Tutorial

สิ่งเทพ ๆ เรียก Collection ใน Laravel ที่หลายคนไม่ค่อยรู้

By Arnon Puitrakul - 19 พฤศจิกายน 2017

สิ่งเทพ ๆ เรียก Collection ใน Laravel ที่หลายคนไม่ค่อยรู้

ไม่ได้เขียนเกี่ยวกับ Laravel นาน พอดีนึกได้ว่ามีของอย่างนึงใน Laravel ที่ผมไปเปิดคอร์สหลาย ๆ อันมา แม้กระทั่งผมที่สอนเองก็ไม่ได้หยิบเรื่องนี้มาสอนเท่าไหร่คือเรื่องของ Collection ใน Laravel มันเป็นอะไรที่ถ้าเราใช้เป็น มันจะทำให้ Code เราดูสะอาดตาเอามาก ๆ

เราจะสร้าง Collection ใน Laravel ได้ยังไง ?

ต้องบอกก่อนว่า Collection เป็น Class นึงที่อยู่ใน Illuminate\Support\Collection มันจะเข้ามาช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลจำพวก Array ได้อย่างง่ายดายมาก แต่ก่อนจะไปใช้กัน เราต้องมาดูกันก่อนว่า เราจะได้ Collection มาได้ยังไง

$myCollection = collect(['Hello', 'Me', 'Name"]);

คำสั่งด้านบนเป็นวิธีหนึ่งที่เราจะสามารถแปลง Array ให้อยู่ในรูปของ Collection ได้ หรืออีกวิธีนึงที่เราได้ Collection มาแบบไม่รู้ตัวคือ

$myCollection = User::where('BirthYear', '>', '1990');

การที่เราเรียกพวก Query Builder หรือ Eloquent สิ่งที่มันคืนค่ากลับมาให้เราก็คือ Collection (ถ้าสงสัยก็ลองรันใน tinker ดูแล้วจะเห็นเลยว่ามันคืออะไร) ทีนี้ถามว่า ถ้าเราต้องการให้มันกลับมาเป็น Array เหมือนเดิมละ เราจะทำยังไง ?

$collectArray = $myCollection->all();

จากคำสั่งด้านบนก็จะทำให้เราได้ Array กลับออกมาแล้ว นอกจากนั้นเรายังใช้ get() ในการดึงข้อมูลใน Field ที่เราต้องการออกมาได้ แต่นอกจากนั้นมันยังมีคำสั่งให้เราสามารถใช้ได้แบบเท่ ๆ อีกด้วย วันนี้เลยจะหยิบอันที่เราน่าจะใช้บ่อย ๆ มาให้อ่านกัน

avg()

อันนี้อ่านจะชื่อแล้วน่าจะเข้าใจว่ามันทำอะไรได้ มันคือการหาค่าเฉลี่ยนี่เอง โดยเราสามารถให้มันหาได้โดยใช้คำสั่งแบบนี้

$myCollection->avg('age');

ง่าย ๆ คือให้เราเรียก avg() ออกมา ข้างในเราก็ใส่เป็น Field ที่เราต้องการจะหาค่าเฉลี่ยลงไป นอกจากนั้น เรายังสามารถหา max,min,median หรือแม้กระทั่งทำ Set Operation อย่าง Union และ Intersect ก็ยังได้

where()

เป็นคำสั่งที่ทำให้เราสามารถเลือกข้อมูลออกมาตามที่เราต้องการได้ เหมือนกับที่เราใช้กับ SQL เช่น

$myCollection->where('age',20);

คำสั่งด้านบนคือการที่เราขอหยิบ Member ที่อายุเท่ากับ 20 ขึ้นมา แต่ถ้าเราต้องการหลาย ๆ อายุก็ทำได้เหมือนกันโดยใช้ whereIn() เช่น

$myCollection->whereIn('age',[15,20]);

เราจะเห็นว่าจากตอนแรกเราก็ใส่ค่าเข้าไปเป็น Integer ปกติแต่ใน whereIn เราจะเติมลงไปเป็น Array ของ Value ที่เราต้องการหาออกมาได้เลย แต่ถ้าเราต้องการหลาย ๆ เงื่อนไข การใช้ where() ต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ ก็ยังสามารถทำได้เลย

filter()

ถ้าคิดว่าการใช้ where() ยังเด็ดไม่พอ เราขอนำเสนอ filter() ที่จะช่วยให้เราดูดข้อมูลได้ดั่งใจมากขึ้น

