Technology

ชาร์จไฟ BEV ที่บ้าน เลือกมิเตอร์แบบไหน ชาร์จถูกที่สุด

By Arnon Puitrakul - 10 กุมภาพันธ์ 2023

ชาร์จไฟ BEV ที่บ้าน เลือกมิเตอร์แบบไหน ชาร์จถูกที่สุด

เมื่อหลายวันก่อน เราเกิดความสงสัยว่า ถ้าเรามีรถ BEV สักคัน (จริง ๆ ก็ใช้อยู่แล้วปะวะ) ที่คนเขาบอกว่า ให้เราติดเป็น TOU Metre แล้วชาร์จช่วง Off-Peak มันจะถูกที่สุด ก็จริง ๆ แต่วันนี้ เราจะลองมา Explore แต่ละแบบกันดีกว่า รวมไปถึงเคสที่ติด Solar ด้วย ว่าเคสไหนจะเป็นเคสที่ราคาถูกที่สุด

ปล. การคิดค่าไฟปกติ มันจะไม่ได้คิดแบบ Flat Rate แบบที่เราเรียก เขาจะคิดเป็นขั้นบันได แต่เราติดปาก ดังนั้น ถ้าเราบอกว่า Flat Rate ให้หมายถึงค่าไฟแบบขั้นบันไดทั่วไปนะ

Parameter Settings

ขับรถไฟฟ้าคันนึงเสียค่าไฟเดือนละเท่าไหร่
มีคนถามเราเข้ามาเยอะมาก ๆ ว่า เห้ย มันจะประหยัดกว่าเดิมสักเท่าไหร่เชียว ทำให้เมื่อช่วงหลาย ๆ 3 เดือนที่ผ่านมา เรามีการเก็บข้อมูลการใช้งานรถ และ การชาร์จของเรามาและ วันนี้เราจะมา ดู และ วิเคราะห์เพื่อตอบคำถามง่าย ๆ ว่า เดือนนึง เฉลี่ยแล้วเราใช้ค่าไฟกับรถไปเท่าไหร่

เพื่อให้การคำนวณเกิดขึ้นได้จริง เราจะเริ่มจากการ Setup Parameter สำหรับการคำนวณเปรียบเทียบครั้งนี้กันก่อน เราอยากจะเริ่มจากค่าไฟต่อหน่วยก่อน แต่ประเทศเราค่าไฟมันเป็นแบบขั้นบันได ทำให้เราอยากจะตั้งก่อนว่า เราจะชาร์จรถ เดือนละกี่หน่วย อันนี้เราเอาข้อมูลจากตัวเองเลย สูงสุดที่เราเคยทำต่อเดือนอยู่ที่ 255.45 เราขอปัดขึ้นเป็น 256 kWh ไปละกันเพื่อความง่าย

ค่าไฟแบบแรกที่เราอยากจะคิดคือ ค่าไฟแบบ Flat Rate คือแบบปกติที่เราใช้งานกัน มันเป็นแบบขั้นบันได อันนี้เราจะเอาตัวเลข 256 kWh มาใช้ตรง ๆ ไม่ได้ เพราะมันเป็นมิเตอร์ที่เราใช้งานกับบ้านด้วย เราขอเอาค่าเฉลี่ยหน่วยไฟที่เราจ่ายทุกเดือนออกมาใช้งานละกัน อยู่ที่ 5.55 THB/kWh

ถัดไป ถ้าเราขอ TOU แล้วเราชาร์จแบบ On-Peak ล้วน ๆ เป็นคน ดื้อจัง เราเอาตัวเลขหน่วยเข้าไปคำนวณในเว็บประมาณการณ์ค่าไฟของ PEA เราจะได้อยู่ที่ 1,990.71 บาทหรือ 7.78 THB/kWh

กลับกัน ถ้าเราชาร์จช่วง Off-Peak ล้วน ๆ เลย เราจะโดนกันอยู่ที่ 1,303.23 บาท หรือ 5.09 THB/kWh

