Technology

ขับรถไฟฟ้าคันนึงเสียค่าไฟเดือนละเท่าไหร่

By Arnon Puitrakul - 06 มกราคม 2023

ขับรถไฟฟ้าคันนึงเสียค่าไฟเดือนละเท่าไหร่

หลังจากเราเริ่มขับ ORA Good Cat มาตั้งแต่เดือน Feb 2022 มีคนถามเราเข้ามาเยอะมาก ๆ ว่า เห้ย มันจะประหยัดกว่าเดิมสักเท่าไหร่เชียว ทำให้เมื่อช่วงหลาย ๆ 3 เดือนที่ผ่านมา เรามีการเก็บข้อมูลการใช้งานรถ และ การชาร์จของเรามาและ วันนี้เราจะมา ดู และ วิเคราะห์เพื่อตอบคำถามง่าย ๆ ว่า เดือนนึง เฉลี่ยแล้วเราใช้ค่าไฟกับรถไปเท่าไหร่

เดือนนึงเราใช้งานเท่าไหร่

ก่อนเราจะมาคุยกัน เราเอาข้อมูลมาดูกันก่อนดีกว่า เราเริ่มเก็บระยะทางมาทั้งหมด 3 เดือนด้วยกัน คือเดือน 10-12 ของปี 2022

โดยสิ่งที่เราเก็บคือ List ของการชาร์จทั้งหมดของเรา รวมกับ Odoometre ของรถทุกครั้งที่ชาร์จ เพื่อความง่ายของการวิเคราะห์ เราเลยจะสรุปเป็นรายเดือนออกมา เอาเป็นผลรวมออกมา

เราเลยแยกออกมาเป็น Consumption คือเอาพลังงานที่เราชาร์จเข้าไปของแต่ละเดือนมารวมกัน ช่อง ต่อไปเป็น OD Diff ก็คือเอา Odoometre ของสิ้นเดือน มาลบกับต้นเดือน มันก็น่าจะเป็นระยะทางที่รถวิ่งใน 1 เดือน

ถ้าเราเข้ามาดูที่ระยะทาง เราก็จะเห็นว่า เราก็จะวิ่งอยู่ตั้งแต่ 1,140 - 1,750 km เดือนละพันกว่าโลได้ เฉลี่ยอยู่ที่ 1487.33 km ถ้าเราดูจากในกรุ๊ป ORA Good Cat Thailand เห็นวิ่งกันเดือนละหมื่นกว่าโล ถ้าดูแล้วเราว่า การวิ่งของเรา มันก็ไม่ได้เยอะเท่าไหร่หรอก ซึ่งส่วนใหญ่ เราก็จะวิ่งอยู่แถว ๆ นครปฐม กรุงเทพ และ นนทบุรีเท่านั้นแหละ ไม่ค่อยได้ไปไหนเยอะเท่าไหร่ เน้นเดินทางใกล้ ๆ ซะเยอะ

แต่ในเรื่องของการใช้พลังงาน โดยเฉลี่ยเราใช้ไป 235.94 kWh สูงสุดอยู่ที่ 255.45 และต่ำสุดที่ 201.91 kWh ถ้าเราไปดูเทียบกับการใช้งานบ้านเราเอง มันก็จะอยู่ที่ประมาณ 16% ของบ้านเท่านั้นเอง (แต่อย่าลืมว่า เรามี 2 คัน อันนี้เป็นของแค่คันเดียวเท่านั้นนะ)

ค่าใช้จ่ายเป็นเท่าไหร่

เรื่องค่าใช้จ่าย เราว่าหลาย ๆ คนที่ได้เห็นค่า Ft ที่เรียกว่า To the moon ของจริง ก็น่าจะเป็นห่วงว่า มันจะเยอะขึ้นแบบน่ากลัวมาก ๆ แต่สำหรับบ้านเราที่ติด Solar Cell ไม่ได้มีปัญหานี้เท่าไหร่ ถ้ากลับไปอ่านบทความที่เรารีวิว Solar Cell ล่าสุดก็จะ ขำ ว่า เชี้ย ถูกชิบหาย

