By Arnon Puitrakul - 15 สิงหาคม 2015
หลังจากที่หายไปจากการเขียน Tutorial มานาน วันนี้กลับมาแล้ว กับหัวข้อที่หลายๆ คน Request เข้ามา ว่าอยากจะสร้างเว็บที่เป็น Responsive ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องเขียน Breakpoint เลยมีคนแนะนำให้เขียน Tutorial ของ Bootstrap ขึ้นมานั่นเอง
นั่นดิ มันคืออะไร ? เอาจริงๆ ใช้มาตั้งนานก็ยังไม่รู้เลยว่า สรุปแล้ว เราจะให้คำนิยามว่ามันเป็นอะไรดี แต่ถ้าเอาตามที่เจ้าของเขียนไว้ในเว็บว่ามันเป็น HTML, CSS, JS Framework หรือเรียกอีกอย่างว่า Front end Framework
เราจับมันแยกทีล่ะคำเลยดีกว่า ก่อนอื่นคำว่า Front end มันคือส่วนหน้าบ้านของเรา หรือว่า เป็นส่วนที่ User ของเราจะมองเห็นนั่นเอง ส่วนอีกคำ Framework มันเหมือนกับกรอบการทำงาน ถ้าสมมุติว่าเราไม่มี Framework เหมือนเมื่อก่อน พอหลายๆ คนเขียนโปรแกรมด้วยกัน ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเลยคือ คนนึงก็เขียนอีกแบบนึง อีกคนก็เขียนอีกแบบนึง ทะเลาะกันตายเลย เพราะฉะนั้น Framework จึงเข้ามาช่วยให้เราทำงานด้วยกันได้ง่ายขึ้น เป็นระบบมากขึ้นโดยการกำหนด ข้อกำหนดต่างๆ เข้าไป
หลายอย่างเลยแหละ ตั้งแต่ Grid System, Base Element หรือพวก Style ของ Tag พื้นฐานต่างๆ เช่นพวก Form อะไรแบบนี้, Components ต่างๆ เช่นพวก Navigation, Pagination เป็นต้น และสุดท้ายคือ JS ต่างๆ
หลังจากที่เรารู้แล้วว่า Boostrap มันคืออะไร แล้วใช้ทำอะไร (ถ้าไม่รู้ก็กลับขึ้นไปอ่านข้างบนใหม่ ไล่แล้วไปชิ้วๆๆ) ถัดมาเราจะมาติดตั้งมันกัน
การใช้งาน Bootstrap นั้นไม่ยากเลย เพราะว่าเราแค่ Import มันเข้ามาในไฟล์หน้าเว็บของเราเพราะฉะนั้น เราสามารถติดตั้งเอาแบบง่ายๆ ได้อยู่ 2 วิธี
ติดตั้งปกติ - ให้เราเข้าไปโหลดตัวไฟล์ของ Bootstrap เข้ามาก่อน หลังจากที่เราแตกไฟล์ออกมาแล้ว เราจะได้ 3 Folders ออกมานั่นคือ css , js และก็ font และหลังจากที่เราได้ไฟล์ของ Bootstrap เข้ามาแล้ว เราก็ต้อง Import มันเข้ามาในหน้าเว็บของเรา พร้อมทั้ง Import jquery เข้ามาผ่าน CDN
วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการ Custom ตัว Code ของ Bootstrap เพื่อให้มันทำงานได้ตามที่เราต้องการ
ผ่าน CDN หรือ Content Delivery Network - วิธีนี้ง่ายมากๆ แต่ Custom อะไรไม่ได้เลย เพราะเราไม่ต้องไปโหลดไฟล์ js และ css ของ Bootstrap ผ่านทาง CDN ได้เลย เพียงแค่เราเอา Code ตรงนี้เข้าไปแปะก็ใช้ได้เลย
สำหรับ EP ก็ขอจบเพียงเท่านี้ กำลังเริ่มสงสัยแล้วว่า Tutorial นี้จะยาวสักกี่ EP ดี ท่าทางจะเยอะ แต่ก็ช่างมันเถอะ EP ต่อไปจะเป็นเรื่องอะไรนั้นรอติดตามอ่านกันได้เลย!! และสำหรับใครที่อ่านมาแล้วยังไม่รู้จัก HTML, CSS และ JS แนะนำให้ไปอ่านล่วงหน้าก่อนมาอ่านพวกนี้นะ ไม่งั้น งง จริงจังมาก
เราเป็นคนที่อ่านกับซื้อหนังสือเยอะมาก ปัญหานึงที่ประสบมาหลายรอบและน่าหงุดหงิดมาก ๆ คือ ซื้อหนังสือซ้ำเจ้าค่ะ ทำให้เราจะต้องมีระบบง่าย ๆ สักตัวในการจัดการ วันนี้เลยจะมาเล่าวิธีการที่เราใช้ Obsidian ในการจัดการหนังสือที่เรามีกัน...
หากเราเรียนลงลึกไปในภาษาใหม่ ๆ อย่าง Python และ Java โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการ Memory ว่าเขาใช้ Garbage Collection นะ ว่าแต่มันทำงานยังไง วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า จริง ๆ แล้วมันทำงานอย่างไร และมันมีเคสใดที่อาจจะหลุดจนเราต้องเข้ามาจัดการเองบ้าง...
ก่อนหน้านี้เราเปลี่ยนมาใช้ Zigbee Dongle กับ Home Assistant พบว่าเสถียรขึ้นเยอะมาก อุปกรณ์แทบไม่หลุดออกจากระบบเลย แต่การติดตั้งมันเข้ากับ Synology DSM นั้นมีรายละเอียดมากกว่าอันอื่นนิดหน่อย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการเพื่อใครเอาไปทำกัน...
เมื่อหลายวันก่อนมีพี่ที่รู้จักกันมาถามว่า เราจะโหลด CSV ยังไงให้เร็วที่สุด เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายนะ แต่พอมานั่งคิด ๆ ต่อ เห้ย มันมีอะไรสนุก ๆ ในนั้นเยอะเลยนี่หว่า วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีวิธีการอย่างไรบ้าง และวิธีไหนเร็วที่สุด เหมาะกับงานแบบไหน...