มิเตอร์ TOU คืออะไร ? เปลี่ยนแล้วจะคุ้มค่าจริงมั้ย ?
เมื่อก่อนเราก็เข้าใจว่า การคิดค่าไฟในประเทศไทย มันจะมีแค่แบบเดียวคือการใช้อัตราก้าวหน้าแบบปกติเลย แต่หลังจากที่เราติด Solar Cell ไป คนที่ติดให้เขาแนะนำให้เราเปลี่ยนไปเป็นมิเตอร์แบบ TOU ตอนนั้นเราก็คิดนะว่า เปลี่ยนแล้วมันจะคุ้มกว่ามั้ย วันนี้เราลองมาวิเคราะห์ให้ดูกันจัง ๆ เลยดีกว่า

สิ่งที่เราเคยเล่าไปแล้วในบทความเกี่ยวกับเรื่องความคุ้มค่าของการคิดค่าไฟแบบ TOU คือ มันไม่ใช่ทุกเคสที่แค่เราเปลี่ยนไปใช้ TOU กับใช้ไฟช่วง Off-Peak อย่างเดียวแล้วมันจะคุ้มทันทีเลย แต่มันขึ้นกับ Volume หรือปริมาณไฟที่เราใช้งานด้วย ในตัวอย่างนี้ เราเลือกที่จะใช้อยู่แค่เดือนละ 256 kWh ซึ่ง จากที่เราคำนวณ ก็เรียกว่ายังไม่เยอะมากเท่าไหร่ เมื่อเราเอาไปเทียบกับค่าไฟแบบ Flat Rate ปกติ มันเลยทำให้มันต่างกันไม่เยอะมาก ประกอบกับแบบ Flat Rate เอาจริง ๆ เราคำนวณโดยการเอาค่าไฟทั้งบ้านไปคำนวณเลย ยิ่งทำให้ราคาของ Flat Rate มันแพงขึ้นไปอีก ถ้าเราเอาแค่ค่าชาร์จรถไปคำนวณ TOU อาจจะแพงกว่าก็ได้ แต่ ในความเป็นจริง มันเป็นไปไม่ได้ไง เลยไม่สนใจเคสแบบนั้น

ส่วนถัดไป ที่เราอยากเอามาคิดเพิ่มอีกคือ แล้วถ้าเราขายไฟละ ตามประกาศของการไฟฟ้า เมื่อปี 2022 เขาจะรับซื้อไฟอยู่ที่ 2.2 THB/kWh เก็บไว้เป็น Parameter ก่อน

เพื่อความมันส์ และ Detail Manner ฉบับเว็บเราเข้าไปอีก เราจะคิดต่ออีกหน่อยว่า ถ้าเราติด Solar Cell ละ ในภาพด้านบนนี้เป็นกราฟกำลังการผลิตของ Solar Cell ขนาด 5 kWp ของวันที่ 31 มกราคม 2023 ที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า มันจะเป็นรูประฆังคว่ำสวยเลย ที่เลือกวันแบบนี้มาเพราะมันค่อนข้างสวย คำนวณง่ายกว่า ช่วง Peak มันจะได้กำลังอยู่ที่ 4 kW ในเวลาประมาณเที่ยง ๆ ก็พอดีครึ่งวันเลย

จากกราฟด้านบน ถ้าเราต้องการชาร์จให้ได้โดน Solar ให้ได้โหดที่สุด เราจะต้องทำให้ช่วงเวลาที่เราชาร์จ มันกินพื้นที่กราฟให้ได้เยอะที่สุด เราจะเริ่มจากว่า เราอาจจะชาร์จสัก 3 ชั่วโมง บนเครื่องชาร์จ 7 kW ทั้งหมดจะเป็น 21 kWh ด้วยกัน ถ้าแบ่งง่าย ๆ เราก็จะหารเวลาด้วย 2 ได้ประมาณ 1.5 ชั่วโมง เรารู้ว่า Peak Power เกิดตอนเที่ยง งั้นเราก็ บวกลบเที่ยงด้วย 1.5 ชั่วโมงไปเลย ก็คือช่วง 10:30 - 13:00 น. ซึ่งช่วงนั้น มันจะได้กำลังอยู่ที่ 3.37 และ 3.78 kW ตามลำดับ เพื่อให้เราไม่ต้องมานั่ง Integral หาพลังงานโชว์ เราขอตีว่า ตลอด Charging Session เราจะได้กำลังอยู่ที่ 3.575 kW ละกันนะ เอามาเฉลี่ยกันตรง ๆ นี่แหละ

