By Arnon Puitrakul - 24 กรกฎาคม 2023
จากตอนก่อน ๆ เราเคยรีวิวเรื่องของการติด Solar Cell ไปแล้ว แต่เมื่อมันผลิตไฟออกมาแล้วเกิน มันก็จะลดกำลังการผลิตลงให้เข้ากับการใช้งานของเรา ทำให้เราเหมือนเสียกำลังไฟฟรี ๆ เลย วันนี้เราจะมานำเสนอ Solution เพื่อแก้ปัญหานี้กันนั่นคือ Tesla Powerwall 2 มาดูกันว่ามันจะทำอะไรได้บ้าง
ก่อนที่เราจะเริ่ม Project นี้ เราศึกษาเยอะมาก ๆ ว่า Battery เจ้าไหนมันจะโอเคที่สุด จาก Configuration ที่เรามี อันนี้เราทำที่บ้านอีกหลัง ซึ่งมีระบบ Solar ขนาด 5 kWp โดยใช้ Inverter ของ Huawei อยู่แล้ว
ทำให้ Solution แรกที่เราไปดูคือ Battery ของ Huawei เอง ซึ่งอันนั้น แอบดีมาก ๆ เพราะ ข้อมูลทุกอย่าง เราสามารถดูจาก App เดียวได้เลย และ การสื่อสาร การติดตั้งทำได้ค่อนข้างง่ายมาก ๆ มันอาศัย Inverter ของเราเป็น Inverter สำหรับการแปลงไฟไปมา ทำให้ประสิทธิภาพค่อนข้างดีมาก ๆ และถ้าเราไปดูเพิ่ม เขาออกแบบมาให้เป็นลักษณะ Modular คือเราสามารถเพิ่มความจุของแบตได้อิสระมาก ๆ เป็นมิตรมาก ๆ ในการเลือกจ่ายเงิน
แต่ปัญหาคือ ตัวมันไม่ได้มาพร้อมกับ ระบบ Backup ไฟสำรองทั้งบ้าน คือไหน ๆ เรามี Battery แล้ว เราก็อยากให้มันมีระบบ Backup เมื่อไฟดับด้วยเลย ซึ่งเราจะต้องติดตั้งกล่อง Backup Box ของ Huawei อีกอันนึง กับพวก Critical Load Box อะไรอีกมากมายเยอะแยะไปหมด เสียเงินเพิ่ม และ การเลือกโหลดทำได้ยากมาก และ การ Backup ทาง Huawei เขาก็เขียนบอกในสเปกนะว่า มันจะตัดเข้าสู่ระบบ Backup ได้ใน 1-3 วินาที แปลว่า ถ้าไฟดับขึ้นมา มันจะดับไปอย่างมาก 3 วินาที แล้วไฟสำรองถึงจะมา เห้ย เราว่าไม่โอเคเลย จบไปอย่างรวดเร็ว
ตัดภาพไปที่ Gold Standard Solution สำหรับเราคือ Tesla Powerwall โอเค เรื่องการประสิทธิภาพการแปลงไฟนั่นนี่ อาจจะสู้ Huawei ไม่ได้ เพราะมันต้องรับไฟ AC จาก Huawei Inverter แล้ว Powerwall ต้องแปลงเป็น DC เพื่อเก็บลงแบตอีกที มันมีการแปลงไปมา เสียพลังงานแน่นอน พวกการออกแบบเป็น Modular ไม่มี มันมาก้อนละ 13.5 kWh จุก ๆ ใหญ่ ๆ ไปเลย และเราสามารถติดตั้งเพิ่มได้อีกนะ ถ้าเราต้องการ
ส่วนเรื่องของการ Backup อันนี้แหละที่เราว่ายังไง Tesla แมร่งกินขาดมาก ๆ คือ ช่วงเวลาที่มันตัดเข้าสู่ Backup มันเรียกว่า ทันทีเดี๋ยวนั้นจริง ๆ ขนาดเครื่องใช้ไฟฟ้ายังไม่รู้เลย เปิด PC ทิ้งไว้ สับ Breaker ลง ยังไม่ดับเลย คือมันฉับระดับ Millisecond ได้เลยมั้งนั่น เลยทำให้เราคิดว่า มันน่าจะตอบโจทย์มากกว่า
สำหรับการเลือกบริษัทในไทย สำหรับการติดตั้ง Tesla Powerwall ณ วันที่เขียนอยู่ ไม่ต้องเลือกเยอะ มีอยู่บริษัทเดียวคือ Solar D เราก็ติดต่อผ่านทาง Facebook Page ไปนั่นนี่ คือเขาตอบเร็วมาก ๆ และแม่ เราก็อยากไปดูก่อนว่า มันหน้าตาอะไรเป็นยังไง เขาก็มี Showroom อยู่ที่ Central Embassy พี่ ๆ ที่อธิบาย ก็คือโอเคเลยนะ เขาลองสาธิตการใช้งานให้ดูพวกเคสถ้าไฟดับพวกนั้น เราคิดว่า ถ้าใครไปเห็นครั้งแรกมันต้องตื่นเต้นมาก ๆ โดยเฉพาะตอนที่เขากด Go Off-Grid ไฟตัด แต่ไฟไม่ดับ Powerwall จ่ายเข้ามาเร็วมาก ๆ
ณ วันที่เราจอง ราคามันอยู่ก้อนละ 699,000 บาท ถ้าเราจอง เราก็ต้องโอนพวกค่ามัดจำ 10% ไปล่วงหน้า จากนั้น เขาก็จะมีช่างมาสำรวจหน้างานว่าเราจะติดตั้งยังไงนั่นนี่ เวลาผ่านไป เขาก็โทรมานัดวันติดตั้งพร้อมกับแบบว่า จะส่งแบบทางไฟฟ้ามาให้ตรวจสอบก่อน เหยย อันนี้เราไม่คิดเลยว่า เขาจะมีเอกสารว่า เขาจะเดินสายยังไง สายขนาดเท่าไหร่ ร้อยท่อนั่นนี่ มีระยะโดยประมาณทั้งหมด และยังมี Single Line Diagram ที่เป็นแผนภาพบอกรายละเอียดการเชื่อมต่อต่าง ๆ ที่สำคัญไว้ทั้งหมด เนี่ย !!!! บริษัทหนึ่งขึ้นต้นด้วย A ลงท้ายด้วย r ไม่มีให้เลย
แล้วถ้าเราอ่านกันดี ๆ พวกอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยเขาก็ใส่ให้เราหมด ต่างจาก บริษัทหนึ่งขึ้นต้นด้วย A ลงท้ายด้วย r อีกรอบหนึ่ง อ่านแบบมาแล้วก็เออ โอเค ตามนั้นได้เลยเพ่ ! ก็นัดวันติดตั้งไปเรียบร้อยนั่นนี่ อยู่ ๆ วันนึง โทรมาบอกว่า ขอเลื่อนเป็นอีกวันนึงต่อไปแทน ฟาคคคคคคคคคคคคคคค เ_ย !!!!!! กรูมีงานไงงง ก็อะได้ ต้องได้แล้วแหละไม่งั้นทำไงได้
วันติดตั้งจริงก็คือ เอาช่างมาหลายคันรถเลย น่าจะมี 6-7 คนได้เลย หลัก ๆ ที่เขาต้องทำก็คือ การเอา Powerwall ขึ้นกำแพง, ต่อสายไปรอที่ Gateway, ติดตั้ง Gateway, Wiring สายภายใน Gateway และ Consumer Box เรา และสุดท้ายคือ การ Setup
