Technology

M1 Pro และ M1 Max แรงทะลุจักรวาล และการออกแบบทางวิศวกรรมอันยอดเยี่ยมจาก Apple

By Arnon Puitrakul - 09 ธันวาคม 2021

M1 Pro และ M1 Max แรงทะลุจักรวาล และการออกแบบทางวิศวกรรมอันยอดเยี่ยมจาก Apple

เมื่อปีก่อน Apple สร้างแรงกระเพื่อมขนาดใหญ่เข้ากับวงการ PC เลยก็ว่าได้ ด้วยการออก SoC อย่าง Apple M1 ออกมา ที่มีพลังการประมวลผลที่สูงมาก ๆ แต่กินพลังงานเพียงเล็กน้อยเท่ากัน จนเรียกได้ว่า Hype กันสุด ๆ ไปเลย เพราะ Apple สามารถผลิต Laptop ที่มี Battery Life ที่ยาวนานถึง 10 ชั่วโมง ++ ต่อการชาร์จ (Macbook Air เราเคยได้สุดที่ 11 เกือบ 12 ชั่วโมงเลย) ด้วยการออกแบบที่พลังเยอะ กินพลังงานน้อย ๆ ทำให้สามารถเอาไปใส่ได้ในหลาย ๆ อุปกรณ์ตั้งแต่ iPad Pro ที่เป็น Tablet ไปถึง Macbook Pro และ Macbook Air และ Desktop อย่าง Mac Mini และ iMac กันเลยทีเดียว แต่แน่นอนว่า SoC ระดับ M1 มันสำหรับ End-User ทั่ว ๆ ไป ที่ทำงานทั่ว ๆ ไป อย่างการเข้า Internet และ ทำงานเอกสารทั้งหลาย เราลองเอามา Colour Grading ไฟล์ 6K จากกล้อง Alexa ยังรอดเลย แล้วการทำงานระดับ Professional ละ ที่ต้องการพลังในการประมวลผล ทั้งทาง CPU และ GPU สูงกว่านี้ละ ทำให้ Apple ออก SoC ที่เป็นตัวต่อจาก M1 เป็น 2 รุ่นด้วยกันคือ M1 Pro และ M1 Max

M1 Pro และ M1 Max แรงทะลุจักรวาล และการออกแบบทางวิศวกรรมอันยอดเยี่ยมจาก Apple

สิ่งที่ทำให้เรา Hype กับการออกแบบ SoC ของ Apple ตั้งแต่ M1 ออกมาครั้งแรกเลย มันคือ Scalability ของมัน ที่เราว่า Apple คิดมาดีมาก ๆ เพราะตัว M1 มันสามารถเอามาต่อกันจนกลายเป็น Chip ที่ให้พลังสูงขึ้นได้เรื่อย ๆ เหมือนเราต่อพ่วงกันเลย และเราก็คิดไม่ผิด เพราะจริง ๆ M1 Pro ก็คือเป็น 2x ของ M1 และ M1 Max คือ 4x ของ M1 อีกที การออกแบบในลักษณะนี้ ทำให้ Apple อาจจะมีการพ่วงแบบ 8x หรือ 16x บน Desktop ทำให้ได้พลังสูงขึ้นได้อีกเยอะ สร้างความเป็นไปได้ในการออกแบบอุปกรณ์ได้อีกเยอะ และยังเป็นการลดต้นทุนในการผลิตให้กับ Apple ได้อีกด้วย แค่เลือกตัด Die ดี ๆ เท่านั้นเอง (ไว้มาเล่า ถ้าดูใน CTO Spec คือดูออกเลยว่า แหม่ ฉลาด Bin นะคะ)

M1 Pro และ M1 Max

M1 Pro และ M1 Max แรงทะลุจักรวาล และการออกแบบทางวิศวกรรมอันยอดเยี่ยมจาก Apple

M1 Pro ถือว่าเป็นรุ่นเริ่มต้นในตระกูล Pro ของ M1 เลยก็ว่าได้ มันมาพร้อมกับ CPU เริ่มต้นที่  8-Core แบ่งเป็น 6 Performance Core และ 2 Efficiency Core จนไปถึง 10-Core แบ่งเป็น 8 Performance Core และ 2 Efficiency Core ด้วยกัน และยังมาพร้อมกับ GPU แบบ 14 และ 16 Core แน่นอนว่าเป็น M1 ก็ต้องมาพร้อมกับ Unified Memory แน่นอน ใส่ได้สูงสุดที่ 32 GB แต่ M1 Pro มันพาไปโหดกว่านั้นอีก เพราะมันเพิ่ม Bandwidth ไปได้ถึง 200 GB/s เลย ถือว่าเยอะจนบ้ามาก ๆ เอาเป็นว่า RAM บน PC ธรรมดามันไม่มีทางเทียบได้เลย ห่างแบบเรียกได้ว่า ลิบ เลย ทำให้เราทำงานที่เป็น Memory Intensive ได้เร็วขึ้นเยอะมาก ๆ