เราจะมีเคสที่ใช้ TOU ร่วมกับ Solar ด้วยในความเป็นจริง เราไม่ติด Solar Cell กับมิเตอร์ TOU ที่เราเอามาชาร์จรถอย่างเดียวแน่นอน เราน่าจะทำกันในลักษณะของการเปลี่ยนมิเตอร์เป็น TOU ทั้งบ้าน และ รถไปเลย จะต่างกับแบบที่เราไม่ได้ใช้ Solar ที่เราขอแยก ใช้งานแยกไปเลย

ทำให้เราอาจจะต้องเพิ่ม Parameter ลงไปหน่อยตรงนี้ละกัน คือ เดือนนึงเราใช้ไฟรวมรถแล้ว 1,245 kWh แบ่งเป็นอัตราส่วน On-Peak ต่อ Off-Peak ที่ 20:80 ทำให้เดือนนึงเราจะเสียค่าไฟอยู่ที่ 5,715.93 บาท หรือ 4.59 THB/kWh

เราลืมใส่ว่า ขายไฟได้ 2.2 THB/kWh นะ

ดังนั้น ค่าไฟของแต่ละประเภท ก็จะเป็นดังภาพด้านบน โดยที่เราจะเห็นว่า ตัวที่ถูกที่สุด จะเป็นเมื่อเราใช้ TOU ลูกเดียวเลย เพราะอย่างที่บอกว่า TOU มันจะคุ้มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเราใช้เยอะ ๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าไฟแบบ Flat Rate ที่เป็นขั้นบันได

Calculation

เพื่อให้มันครอบคลุมที่สุด เราลองคิดวิธีการที่จะทำได้ อยู่ทั้งหมด 2 หมวดใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ เราใช้งาน Solar Cell ขนาด และ สเปกตามที่เรากำหนดไว้ใน Parameter และ ไม่ได้ใช้ Solar Cell ซึ่งใน 2 ประเภทนี้ เราจะแยกย่อยออกไปเป็นอีก 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ ใช้การคิดค่าไฟแบบ Flat Rate ตามปกติ กับมิเตอร์ที่เราใช้สำหรับบ้านอยู่แล้ว กับ ขอมิเตอร์ TOU แยกออกมา

กับเราขอเพิ่มอีกกลุ่มคือ พวกที่ขายไฟ จะแยกออกเป็น 2 กลุ่มคือ เราขายไฟ แล้วชาร์จช่วง Off-Peak ที่มี Solar ช่วย กลุ่มนี้จะเป็นพวกที่ชาร์จเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดที่เป็น Off-Peak แล้วมีแดดกลางวันเลย และ ชาร์จ Off-Peak เช่นเดียวกัน แต่ไม่มี Solar ช่วย จะเป็นกลุ่มที่ชาร์จ Off-Peak กลางคืนวันธรรมดา หรือ กลางคืนวันหยุด

สำหรับส่วนที่ไม่มี Solar เราก็เอาค่าของแต่ละ Parameter ที่เราคำนวณจากเว็บของการไฟฟ้า ไปใส่ได้ตรง ๆ เลย ไม่มีปัญหาอะไร

แต่สำหรับเคสที่มี Solar มันอาจจะ Tricky หน่อย ๆ เราคำนวณตรง ๆ ไม่ได้ เพราะเราจะต้อง เอากำลังจาก Solar มาหักร่วม โดยเรากำหนด Parameter ในการชาร์จไว้แล้ว กำลังที่เรากำหนดของ Solar คือ 3.575 kW และ กำลังเครื่องชาร์จมัน 7 kW ทำให้ส่วนต่างที่เราจะต้องซื้อไฟจากการไฟฟ้าอยู่ที่ 3.425 kW เราชาร์จทั้งหมด 3 ชั่วโมง ก็จะซื้อพลังงานเป็น 10.275 kWh

