Tutorial

Programming 101 - How to write a good code

By Arnon Puitrakul - 16 สิงหาคม 2017

Programming 101 - How to write a good code

ผมเชื่อว่า หลาย ๆ คนที่กำลังหัดเขียน Code อาจจะคุ้นเคยกับการเขียน Code ในแบบที่ตัวเองชอบ หรือคุ้นเคย แต่ Programming ในชีวิตจริง นั่นต่างไปจากที่เราหัดอยู่ตอนนี้มาก ๆ เราอาจจะสงสัยว่าคำว่า Good Code ที่เขาพูดกันมันเป็นยังไง เพราะเราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ Programming ก็เช่นกัน การที่เราจะสร้างโปรแกรมที่เราเห็น และใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ถูกเขียนขึ้นมาด้วยคนคนเดียว แต่ต้องอาศัย Programmer นับร้อย หรือนับพันชีวิต เพื่อสร้างสรรค์โปรแกรมขึ้นมาเลยก็มี

Programming จะมีอะไรมากละ !! มันก็แค่ Algorithm กับ Code

แต่เรายังหลงลืมไปว่า Programming ก็เป็นศิลปะชนิดหนึ่ง เหมือนกับการถ่ายภาพและการทำกับข้าวเหมือนกัน มันก็มีทั้งส่วนที่เป็นหลักการ และส่วนที่เป็นศิลปะ เช่นในการถ่ายภาพ เรื่องของหลักการของกล้องก็เป็นเรื่องของหลักการที่คนถ่ายภาพต้องเข้าใจว่ากล้องที่เราใช้มันทำงานยังไง เพื่อให้เราเข้าใจอุปกรณ์ที่เราใช้มากขึ้น และ เราก็ต้องมีศิลปะในการจัด และสร้างสรรค์ภาพออกมา Programming ก็เช่นกัน มันก็มีเรื่องของ Algorithm และ Problem Solving ที่เป็นหลักการที่เราต้องเรียนรู้ แต่เขียนอย่างไรให้ มีศิลปะ เขียนแล้วคนทำต่อไม่ด่าพ่อง อันนี้สิยาก วันนี้เลยจะหยิบ Tips จากประสบการณ์ของผม ที่ง่าย ๆ มาแบ่งปันกัน

Cleverness != Good Code

ข้อแรกนี่สังเกตได้จากพวกตัวท๊อป ๆ ที่พึ่งหัดเขียน Code ใหม่ ๆ ไม่รู้มันมาจากไหนเหมือนกัน แต่เหมือนอยากลองวิชา เฮียแกก็จัดมาเลยจ้าา เรียก Function อะไรไม่รู้ หรือไม่ก็ใช้ Loop แบบมึน ๆ ถามว่ารันได้มั้ย ก็รันได้ ให้ผลถูกมั้ยก็ถูก แต่ถ้าถามว่า Debug ง่ายมั้ย ตอบเลยว่า ส่วนใหญ่จะไม่ เว้นแต่ เซียนจริง ๆ หรือไม่ก็วิธีที่ใช้มันแบบ โอ้โห Amazing มาก ๆ ผมไม่ได้ต่อต้านการเขียน Code แบบอลัง ๆ นะ แต่เราต้องเข้าใจว่าเราต้อง Work Smart ไม่ Work Hard เราอาจจะบอกว่าก็นี่ไง Code ออกมา Lean และ Clean มาก นี่ไง Work Smart อยากจะบอกเลยว่า คิดสั้นมากหนู !! (พึ่งดู The Face มาอินเนอร์มาเต็ม) ขั้นตอนของการเขียน Code มันเป็นเพียงแค่ส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า เศษเสี้ยว ของการพัฒนาโปรแกรมเลยเถอะ เวลาส่วนใหญ่เราจะไปอยู่กับ การออกแบบ ซะมากกว่าว่าโปรแกรมเราจะออกมาเป็นยังไง ทำงานยังไง มากกว่าการเขียนซะอีก เวลาอีกส่วนที่ต้องใช้คือ Debug เชื่อเถอะว่า ยากมากที่โปรแกรมของเราจะเขียนออกมาแล้ว รันได้ รันถูก ในครั้งแรก บางทีมันอาจจะมี Bug หรือข้อผิดพลาดต่าง ๆ โดยที่เราไม่รู้ ส่วนนี้ละครับ จัดว่ายาก ถ้า Code ที่เขียนออกมาไม่ดี การ Debug ก็ทำออกมาได้ยากมาก ๆ เช่นกัน ทำให้เสียเวลาโดยไม่ควร ฉะนั้น Code ที่ดีอย่างแรกเลยคือ Debug และอ่านแล้วเข้าใจได้โดยง่าย อย่าท่าเยอะ คนอ่านต่อ งง เฟ้ย!! พูดง่าย ๆ คือ เขียนให้ Straightforward ให้มากที่สุด ใช้ท่ายากเท่าที่จำเป็น และก็ต้อง Optimise Performance ให้มากที่สุดเช่นกัน ไม่เอาแบบ เอออ่านง่ายจริงแต่ O(n3) แบบนั้นไม่เอานะ