M1 Pro และ M1 Max แรงทะลุจักรวาล และการออกแบบทางวิศวกรรมอันยอดเยี่ยมจาก Apple

และรุ่นที่เบิ้ลไปอีก คือ M1 Max อันนี้เรียกบ้า !!!!! บ้าคลั่งมาก โดย CPU Core มีแบบเดียวคือ 10-Core แบ่งเป็น 8 Performance Core และ 2 Efficiency Core เหมือนกับ M1 Pro ตัว Top เลย และมาพร้อมกับ GPU แบบ 24 และ 32 Core กันจุก ๆ ไปเลย แต่สิ่งที่บ้ากว่านั้นคือ Bandwidth ของ Unified Memory ที่เบิ้ลของ M1 Pro ที่ว่าคลั่งแล้ว เป็น 400 GB/s (ประมาณ 6 เท่าของ M1 ปกติ) คือโหดเหี้ยมมาก ๆ เรายังไม่เคยเจออะไรที่มันบ้าได้ขนาดนี้เลย

M1 Pro และ M1 Max แรงทะลุจักรวาล และการออกแบบทางวิศวกรรมอันยอดเยี่ยมจาก Apple

ในปีนี้ Apple จริงจังกับฝั่งของพวก Video Production มาก ๆ ทำให้ใน M1 Pro และ M1 Max มีการใส่ Media Engine สำหรับการทำงานกับวีดีโอ ProRes ด้วย ทำให้เราสามารถทำงานกับ ProRes ได้เร็วขึ้นจน Mac Pro ตั้งโต๊ะยังต้องอายได้เลย ซึ่งใน M1 Pro และ M1 Max จะมาพร้อมกับ Media Engine จำนวน 1 และ 2 ตามลำดับ ทำให้โดยทฤษฏีแล้ว M1 Max จะได้เปรียบในเรื่องของการ Encode ProRes ได้ดีกว่า M1 Pro ถึง 2 เท่าเลย หรือถ้าเทียบกับ Macbook Pro 16 นิ้วรุ่นก่อนหน้าก็จะทำงานพวกนี้ได้เร็วขึ้น 10 เท่าตัวเลย ล่นเวลาการทำงานได้มหาศาลมาก ๆ ทำให้มันเหมาะมาก ๆ กับสาย Production ที่ทำงานกับ ProRes

M1 Pro และ M1 Max แรงทะลุจักรวาล และการออกแบบทางวิศวกรรมอันยอดเยี่ยมจาก Apple

นอกจากนั้น ก็จะเหมือนกับ M1 ตัวปกติทุกประการเช่นพวก เรื่องของ Secure Enclave ที่ทำให้ข้อมูลในเครื่องของเราปลอดภัย และ Neural Engine สำหรับการทำงาน On-Device Machine Learning ถึง 16 Core เท่ากับ M1 ปกติ ไว้เราจะมารีวิว M1 Max กับ Machine Learning กัน บอกเลยว่าน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ

รีวิว MacBook Pro 14-inches M1 Max ไปให้สุดหยุดที่หมดตัว
ในที่สุด รีวิว Macbook Pro 14-inches ของเราก็มาสักที หลังจากรอเครื่องอยู่นานมาก ๆ ตอนนี้ใช้มาประมาณอาทิตย์กว่า ๆ แล้วบอกเลยว่ามันเป็น Laptop ที่ Powerful มาก ๆ เมื่อเทียบกับขนาดของมัน แต่ราคาก็ไม่น่ารักเท่าไหร่เลย ถ้ามีเงิน และ ต้องการใช้ Performance ระดับนี้ถือว่าเป็นเครื่องที่น่าสนใจเลยละ

อย่างที่เราบอกในรีวิว Macbook Pro M1 Max ว่า พอมันมี Thunderbolt I/O จริง ๆ จัง ๆ แล้ว ทำให้แต่ละ Port แยก Controller ออกจากกันเลย ทำให้เราได้ Bandwidth แต่ละ Port เต็ม 40 Gbps แยกกันหมด ทำให้เปิดโอกาสที่ทำให้เราสามารถต่อพ่วงอุปกรณ์ที่ต้องการความเร็วสูงได้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนถึง 3 เท่าตัวเลย

ทำไม Performance ทำให้มัน Hype มาก ๆ ?

