
ในขณะที่ผมว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ผมก็รู้สึกนะว่า ตัวเองมาไกลมาก ขนาดมันไม่ใช่สิ่งที่เราชอบที่สุด เรายังมาถึงจุดนี้ได้ แล้วถ้าเราได้ทำสิ่งที่เราชอบละ เราจะไปได้ไกลขนาดไหน ก็อยากรู้ อยากทำ Life Goal ให้สำเร็จ เลยเข้ามาเรียนต่อด้านนี้ มันเป็นเหมือนจุดตรงกลางระหว่างสิ่งที่เรามีพรสวรรค์และแรงบันดาลใจจาก Life Goal ดังนั้นมันคงไม่ง่ายแน่ ๆ ที่ผมจะเรียนจบ ถถถถ เพราะมันต้องใช้ความพยายามมหาศาล อย่างน้อยก็มากกว่าตอนที่เรียนป.ตรีแน่ ๆ
วิชาที่เรียนในสาขาก็จะเป็นสายชีวะซะส่วนใหญ่ ที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับคอมพิวเตอร์ที่เรียนมาเลย ถถถถ กระโดดไกลมาก มันก็เหมือนเวลาเรากระโดดจริง ๆ ถ้าเรากระโดดใกล้ เราก็ไม่ต้องใช้แรงมาก กลับกัน ถ้าเราเลือกที่จะกระโดดไกล เราก็จะใช้แรงมาก ทำให้การเรียนในสาขานี้มันเป็นอะไรที่หนักมาก ๆ ก็เรียน ๆ ไปฮ่ะ ตราบใดที่เรายังมีแรงบันดาลใจ
คุณพระ !! วิชาเรียนแต่ละตัวที่เรียน มันแทบไม่มีคอมพิวเตอร์อยู่เลย แล้วนี่คือ ลืมไปหมดแล้ว เคมี ชีวะ ฟิสิกส์ ลืมแบบ แทบสิ้น ไม่เหลืออะไรเลยเจ้าค่ะ ~
วิชาแรกที่เข้าไปเรียนคือ Molecular Biology Techniques in Medical Science มันคือวิชา เลือกของสาขาผม (ในห้องเรียนก็จะมีคนจากสาขาอื่น ๆ มาเรียนด้วย ซึ่งแต่ละคนแน่นอนว่า ไม่มีใครที่ 0 Knowledge เท่าเรามาก่อน คงมีแค่สาขาเดียวมั่ง ที่มีโอกาสที่จะมีคนที่แหวกขนาดนี้มาเรียนด้วย) ที่เราจะมาเรียนพวก Technique ในการทำพวก Molecular ที่มันเล็ก ๆ ทั้งนั้นเลย (มันช่วยมั้ย ถถถ) ได้ทำอะไรหลายอย่างมากตั้งแต่ PCR และ รัน Gel Electrophoresis อะไรพวกนั้นคือเบสิค แล้วนี่คือ 0 Knowledge เกี่ยวกับด้านนี้มาเลย อย่างมากคือได้เห็นพี่ที่ Lab ทำมาก่อน ครั้งนี้เราต้องมาทำเอง
ซึ่งมันก็จะมี Lecture และ Lab ในคาบ Lecture เปิด Lecture Note มานี่คือ วดฟ มาก เพราะไม่รู้อะไรเลย ใช้จินตนาการอย่างเดียว ว่าไอ้นั้นต่อไอ้นี่ แล้วมันจะมันน่าจะมี Outcome ได้ประมาณนั้นประมาณนี้อะไรทำนองนั้นเลย เหตุผลไม่ต้องถาม เพราะไม่รู้ ซ้ำร้ายกว่านั้น มันจะมีคะแนน Participation ด้วย นี่ก็เงียบเป็นเป่าสากทั้งคาบ ไม่ได้เพราะไม่อยากตอบนะ เพราะไม่รู้เฟ้ยยยยย ต้องกลับมานั่งอ่านไปเปิด Google ไป
พอมาทำ Lab ก็ไม่เคยทำ Lab แบบนี้มาก่อน มันก็จะเล็ก ๆ หน่อย เครื่องมือที่ใช้จัดการกับมันก็จะเล็กตามไปด้วย เช่นอย่างปกติตอนเราเรียน วิทยาศาสตร์ตอนมัธยม เราก็ได้ใช้ Pipette ที่มันเป็นหลอดแก้วแล้วมีจุกยาง อันนั้นเบสิคไปเลยเมื่อเจอ Automatic Pipette ครั้งแรกที่ได้ใช้คือ กดไม่ลง พยายามเอื้อมนิ้วไปกดจนมือสั่น (อ๋อ ถือผิดด้าน ตอนดูพี่เขาทำให้ดู พี่ถนัดขวา แต่เราถนัดซ้าย เปลี่ยนด้านมือจับแต่ลืม Mirror ด้านของมัน) ปรับผิด ๆ ถูก ๆ นึกกี่ทีก็ยังฮ่าอยู่ วันไหนที่นอนน้อย ๆ หรือกินกาแฟมานี่แทบจะจบ เพราะมือมันจะสั่นมาก หลอดที่ต้องหยอดก็เล็ก จะลงมั้ยละชาตินี้ เวลาหยอดนี่ต้องทำเหมือนเล่นเกมสไนเปอร์ กลั้นหายใจแม่ม !
จนตอนนี้ผ่านมาเกือบ 2 อาทิตย์ รู้สึกเลยว่า Lab Skill มันแข็งแกร่งขึ้นเยอะมาก และเดาว่าอาจารย์ที่มาสอนก็น่าจะยังไม่รู้นะว่า เราไม่ได้เรียนมาจากสายชีวะมาก่อน ไปอย่างไว อยากรู้มากว่าถ้ารู้จะทำหน้ากันยังไง ถถถถถ และนี่ขนาดแค่วิชาแรกยังหายนะต่อฉันขนาดนี้ อีกเทอมกว่า ๆ ที่เหลือฉันจะทำเยี่ยงไร.... แต่ถามว่า สนุกมั้ยก็ตอบว่าสนุกมากนะ รู้สึกสนุกและความอยากรู้มันมากกว่าตอนเรียนคอมเยอะมาก อยากเรียนวิชาที่เป็น Lab อีกเลย
อยู่ศาลายามา 4 ปีมันก็จำได้ละว่า ตึกอะไรอยู่ไหน ถ้าเรามองย้อนกลับไปตอนแรก ตอนที่เข้ามาเรียนปี 1 ใหม่ ๆ เราก็ไม่รู้นะว่า ตึกนั้นตึกนี้ ทางลัดนั่นนี่มันคืออะไร ไปตรงไหน แต่พอเราอยู่ ๆ ไป จนตอนนี้แทบจะจำได้ทุกตารางนิ้วของฝั่งมหิดลศาลายาได้ละ กลับมาที่ปัจจุบันที่ผมก็ต้องไปเรียนที่ฝั่งศิริราช คือไม่รู้จักทางอะไรเลย และเป็นคนที่ หลงเก่ง !! มาก
โชคดีมากที่สาขาที่เราเรียนมันอยู่ในตึกที่เราสังเกตได้ง่าย นั่นคือ ไม่ได้อยู่ในดงตึกเหมือนตึกอื่น ๆ ทำให้ไม่มีปัญหาอะไร แต่พอเราจะต้องไปที่อื่นนี่สิบรรลัย หลงตั้งแต่ปฐมนิเทศยันไปกินข้าวกลางวัน
ถ้าเราลองโหลดแผนที่ภายในโรงพยาบาลศิริราชมาดู เราจะเห็นว่าในนั้นเหมือนเมืองย่อม ๆ เพราะตึกมันเยอะมาก ๆ ราว ๆ 70 Items ในแผนที่เลย พอตึกมันมีจำนวนมาก แต่ที่มันใหญ่ไม่พอ ทำให้มันเกิดช่องทางเล็ก ๆ มากมายนับไม่ถ้วน ตั้งแต่ง่ายที่สุดคือที่จอดมอเตอร์ไซค์ มันไม่ทำให้ตันด้วยนะ เราสามารถเดินอ้อมจากอีกด้านหรืออีกฝั่งนึงเข้าไปได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินเข้าทางที่เอามอเตอร์ไซค์เข้า ตอนนึงที่จะหาตึกเพื่อเอาเอกสารไปส่ง ยามก็บอกว่า เดินเลี้ยวขวาตรงนี้เลย เราก็นึกว่ามันคือช่องเล็ก ๆ ข้างหน้าก็เลี้ยวเข้าไป เดินออกมา อ้าวนี่เราเดินเป็นวงกลมนี่ หลอกดาว !!! สุดท้ายคือ ตึกที่เราหามันอยู่ด้านขวาหลังจากช่องลึกลับนั่นแหละ ปัดโธ่ !!!