ขั้นตอนแรก ถือว่าทำได้เร็วมาก ๆ คือ เรามาถึงบ้าน เขาติด Mounting เสร็จแล้ว และเกือบ ๆ ชั่วโมง เรามาดูอีกที ก็คือ เอา Powerwall ขึ้นเสร็จแล้วอะ เท่าที่ดูคือ มันไปช้าที่ตอนเราจะต่อสายไปที่ Gateway แหละ เขาไม่ได้ต่อสายเปล่า ๆ ไป เขาใช้พวกกล่องเก็บให้เราเรียบร้อย ทำให้เขาจะต้องมาวัด และตัดกล่องให้เขากับบ้านเราหน้างานเลย ทำให้เสียเวลาไปเยอะมาก ๆ เมื่อเสร็จหน้าบ้าน เขาถึงจะเริ่มลากสายจาก Powerwall ไป เท่าที่เราเห็น ก็จะเป็นสาย L/N จาก Powerwall และสาย Communication เราไม่แน่ใจว่ามันเป็นสายประเภทไหนเหมือนกัน แต่ไม่ใช่สาย UTP ที่เราใช้กันบนคอมพิวเตอร์แน่ ๆ น่าจะเป็นสายสำหรับการคุยผ่านพวก RS485 มั้ง คงทำมาพอดี Pinout เลย ความยุ่งยากของบ้านเราก็คือ การลากสายนี่แหละ เพราะมันต้องลากจากหน้าบ้านไปหลังบ้านเลย
อันความเป็นฝ้าแบบผืนเดียวเลย แต่เรามี Downlight ตามทาง และ EV Charger ที่ลากสายก่อนหน้านี้ ก็เดินทางนี้ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แค่ความยากเท่านั้นที่จะต้องแกะ Downlight ออกมาแล้วค่อย ๆ ใช้ ท่อไปเกี่ยวสายให้ไปตามทางที่ต้องการเรื่อย ๆ จนสายมาถึง
เขาก็เริ่มติดตั้ง Gateway เข้าไป ตอนแรกเราเข้าใจว่า Gateway ที่เราเห็น เขาจะมาเป็นกล่องเลย อ่อเปล่า กล่อง กับตัวอุปกรณ์มันแยกกันได้ มาดูตอนติดตั้งก็เข้าใจละ อ่อ ที่มันต้องแยกชิ้นมา เพราะเขาจะต้องเจาะกล่องเพื่อเอาสายเข้านี่เอง !!
เมื่อเอา Gateway แปะบ้านเรียบร้อย เขาก็จะเริ่ม Wiring สายที่ทั้งตัว Powerwall ฝั่งนี้ไม่ยากเท่าไหร่ เพราะ Powerwall อยู่บนพื้น ไม่ได้สูงทำงานง่าย กับสายที่ต่อจริง ๆ คือ สายไฟ L/N และพวกสาย Communication เท่านั้น
แต่อันที่เรื่องใหญ่หน่อยคือสายที่ต่อเข้า Gateway มันไม่ได้แค่เสียบแบตเข้าแล้วจบ หรือมันไม่ได้ขนานกับไฟบ้านเหมือนกับที่ Solar Cell ทำ เพราะอันนี้ เราจะต้องมีระบบ Backup ด้วย มันจะยุ่งยากกว่านั้น ทำให้เขาเสียเวลา Wiring เยอะมาก ๆ และต้องตัดไฟบ้านเราสักครึ่งชั่วโมงกว่า ๆ เลยละ
สุดท้ายเมื่อ Wiring สายอะไรเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนที่สนุกอีกอัน คือการตั้งค่าเครื่องครั้งแรก พี่เขาก็ตั้งค่านั่นนี่พวก Grid Code ต่าง ๆ ไป ผูกกับ Tesla Account เรานั่นนี่ ปรากฏว่า ตอนที่ทำเสร็จ Powerwall มันจะเช็คพวก Grid Compliance ปรากฏว่า ไม่ผ่านค่าาาาาา นี่คือใส่ค่าของ MEA-TH ไปแล้วนะ ก็คือ อีนัง MEA อีนังทัวร์ดีค่าาาาาา มันปล่อยไฟแรงดันเกินไปแบบ เละเทะมาก