Tutorial

นับ 1 2 3 มาถ่ายรูปกันเถอะ! – เรื่องยุ่งๆ หลังคอม (Part 2)

By Arnon Puitrakul - 30 มิถุนายน 2016

นับ 1 2 3 มาถ่ายรูปกันเถอะ! – เรื่องยุ่งๆ หลังคอม (Part 2)

หลังจากตอนที่แล้วก็หายไปนานเลย สารภาพบาปว่า ตอนนั้นงานยุ่งมาก จนลืมไปเลย ตอนนี้ปิดเทอมแล้ว จะมาไล่เขียน Tutorial ที่ค้างไว้ให้จบกันเลย คราวที่แล้ว เราได้เรียนรู้ การดู Histogram กันไป วันนี้ เราจะมาดูอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญของการ Process ภาพนั่นคือ White Balance

White Balance คืออะไร

White Balance (WB) หรือภาษาไทยเราเรียกว่า สมดุลแสงขาว (อ่านแล้วแปลก ๆ มาก !) แต่ก่อนที่จะไปดูความหมาย เราต้องเข้าใจก่อนว่า แสงที่เรามองเห็นนั้นมี อุณหภูมิ ที่แตกต่างกัน สังเกตไม่ยาก เราลองดูมองออกไปนอกหน้าต่างตอนกลางวัน และเทียบกับ แสงจาก Flash จากโทรศัพท์ของเราดู เราจะเห็นว่า แต่ละแหล่งกำเนิดแสงให้แสงที่มี อุณหภูมิ หรือสีที่แตกต่างกันออกไป
อุณหภูมิของแสง เราจะวัดกันในหน่วย เคลวิน ยิ่งมาก แสงจะออกสีไปทาง ส้ม มากขึ้น กลับกัน ถ้าน้อยจะออกไปทาง ฟ้า จนถึง ดำ

ทำไมถึงต้องปรับ White Balance

หลัก ๆ แล้วเหตุผลที่เราปรับ WB น่าจะมีอยู่แค่ 2 เหตุผลดังนี้

  • ปรับให้ตรง - เป็นการปรับภาพเพื่อให้ตรงกับ สภาพ ตอนที่เราถ่าย เช่น เราถ่ายสิ่งของที่มี สีขาว ออกมา แต่ภาพออกมามันหลายเป็น สีส้ม ซะงั้น เราสามารถปรับ WB เพื่อให้ อุณหภูมิ หรือ สีมันตรงนั่นเอง
  • ปรับ เสริมอารมณ์ - เป็นการปรับภาพเพื่อ เสริมอารมณ์ ให้กับภาพ ภาพบางภาพถ้าเราปรับ WB ให้ตรง ภาพจะดูจืดชืด และไร้อารมณ์ แต่เมื่อเราเติม WB ให้มันติดเหลือง ๆ นิดหน่อย ก็อาจจะทำให้ภาพดูมี อารมณ์ ขึ้นมาก็ได้เช่นกัน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับคน Process ภาพเลย

การปรับ White Balance

ถ้าเข้ามาใน Lightroom ให้เรากด D เพื่อเข้า Develop Mode จากนั้นเข้าไปดูที่แถบทางด้านขวา จะเห็นอยู่ Section นึงเขียนว่า WB ในนั้นจะมีค่าให้เราปรับอยู่ 2 ตัวนั่นคือ Temp และ Tint

photoTip4_1

Temp คือการปรับอุณหภูมิสีในภาพ ดังที่อธิบายไปตอนแรก ส่วน Tint จะเป็นการปรับแก้ สีเขียว และ สีชมพู ในบางกรณี เวลาเราถ่ายออกมา มันจะไม่ติดเหลือง ติดฟ้า แต่มันกลายเป็น ติดเขียว แทน ซึ่งการปรับ Tint จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ภาพด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบระหว่างต้นฉบับและภาพที่ผ่านการปรับ WB แล้ว
photoTip4_2

สรุป

การปรับ WB จะช่วยให้ภาพของเราสามารถสร้างอารมณ์ และเรื่องราวของภาพได้มากขึ้น หรืออาจจะทำให้ภาพของเรามีสีที่ถูกต้องคล้ายกับตอนที่เราถ่ายได้ สำหรับตอนนี้ก็ไม่น่าจะมีอะไรมาก มีเพียงเท่านี้แหละ แล้วพบกันใหม่ตอนหน้า สวัสดีนาจา

Read Next...

ติดตั้ง Zigbee Dongle บน Synology NAS กับ Home Assistant

ติดตั้ง Zigbee Dongle บน Synology NAS กับ Home Assistant

ก่อนหน้านี้เราเปลี่ยนมาใช้ Zigbee Dongle กับ Home Assistant พบว่าเสถียรขึ้นเยอะมาก อุปกรณ์แทบไม่หลุดออกจากระบบเลย แต่การติดตั้งมันเข้ากับ Synology DSM นั้นมีรายละเอียดมากกว่าอันอื่นนิดหน่อย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการเพื่อใครเอาไปทำกัน...

โหลด CSV วิธีไหนเร็วที่สุด ?

โหลด CSV วิธีไหนเร็วที่สุด ?

เมื่อหลายวันก่อนมีพี่ที่รู้จักกันมาถามว่า เราจะโหลด CSV ยังไงให้เร็วที่สุด เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายนะ แต่พอมานั่งคิด ๆ ต่อ เห้ย มันมีอะไรสนุก ๆ ในนั้นเยอะเลยนี่หว่า วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีวิธีการอย่างไรบ้าง และวิธีไหนเร็วที่สุด เหมาะกับงานแบบไหน...

ฮาวทู Sync Obsidian Note ด้วย LiveSync Plugin

ฮาวทู Sync Obsidian Note ด้วย LiveSync Plugin

ตั้งแต่ใช้ Obsidian เป็น App จด Note หลัก ชอบวิธีการจัดการมาก ๆ เมื่อใช้งานร่วมกับ Plugin ต่าง ๆ ยิ่งทำให้การใช้งานยืดหยุ่นมากกว่าเดิมอีกเยอะมาก ๆ ติดอยู่เรื่องเดียวคือ การใช้งานในหลาย ๆ อุปกรณ์ แต่เราเจอ Plugin ตัวนึงที่น่าสนใจมาก ๆ คือ LiveSync วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการติดตั้ง และใช้งานมันกัน...

การสร้าง SSD Storage Pool บน Synology DSM

การสร้าง SSD Storage Pool บน Synology DSM

สำหรับคนที่ใช้ Synology NAS บางรุ่นจะมีช่อง M.2 สำหรับเสียบ NVMe SSD โดยพื้นฐาน Synology บอกว่ามันสำหรับการทำ Cache แต่ถ้าเราต้องการเอามันมาทำเป็น Storage ละ มันจะทำได้มั้ย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการทำกัน...