Science

Organic ธรรมชาติแท้ ไม่มีคำปลอบใจ

By Arnon Puitrakul - 08 กันยายน 2023

Organic ธรรมชาติแท้ ไม่มีคำปลอบใจ

สวัสดีท่านผู้เจริญซึ่งมากไปด้วยปัญญา บทความนี้เกิดจาก เราตั้งคำถามว่า ทำไมเราจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคำเคลมว่า ผลิตจากธรรมชาติ เป็นพวกนั่นนี่ Organic หรือจริง ๆ แล้วมันเป็นแค่ การตลาดวันละคำกันแน่นะ งั้นเรามาคุยเรื่องนี้กันให้ลึกขึ้นดีกว่า ผ่านเลนส์มุมมองของวิทยาศาสตร์

Organic จากธรรมชาติแท้คืออะไร ?

หลังจากไป เราไปปรึกษากับพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ หลาย ๆ คน ก็ทำให้เราได้แง่มุมที่น่าสนใจเยอะมาก แต่ทุกคนล้วนจะต้องถามก่อนเสมอว่า แล้วเรานิยามคำว่า Organic หรือ ความธรรมชาติว่ายังไง

บาง Brand บอกว่า เราไม่ได้เติมสารเคมีลงไปเพิ่ม เราเน้นใช้สารจากธรรมชาติเพียว ๆ เช่น การเอาเปลือกส้มมาคั้นเอาน้ำมันจากดอกไม้บางชนิดเลย ทำให้หลังขวด เขาก็จะเขียนประมาณว่า Oenothera Biennis Oil อะไรพวกนั้น

The National List | Agricultural Marketing Service

บาง Brand บอกเลยว่า เราใช้ส่วนผสม ที่ผ่าน USDA Organic List พึ่งรู้ว่ามีอะไรแบบนี้ด้วยนะ แต่อ่านแล้วสั้น ๆ ก็คือ แกเล่นเกมโยนขี้ให้ USDA Organic เลยปะ ถ้าเราใช้ส่วนผสมที่ Certified ว่า Organic แล้ว Product ที่ผลิตออกมา มันจะ Organic ว่าซั่น ???

โดยรวม เราคิดว่า หลาย ๆ Brand น่าจะมี คำจำกัดความ คำว่า Organic ที่คล้ายกันมาก ๆ คือ ส่วนผสม ที่เขาบอกว่า มันจะ Organic ได้ ส่วนผสมนั้น ๆ มันจะต้องสกัดได้มาจากธรรมชาติโดยไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีใด ๆ เลย เช่น เราบอกว่า เราเน้นส่วนผสมของชาเขียว ตัวชาเขียวที่เราเอามาใช้ มันจะต้องไม่ผ่านกระบวนการทางเคมีอะไรที่ทำให้ ลบ หรือ เพิ่มองค์ประกอบทางเคมี ทุกอย่างของชาเขียวจะต้องอยู่ทั้งหมด ไม่มีหายสักอย่างเดียว

หรือ มองในแง่ของตัวส่วนผสมเอง เช่นชาเขียว การที่จะบอกว่าชาเขียว Organic เราเข้าใจว่า มันน่าจะต้องไม่ผ่านกระบวนการที่นอกเหนือจากกระบวนการตามธรรมชาติของมันเลย เช่น การใช้ยาฆ่าแมลง หรือ สารเร่งโตต่าง ๆ แต่เราก็ยังไม่แน่ใจว่า นิยามนี้มันรวมไปถึงการปรับปรุงดิน โดยการใส่แร่ธาตุเพิ่มเติม อันนี้มันถือว่าเป็นการใช้อะไรที่นอกเหนือธรรมชาติมั้ย เราว่า เพราะการที่เราปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาตินี่แหละ ทำให้ราคามันแพงกว่าเดิมเยอะ เพราะ แทนที่เราจะปลูกมันเอามาใช้ได้ทั้งหมดใบสวย ๆ เยอะขึ้น อ้าว แมลงแมร่งกินเข้าไปแล้ว แหว่งเละเชียว Brand ก็ไม่น่าจะอยากเอามาใช้กันเท่าไหร่

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารเคมี ไม่มีอยู่จริง

พอเราไปอ่านพวกคำเคลมของหลาย ๆ เจ้าที่เขาเคลมว่า เขาทำ Organic Product เขาบอกว่า Product เขา ไม่มีสารเคมีเลย เราใช้สารที่ผลิตจากธรรมชาติเท่านั้น