จากเดิมที่อยู่ศาลายามาตลอด 4 ปี กลายเป็นไปอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช ทำให้ Lifestyle ก็ต้องเปลี่ยนไปตามสถานที่เนอะ อย่างเรื่องการเดินทาง จากเดิมที่อยู่หอที่ศาลายา แล้วก็เรียนที่นั่นเลย มันก็จะไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเท่าไหร่ แค่ปั่นจักรยานไปแปบเดียวก็ถึง แต่มาตอนนี้ ตัดสินใจอยู่หอในศาลายาที่เดิม เพราะราคาไม่แพง และไม่เปลี่ยว แต่ก็ทำให้เราก็ต้องเดินทางจากศาลายาไปศิริราชทุกวัน ซึ่งวิธีการเดินทาง เราก็สามารถใช้รถ Shuttle Bus จากในม.มหิดล ที่ให้บุคลากรและนักศึกษาขึ้นไปได้ มันก็จะมีรอบของมันอยู่ ปัญหาของมันคือ รถมันก็มีเต็ม ถ้าเต็มก็ต้องยืน ซึ่งรอบที่ผมนั่งมักจะเป็นรอบ 6.00 มันเช้ามาก พอมันเช้ามาก เราก็อยากหลับ ถ้าเรายืนเราก็จะหลับไม่ได้ เลยทำให้เกิดความพยายามในการหาทางเลือกในการเดินทางอื่น ๆ เข้ามา ก็ไปเจอว่า เราสามารถนั่งรถตู้จากศาลายาไปลงที่พาต้าแล้วเราก็นั่งพี่วินไปได้เลย โอเคมันก็เสียตังค์ แต่ถ้าบอกว่า วันไหนเราน๊อค ๆ หน่อย การออกสายหน่อยแต่เสียตังค์มันก็ไม่ใช่ความคิดที่แย่สักเท่าไหร่ ก็คือเอาเงินซื้อเวลานอนนั่นแหละ Zzz...
ภาพมันจะเบลอ ๆ หน่อย นั่งอยู่บนรถแล้วถ่ายมันสั่น ทั้งรถทั้งมือนี่แหละ
จากเวลาออกที่เปลี่ยน ก็ทำให้เวลาตื่นเราก็เปลี่ยนอีก จากเดิมเรียน 9 โมงตื่น 8.30 ยังทัน ตอนนี้มันไม่ได้แล้วเพราะเราผูกตัวเราเข้ากับรอบรถ ซึ่งรอบมันก็จะตลกหน่อย ๆ ที่มันมีรอบ 6.00, 6.15 และกระโดดไป 9.00 เลย แบบ เฮ้ย !! แล้วเราก็เรียน 9 โมงไง เพราะฉะนั้น รอบที่เราจะขึ้นได้คือ 6.00 และ 6.15 เท่านั้น ทำให้เวลาตื่นของเราก็ต้องขยับไปให้ทัน (นอกจากจะให้ทันรถออกแล้ว เรายังต้องไปให้ทันได้นั่งด้วย ถถถถ) ก็กะเวลาจากปกติที่จะออก ก็เลยต้องตื่น 4.45 ขึ้นมาอาบน้ำ แต่งตัวก็ว่ากันไป
จุดที่พีคนอกจากตื่นเช้าแล้ว รถรอบ 6.00 ที่เรานั่งไป มันถึงศิริราชตอน 6.30 ไวเวอร์ !! แต่เราเรียนตั้ง 9 โมง ด้วยความที่ไม่รู้จะไปทำอะไร นึกอะไรไม่รู้ ไปนั่งกินข้าวเช้า ที่ปกติไม่เคยทำมาก่อนเลย มันก็จะรู้สึกแปลก ๆ มาก ๆ พอกินก็ต้องเอาออก เวลาเปลี่ยนขนาดนี้ เวลาขับถ่ายก็เปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ จากที่ไม่ค่อยเข้าห้องน้ำ กลายเป็นเข้าทุกวันเลย กลายเป็นว่า ทำให้เห็นความดีของการตื่นเช้าขึ้นมาทันที แต่ก็ต้องนอนเร็วไง !!