ในการคำนวณ เราก็จะเอาค่าไฟต่อหน่วยเฉลี่ย ที่เราคิดจากเอาราคา Net ที่ได้จากบิล มาหารด้วยจำนวนหน่วยที่ใช้ทั้งหมดจริง ๆ ทำให้แต่ละเดือนของเรามันก็จะไม่เท่ากัน ตามการใช้งาน และ ปริมาณพลังงานที่ผลิตได้ โดยที่ หน่วยนึงของเรา มันอยู่ที่ประมาณ 1.25 บาทเท่านั้น มันจะมีเดือน 12/2022 ที่หล่นลงไปที่ 0.38 บาทต่อหน่วยเท่านั้น เราก็คำนวณเป็นเดือน ๆ ตรง ๆ ไปเลยละกันง่ายดี

ทำให้เดือน ๆ นึง เราจะเสียค่าไฟเพื่อชาร์จรถสำหรับการวิ่งประมาณ 200-255 กิโลเมตรแพงสุด ๆ อยู่ที่ 322.79 บาทด้วยกัน เรียกว่าน้อยมาก ๆ สำหรับการวิ่งขนาดนั้น เพราะถ้าเราเฉลี่ยออกมา แพงสุด ๆ ของเราอยู่ที่ 20 สตางค์ ต่อกิโลเมตรเท่านั้น และ ต่ำลงไปถึง 5 สตางค์ต่อกิโลเมตรเท่านั้นเอง

แต่การคำนวณนี้อาจจะไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงสำหรับคนส่วนใหญ่ที่อาจจะยังไม่ติดตั้ง Solar Cell และมีเวลาชาร์จตอนกลางวัน งั้นเราเอาว่า ถ้าเกิดเราไม่มี Solar Cell เลย เราก็จะเสียอยู่มากสุดที่ 1423.04 บาทด้วยกัน ก็ถือว่า เออ โอเคนะ สำหรับการที่เราไม่ได้จัดสรรเวลาในการชาร์จด้วย ถือว่าเป็นค่าตรงนั้นไป เมื่อเราไปดูราคาต่อระยะทาง มันก็จะอยู่ที่ 0.98 บาทต่อกิโลเมตรสูงสุด แต่ถ้าเราไม่ได้ติด Solar Cell จริง ๆ ทำให้การที่เราติดตั้ง ToU Metre ลูกกที่ 2 และทำการชาร์จรถในช่วง Off-Peak น่าจะให้ราคาที่ถูกกว่านี้มาก ๆ

ห่างจากค่าน้ำมันเท่าไหร่

คันแดงนี่เลย แอบคิดถึงน้องนะ ไม่รู้ว่าเจ้าของใหม่น้องเขาจะดูแลน้องดีมั้ย จะเช็คระยะน้องตามกำหนดมั้ย หวังว่าจะไม่มีอุบัติเหตุอะไรนะ

เราขอเทียบกับรถเก่าของเราละกัน คือ Honda City RS 1.0 Turbo ตอนนั้น บนหน้าปัดที่เราเห็นอยู่มันได้ประมาณ 14km/l ตอนนั้นเราเติม E20 ราคา ณ วันที่เราเขียนอยู่ที่ 33.14 บาทต่อลิตร ดังนั้นถ้าหาร ๆ ออกมาอยู่ที่ 2.37 บาทต่อกิโลเมตรเลย

ถ้าเทียบกันแล้ว สำหรับบ้านเราเอง ที่ใช้ Solar Cell ก็คือ ห่างกันประมาณ 10 เท่าได้จาก 2 บาทนิด ๆ กลายเป็น 0.2 ก็ 10 เท่าหารเลขทั่ว ๆ ไปเนอะ กับ ถ้าเกิด เราดื้อไม่ติด ToU เลย แล้ว ชาร์จเอาเลย เราก็จะหายไปจาก 2.37 กลายเป็น 0.98 ดีว่า หายไปเท่าตัวเลย