ๆ อยู่ประมาณ 244-250V แต่ทั่ว ๆ ไปก็ 244V แถว ๆ นั้นแหละ กะเอาให้บ้านพังจุก ๆ ไปเลยแหละนังนี่สาระแนนัก ! จนพี่เขาก็เลยลองปรับไปใช้ Grid Code ของฝั่ง Australia ก็ถือผ่านเลย น่าจะเป็นเพราะฝั่งนั้นเขาตั้งไว้ 230 ถ้ามัน 240 มันก็บวกมายังไม่เกินขอบที่กำหนดไว้ แต่ถ้าตั้งเป็น MEA ของไทย มันตั้ง Norminal อยู่ 220V แหละ พอเจอ 240 เข้าไปคือ Overvoltage แน่นอนเลยไม่ให้ผ่าน ตอนนี้ก็เลยกลายเป็นว่า Powerwall ตั้งในไทย ใช้ไฟประเทศไทย แต่กะแดะไปใช้ Grid Code Australia ตลกสาดดด
จากนั้น เราจะต้องมา Config Solar Inverter ของเราด้วย ให้มันผลิตเกินที่เราใช้ได้ประมาณนึง เพื่อจะให้ Powerwall มันเก็บลงแบต ก็เจอปัญหาว่า อีนัง Huawei Inverter เหมือนมันรู้ว่าเราไม่ยอมใช้ของมัน เราจะ Login เข้าไป Config เครื่องมันไม่ให้เราเข้า เชื่อมต่อไม่ได้เฉยเลย แต่โชคดีที่ เราเข้าหลังบ้านของ Solar Inverter ได้เลยเข้า แล้วอะ พี่ เชิญ ! จัดโลดด ก็คือต้องเข้าไปแก้ค่า Active Power Control Mode ตอนแรกเราเข้าใจว่า ทำไมตั้งเป็น Zero Export เหมือนเดิมไม่ได้ พี่เขาบอกว่า ถ้าเซ็ตแบบนั้นก็ไม่เข้าใจว่าทำไมมันถึงไฟไม่เข้าแบตไม่แน่ใจ เลยต้องเลือกเป็น Limited Power Grid เป็น Percent ไปแล้วตั้งไว้ 1% เออ อันนี้ งง เหมือนกัน กรรมการก็งง กรูก็ งง ถถถถถ
นอกจากนั้น ยังเจอปัญหาการเชื่อมต่อกับ WiFi บ้านอีก เชื่อมเท่าไหร่มันก็ Timed Out ตลอด เชื่อมไม่ได้เลย ทั้งลองเปิด SSID จาก TP-Link Deco ทั้งแบบปกติ และ IoT Network ตอนแรกเราเข้าใจว่า หรือมันลำใย ไม่ชอบ Roaming รึเปล่า ก็ไปเปิด SSID จาก Access Point ของ AIS อีนั่นไม่มี Roaming แน่นอน ก็ยังเจออาการเดิม เลยลองเชื่อมต่อผ่าน Ethernet มันก็ได้ แต่การเดินสายมันไม่สวย เราเลยบอกว่า เอา WiFi ให้ได้อะพี่ ! จนสุดท้ายด้วยความพยายามของเราด้วยความรู้ Computer Network อันน้อยนิด (เพราะตอนเรียน กรู หลับ จบ นะ !) และความพยายามของพี่ช่างรวมกัน ก็มาเจอสาเหตุ มันน่าจะเกิดจาก Encryption Protocol ของ WiFi เราเคยเจอปัญหานี้กับพวก IoT Device ที่มาจาก US, JP และ CN แมร่งมีปัญหาทีไร ต้องเป็น Hardware ของอี 3 ประเทศบ้านี่แหละ คิดว่าตัวเองใหญ่สร้างมาตรฐานแปลก ๆ มาใช้กันเอง ก็แก้ปัญหาจนได้แหละ และติดตั้งจนสำเร็จได้ เย้ !