Naming is GODDAMN HARD

Naming

อีกหนึ่งปัญหาที่มักเกิดเวลาเราเขียน Code ทั้งในมือใหม่ และมือเทพ ก็คือ Naming Convention หรือภาษาบ้าน ๆ คือ การตั้งชื่อ ไม่ว่าจะเป็นชื่อตัวแปร ชื่อ Class หรือ Method กุ้งหอยปูปลา อะไรก็แล้วแต่ เคยเจอประมาณว่า ตั้งชื่อตัวแปรว่า a b c d e แล้วปรากฏว่าเขียนออกมาแล้วผลออกผิด ทีนี้แหละต้องมาช่วยมันนั่ง Debug แล้วนึกสภาพนะครับ กว่าจะหาเจอคือต้องไล่ Code ขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ประมาณชั่วโมงนึง เพื่อจะหาว่าเขียนอะไรผิด หัวร้อนและเกี้ยวกราดมากตอนนั้นฮ่า ๆ แต่ในการเขียนโปรแกรมกันจริง ๆ เราจะมีข้อตกลงกันอยู่นะว่า ถ้าเราจะตั้งชื่อของสักอย่าง เราจะมีกฏในการตั้งอย่างไร เพื่อให้เวลาที่เราเขียนด้วยกัน จะได้เขียนออกมาเป็นแนวเดียวกัน พอคนอื่นเอาไปแก้ต่อ ก็แค่ดูว่า Naming Convention ของ Project นี้เป็นอย่างไรแล้วก็เรียกได้เลย ไม่ต้องไปไล่ Code ดูแล้วด่าพ่องไปพลาง ๆ ฉะนั้น การตั้งชื่อ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่โคตรจะสำคัญมาก ๆ เวลาจะตั้งชื่ออยากให้เราดู 2 อย่างก่อนจะตั้งชื่อ อย่างแรกดูก่อนว่าถ้าเราทำงานกับทีมแล้วมี Naming Convention อยู่แล้วก็ให้ปฏิบัติตาม หรือถ้าในเคสที่รู้สึกโดดเดียว เหงา อารมณ์เปลี่ยว ทำงานคนเดียว แนะนำให้ไปศึกษา Code ในภาษานั้น ๆ ที่เราเขียน หรือตั้งชื่อให้อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที และอย่าลืม อย่าประกาศตัวแปรมั่วซั่ว อันไหนไม่ใช้ ไม่ต้องไปประกาศมัน ประกาศเท่าที่ใช้ และถ้าภาษาไหนต้องคืนแรม ก็อย่าลืมคืน Memory ด้วย เดี๋ยว Memory Leak นี่ไม่รู้ด้วยนะ

Comment is also important

Comment

นอกจากที่เราจะเขียนให้ตัว Code อ่านได้ง่ายแล้ว บางครั้ง Code เราก็ต้องอาศัยท่ายาก หรือการเขียนบางแบบที่อ่านได้ยาก เพื่อให้เราสามารถเขียนออกมาได้อย่างสะดวกมากขึ้น Comment จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยให้คนที่เข้ามาอ่าน Code ของเรา เข้าใจ Code ที่เราเขียนได้ง่ายขึ้น ลดเวลาที่เขาจะต้องเปิดอ่านหลาย ๆ ส่วนเพื่อให้เข้าใจ ฉะนั้น การเขียน Comment ที่ดีควรจะเป็น Comment ที่อธิบายว่าทำไมต้องมี Code ส่วนนี้มากกว่าที่จะอธิบายว่า มันทำอะไร เพราะถ้าเราเขียน Code ให้อ่านได้ง่ายแล้ว คนอ่านเข้ามาอ่านก็ต้องเข้าใจว่ามันทำอะไร แต่คนอื่นจะไม่เข้าใจเลยว่า ทำไมมันต้องมีส่วนนี้อยู่ ดังนั้น