M1 Pro และ M1 Max แรงทะลุจักรวาล และการออกแบบทางวิศวกรรมอันยอดเยี่ยมจาก Apple

เท่าที่เราคุยกับเพื่อนหลาย ๆ คนที่ทำงานในกลุ่มของ Production และ Programming เอง หลาย ๆ คนก็ Hype กับการมาถึงของ M1 Pro และ Max มาก ๆ เพราะ Performance ขนาดนี้ ปกติแล้ว เราจะต้องทำงานบน Desktop Computer เท่านั้นเลย ถ้าเป็น Mac อาจจะต้องเป็น iMac Pro หรือไม่ก็สุด ๆ อย่าง Mac Pro เลย แต่พอเจอ M1 Max เข้าไป งานที่เคยต้องเอากลับไปทำบน Desktop มันกลายเป็นว่า เราจะทำที่ไหนก็ได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเสียบปลั๊กด้วยซ้ำ นั่นหมายถึง ถ้าเราต้องทำงานแล้วมีการออก Site ข้างนอก เช่น ช่างภาพ หรือ กลุ่มที่ทำงานเกี่ยวกับวีดีโอ ที่ต้องออกไปถ่ายนอกสถานที่ เมื่อก่อน อาจจะต้องเอาการ์ดมาเสียบ แล้วมาตัดต่อให้ลูกค้าที่ออฟฟิศ นั่นคือ ต้องมีเวลาในการเดินทางกลับ แล้วตัดงานอีก ถึงจะส่ง Draft ให้ลูกค้าดูได้ แต่ M1 Pro และ Max ที่อยู่ใน Macbook Pro ทำให้คนกลุ่มนั้นสามารถที่จะตัดแบบ Draft หรือจบงานได้ที่หน้างานเลย ทำให้เราส่งงานลูกค้าได้เร็วขึ้น ปิดงานเร็วขึ้น เราก็ได้เงินเร็วขึ้น นั่นแปลว่า ต่อปีเราก็จะรับงานได้เยอะขึ้น ทำให้กำไรเราก็จะเยอะขึ้นนั่นเอง ใครบอกว่า เวลาซื้อไม่ได้ นี่แหละ การที่เราซื้อเครื่องระดับนี้ ก็คือ เราลงทุนซื้อเวลาในการทำงานนั่นเอง

สรุป

M1 Pro และ M1 Max ถือว่าเป็น SoC ที่ Apple ต่อยอดมาจาก M1 ที่ออกมาเมื่อปีก่อน เพื่อมาเติมเต็มในส่วนของ Mobile Workstation โดยการใส่ลงไปใน Laptop สำหรับ Professional อย่าง Macbook Pro ที่ทำให้ผู้ใช้ระดับ Professional สามารถสร้างสรรค์ผลงานในระดับสูง ที่ไหน และ เมื่อไหร่ก็ได้ ผ่าน Form Factor ของ Laptop ขนาด 14 และ 16 นิ้วได้สบาย ๆ เลย เราว่ามันคือ Game Changer ในการทำงานระดับ Professional เลยก็ว่าได้

Read Next...

Stream Apple Music อย่างไรให้ได้คุณภาพสูงสุด

Stream Apple Music อย่างไรให้ได้คุณภาพสูงสุด

เรื่องของเรื่องคือ เราทดลองเล่นเพลงผ่าน AirPlay 2 เข้ากับลำโพงแล้วเสียงมันแปลก ๆเลยไปหาข้อมูลมา เลยทำให้โป๊ะว่า อ้าว.... ชิบหาย Hi-Res ทิพย์นี่หว่า ทำไม เราไปดูเหตุผลในบทความนี้กัน...

ซิงค์ลม vs ชุดน้ำ แบบไหนเหมาะกับใคร

ซิงค์ลม vs ชุดน้ำ แบบไหนเหมาะกับใคร

เมื่อไม่กี่วันมานี้เราเอาเครื่องไปเปลี่ยน CPU มา เป็นตัวที่ดุเดือดขึ้น ทำให้เกิดคำถามว่า เอ๋ เราควรจะใช้เป็นชุดน้ำไม่ว่าจะเปิดหรือปิด หรือจะเป็นซิงค์ลมแบบที่เราใช้งานกันมานาน หลังจากไปหาข้อมูลต่าง ๆ วันนี้เรามาเล่าให้อ่านกันว่า แต่ละอันมันจะเหมาะ หรือไม่เหมาะกับใคร...

Calibrate หน้าจอไปทำไมและทำอย่างไร

Calibrate หน้าจอไปทำไมและทำอย่างไร

เรื่องของเรื่องคือ เราซื้อจอ Dell Ultrasharp 32 นิ้วมาใหม่ และมักนำมาใช้ทำงานพวก Colour Grading และ แต่งรูป ด้วย เรื่องสีเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ไปนั่งคุยกับเพื่อนก็คือ เพื่อนมาทำเลยให้ค่าาา วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า ทำไม เราจำเป็นต้องทำ Display Calibration และ หลักการเบื้องหลังคืออะไร...

เลือกซื้อ Music Steaming เจ้าไหนดีในปี 2024

เลือกซื้อ Music Steaming เจ้าไหนดีในปี 2024

มาถึง Content ที่คนถามเข้ามาเยอะมากว่า ในปี 2024 ในไทยเรามี Music Streaming เข้ามาเปิดหลายเจ้ามาก ๆ ตั้งแต่ Spotify, Apple Music, Youtube Music และ Tidal เราควรจะเลือกเจ้าไหนดี วันนี้เราจะมาวัดจาก Indication 5 อย่างด้วยกัน แล้วลองมาสรุปคะแนนดูว่า เราน่าจะเหมาะกับเรื่องแบบไหนกันดีกว่า...