เราอ่านแล้วรอบนึง ต้องกวาดตาอ่านอีกรอบ เผื่ออ่านหลุดบางคำไป และต้องอุทานออกมา ว่าไงนะ ??? พี่ว่าไงนะ ?? อะไรวะเนี่ย ไม่มีสารเคมี แล้วพี่ใส่เ_ยอะไรเข้าไปวะ

เราต้องเข้าใจกันก่อนนะว่า ไม่ว่าจะเป็นสารอะไรก็ตาม ทั้งหมดคือสารเคมีทั้งหมด ไม่ว่ามันจะมาจากธรรมชาติ หรือ เราจะสังเคราะห์ขึ้นมาทุกอย่างคือสารเคมีทั้งหมด มันมีองค์ประกอบทางเคมี มันมีสมบัติทางเคมี เช่น ถ้าเราบอกว่า สาร A เหมือนกัน ไม่ว่ามันจะมาจากการสกัดจากธรรมชาติ หรือ สังเคราะห์จาก Lab มันก็จะมีคุณสมบัติเหมือนกันทุกอย่าง

สารเคมีสังเคราะห์ vs สารสกัดจากธรรมชาติ

แต่การที่เราบอกว่า สาร A ไม่ว่าจะมาจากไหน มันก็คือสาร A แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง มันเป็นเรื่องยากมาก ๆ ที่เราจะได้สาร ๆ เดียวที่บริสุทธิ์ 100% มาใช้งาน เป็นอะไรที่ยุ่งยากสุด ๆ เรายกตัวอย่าง Ascorbic Acid 100% มันราคาแพงแบบ กรัมนึงอาจจะหลายพันเลยแหละ พวกนี้ เราไม่เอามาใช้ในพวกเครื่องสำอาง อาหาร หรือ Skin Care พวกนี้มันอยู่ในระดับ Lab Grade ที่เราอาจจะเอามาใช้กับพวก Mass Spectrometer (MS) สำหรับการทำ Calibration อะไรก็ว่ากันไป ไม่เคยเรียนพวก Analytical Chemistry เหมือนกัน ให้คนที่เขาทำมาเล่าแหละ

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสารอะไรก็ตาม มันจะมีสารเจือปนเสมอ ทำให้เราน่าจะมีข้อกังวลอยู่ทั้งหมด 2 เรื่องด้วยกันคือ สารเจือปนมันคืออะไร และ มันมีปริมาณเยอะขนาดไหน

เริ่มจากสารเจือปนก่อน ในการสังเคราะห์สารเคมี พวกสารเจือปนส่วนใหญ่ เราน่าจะพอทราบเลยว่า มันคืออะไรบ้าง เพราะเราเป็นคนสังเคราะห์กันเอง เราเห็นสมการที่เราสนใจทั้งหมด ดังนั้น เราทราบได้คร่าว ๆ ว่า Byproduct ที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากสารที่เราต้องการมันน่าจะมีอะไรบ้าง แน่นอนว่า วิศวกรเคมีพวกนี้ เขาก็จะพยายาม Optimise การเกิดปฏิกิริยา ให้มันได้สารที่เราสนใจมากที่สุด ดังนั้น สารที่สังเคราะห์มาส่วนใหญ่ เขาจะมีความบริสุทธิ์สูงมาก ๆ สารเจือปนน้อยมาก ๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

แต่กลับกัน พวกสารสกัดจากธรรมชาติ จริง ๆ ที่เราเรียก Organic กันทั้งหลาย เขาแค่รู้ว่า ถ้าเราใช้น้ำมัน หรือ การสกัดแบบนี้ออกมา สารที่มันเป็นสารสำคัญจะออกมา เช่น เขาอาจจะสกัดน้ำมันจากผิวส้มออกมา ซึ่งในนั้นมันนั้น มันไม่ได้มีแค่สารสำคัญเท่านั้น แต่มันมีสารอีกหลายตัวมาก ๆ ย้ำว่า มาก ๆ ไม่ว่าจะ เป็นตัวที่มีในส้มอยู่แล้ว และ ตัวที่อาจจะได้รับตั้งแต่ตอนปลูก

มันเลยทำให้เราอาจจะเคยเจอเหตุการณ์ที่ว่า บางคนใช้ Product ที่อาจจะมีสารสำคัญออกฤทธิ์ตัวเดียวกันเป๊ะ ๆ เลยนะ แต่มันสกัดมาจากต่างแหล่งกัน กลายเป็น แพ้แค่ตัวเดียว นั่นไม่ได้เกิดจากการที่เขาแพ้ตัวสารสำคัญนั่น แต่เขาน่าจะแพ้สารประกอบที่อยู่ในส่วนผสมที่มาพร้อมกับสารสำคัญใน Product มากกว่า

ส่วนในประเด็นของความเข้มข้น การที่เราสกัดจากธรรมชาติ แต่ละ Lot มันอาจจะมีความเข้มข้นต่างกันเยอะมาก ๆ ทำให้ มันต้องอาศัยกระบวนการปรับความเข้มข้นที่หนักกว่ามาก ๆ เช่น ส้มวันนี้ อาจจะมี Ascorbic Acid 70% แต่ส้มอีก Lot ปลูกมาไม่ค่อยดี อาจจะมี 40% อะไรเทือก ๆ นั้น เอาจริง ๆ มันน้อยกว่านั้นเยอะมากแหละนะ ก็ต้องไปจัดการผ่านกระบวนการเพิ่มความเข้มข้นเอา จะได้ผ่าน QC เหมือน ๆ กันในทุก ๆ Lot

สารสังเคราะห์มันน่ากลัวจริง ๆ เหรอ

อ่านมาถึงตรงนี้ เราว่าน่าจะเดาได้แล้วแหละว่าเราจะบอกว่าอะไร สารสกัดจากธรรมชาติ โดยเฉพาะเจ้าที่เขียนว่า มันผ่านกระบวนการน้อยมาก ๆ เราก็แอบกลัวนะ เพราะพวกนี้คือ เราไม่รู้เลยว่า สิ่งที่เขาสกัดออกมา ใช่แหละ มันอาจจะมีสารสำคัญที่เขาต้องการมา แต่ เราไม่รู้เลยว่า สารอื่น ๆ ละ ที่มันอาจจะเป็นพิษกับเรา หรือ เราแพ้

ดังนั้น ถ้าถามส่วนตัวเรา เมื่อเรามองในมุมมอง ของสารเคมีตัวเดียวกัน ที่สกัดจากธรรมชาติ และ สังเคราะห์มันขึ้นมา เราคิดว่า มันไม่ต่างกันเลย องค์ประกอบทางเคมีเหมือนกันทั้งหมด สารสำคัญออกฤทธิ์ทำงานในกระบวนการเดียวกันทั้งหมด ทำให้มันไม่ต่างกันเลย ทำให้สารสังเคราะห์มันไม่ได้น่ากลัว เหมือนกับที่นักการตลาดบอกเราเลย

อีกอันที่เราว่า คนกลัวมาก ๆ อยู่ในหมวดของสารสังเคราะห์เหมือนกันคือ วัตถุกันเสีย เข้ เรา งง มาก ๆ ว่าทำไมคนแมร่งกลัวหัวหดได้ขนาดนั้น เอาว่าการที่ Product เราจะเสีย หรือ เสื่อมสภาพส่วนใหญ่ก็จะเกิดจากพวก จุลชีพต่าง ๆ เช่น Bacteria หรือในการเสื่อมก็พวก อากาศ และ ความร้อนต่าง ๆ พวกวัตถุกันเสีย มันก็สารประเภทหนึ่งที่ช่วยทำให้กระบวนการนี้มันเกิดได้ยากขึ้น

เช่น วัตถุกันเสียหลาย ๆ อย่าง มันก็จะเป็นพวกสารลดการเจริญเติบโตของ Bacteria ทำให้เรามั่นใจได้มากขึ้นว่า ไอ้ของที่เราทาเข้าไป เราจะไม่ได้พาพวก Bacteria ต่างถิ่นที่อาจจะเติบโตในขวดเข้าสู่ตัวเรา อาจจะทำให้เราป่วย หรือสร้างสารแปลก ๆ มาทำให้เราแพ้ได้ แต่เราเข้าใจว่าที่คนกลัว เพราะมันมีเคสที่คนอาจจะแพ้สารพวกนี้แหละ เอาเข้าจริง มันก็มีการควบคุมเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกลัว หรือ กังวลเรื่องนี้เลย ถ้าเราซื้อของที่มันผ่าน อย.

ธรรมชาติปลอดภัยเสมอ ?