Comment ที่ดีควรจะเป็น Comment ที่อธิบายว่าทำไม มากกว่าอะไร

อีกจุดของการ Comment คือการที่เราเขียน Code และเหมือนกับเราจะไม่เอาส่วนนั้นแล้ว เราเลย Comment มันไว้ เผื่อต้องใช้ในโอกาสหน้า แบบนี้จัดว่า ห้ามทำ โดยเด็ดขาด ถึงแม้ว่ามันจะไม่ส่งผลต่อการทำงานก็ตาม แต่มันส่งผลกับความสะดวกในการอ่านมหาศาลเลย คำแนะนำคือ ให้เราไปใช้พวก VCS (Version Control System) ที่ฮิต ๆ กันเช่น Git มันก็จะเก็บไว้ว่าเราเคยพิมพ์อะไรไว้ แล้วพอเราต้องการมันอีกครั้ง เราก็สามารถที่จะ Revert มันกลับมาได้ โดยที่เราไม่ต้อง Comment ให้รก Code เลย

Write and Re-Write

Refactoring

เมื่อตอนที่เขียน Academic Writing อาจารย์บอกเคล็ดลับของการเขียนคือ Write and Re-Write Again หรือก็คือ เขียนแล้วเขียนใหม่อีก หมายความว่า เมื่อเราเขียนออกมาแล้ว ให้เราอ่านแล้วลองเขียนมันอีกรอบ เราจะเห็นว่า เนื้อความที่ออกมาจะกระชับ และได้ใจความกว่าเดิมเยอะมาก ๆ เทคนิคนี้ก็เอามาใช้กับ Programming ได้เช่นกัน ตอนที่เราเขียน Code ส่วนหนึ่งครั้งแรก เราอาจจะเขียนให้มันรันผ่าน รันถูกไป แต่เมื่อเรากลับมาเขียนอีกรอบ ผลที่ออกมาคือ Code เราจะดูสวย สะอาด และสั้นมากขึ้น นั่นเป็นเพราะว่า ตอนที่เราเขียนครั้งถัด ๆ ไป เราโฟกัสกับคุณภาพ Code มากกว่า ให้มันรันผ่าน เพราะครั้งแรกเราสนตรงนั้นไปแล้ว รอบนี้เราก็แค่เขียนให้มันดีขึ้นเท่านั้นเอง ส่วนใหญ่ Output มันก็เหมือนเดิมอยู่แล้ว เพราะเราไม่ได้แก้อะไรมันมาก แค่เรื่อง Style เท่านั้นเอง

Learn From The Master

Learn from the master

โตแล้วเรียนลัด - ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย

ประโยคด้านบนเป็นคำพูดของ ดร.สุธี ผู้เจริญชนะชัย ที่ผมได้ไปฟังมา เป็นประโยคที่ทำให้ผมแบบ เออหว่ะ !! ขึ้นมาในหัว เพราะจริง ๆ แล้ว เราไม่จำเป็นที่จะต้องหาเองก็ได้ ปัจุบันนี้มี Code ดี ๆ ที่ถูกเขียนโดย Programmer ทั่วโลกถูกปล่อยออกมาทุกวัน ฉะนั้น Pattern ที่ดี Best Practice ที่ดีก็ออกมาจากคนพวกนี้ทุกวินาที ทุกวัน  หรือลองถามเอาจากคนอื่นเอาได้ ผ่านเว็บไซต์ทั่วไป (เหมือนกับที่เราชอบถาม StackOverflow นั่นแหละ) เราไม่จำเป็นที่จะต้องหามันเองเสมอหรอก วิธีที่ง่ายที่สุดคือ เราก็เอา Code ที่คนคิดว่ามันแจ่ม มานั่งอ่าน แต่อย่าแค่อ่าน จงตั้งคำถาม ว่าทำไมเขาต้องเขียนแบบนี้ ทำไมต้องทำแบบนั้น ในที่สุดมันจะทำให้เราสามารถเขียน Code ที่ดีออกมาได้ในที่สุด ส่วนตัวผมมองว่า มันเป็นอีกหนึ่งข้อดีของ Open Source ที่เปิดโอกาสให้เราเข้าไปอ่าน Source Code ของ Programmer เก่ง ๆ มันก็เป็นเหมือนการส่งผ่านองค์ความรู้ที่ดี ช่วยให้เราเก่งได้เร็วขึ้น (มันก็ไม่ใช่ทางลัดนะ) ครั้งแรกที่ผมได้เข้าไปอ่าน Code จาก Repository ใน Github ครั้งแรก ผมพูดเลยว่า โหมันสุดยอดมาก !! คิดได้ยังไง ? และมันก็เป็นแรงบันดาลใจให้ผมได้ลองเขียน Code ในรูปแบบใหม่ ๆ แปลก ๆ ออกมาเรื่อย ๆ แต่ก็อย่าลืมกลับไปดูข้อแรกด้วยนะว่า Cleverness != Good Code