ไม่กลัวแบตเสื่อมเหรอ

ถ้าเอาสั้น ๆ เลยนะ คือ ไม่กลัว ก่อนหน้านี้เรา ก็ งง ว่า ทำไมคนกลัวกันขนาดนั้น เราเลยมาถึงบางอ้อว่า อ่อออออ เป็นเพราะคนติดภาพจำกับแบตโทรศัพท์ที่ใช้ ๆ ไปมันก็เสื่อมเร็วมาก ๆ บางคนปีเดียวเสื่อมแล้ว แต่เราจะบอกว่า แบตรถไฟฟ้า กับ แบตโทรศัพท์ ถึงจะเป็น Lithium-Ion เหมือนกัน แต่มันก็เป็นคนละประเภทกันเลย

พวกแบตโทรศัพท์มันเป็น LCO (Lithium Cobolt Dioxide) ซึ่งให้ความหนาแน่นของพลังงานสูงมาก แต่การจ่ายพลังงานมันไม่สูงเท่าไหร่ เลยทำให้เราไม่สามารถเอามาใช้งานกับรถ BEV แล้วคุ้ม และมี Charging Cycle ไม่มากเพียงแค่ 500-1,000 Cycles เท่านั้น ทำให้ BEV เราจะไปใช้พวก LFP (Lithum Iron Phosphate) หรือ NMC (Nickel Manganese Cobalt) ซึ่งรองรับ Charging Cycle สูงกว่ามาก ๆ ไปได้ระดับ 2,000 - 4,000 หรือมากกว่านั้น เรียกว่าชาร์จได้ยาวนานมาก ๆ ดูจากรถที่มีข้อมูลมานานอย่าง Tesla บางคันล่อไปล้านกิโลเมตรแล้วก็ยังไหว อะ แต่ถ้าบอกว่า โอเค Tesla มันเก่งเรื่องการจัดการอุณหภูมิต่าง ๆ งั้นถ้าเราบอกว่า โง่ ๆ เลย ได้อย่างมากสักครึ่งนึงของ Tesla ก็ 500,000 กิโลเมตร เราว่ามันก็เกินกับที่รถคนส่วนใหญ่จะวิ่งแล้ว ส่วนมากก็ขายรถก่อนหน้านั้นกันหมดแล้วแหละ

แต่ถึงวันนั้นจริง ๆ เราว่า ก็เปลี่ยนรถเอา เอาค่าเชื้อเพลิง บวก ค่ารักษา เราว่า ถ้ามันคุ้มไปแล้ว ก็เปลี่ยนไปสิ เรามองว่า การซื้อขายของพวกนี้มันเป็นเรื่องของการลงทุนมากกว่า ถ้าเก็บไว้แล้วมันทำให้เราเสียเงินมากกว่าก็เปลี่ยนไปเป็นการลงทุน ยิ่งถ้าคุณใช้รถทำงานด้วย ยิ่งไม่มีเหตุผลเลยที่จะเก็บมันไว้เมื่อมันไม่คุ้มทุน

สรุป รถ BEV มันทำให้เราประหยัดขนาดนั้นเลยเหรอ

ถ้าเอาตัวเลขที่เราใช้งานมาลองดู อื้ม.... มันก็จริงแหละ จะบอกว่า รถน้ำมันประหยัดมากกว่า จากตัวเลขนี้มันก็คงสรุปแบบนั้นได้ซะทีเดียวเหมือนกัน สำหรับคนทั่ว ๆ ไป โอเค ถ้าไม่ได้เปลี่ยนมิเตอร์หรืออะไรเลย ถ้าขับขี่แบบเรา ก็จะหายไปเท่าตัวสำหรับค่าเชื้อเพลิง แต่ถ้าสำหรับบ้านเราที่ติดตั้ง Solar Cell ใช้คู่กับรถ BEV ก็ว่าเป็น Perk Set ที่โหดแล้ว แต่เราพ่วง การจัดการพลังงานภายในบ้าน เข้าไปอีก ทำให้มันกลายเป็น Ultimate Perk ทำให้เรา ลดค่าพลังงานสำหรับรถไปได้ถึง 10 เท่า เมื่อเทียบกับการขับ Eco Car ที่ว่าประหยัดแล้วนะ ยังไม่นับเรื่องค่าบำรุงรักษาที่แน่นอนว่า รถไฟฟ้าพวกนี้ชิ้นส่วนมันน้อย การดูแลรักษาไม่แพงอยู่แล้ว

