By Arnon Puitrakul - 18 ตุลาคม 2015
หลังจากที่ 2 ตอนที่ผ่านมา เราก็จบการทำงานกันหลังเลนส์แล้ว ในตอนนี้เราจะมาต่อกันว่า หลังจากที่เราถ่ายรูปมาเสร็จแล้ว เราจะเอารูปมาทำอะไรในคอมพิวเตอร์ต่อ เราจะมาเรียนรู้กันว่า ค่าที่เราปรับ ๆ กันอยู่มันคืออะไร บางคนบอกว่า
"อื้ม ปรับ ๆ ไปเถอะ มันสวยก็เอาอันนั้นแหละ"
อันนี้ผมไม่เถียงครับ เพราะงานถ่ายรูปมันก็เป็นงานศิลปะเนอะ ไม่มีใครปิดใครถูกทั้งนั้นแหละ แต่ที่จะมาสอนนั่นเพราะว่า รู้ไว้ก็ไม่เสียหาย และสำหรับใครที่กำลังเรียนเรื่อง Image Processing ก็น่าจะเข้ามาอ่านกันนะครับ อาจจะมีแนม ๆ เรื่องพวกนี้เข้ามาบ้าง เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
ถ้าเราถ่ายรูปสัก 2-3 รูป มันก็ไม่จำเป็นต้องมี Workflow ก็ได้ แต่ลองมาถ่ายเยอะ ๆ ดูสิครับ แล้วจะรู้เลยว่า ถ้าไม่จัด Workflow ดี ๆ เราจะเสียเวลาไปกับการแต่งรูปไปเยอะเลย ซึ่งผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น เสียเวลาให้มันเยอะมาก ๆ ดังนั้นเราเลยต้องมาจัดกันหน่อย Workflow ของผมก็จะเป็นดังนี้
หลังจากที่เกริ่นไปยาว เข้าเรื่องกันสักที ประเด็นหลัก ๆ ของวันนี้เลยนั่นคือเรื่อง Histogram ซึ่งมันเป็นเรื่งอที่ค่อนข้างจะพื้นฐานเลยในการแต่งภาพ เพราะว่า Histogram มันจะบอกถึงปริมาณแสงโดยรวมของภาพ ว่าภาพเราสว่างเกินไป หรือมืดเกินไป เราก็สามารถใช้ Histogram ในการดูได้ เราลองมาดูนิยามของมันจริง ๆ กันเลยดีกว่า
**Histogram คือกราฟที่แสดงความถี่ของ Pixel ที่แสดงแสงในช่วงต่าง ๆ ตั้งแต่ 0-255 **
เจ้า Histogram มันก็บอกอะไรเราได้หลาย ๆ อย่างมาก ๆ เช่นสามารถบอกได้ว่า ภาพเราสว่างไปหรือมืดไป มีสัดส่วนของสีนั้นนี่โน้นมากแค่ไหน ทำให้เราตัดสินใจอะไรได้ง่ายขึ้นเยอะเลย เพราะว่า เราเชื่อในสิ่งที่เราเห็นในจอไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องสี จอนี้แต่งออกมาอาจจะดูดี แต่พอเอาไปเปิดอีกจอเท่านั้นแหละ สีนี่ซีดไปเลยก็มี เพราะฉะนั้นเชื่อ Histogram นี่แหละ ดีที่สุดแล้ว ต่อไปเราจะมาดู Histogram แต่ล่ะแบบ แล้วลองมาวิเคราะห์กัน
แบบแรก น่าจะเป็นแบบที่ใครหลาย ๆ คนชอบเลย เพราะว่า มันอยู่ตรงกลางพอดี แต่ถ้าจะให้เจ๋งจริง มันต้องเป็นเหมือนภูเขาเลยสูงพอดี มีการกระจายตัวของเม็ดแสงที่สม่ำเสมอ คำว่าแต่งให้ธรรมชาติของผมก็คือให้ Histogram มันใกล้เคียงกับแบบนี้แหละ ไม่มืดไป ไม่สว่างไป (แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันอาจจะไม่ได้เป็นตามนี้หรอก ถ้าเราไปถ่ายภาพในที่ที่มันมืดหรือสว่างมากเกินไป ก็ต้องปรับตามความเหมาะสม)