Good Code is just the "WORD"

Good Code Conclusion

หน้าที่ของ ภาษา คือใช้สื่อสาร ภาษาอย่าง ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ก็ไม่ต่างจากภาษาที่เราใช้พูด เขียนกันอยู่ทุกวัน แต่ในฝั่งของ Programming Language คือ ระหว่างเราและ Compiler แต่เมื่อเราเขียนโปรแกรมกับคนในทีม เราก็ต้องใช้ Code เราสื่อสารกับทั้ง Compiler และคนอื่น ๆ ในทีมของเรา ฉะนั้นคำว่า "Good Code" ของแต่ละทีมอาจจะนิยามต่างกันไปในแต่ละทีม Tip ที่ผมหยิบมาให้อ่านกันในวันนี้ ก็ถือว่าเป็นเบื้องต้นละกัน แต่ละทีม แต่ละคนที่เราทำงานด้วย อาจจะให้ความหมายของคำว่า "Good Code" ต่างกัน ก็อยากให้ทำความเข้าใจกันแล้วสร้างสรรค์ Code ที่ดีออกมาเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่ตรงหน้าเรา และขอให้ Coding ให้สนุก ปลอด Bug กันนะครับ ปล. เปิด Category ใหม่คือ Programming 101 ที่มาเล่าเรื่องเกี่ยวกับ Programming ที่จำเป็นต้องรู้ ถ้าอยากให้เขียนอะไรเกี่ยวกับ Programming ที่อยากรู้ หรือสนใจ ก็ลอง Comment มาได้เลยนะครับ

Read Next...

สร้าง Book Tracking Library ด้วย Obsidian

สร้าง Book Tracking Library ด้วย Obsidian

เราเป็นคนที่อ่านกับซื้อหนังสือเยอะมาก ปัญหานึงที่ประสบมาหลายรอบและน่าหงุดหงิดมาก ๆ คือ ซื้อหนังสือซ้ำเจ้าค่ะ ทำให้เราจะต้องมีระบบง่าย ๆ สักตัวในการจัดการ วันนี้เลยจะมาเล่าวิธีการที่เราใช้ Obsidian ในการจัดการหนังสือที่เรามีกัน...

Garbage Collector บน Python ทำงานอย่างไร

Garbage Collector บน Python ทำงานอย่างไร

หากเราเรียนลงลึกไปในภาษาใหม่ ๆ อย่าง Python และ Java โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการ Memory ว่าเขาใช้ Garbage Collection นะ ว่าแต่มันทำงานยังไง วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า จริง ๆ แล้วมันทำงานอย่างไร และมันมีเคสใดที่อาจจะหลุดจนเราต้องเข้ามาจัดการเองบ้าง...

ติดตั้ง Zigbee Dongle บน Synology NAS กับ Home Assistant

ติดตั้ง Zigbee Dongle บน Synology NAS กับ Home Assistant

ก่อนหน้านี้เราเปลี่ยนมาใช้ Zigbee Dongle กับ Home Assistant พบว่าเสถียรขึ้นเยอะมาก อุปกรณ์แทบไม่หลุดออกจากระบบเลย แต่การติดตั้งมันเข้ากับ Synology DSM นั้นมีรายละเอียดมากกว่าอันอื่นนิดหน่อย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการเพื่อใครเอาไปทำกัน...

โหลด CSV วิธีไหนเร็วที่สุด ?

โหลด CSV วิธีไหนเร็วที่สุด ?

เมื่อหลายวันก่อนมีพี่ที่รู้จักกันมาถามว่า เราจะโหลด CSV ยังไงให้เร็วที่สุด เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายนะ แต่พอมานั่งคิด ๆ ต่อ เห้ย มันมีอะไรสนุก ๆ ในนั้นเยอะเลยนี่หว่า วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีวิธีการอย่างไรบ้าง และวิธีไหนเร็วที่สุด เหมาะกับงานแบบไหน...