อีกความเชื่อที่เราเห็น Organic Brand หลายเจ้าพูดกันเยอะมาก ๆ คือ เขาพยายามสร้างความเชื่อว่า สารสกัดจากธรรมชาติคือ สารที่ปลอดภัยมาก ๆ ไม่เหมือนพวกสารสังเคราะห์ที่อันตรายมาก ๆ อย่างที่เราบอกคือ ถ้าเรามองจากมุมมองของ องค์ประกอบทางเคมี ก็จะทำหน้าฉงนว่า อะไรของเ_งวะ

กลายเป็นว่า เอ๊ะอะ คนมันก็ไปมองหาคำว่า อะไรสักอย่างจากธรรมชาติกันหมดเลย แต่เราจะบอกว่า ความเชื่อว่า ธรรมชาติมันไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป ธรรมชาติของคุณไม่ได้น่ารักกับทุกคนเหมือนลูกของคุณแหละครับ

ของหลาย ๆ อย่าง มันสามารถส่งได้ทั้งผลดี และ ผลเสีย เป็นทั้งยา เป็นทั้งพิษได้ในตัวเดียวกัน ถ้าเราใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สิ่งนั้นมันอาจจะเป็นยา หรือถ้าเราเอายา มาใช้ในปริมาณที่มากเกินไป มันก็อาจจะเป็นพิษกับเราได้เช่นกัน ดังนั้น มันไม่เกี่ยวเลยว่า สารที่เราได้มาจากไหน แต่มันเกี่ยวกับปริมาณของมันมากกว่า

เราขอยกตัวอย่าง ของที่เราหาได้ตามบ้านอย่าง มะนาว เมื่อก่อนจำได้เลยว่า ให้เอามะนาวมาฝาน แล้วทาหน้า ยิ่งแสบสิวยิ่งหาย โอ้มายก๊อตตตตต ถามว่า สำคัญที่ทำให้เราแสบเลยจริง ๆ ก็คือ Citric Acid ที่มีเยอะมาก ๆ ในมะนาว เมื่อมันมีมากเกินไป มันก็จะเข้าไปกัดกร่อนชั้นผิวของเราให้พังเข้าไปใหญ่ สุขภาพผิวแทนที่จะดีกลายเป็นชิบหายขึ้นมาทันตาเห็น

แต่ถ้าเราเจือจางมันลงมาหน่อย มาอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้งานพวก อาการปวดแสบก็จะน้อยลง อาจจะยังมีได้บ้างในกลุ่มคนที่ผิวบาง หรือ Sensitive ได้ง่าย แต่มันก็ปลอดภัยกว่ามาก ๆ ลดวามหมองคล้ำได้ ลดรอยดำรอยแดงจากสิวให้ดูจางลงได้

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจมากคือ Ascorbic Acid หรือ Vitamin C มันเป็นวิตามันที่ไม่ค่อยเสถียรเท่าไหร่ ต้องผสมในสารที่ความเป็นกรดสูง ทำให้เมื่อเราเอามาทาบนผิวของเรา มันอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ทำให้มันเป็นส่วนผสมที่งานวิจัยรองรับเยอะมาก ๆ แต่มีความเสี่ยงในการใช้เยอะพอสมควรสำหรับคนที่ผิว Sensitive มาก ๆ ทำให้ มีการเล่นแร่แปรธาตุสารตัวนี้ให้ออกมาในรูปแบบที่ปลอดภัยกับผิวเรามากขึ้น เพิ่มความเสถียรมากขึ้น ทำให้ลดความเสี่ยงในการใช้ได้มากขึ้น และ อยู่บน Shelf ได้นานขึ้นด้วยเช่นกัน

ยา และ อาหารทุกชนิดบนโลกมันจะเป็นประโยชน์ เมื่อเรากิน หรือใช้ ในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนหน้าที่ในการหาปริมาณที่เหมาะสมนั่น ก็เป็นหน้าที่ของ เภสัช และ นักวิจัยเนอะ ไม่ต้องไปหาทำลองกินหาเรื่องใส่ตัวเองเนอะ ~

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

อีกแง่มุมนึงที่คนเถียงกันเยอะมาก ๆ คือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Brand ชอบทำให้เราเชื่อว่า การที่เราใช้สารสังเคราะห์ ไม่ Organic มันไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่เราจะบอกว่า จริง ๆ แล้วมันก็ไม่เสมอไป