แบบถัดมานั้นคือ มันเบ้ไปทางซ้าย จากในรูปเบ้หนักเลย ทำให้รายละเอียดบางส่วนของภาพหายไป เพราะว่า มันมืดไปหมดนั่นเอง วิธีแก้ปัญหานั่นคือการดัน Exposure ขึ้น แต่บางทีมันก็มืดไป เกินกว่าจะดันได้ก็ ต้องขอแสดงความเสียใจด้วย... แต่ถ้ามันเป็นแบบนี้แล้วก็ออกมาสวยก็มีเยอะแยะ เช่นพวกภาพพลุ หรือพระอาทิตย์ตกอะไรแบบนี้ อย่างที่บอกคือ การถ่ายภาพไม่มีถูกไม่มีผิด มันเป็นงานศิลปะ
และแบบสุดท้าย ก็จะตรงกันข้ามกับแบบที่แล้ว นั่นคือมันสว่างมากเกินไป ถ้าเกิดภาพมันดูไม่โอ จริง ๆ วิธีแก้คือการปรับ Exposure ลง แต่ในที่นี้มันเบ้นิดเดียว และส่วนใหญ่มันก็ดูโอเคอยู่แล้ว จริง ๆ ภาพนี้ไม่น่าเอามาเป็นตัวอย่างเลย ฮ่า ๆ เพราะว่ามันยังแย่ไม่พอ แต่หาให้ไม่ได้จริง ๆ ไม่ได้เก็บพวกแบบนั้นไว้ ถ้านึกว่าภาพแบบไหนควรจะเบ้ขวาไม่ออกให้นึกถึงภาพที่สว่างแบบขาวเลย นั่นแหละ เป็นตัวอย่างที่ดีเลยแหละ
สรุปแล้ว วันนี้เราก็ได้เรียนรู้คร่าว ๆ เกี่ยวกับการทำงานหลังจากที่เราได้ภาพมาแบบพื้น ๆ และได้รู้เกี่ยวกับ Histogram แบบพื้น ๆ นิด ๆ หน่อย ๆ พอหอมปาก หอมคอ ในตอนหน้าเราจะมาดูกันว่า มีการปรับค่าอะไรบ้างท่ีจะส่งผลกับ Histogram ของเราบ้าง และการปรับแก้ WB สำหรับวันนี้ก็ เจอกันใหม่ตอนหน้า สวัสดีครับ
เราเป็นคนที่อ่านกับซื้อหนังสือเยอะมาก ปัญหานึงที่ประสบมาหลายรอบและน่าหงุดหงิดมาก ๆ คือ ซื้อหนังสือซ้ำเจ้าค่ะ ทำให้เราจะต้องมีระบบง่าย ๆ สักตัวในการจัดการ วันนี้เลยจะมาเล่าวิธีการที่เราใช้ Obsidian ในการจัดการหนังสือที่เรามีกัน...
หากเราเรียนลงลึกไปในภาษาใหม่ ๆ อย่าง Python และ Java โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการ Memory ว่าเขาใช้ Garbage Collection นะ ว่าแต่มันทำงานยังไง วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า จริง ๆ แล้วมันทำงานอย่างไร และมันมีเคสใดที่อาจจะหลุดจนเราต้องเข้ามาจัดการเองบ้าง...
ก่อนหน้านี้เราเปลี่ยนมาใช้ Zigbee Dongle กับ Home Assistant พบว่าเสถียรขึ้นเยอะมาก อุปกรณ์แทบไม่หลุดออกจากระบบเลย แต่การติดตั้งมันเข้ากับ Synology DSM นั้นมีรายละเอียดมากกว่าอันอื่นนิดหน่อย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการเพื่อใครเอาไปทำกัน...
เมื่อหลายวันก่อนมีพี่ที่รู้จักกันมาถามว่า เราจะโหลด CSV ยังไงให้เร็วที่สุด เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายนะ แต่พอมานั่งคิด ๆ ต่อ เห้ย มันมีอะไรสนุก ๆ ในนั้นเยอะเลยนี่หว่า วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีวิธีการอย่างไรบ้าง และวิธีไหนเร็วที่สุด เหมาะกับงานแบบไหน...