$myCollection->filter( function ($value, $key) {
    return $value['age'] > 2;
});

จากด้านบนเป็นการที่เราดูด Record ที่อายุน้อยกว่า 2 ออกไป เราจะเห็นว่าการใช้ Filter เราจะควบคุมได้มากกว่า where เพราะเราสามารถจัดการทั้งหมดได้ด้วย Callback ข้างล่าง แต่ข้อเสียคือมันทำให้ Code ดูไม่ค่อยงามเท่าไหร่ แนะนำว่าถ้าอะไรมันสามารถใช้ where หรืออื่น ๆ ได้ก็ใช้เถอะครับ จะได้ไม่ต้องมีอะไรงอกออกมาเป็นอีกบรรทัดแบบนี้ มันทำให้ Code เราสะอาดกว่าเยอะเลย

sort()

การเรียงข้อมูลอาจจะไม่่ใช่เรื่องสนุกสำหรับใครบางคนก็ได้ Laravel เลยเตรียมคำสั่งสำหรับการเรียงข้อมูลมาให้เราเรียบร้อยแล้ว ง่าย ๆ คือเราสามารถเรียกแล้วบอกมันว่าจะให้เรียงผ่าน Field ไหน แล้วมันก็สามารถเรียงให้เราได้เลย เช่นด้านล่างนี้

$myCollection->sortBy('age')

หรือถ้าเราต้องการให้มันเรียงกลับด้านกัน sortByDesc() ก็ใช้ได้เช่นกัน หรืออยากได้ท่ายากกว่านั้น เรายังสามารถใส่ Callback ลงไปใน sort ได้ด้วยเช่นกัน

$mycollection->sortBy(function ($value, $key){
    return count($value['friends']);
});

จากด้านบนคือการที่เราจะเรียงตามจำนวนของเพื่อนโดยที่เราไม่ได้เก็บจำนวนเพื่อน แต่เราเก็บชื่อของเพื่อน เราก็แค่นับเพื่อนในแต่ละ Member แล้วเอามา sort ก็ได้เช่นกัน

groupBy()

ถ้าเราต้องการจัดกลุ่มข้อมูลเราก็สามารถทำได้ผ่านคำสั่งที่ชื่อว่า groupBy() เช่น

$myCollection->groupBy('surname');

จากตรงนี้เราก็จะได้คนที่มีนามสกุลเหมือนกันออกมาโดยแยกออกมาเป็นแต่ละนามสกุล แล้วข้างในแต่ละนามสกุลก็จะเป็น Record ของคนที่นามสกุลนั้น ๆ

chunk()

อีกคำสั่งที่น่าจะได้ใช้กันคือ chunk() ที่จะช่วยให้เราสามารถแบ่งข้อมูลเราออกเป็นส่วน ๆ ตามจำนวนที่้เราต้องการได้ เช่นเราบอกว่า เราอยากได้สัก 10 record จาก 100 เราก็สามารถเรียก chunk() แล้วมันก็จะแบ่งออกมาเป็นทีละ 10 อันได้โดยง่ายมาก ๆ ลองมาดูตัวอย่างกัน

$myCollection->chunk(10)

เท่านี้เราก็จะได้ก้อนละ 10 records จากทั้งหมดแล้ว หรือถ้าเราต้องการให้มันกลับไปเป็นเหมือนเดิม เราก็สามารถใช้ collapse() ให้การทำให้กลายเป็นแบบที่เรายังไม่แบ่งได้

map(), reduce(), transform()

หลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกับ 3 คำสั่งนี้ดี อย่างผมที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับ Functional Programming สักเท่าไหร่ ตอนแรกก็จะมึน ๆ เล็กน้อยเวลาเอาไปใช้ เริ่มที่อันแรกคือ map() คือการที่เราให้มันวิ่งไปในทุก ๆ record และให้มันทำอะไรบางอย่างเช่นนับบจำนวนเพื่อนของแต่ละ User ดังนี้

$numOfFriends = $myCollection->map( function($value,$key) {
    return count($value['friends']);
});