นอกจากนั้น การขับ BEV สำหรับเรา เราแอบรู้สึกปลอดภัยกว่าการขับรถน้ำมันเยอะมาก ๆ เพราะเราไม่รู้พวกเรื่องกลไกของเครื่องยนต์สันดาปเลย ถ้าเราขับ ๆ ไปแล้วเกิดอะไรขึ้นคือ เราจะกลัวมาก แต่กลับกัน พวก BEV เราเข้าใจว่ามอเตอร์ทำงานยังไง Battery อยู่ตรงไหนทำงานยังไง ถ้ามันเกิดอะไรขึ้น เราพอที่จะ Diagnostics แล้วอาจจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้บ้างอยู่ มากกว่ารถน้ำมันแน่นอน เลยทำให้เรารู้สึกปลอดภัยกว่าเยอะมาก ๆ

Read Next...

Microinverter ต่างจาก String Inverter อย่างไร เลือกแบบไหนดีกว่ากัน

Microinverter ต่างจาก String Inverter อย่างไร เลือกแบบไหนดีกว่ากัน

หลังจากเราเขียนเรื่อง Solar Cell ไปมีคนถามเข้ามาอยู่ว่า ถ้าจะเลือกติดตั้ง Solar ระหว่างการใช้ระบบ String Inverter กับ Microinverter เราจะเลือกตัวไหนดี วันนี้เราจะมาเล่าเปรียบเทียบให้อ่านกันว่าแบบไหน น่าจะเหมาะกับใคร...

ทำไมภาษา Programming สมัยใหม่ ถึงไม่มี Pointer Concept

ทำไมภาษา Programming สมัยใหม่ ถึงไม่มี Pointer Concept

ทำไมภาษาบางตัวอย่างภาษา C มี Pointer ในขณะที่ภาษาใหม่ ๆ หลายตัว ไม่มี ทำไมการ Implement Concept หรือเครื่องมือเหล่านี้ถึงไม่ได้รับความนิยม วันนี้เราจะมาเล่าข้อดีข้อเสียของ Feature นี้ในภาษา Programming กัน...

ยืดเวลาการใช้งานแบต Macbook ด้วย 3 ทริกง่าย ๆ

ยืดเวลาการใช้งานแบต Macbook ด้วย 3 ทริกง่าย ๆ

เวลาเราเอา Macbook ออกไปใช้งานนอกบ้าน บางครั้ง เราสามารถเสียบปลั๊กไฟได้ แต่งานก็ต้องทำ ก็คือทำงานแข่งกับเวลาเลยทีเดียว วันนี้เราจะมาบอกทริกการยืดเวลาการใช้งานบน Battery กันจาก 3 ทริกง่าย ๆ กัน...

Bittorrent คืออะไร ทำงานอย่างไร?

Bittorrent คืออะไร ทำงานอย่างไร?

การดาวน์โหลดไฟล์ผ่าน Internet เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปสำหรับการใช้งานในปัจจุบันกันแล้ว ตั้งแต่การโหลดไฟล์เอกสารต่าง ๆ จนไปถึงการ Stream เพลง และหนังต่าง ๆ แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับโลกอีกใบ อีกวิธีการของการแชร์ไฟล์บนโลก Internet กันนั่นคือ Bittorrent...