ถ้าเราบอกว่า เราชาร์จ Flat Rate อยู่ที่ 5.5 THB/kWh และเราซื้อพลังงานทั้งหมด 10.275 kWh ทำให้ ถ้าเราชาร์จใน Session นี้ เราก็จะเสียอยู่ทั้งหมด 56.5125 บาท แต่ในความเป็นจริง เราใช้งานจริง ๆ ทั้งหมด 21 kWh งั้นเราก็เอาไปหาร เราก็จะได้ 2.69 THB/kWh หลัก ๆ วิธีคิดจะเป็นลักษณะนี้ทั้งหมด สำหรับเคสที่เราใช้ Solar ร่วมด้วย เปลี่ยนแค่ราคาหน่วยไฟของแต่ละช่วงเข้าไป

และเคสสุดท้ายที่ Tricky อีกก็คือ กลุ่มขายไฟ สำหรับคนที่ชาร์จช่วงเวลาที่มี Solar ด้วย เราชาร์จเข้าทั้งหมด 21 หน่วย งั้นเราก็เอาหน่วยที่เรา Export ใส่เข้าไปเต็ม ๆ เลยคือ 21 หน่วย ก็จะเป็นเงิน 46.2 บาท แล้วเอาไปหักกับเงินที่เราจ่ายไป 21 kWh ก่อนหน้า แล้วเอาไปหารกับ 21 kWh เราก็จะได้ออกมาที่ 0.29 THB/kWh

กับเคสที่เราเอาที่ชาร์จช่วง Off-Peak แล้วเอาเงินที่ขายไฟมาใส่ด้วย เราก็เอาไฟที่ซื้อจริง ๆ คือ 10.275 kWh มาคูณกับค่าไฟต่อหน่วยของ Off-Peak แล้วเอามาลบกับ Credit ของ 21 หน่วยคือ 46.2 บาท แล้วหารด้วย 21 หน่วย เราก็จะได้ 2.89 THB/kWh

เราก็ลองคำนวณด้วยวิธีการที่เราเล่าไปแล้ว Fill Table ออกมา มันก็จะได้ราคาดังรูปด้านบน สำหรับเคสที่เอา Credit ขายไฟด้วย แล้วชาร์จตอน Solar ทำงานด้วยเราขอข้ามไปเลยนะ อันนั้นเราว่า มันแอบคิดซ้อน ๆ ไปหน่อยมั้ง ต้องเป็นบ้านที่ติด Solar มหาศาลมาก ๆ อย่างน้อย ๆ ก็ 2 เท่าเลยนะ มันไม่น่าอะ

Analysis

เรามาค่อย ๆ ตอบคำถามกันดีกว่า เริ่มจาก การใช้การคิดค่าไฟแบบ TOU แบบแยกมิเตอร์มันทำให้เราสามารถชาร์จได้ถูกกว่าการคิดค่าไฟแบบขั้นบันไดแบบปกติใช่หรือไม่ คำตอบคือ ใช่ และ ไม่ใช่ มันจะใช่ เมื่อเราชาร์จช่วง Off-Peak เท่านั้น แต่มันจะไม่ใช่ถ้าเราชาร์จช่วง On-Peak ทำให้การวางแผนการชาร์จ ให้ชาร์จช่วง Off-Peak ทำให้เราประหยัดลงไปได้ โดยที่เราลงทุนขอติดตั้งมิเตอร์เพิ่มอีกลูกสำหรับการชาร์จรถโดยเฉพาะ อย่างน้อยจาก Parameter ที่เราใช้ มันก็ถูกลงเกือบ 50 สตางค์ต่อหน่วยเลย และ ยิ่งเราใช้เยอะ มันก็จะถูกกว่านี้อีก กลับกัน ถ้าเราใช้การคิดค่าไฟแบบขั้นบันได ยิ่งเราใช้เยอะ ต่อหน่วยมันก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ สวนทางกันโดยสิ้นเชิง เลยทำให้ตอบคำถามแรกได้เลยว่า ใช่ ถ้าเราจัดสรรเวลาในการชาร์จให้ไปชาร์จช่วง Off-Peak เท่านั้น

คำถามต่อไป ถ้าเราติด Solar Cell แล้วเอามาใช้ชาร์จรถ จะทำให้ค่าพลังงานสำหรับการชาร์จถูกลงหรือไม่ อันนี้เราเห็นจากข้อมูลเลยว่า เป็นเรื่องจริง ถ้าเราทำตาม Parameter ที่เรากำหนดไว้นะ จะทำให้มันลดจาก 5.5 THB/kWh ไปเป็น 2.69 THB/kWh ถือว่าเยอะมาก ๆ เลยนะ แล้วถ้าเราเปลี่ยนเป็น TOU อีกมันจะลงไปได้ถึง 2.49 THB/kWh ก็ยิ่งโหดเข้าไปใหญ่