ในการสังเคราะห์ หรือการผลิตสารต่าง ๆ เราคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่เกิด Byproduct ที่เราไม่ต้องการ ถ้าเกิด เราสามารถแปลงพวก Byproduct พวกนี้ ให้เป็นสารที่ปลอดภัย และ ทิ้งให้ถูกที่ มันก็จะไม่มีปัญหาอะไรกับสิ่งแวดล้อมหรอก

หรือกลับกัน ถ้าเราบอกว่า เราเน้นการผลิตแบบ Organic มันก็สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมชิบหายได้เหมือนกัน เราว่า มันก็จะกลับไปลูปเดิม ๆ ของ การเกษตรแบบเก่า ๆ ที่เราปลูกพืชให้ได้ผลผลิต ต้นไม้มันไม่ได้เอาพลังงาน หรือ แร่ธาตุจาก Parallel Universe แน่ ๆ ดังนั้น เมื่อเราปลูกต้นไม้เดิม ๆ ซ้ำ ๆ วนไปเรื่อย ๆ ยังไง แร่ธาตุในดินก็ต้องหมดไปแน่นอน สุดท้าย มันก็จะไปพึ่งพวกปุ๋ยนั่นนี่มาใส่ สุดท้าย มันจะเรียกว่า Organic ยังไงหว่า ?? เหมือนกัน ทำให้พวกนี้ ถ้าเขาอยากที่จะ Organic กันมาก ๆ ความหนาแน่นในการปลูกอาจจะต้องน้อยกว่า ได้ Yeild ต่ำกว่า และ อาจจะต้องมีการพักหน้าดิน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และพื้นที่เพาะปลูก

เรายกตัวอย่างเช่น Musk ที่เราเอามาใช้ทำน้ำหอม จริง ๆ แล้วมันคือ Musk Pod ที่เป็นถุงนึงที่อยู่บริเวณระหว่างช่องท้องและอวัยวะสืบพันธุ์ของกวาง นึกภาพว่า ถ้าเราต้องไปตัดของกวางมาทำน้ำหอมเรื่อย ๆ มันก็ไม่โอเคเท่าไหร่เนอะ ทำให้ Musk เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ปัจจุบันเราใช้ Musk ที่สังเคราะห์ขึ้นมา ที่มีองค์ประกอบคล้ายกับ Musk ของจริง หรือ อาจจะเปลี่ยนนิดหน่อยเพื่อให้มันได้กลิ่นดีที่ดีขึ้น ทำให้ เราไม่ต้องไปจัดการกับกวาง ซึ่งแน่นอนว่า ดีต่อสภาพแวดล้อมแน่นอน

ทำให้เรามองว่า จริง ๆ แล้วมันไม่เกี่ยวเท่าไหร่หรอกว่า มันจะผลิตด้วยกระบวนการยังไง แต่ขึ้นกับการจัดการ และ ความสามารถในการจัดการสิ่งที่เราไม่ต้องการออกไปมากกว่า ถ้าเราจัดการในกระบวนการที่เหมาะสม ถูกต้อง และ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ คนใกล้เคียงให้ได้มากที่สุด ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิต และ หน้าที่ของลูกค้าที่ควรจะต้องมีส่วนร่วมในการจ่ายค่า Premium นี้ เพื่อให้มันยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป

สรุป : ส่วนตัวเราว่า คำว่า Organic Product มันก็เป็นการตลาดซะเยอะ

โดยสรุปแล้ว ส่วนตัวจากที่เรามองเห็นจาก Product ในตลาดที่บอกว่าตัวเองเป็น Organic เราว่า มันดูเป็นการตลาดมาก ๆ ยังไม่นับการตลาดที่สอนเรื่องผิด ๆ ให้กับผู้บริโภคนะอันนั้นอยากออกมาแหกมาก

ถามว่า ในแง่ของ สารประกอบสำคัญในการออกฤทธิ์ และ ความเสี่ยงจากส่วนผสมที่อาจจะทำให้เราแพ้ หรือ เป็นพิษ เรากับเรา พวก Product ที่ไม่ได้เคลมว่าเป็น Organic ส่วนตัวเราชอบมากกว่าเยอะ เพราะมันประกอบด้วยสารที่มันจำเป็นจริง ๆ ไม่เว้นเว้อ ไม่มีอะไรแปลก ๆ เข้ามาเพิ่มความเสี่ยง แต่กลับกัน พวก Perfume ทั้งหลายที่ให้กลิ่น เราจะ Prefer ตัวที่เป็น Organic มากกว่า เพราะการจะเกิดกลิ่นเฉพาะตัวของแต่ละอย่าง มันอาศัยองค์ประกอบทางเคมีที่ซับซ้อนมาก ๆ การจะเลียนแบบองค์ประกอบพวกนี้มันยากมาก ๆ เลยค่อนข้างชอบอันที่ Organic ที่จะต่างจากพวก Skin Care ที่อยู่บนผิวเราโดยสิ้นเชิงเลย