บอกเลยว่า เป็นมนุษย์กลางคืน ถ้าเป็นสัตว์ในภาษาอังกฤษเราจะเรียกว่า Nocturnal ชอบนั่งอ่านหนังสือ หรือทำงานตอนกลางคืน มันจะไบร์ทมากยามค่ำคืน แต่พอเวลา เราต้องตื่นเช้า การนอนดึกจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสักเท่าไหร่ เลยทำให้ต้องมีการปรับเวลานอน ซึ่งตอนนี้ผ่านมาอาทิตย์นึงแล้วก็ยังทำไม่ได้สักที พยายามโดยการกลับมาไว ๆ อาบน้ำ แล้วไม่อ่านหนังสือ ขึ้นเตียงเตรียมนอนเลย แต่สุดท้ายมันก็จบด้วยการลุกขึ้นมาอ่านหนังสือ เพราะเครียดกลัวเรียนไม่รู้เรื่อง ซะงั้น....
พูดถึงเรื่องอ่านหนังสือ บอกเลยว่า ทั้งชีวิตนับครั้งที่ผมจะกลับมาทบทวนสิ่งที่เรียนเลย ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม ขี้เกียจมั่ง แต่ก็ไม่ได้เป็นคนเรียนแย่อะไรเบอร์นั้น ก็พอไปได้ แต่มาเรียนสาขานี้ ด้วยความที่มันกระโดดไกลมาก ทำให้เราต้องทุ่มให้มันมากขึ้น เข้ามาคาบแรกนี่เรียนไม่รู้เรื่องอะไรเลย อาจารย์ถามก็ งง ๆ ตอบไม่ได้ เพราะเราไม่มีพื้นอะไรมาก่อนเลย เหมือนเริ่มนับ 0 ใหม่ในขณะที่เพื่อน ๆ ก็อาจจะมีอยู่แล้ว 20-40 จาก 100 ทำให้เราก็ต้องพยายามมากหน่อยในการตามเพื่อนให้ทัน ในขณะเดียวกัน ก็ต้องรับสิ่งที่ได้จากในห้องให้ทันเช่นกัน
ทำให้หลังจากนั้นกลับห้องมาก็จะมานั่งอ่านหนังสือ (เป็นภาพที่ไม่ได้หาได้ง่าย ๆ เลยที่จะตั้งใจเรียนได้ขนาดนี้ เพราะกลัวตกล้วน ๆ) ความเปลี่ยนมันก็มีอีก เพราะที่นี่ไม่ได้อัพโหลด Lecture Note ให้เราอีกแล้ว พี่เขาจะปริ้นมาให้เราเลย ทำให้เราต้องกลับมาใช้กระดาษอีกครั้ง แต่เราก็ไม่ได้เอา iPad ไปไหนนะ เพราะสุดท้ายตอนที่เรากลับมาทบทวน เราก็พยายามสรุปเนื้อหาทั้งหมดลง iPad อีกที เหมือนกับเราพยายาม Connect the dots ออกมาว่า วันนี้สิ่งที่เราเรียนมันเชื่อมอะไรกันยังไง ก็ผ่านมาอาทิตย์นึงก็พอทำได้อยู่นะ แล้วคือ วิชาที่เรียนอยู่ตอนนี้ เรียนอยู่ตัวเดียว (ตัวที่เหลือมันจะเรียนหลังจากนี้) คือมันก็มีทั้ง Lecture และ Lab ที่เรียนทุกวัน จันทร์ถึงศุกร์ ทำให้เราต้องกลับมานั่งอ่าน Lecture, สรุป Lab ที่ทำไปว่าได้ผลอะไรยังไง เพราะอะไร และ อ่าน Lab ของวันต่อไปเพื่อให้เราทำได้ถูก แบบนี้ทุกวัน มันจะล้ามาก ๆ (นี่คือสาเหตุว่า ทำไมช่วงนี้หายไป ไม่ลงบทความ)