ท้ายสุด หลังจากแก้ปัญหาอะไรได้แล้ว เขาก็ทดลอง ระบบ Backup ให้ดู พี่เขาบอกว่า อะ นี่นะ ถ้าเราสับ Breaker Main อันนี้แล้ว ไฟจะต้องไม่ดับเลยนะ อะช่างสับได้เลย พรึบบบบบ ไฟดับ !!! เออ ๆ ลองอีกครั้ง มันไม่ควรเป็นมากกว่ารอบนึง เลยเปิดไฟกลับมาใหม่ รอสักพักแล้วลองสับอีกรอบ ก็คือ เย้ รอดแล้ว เสร็จง่ายเรียบร้อย เซ็นต์ส่งมอบงานนั่นนี่เป็นอันจบ
พี่ ๆ เขามาตอน 10 โมงตามที่นัดไว้ เลทนิ๊ดเดียวเท่านั้น หลักนาที มา Wiring สายกันเสร็จเริ่มตั้งค่า Software กันตอนสัก 4-5 โมงเย็น เราจำไม่ได้เหมือนกัน จนติดปัญหาเรื่อง Software แล้วจบตอน 6 โมงกว่า ๆ ก็เรียกว่าใช้เวลาไปเกือบ ๆ 7 ชั่วโมงในการติดตั้ง และวันเดียวจบอย่างที่ Promise ไว้จริง ๆ ยอดเยี่ยมมากครับพี่ ๆ เก่งมาก ๆ
กับชมพี่ช่างที่มาทำงานมาก ๆ คือ เราไม่เคยเจอช่างทีมที่ Professional ได้ขนาดนี้นะ คือ เขาทำงานเป็น Team จริง ๆ เรารู้สึกว่า เขามีการแบ่งหน้าที่ชัดเจนมากว่าใครทำอะไรยังไง ใครตัดท่อ ใคร Wiring ใครเดินระบบ ทีมสั่งข้าว พลัดกันไปกินข้าว จนตอนแรกคิดว่า ชิบหาย หรือพี่เขาไม่ได้กินข้าวเพราะเคสบ้านเราปัญหาเยอะวะ อ่อเปล่า มีคนสั่งข้าว คนที่ทำหน้าที่เสร็จไปกินข้าว และสำคัญคือมี Foreman ควบคุมการทำงาน การเดินสายต่าง ๆ กับพี่เขาแมร่งตลกจริง สายฮ่าของจริ๊งงง
อย่างที่เราบอกว่า การ Wiring สายมันยุ่งยาก ใช้เวลานานมาก ๆ หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่า ทำไมมันยุ่งขนาดนั้นละ เราแค่เติม Battery ไม่ใช่เหรอ เรามาเล่าให้อ่านกัน
ทั่ว ๆ ไป เราจะมีสายไฟเข้าบ้านเรา แล้วเอาสาย L ทั้งหลายเข้า Breaker และ N เข้า Bar Ground ไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้า ซึ่ง Breaker อันนี้ก็คือ Main Breaker ที่เรารู้จักกันนั่นเอง จากนั้น ถ้าเราจะใช้ไฟ เราก็ต่อ Breaker ลูกย่อยออกมาเรื่อย ๆ เพื่อจ่ายโหลดให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อันนี้คือเคสปกติ
ถ้าเราใช้ Solar Cell มันก็ไม่ได้ยากเท่าไหร่ เราก็แค่เอาไฟจาก Solar Cell ที่ Inverter ทำการแปลงแล้ว มาขนานเข้ากับระบบไฟบ้าน ก็คือ การเอามันต่อเข้ากับ Breaker ย่อยอีกลูกนึง เมื่อเราโหลดเครื่องไฟใช้ไฟฟ้า ระยะห่างของไฟจาก Solar กับ Breaker ที่ต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้ามันสั้นกว่าการวิ่งไปเอาไฟจาก Main Breaker ไฟจาก Solar นี่แหละ ก็จะไหลไปหา Load โดยตรง ทำให้บนสายเส้น Main ที่ต่อเข้า Main Breaker มันไม่โหลดนั่นเอง และ เราก็จะแขวน CT Clamp เพื่อวัดกระแสที่ไหลเข้าออกจากเส้น Main ต่อไปที่ Inverter เพื่อให้ Inverter มันปรับกำลังการผลิต เพื่อให้ กระแสในเส้น Main ที่อ่านจาก CT Clamp เป็น 0 นี่แหละคือหลักการของคำว่า กันย้อน