สุดท้าย อยากจะบอกว่า Product ที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็น Organic และพวก Product ปกติ ๆ ที่สารหลาย ๆ อย่างเราสังเคราะห์ขึ้นมา มันก็ใช้งานได้ดีมาก ๆ ด้วย แต่ Product ที่ดีคือ เราใช้งาน แล้วเห็นผลตามที่ผู้ผลิตเคลม ไม่แพ้ ไม่เป็นพิษ ไม่ส่งผลเสียกับตัวเรา ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และ อยู่ในราคาที่เราจับต้องได้ อันนี้สำคัญมาก ๆ อย่ากลัวที่จะใช้ Product ที่ไม่ใช่ Organic แต่ก็ไม่เอาพวก ตะกั่วอะไรที่เป็นพิษนะเว้ย หรือ กินฉี่ไม่เอานะเว้ย ขอละ !

Read Next...

หลังจากมะนาวโซดา ไปโซดามิ้นท์กันแล้วชะลอวัยกี่โมง

หลังจากมะนาวโซดา ไปโซดามิ้นท์กันแล้วชะลอวัยกี่โมง

มันมีลัทธิกิน โซดามิ้นท์ กันแล้วหวะทุกคน นี่มันอะไรกันวะเนี่ย หลังจากมะนาวโซดาฆ่ามะเร็ง สู่โซดามิ้นชะลอวัยกันแล้ว วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า คนที่เขาอ้าง เขาอ้างว่ากินยังไง ทำไมถึงมีผลแบบที่เขาบอกได้จริง และเราจะเล่าในเชิงวิทยาศาตร์ทางการแพทย์ว่า ทำไมมันอันตรายกว่าที่ทุกคนคิด...

เจาะลึกเบื้องหลังการทำงานของ กันแดด ทำไมมีหลายแบบ จะเลือกอย่างไร

เจาะลึกเบื้องหลังการทำงานของ กันแดด ทำไมมีหลายแบบ จะเลือกอย่างไร

ถ้าต้องให้เลือก Skin Care แค่อย่างเดียวเราะจะเลือกอะไร เราคงตอบได้อย่างรวดเร็วว่า กันแดด แน่นอน แต่ถ้าเราลองไปดูกันแดดในท้องตลาดบ้านเรา มันมีเยอะมาก มีหลายประเภทสารพัด วันนี้เรามาเล่าให้อ่านกันในเชิงวิทยาศาสตรดีกว่าว่า มันมีแบบไหน และ แบบไหนเหมาะอะไรกับใครบ้าง...

มันจะไม่มีอีกแล้วหมาล่าแดง ๆ กับ Sudan Red

มันจะไม่มีอีกแล้วหมาล่าแดง ๆ กับ Sudan Red

เราอ่านข่าวเจอเรื่องการที่ไตหวันพบการแพร่ระบาดของการผสมสีอย่าง Sudan Red ลงไปในเครื่องปรุงต่าง ๆ โดยเฉพาะพริก และพวกผงหมาล่าที่นำเข้าจากประเทศจีน วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า สรุปแล้วเรื่องมันเป็นอย่างไร และ สีเจ้าปัญหาอย่าง Sudan Red มันเป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างไร...

Perfume Science 101: ทำไมน้ำหอมถึงมีกลิ่น ?

Perfume Science 101: ทำไมน้ำหอมถึงมีกลิ่น ?

ช่วงนี้เราอินกับ น้ำหอมมาก ๆ เรื่องที่เราคิดว่าน่าใจมาก ๆ สำหรับ เราที่สนใจน้ำหอม และวิทยาศาสตร์คือ วิทยาศาสตร์เบื้องหลังของน้ำหอม มันมีอะไรมากกว่าที่เราคิดมาก ๆ ทำไมกลิ่นนี้ทำให้เรารู้สึกแบบนี้ หรือเรื่องที่เรามา Cover กันในวันนี้คือ ทำไมน้ำหอมถึงมีกลิ่น ?...