ใครว่า นอนน้อยหลาย ๆ วันได้ โห ผมอยากบอกเลยว่า เออ ทำไปเลย เรื่องของแก ! เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาคือ ผมอ่านหนังสือจนเกือบตี 2 แล้วตื่นตี 4.45 ทุกวัน วันแรก ๆ มันก็เฉย ๆ นะ ก็แค่มึน ๆ ง่วง ๆ เท่านั้นไม่ได้มีอะไร แต่พอทำไปเรื่อย ๆ มันเริ่มส่งผลที่น่ากลัวขึ้นเรื่อย ๆ ละจากแค่มึน ๆ มันเริ่ม เครียด (ปกติเป็นคน บ้า แทบไม่เครียดเลย) พอมันล้า มันก็เครียด พอไปเรื่อย ๆ สติมันจะหลุด ๆ แบบ จำไม่ได้ว่า เราทำอะไรไป เห็นดูเหมือนว่าปกตินะ แต่ข้างในคือ พัง พัง พัง ตอนนั้นก็พอครองสติได้จนเลิกเรียน (ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมวันที่ทำ Lab ออกมาสติมันจะหลุดง่ายกว่าวันที่เรียนแต่ Lecture) แต่หลังจากนั้นแหละ เหมือน Shutdown อะ ขึ้นรถปุ๊บเหมือนวาร์ปตื่นมาอีกทีศาลายาเลย ข้าวก็กินน้อยลง มันผอมลงนะ แต่มันซูบ ก็นั่งคิด (แล้วก็เผลอหลับไป) ว่า นี่เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง มาในอาทิตย์ที่ 2 เลยพยายามปรับใหม่ให้อ่านเหมือนเดิมแหละ แต่แค่แบ่ง Part เวลาเอา ไหน ๆ เราก็ตื่นเช้า เราก็เอาเวลาช่วงเช้ามานั่งอ่านต่อเอา เราก็แค่นอนให้เร็วขึ้น ตื่นเช้ามาจะได้สดชื่นอ่านต่อได้เลย (ทำไมไม่ทำแบบนี้แต่แรกฟร๊ะ !!) นี่ก็เกือบจะอาทิตย์ที่ 3 ละ ลองทำดูมันก็ดีขึ้นหน่อย ได้นอนมากขึ้น สดชื่นมากขึ้น กลับมาบ้าเหมือนเดิม และกิน (น้อยกว่าปกติ แต่ก็มากกว่าอาทิตย์ก่อน)
และด้วยความที่ไม่ว่างเลย และอุปกรณ์ที่ใช้เรียนจริง ๆ คือชีทที่เป็นกระดาษเป็นหลัก และ iPad เป็นตัวเสริม ทำให้อาทิตย์ที่ผ่านมาไม่ได้เปิดคอมเลย (เว้นวันศุกร์บ่ายที่ Lecture ต้องใช้ Laptop เลยเอาไปด้วย) สังเกตว่า ตาผมแห้งน้อยลง จากเดิมที่ต้องหยอดน้ำตาเทียมเยอะมาก ตอนนี้คือมันดีมาก ๆ สำหรับใครที่คิดว่าใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ แนะนำให้ซื้อติดไว้
สรุปในเรื่องของ Lifestyle การใช้ชีวิต ก็เปลี่ยนไปเยอะมาก ตั้งแต่ การทำงานตอนกลางคืนที่ทำไม่ได้แล้ว การต้องตื่นเช้า การเดินทาง การกินข้าวเช้า และวิธีการเรียนที่เปลี่ยนไปทำให้เราต้องกลับมาอ่านหนังสือมากขึ้น หลาย ๆ อย่าง แรก ๆ ยอมรับว่า มันไม่ชินเลย แต่พอทำไปเรื่อย ๆ มันก็จะดีขึ้นเองแหละมั่ง ถถถถ