ถ้าเรา ติด Solar Cell ขายไฟ กับใช้ TOU แล้วเอาไฟส่วนเกินมาชาร์จช่วง Off-Peak อาจจะเป็นช่วงหลัง 4 ทุ่มของวันธรรมดา มันยังจะคุ้มอยู่มั้ย คำตอบคือ ก็น่าสนใจ เพราะมันทำให้ราคาลดจาก 5.09 THB/kWh เมื่อเราใช้แค่ TOU เป็น 2.89 THB/kWh มันดูคุ้มกับ รถนะ แต่มันไม่คุ้มสำหรับ Solar Cell มั้ย อันนี้ถ้าเราเดา ๆ เราเดาว่า ไม่น่าเท่าไหร่เลยะ เอาเป็นไฟเหลือ เอามาใช้ดีกว่า อย่าติดเพื่อขายแล้วเอามาเสียบรถเลย อาจจะหนักกว่าเดิม

Takeaway Suggestions

จากที่เราดูผลกันเมื่อกี้ สิ่งที่เราอยากจะบอกคือ สำหรับบ้านไหนที่ใช้งาน EV แล้ว ยังไม่ได้ติด Solar Cell อันนี้เราจะไม่แนะนำให้ไปหาติด Solar Cell เพื่อขายแล้วชาร์จรถโดยเฉพาะ แต่ถ้าเราบอกว่า โอเค เรามีการใช้ไฟกลางวันเยอะอยู่แล้ว ใช้เป็นหลักเลย อันนี้มันน่าติดมาก ๆ แล้วถ้าเรามี EV ด้วย มันก็จะเป็น Combination ที่ดีขึ้นไปอีก รวมไปถึงการเปลี่ยนเป็นมิเตอร์ TOU กับไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้วขายไฟไปด้วย ก็เรียกว่าเป็น Ultimate Pack แล้ว

ถ้าไปที่เรื่อง TOU สั้น ๆ คือ ถ้าเรารู้ว่า เราจะชาร์จช่วง On-Peak เยอะ ๆ อันนี้ข้ามเลย เราเคยสรุปไปแล้ว

ถ้าเราเน้นการชาร์จวันธรรมดา ช่วงเวลา Off-Peak อาจจะเป็นหลัง 4 ทุ่มเป็นต้นไป ฟิล ๆ ว่า ทำงานกลับบ้าน แล้วเสียบ ตั้งเวลาทิ้งไว้แล้วเราก็เข้าไปนอน ใช้ชีวิตในบ้าน เสียบทุกวัน แล้วติด Solar Cell ขายไฟ เราก็จะได้เรทที่ 2.89 THB/kWh สบาย ๆ เลย

อีกกลุ่มที่ดีไม่แพ้กันคือ กลุ่มคนที่ใช้รถแล้วชาร์จอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง แล้วมี Solar Cell พวกนี้เราสามารถไปชาร์จในช่วงวันหยุดที่เป็น Off-Peak ได้ เสาร์ อาทิตย์ ทำงานมาเสาร์ อาทิตย์ นอนอยู่บ้าน กลางวัน Off-Peak ก็เสียบชาร์จไป เราก็จะได้ไฟจาก Solar Cell แล้วเสียบไปด้วย ก็จะได้ไฟราคาถูกกว่าเดิมนิดหน่อย 2.49 THB/kWh ช่วงที่ไฟ Solar Cell มันเยอะมากพอ มันอาจจะน้อยหน่อย ถ้าเรามีเวลา เราก็อาจจะแบ่งจิ้มไปเลย 2 วัน วันละ 3 ชั่วโมง ก็ได้ประมาณ 42 kWh แล้วนะ ถ้าเป็น ORA Good Cat ของเรา ก็ได้เกือบ ๆ 70% เพิ่มขึ้นมาแล้วนะ น่าจะไหว ๆ อยู่ แต่ถ้าต้องชาร์จมากกว่านั้น เราก็อาจจะแบ่งไปเสียบ Off-Peak วันธรรมดาไปก็ได้ แต่เน้นมาเสียบวันหยุดเยอะหน่อยก็น่าจะประหยัดไปได้เยอะ มันขึ้นกับ Lifestyle และ การเดินทางของเราล้วน ๆ เลย