ทำให้ถ้าเราติด Battery เพื่อช่วยเก็บ และ จ่ายโหลดเมื่อไฟจาก Solar ไม่พอมันง่ายมาก ๆ เราก็ทำเหมือน Solar เลยคือ เราก็ขนานเข้าไฟบ้าน ถ้าไฟจาก Solar ไม่พอ มันก็จะสั่งให้แบตปล่อยโหลดออกมา ยังไงก็ได้ให้ Solar + Inverter - House = 0 ให้ได้ แค่นั้นเลย
ถ้าเกิดไฟดับ Solar Cell ที่ทำงานอยู่ มันจะต้องทำการปิดตัวเองลง เพราะถ้าเกิดมันไม่ปิด นอกที่ไม่มีการจ่ายไฟ แต่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียบอยู่ และ ประตูไฟบ้านเราอย่าง Main Breaker เปิดอ้าซ่า ก็อาจจะทำให้ไฟมันย้อนกลับไปที่ระบบส่งได้ ทำให้อาจจะเกิดอันตรายกับเจ้าหน้าที่ที่ทำงาน Maintenance ระบบจำหน่ายไฟอยู่ก็เป็นได้
ตรงนี้แหละที่ทำให้การเดินระบบ Battery Backup เป็นเรื่องยุ่งยากมาก ๆ เราจะต้องมี Breaker อันนึงที่ รู้ว่า เห้ยไฟดับแล้วนะ ให้ตัดตัวเองออกจาก Grid แล้วสั่งให้ Battery จ่ายไฟเข้าสู่บ้านของเราแทน อันนี้แหละคือหน้าที่ของ Tesla Energy Gateway (TEG) ที่มาพร้อมตอนที่เราติดตั้ง Powerwall
แต่การ Wiring มันยากกว่าที่คิด จากเดิมสายเมนต่อเข้า Main Breaker เราจะต้องรื้อออก แล้วย้ายมันไปต่อเข้ากับ Breaker ที่ TEG แล้วถึงจะต่อเข้ากับ ช่อง Supply บน TEG อีกที
จากนั้น เราจะต้อง Wire สายเมน จาก ช่อง Home ของ TEG เข้าไปที่ Main Breaker ลูกเดิม ความ Here คือ ตู้ Consumer Box บ้านเรา ช่างที่เดินทำไว้ เ_ย มาก สายยุบยับเต็มไปหมด กว่าจะเอาสาย Main เบอร์ใหญ่มาก ๆๆ ออกมาได้นั้น เหนื่อยสุด ๆ เลยละ แล้วกว่าจะ Wire กลับไปที่ TEG อีก สุดเกิ้นนนน
แล้วเราก็ไปที่ Battery กัน คือตัว Powerwall เขามี Inverter ในตัวแล้ว ทำให้ไฟที่ออกมาจากมันจะเป็น AC พร้อมใช้ละ เขาก็ Wiring มาต่อกับ Breaker ขนาด 32A ป้องกันไฟเกินต่าง ๆ เข้าไป แล้วต่อกับกับช่อง Home ขนานกับบ้านเราไปเลย ถ้าดูจากรูปมันคือ สายจาก Breaker อันซ้ายที่ต่อเข้าช่อง Home อีกเส้นนั่นแหละ ส่วนพวก ช่องที่เหลือที่เราไม่ได้ต่อเพิ่ม มันคือ L2 และ L3 สำหรับบ้านที่ใช้ไฟ 3-Phase
จากนั้นก็เดินสาย Communication ละ เป็นสายขาว ๆ ต่อลงมา เขาจะมี Pin ให้ต่ออยู่แล้ว เขาก็ต่อให้ตรงกับที่ Tesla กำหนดไว้เป็นพวก RS485 แหละ ไม่น่าจะหนีจาก Protocol นี้เท่าไหร่