จากตอน ป.ตรี ที่เรียนคอมพิวเตอร์ มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่เราจะต้องพก Laptop ไปเรียนด้วยแทบจะทุกวัน บ้างก็มีเรียน Lab ก็ต้องใช้ หรือเอามานั่งทำงานที่ค้างไว้ก็ตามแต่ ซึ่งการพก Laptop มันไม่ได้เพิ่มน้ำหนักที่เราต้องแบกน้อย ๆ เลย อย่างผมขนาดใช้ Macbook Pro Early 2015 ผมยังบ่นหนักเลย ไหนจะตัวเครื่อง, Adapter และ External HDD แต่พอมาเรียนสาขานี้ ตอนนี้ที่เรียนวิชา Lab อย่างเดียว นี่คือวันที่ไปเรียน พกแค่ Lab Manual และซีทเรียน, เครื่องเขียน + Apple Pencil, เสื้อกาวน์ Lab และ iPad เอง น้ำหนักมันหายไปเยอะมาก ทำให้ผมปวดไหล่น้อยลงไปมาก เวลาเดินไปไหนมันก็สะดวกมากขึ้น ไม่ต้องกลัวว่าจะเหวี่ยงคอมไปโดนอะไร หรืออะไรมาโดนคอมเรา กระเป๋าที่ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องมีขนาดที่ใหญ่เท่ากับตอนที่พก Laptop ไปด้วยก็ได้ สะดวกสบาย และไหล่ก็ไม่พังอีกด้วย เย้ ~
ถ้าคิดว่าตอนเรียน ป.ตรี มันคือความบรรลัยที่สุดในชีวิตแล้ว เราขอแนะนำให้มาลองเรียน ป.โท ดูฮ่ะ อร่อยกว่านั้นเยอะ ยิ่งถ้าเรียนกระโดดสาขากันไกล ๆ แล้ว มันจะกินแรงเยอะมาก มันทำให้เราได้เจอทั้ง วิชาเรียนใหม่ ๆ ที่ลึกขึ้น เร็วขึ้น ได้เจอเพื่อนใหม่ ๆ ที่มาจากต่างคณะ บ้างก็เป็น พี่ แต่ไม่น่าจะมี น้องแน่นอน เพราะเราอ่อนสุดเท่าที่เคสปกติของ ป.โทที่มันน่าจะมีแล้ว อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่มากมายที่เล่ามาเชื่อว่ามันน่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น และเปลี่ยนจาก ผู้ใช้องค์ความรู้ สู่ ผู้สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในอนาคต
ปกติวันแรกของการเปิดเทอมน่าจะเป็นวันที่เราวาดฝันไว้ว่า เราจะไปเรียนชิว ๆ ตรงเวลา ตั้งใจเรียนแล้วกลับมาอ่านหนังสือตรงเวลาที่เราคิดไว้ แต่ภาพที่ผมได้ในวันแรกของการเปิดเทอมป.โทนี้มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย
วันนั้นเป็นวันเปิดเทอม แต่ผมก็ยังไม่ได้ลงวิชาอะไรเลยนะ (ถ้าเราเข้ามาผ่านรอบที่ 3 วันที่เราลงทะเบียนเรียนมันจะเป็นวันเปิดเทอมเลย) และบ่ายวันนั้นผมต้องไป Lab Meeting ที่พญาไท เช้าของวันนั้นผมก็งัวเงี่ย เปิดโทรศัพท์เห็นอีเมล์ที่ผมส่งไปถามเรื่องรายวิชาที่จะลงเรียน ก็มาเป็น Bullet Points อันแรกก็บอกว่า โอเค ลงทะเบียนตามนี้ได้เลย ด้วยความที่ง่วง ๆ อยู่อ่านเจอตรงนี้ก็โอเคละ ก็นอนต่อ พอสาย ๆ อาบน้ำจนเสร็จ กระโดดขึ้น 515 จะไปอนุสาวรีย์ชัยฯ ก็เปิดโทรศัพท์ขึ้นมา เลยได้อ่านเนื้อความทั้งหมด ข้อแรกผ่านไป เพราะเรารู้ละ พอมาข้อถัดไปบอกว่า มันมีวิชานึง ที่เริ่มเรียนบ่ายนี้ ตอนนั้นก็อุทานว่า
ชิบหายแล้ว !!!