ถ้าเราดูราคาดี ๆ เราจะเห็นเลยว่า เคสที่ถูกที่สุดคือ เคสที่เราจะต้องอยู่บ้านช่วง Off-Peak กลางวันที่มีแดด เมื่อเทียบกับขายไฟแล้วไปชาร์จ Off-Peak แบบไม่มี Solar และ ไม่เปลี่ยน TOU เลย ไปชาร์จตอน Solar ทำงานล้วน ๆ ช่วงเวลาที่มัน เกิดขึ้นได้ มันลดลงเรื่อย ๆ นั่นหมายถึง ถ้าเราอยากได้เรทถูกลงไปเรื่อย ๆ มันจะกลายเป็นว่า เราจะต้อง Reshape Lifestyle ของเราให้ตรงกับเวลาที่มันแน่นมากขึ้น สิ่งที่เราจะบอกคือ พยายามมันก็ดีแหละ แต่อย่าให้กลายเป็นว่า เปลี่ยนมาใช้ EV แล้วลำบากมากขึ้น สั้น ๆ คือ อย่า งก !!! เลือกที่เข้ากับเรามากที่สุด ส่วนใหญ่เราชาร์จแบบไหนเราก็เลือกตามนั้น แล้วนอกจากนั้นที่อาจจะแพงกว่า ถ้าต้องเสียบ เราก็เสียบเถอะ ยังไงก็ถูกกว่าการออกไปเสียบข้างนอก และ ตีเป็นต่อระยะทาง ยังไงก็ถูกกว่ารถที่เป็น ICE แน่ ๆ

Read Next...

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

ปัจจุบันหูฟังที่มีระบบ Noise Cancelling มีมากขึ้นเรื่อย ๆ หลาย ๆ คนอาจจะมองแค่ว่า มันทำให้เราสามารถฟังเสียงโดยมีเสียงรบกวนที่น้อยลง เพิ่มอรรถรสในการฟังได้ แต่จริง ๆ แล้วมันมีข้อดีมากกว่านั้นมาก ๆ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีข้อดีอะไรอีกบ้าง...

สำรองข้อมูลไว้ก่อนจะสายด้วย Time Machine

สำรองข้อมูลไว้ก่อนจะสายด้วย Time Machine

การสำรองข้อมูลเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันข้อมูลของเราเอง วันนี้เราจะมาแนะนำเครื่องมือสำหรับการสำรองข้อมูลที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ อย่าง Time Machine กัน...

Disk Defragment ของเก่าจากอดีต ทำไมปัจจุบันเราไม่ต้องใช้แล้ว

Disk Defragment ของเก่าจากอดีต ทำไมปัจจุบันเราไม่ต้องใช้แล้ว

หลายวันก่อน นอน ๆ อยู่ก็นึกถึงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สมัยก่อนขึ้นมา หนึ่งในสิ่งที่คนบอกว่าเป็นวิธีการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นคือการทำ Disk Defragment มันทำให้เครื่องเร็วขึ้นอย่างที่เขาว่าจริงมั้ย แล้วทำไมปัจจุบันมันมีเทคโนโลยีอะไรเข้ามาช่วย ทำให้เราถึงไม่ต้องทำแล้ว...

เมื่อ Intel กำลังทิ้ง Hyper-threading มันจะดีจริง ๆ เหรอ

เมื่อ Intel กำลังทิ้ง Hyper-threading มันจะดีจริง ๆ เหรอ

เชื่อหรือไม่ว่า Intel กำลังจะทิ้งสุดยอด Technology อย่าง Hyperthreading ใน CPU Generation ใหม่อย่าง Arrow Lake ทำให้เกิดคำถามว่า การที่ Intel ทำแบบนี้เป็นเรื่องดีหรือไม่ และเราที่เป็นผู้ใช้จะได้หรือเสียจาก CPU ใหม่ของ Intel ตัวนี้...