ในกล่องเขาจะมี CT Clamp อีกอันเราก็เอาไปแขวนกับสายไฟที่ออกจาก Solar Cell เพื่อให้ TEG มันรู้ว่า Inverter มันผลิตมาเท่าไหร่ ส่วน CT Clamp กันย้อนของ Solar เราก็ให้มันทำหน้าที่เหมือนเดิม แขวนไว้ที่เส้นเมนที่ต่อจาก หม้อแปลงเข้า TEG นั่นเอง
จากการต่อแบบนี้ ทำให้ TEG มันรู้ทั้งหมดเลยนะว่า โหลดที่วิ่งเข้าออกเส้นเมนไปที่การไฟฟ้าเป็นเท่าไหร่, Powerwall จ่ายหรือชาร์จอยู่เท่าไหร่, บ้านเราโหลดเท่าไหร่ และ Solar ผลิตอยู่เท่าไหร่ โดยที่ไม่ต้องไปเชื่อมต่อโปรแกรมของเครื่อง Inverter แต่ละรุ่นเลย อันหลังนี่สำคัญมาก ๆ ไม่งั้นมันจะไม่รู้เลยว่า มันควรจะชาร์จแบตเท่าไหร่
เราจะเห็นจากที่เราเล่ามาเลนะว่า การติดตั้งระบบไฟ เพื่อให้มัน Backup นั้นคือยุ่งยากกว่าการติดตั้งระบบไฟสำหรับการติดตั้ง Battery ที่ไม่ Backup มาก ๆ มีการวางกล่องเพิ่ม มีการ Wiring สายเมนบ้านอะไรอีกมากมายเลยละ ไม่แปลกที่พี่เขาจะใช้เวลายาวนานมาก ๆ ในการจัดการ
ใน Part 1 นี้เราเล่า ตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษา Solution ต่าง ๆ จนไปถึงการติดต่อกับทาง Solar D และ การติดตั้งเลย ส่วนตัวเรามองว่า เราชอบการทำงานของ Solar D ในหลาย ๆ อย่างมาก ๆ โดยเฉพาะทีมช่างที่มืออาชีพ มีคนคุมงานจริงจัง จนทำให้งานมันจบได้ตามเวลาที่กำหนดจริง ๆ ใน Part หน้าเราจะมารีวิว การใช้งานกันว่า มันจะเป็นยังไง
หนึ่งใน Feature ใหม่ที่เปิดออกมาทั้งใน macOS Sequoia, iPadOS 18 และ iOS 18 คือ App ที่ชื่อว่า Password เป็น Password Manager ของ Apple วันนี้เราได้ทดลองใช้งานมันมาประมาณ 1 อาทิตย์แล้ว จะมาเล่าให้อ่านกันว่าอาการมันเป็นยังไง มันทำให้ชีวิตเราเหนื่อยขึ้นได้อย่างไร...
เป็นประจำในทุก ๆ ปีที่ Apple จะเปิดตัว macOS Version ใหม่ออกมาให้ผู้ใช้ Mac ได้ Upgrade กัน ในปีนี้เอง Crack Marketing Team ก็ทำหน้าที่ของตัวเองในการออกไปหาชื่อใหม่ให้กับ macOS ในปีนี้ชื่อว่า macOS Sequoia จะมี Feature อะไรเด็ด ๆ บาง วันนี้เรารวมเอามาเล่าให้อ่านกัน...
หลังจาก Apple เปิดตัว iOS18 และ iPadOS18 วันนี้เราจะมาเล่าพวก Feature ต่าง ๆ ที่เราได้ทดลองใช้งานมาหลายวันพร้อมกับบอก Use Case การใช้งานต่าง ๆ ว่ามันเอามาทำอะไรได้บ้าง...
อีกหนึ่งรีวิวที่หลาย ๆ คนถามเข้ามากันเยอะมาก นั่นคือ รีวิวของ iPhone 16 Pro Max วันนี้เราได้เครื่องมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมารีวิวประสบการณ์การใช้งาน จับข้อสังเกตต่าง ๆ รวมไปถึงตอบคำถามที่สำคัญว่า iPhone รุ่นนี้เหมาะกับใคร...