เลยพยายาม Message หารุ่นพี่ที่รู้จัก พี่ก็บอกว่า เออเนี่ย งั้นแกก็ไปที่ศิริราช ลงทะเบียนเรียน แล้วเข้าเรียนบ่ายนี้ซะ นี่ก็ตอนนั้นอยู่บน 515 ปลายทางของมันอยู่ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ ที่พึ่งเลี้ยวออกมากำลังจะเข้าป้าย ฝั่งตรงข้าม ม.มหิดลประตู 4 แล้ว นี่ก็ลงป้ายนั้นเลย แล้ววิ่งข้ามสะพานลอยกลับไปขึ้น Shuttle Bus ไปศิริราชโดยพลัน
เห็นตรง 1800 ม่ะ นั่นแหละ ที่เรากดเปลี่ยน ถถถถ
ไปถึงก็ไปที่หน่วยเพื่อให้พี่เจ้าหน้าที่กับรุ่นพี่สอนวิธีการลงทะเบียนต่าง ๆ นา ๆ เพราะวิธีการลงทะเบียนที่ผมต้องทำ มันค่อนข้างจะต้องมีขั้นตอนนิดนึง ต่างจากตอน ป.ตรีที่ไม่เคยต้องทำอะไร นอกจากกดจ่ายตังค์ ขั้นตอนนึงที่ผมแบบ ชอบใจมากคือ การที่เราสามารถใส่ราคาหน่วยกิต และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ (ถ้าไม่เคยทำมาก่อน มี งง แน่นอน ว่าเราต้องเพิ่มนั่น เอานี่ออก) ตอนนั้นคือ เฮ้ย !! แบบนี้ก็ได้เหรอ !!! เลยพอมารู้ว่า สุดท้ายมันก็จะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบแล้วส่ง Invoice มาให้เราไปจ่ายตังค์อีกที ถ้าเราใส่ผิด เขาคงจะแก้มั่งนะ
ถึงเวลาระทึกละ เพราะบ่ายนี้จะเป็นคาบแรกของการเรียน ป.โท ที่ผมก็ไม่ได้ตั้งตัวมาก่อน ตอนนั้นคือ มีแค่ iPad, Apple Pencil, ปากกา และดินสอไป วิชาแรกที่ได้เรียนบ่ายวันนั้นคือ Molecular Biology Techniques in Medical Science มันคือวิชาออกแนว Molecular Biology ไปเลย ไม่มีคอมสักนิดเดียว เรียน Lecture และเข้า Lab เพียว ๆ เลย อื้อหือออออ ยังไม่ทันตั้งตัว ก็โดนแล้ว คาบแรกเรียนเข้าไป ไม่รู้จักใครเลยก็เหนื่อยแล้ว ยังเรียนไม่รู้เรื่องอีก เพราะไม่มีพื้นมาเลย 3 ชั่วโมงผ่านไป ดัก Keyword ได้คำเดียวคือ Central Dogma ให้มันได้แบบนี้สิ !!!!
เย็นหลังเลิกเรียนวันนั้นเห็นว่า Shuttle Bus ที่เราจะขึ้นกลับมันคนเยอะมาก และเราต้องยืน เลยว่า เออ เนี่ยเราก็ไป Central ปิ่นเกล้าหาอะไรกินแล้วกลับรถตู้ก็ได้ แต่ครับแต่ !! จากตึกเรียน เราจะไป Central ปิ่นเกล้าได้ยังไง ?? เพราะตอนขามาเรานั่ง Shuttle Bus มาจากฝั่งศาลายา เลย Facebook Message หารุ่นพี่ ถามว่าจะไป Central ปิ่นเกล้าได้ยังไง? (เป็นมนุษย์ที่ใช้ Public Transport ยอดแย่ และเกลียดการขับรถเป็นที่สุด) หลังจากนั้นมันก็จะเป็นมหกรรมถ่ายรูปส่งที่ละ Shot ที่เดินผ่าน ก็เลี้ยวซ้ายขวาอยู่นั่น เหนื่อยเฟ้ย กว่าจะออกมาได้ก็ใช้เวลาอยู่นับ 30 นาทีได้ พร้อมกับเหงื่อท่วมตัว ตอนนั้นคิดนะว่า ถ้าเราจะไปทีนี่เราต้องเอาพลังงานชาไข่มุขมาผลาญขนาดนี้เลยเหรอถามจริง !! แต่พอครั้งต่อไปจำทางได้ อ้าวก็เดินไม่ไกลนี่หว่า ครั้งที่หลง อาจจะหลงไปหลงมา ทำให้มันไกลชิบหายเลยก็ได้ สำหรับเรื่องนี้ก็ขอบคุณพี่คนนั้นมาก (ขอไม่เอ่ยชื่อในนี้) ผมขอเรียกเหตุการณ์วันนั้นว่า ผจญภัยในศิริราช หาทางออกสู่ Central ปิ่นเกล้า
จากเหตุการณ์ทั้งหมดในวันนั้นคือ หมดสภาพไปเลย และผิดกับที่วาดฝันไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งเรื่องการลงทะเบียนที่น่าปวดหัว การเรียนแบบไม่ทันตั้งตัว การความหลงทางเก่ง ทั้งรีบเร่ง วิ่งเดิน และเดินจนเหงื่อท่วม (คิดซะว่าได้ออกกำลังกาย) กลับมาถึงหอคืออาบน้ำ แล้วก็อ่านหนังสือ และตายรังอย่างสงบในห้อง
แปลกมากเลยนะ เรารู้สึกว่ายังเหมือนต้นปีอยู่เลย เวลาผ่านไปแปบเดียว กลายเป็นจะหมดปีซะแล้ว เรียกว่าเป็นปีที่ทำอะไรเยอะมาก มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ เรื่องเยอะมาก เรื่องหลาย ๆ เรื่องที่เราปูมาตั้งแต่ปีก่อน มันค่อย ๆ งอกเงยมาเรื่อย ๆ วันนี้เรามาถอดบทเรียนให้อ่านกันว่าเราได้อะไรจากมัน และมันสอนอะไรกับเราบ้าง...
เวลาผ่านไปไวเหมือนกันนะเนี่ย ยังแอบรู้สึกว่าเหมือนยังไม่ผ่านครึ่งปีไปดีเลย อ่อ สิ้นปีแล้วเฉยเลย มา งั้นเรามาเล่าให้อ่านกันดีกว่าว่า ที่ผ่านมาในปี 2022 มันเกิดอะไรขึ้น และมันสอนอะไรเราบ้าง...
ผ่านไปอีกปีแล้วกับปี 2021 ที่น่าจะเป็นเวลาที่ยากลำบากสำหรับใครหลาย ๆ คน เราเองก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ หลาย ๆ อย่างที่ Plan ไว้ก็ต้องเปลี่ยนหมด หน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว ก็หวังว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ดีขึ้นเนอะ ~...
และแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องมาเขียน Year in Review อีกครั้ง ประโยคที่ว่า จะหมดปี 2020 แล้วคงไม่มีอะไรแย่ไปกว่านี้ละมั่ง ปีก่อน ๆ อาจจะบอกว่า เออ ใช่แหละ แต่ปีนี้คือเป็นปีที่หนักมากสำหรับหลาย ๆ คนรวมถึงเราด้วย...