สิ่งที่คล้าย ๆ กันกับ map() คือ transform() ถ้าดูเผิน ๆ เราจะเห็นว่ามันทำสิ่งเดียวกันคือการที่เราวิ่งไปทุก ๆ record และได้ค่าใหม่อะไรบางอย่างลงมา แต่สิ่งที่ต่างระหว่าง map() และ transform() คือ map() จะสร้าง collection ใหม่ออกมา (ถ้าเราเห็นใน Code ด้านบนคือ ผมเอาตัวแปรมารับ Collection ใหม่) แต่ในขณะที่ transform() ชื่อมันก็บอกอยู่คือ มันจะเข้าไปแก้ใน Collection นั้น ๆ เลย เราไม่ต้องเอาตัวแปรมารับ สุดท้ายคือ reduce() ที่จะต่างกับ map() และ transform() คือมันจะส่งค่ากลับเพียงค่าเดียว เช่นเราบอกว่าเราอยากได้ผลรวมของจำนวนเพื่อนทั้งหมด ของทุก User เราก็สามารถเขียนได้ว่า

$numAllFriends = $myCollection->reduce( function($sum, $value) {
    return $sum + count($value['friends']);
});

จะเห็นว่าจาก Code ด้านบนมันจะวิ่งเข้าไปในทุก ๆ Record และบวกค่าขึ้นไปเรื่อย ๆ เราก็สามารถทำคำสั่งเหล่านี้ไปใช้ทำอะไรได้เยอะมาก ๆ เหมือนกับท่ามารเลยละ

each()

จาก 3 คำสั่งเมื่อกี้มันเป็นการวิ่งแล้วได้ค่าอะไรสักอย่างแล้วมีผลต่อ Iteration ต่อไปแต่ each จะเทียบเท่ากับที่เราใช้ foreach เลย ตัวอย่างเช่น

$friendsNum = 0;

$myCollection->each( function ($value, $key) {
    $friendsNum  = count($value['friends']);
});

จากตัวอย่างด้านบนเป็นการหาผลรวมของจำนวนเพื่อนเหมือนกับตัวอย่างก่อนหน้านี้ เราจะเห็นว่า มันสามารถทำได้เหมือนกัน แต่จะเห็นว่าเราต้องกำหนดตัวแปรมารับอีก ซึ่งมันเปลืองไปตั้งบรรทัดนึง และทำให้ Code ไม่ดูดีเท่ากับการใช้ reduce() เลย ถ้าพูดถึงเรื่อง Performance เทียบกับ each() และ foreach() ธรรมดาจะตอบว่า foreach ธรรมดาเร็วที่สุด แต่หน่วยที่เราเทียบกันอยู่ เราคุยกันในหลัก Microsecond ฉะนั้นก็ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้เลย เว้นแต่เอาไปแข่งกันเรื่องความเร็วกันจริง ๆ แต่ข้อดีของ each() คือมันสามารถเอาไป stack กับคำสั่งอื่น ๆ ได้ทำให้อะไร ๆ มันง่ายขึ้นและจบในบรรทัดเดียวจริง ๆ

สรุป

Collection เป็นอะไรที่ทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นมาก ๆ แต่หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามมัน แล้วไปนั่ง Implement กันเอง (เรานี่แหละ) แต่พอได้มาอ่านจริง ๆ แล้วก็ เออหว่ะ แล้วตรูจะมานั่งเขียนเองเพื่อ ??? อีกอย่างคือมันสามารถเอาแต่ละคำสั่งมา Stack กันได้ด้วย ทำให้เราสามารถจัดการข้อมูลพวกนี้ได้ง่ายขึ้นอีก จริง ๆ แล้วมันยังมีอีกหลายคำสั่งให้เลือกสรรมาใช้กันนะ ก็ลองเข้าไปอ่านใน Document ได้ สำหรับวันนี้สวัสดี สวีดัส บรัย ~

Read Next...

ติดตั้ง Zigbee Dongle บน Synology NAS กับ Home Assistant

ติดตั้ง Zigbee Dongle บน Synology NAS กับ Home Assistant

ก่อนหน้านี้เราเปลี่ยนมาใช้ Zigbee Dongle กับ Home Assistant พบว่าเสถียรขึ้นเยอะมาก อุปกรณ์แทบไม่หลุดออกจากระบบเลย แต่การติดตั้งมันเข้ากับ Synology DSM นั้นมีรายละเอียดมากกว่าอันอื่นนิดหน่อย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการเพื่อใครเอาไปทำกัน...

โหลด CSV วิธีไหนเร็วที่สุด ?

โหลด CSV วิธีไหนเร็วที่สุด ?

เมื่อหลายวันก่อนมีพี่ที่รู้จักกันมาถามว่า เราจะโหลด CSV ยังไงให้เร็วที่สุด เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายนะ แต่พอมานั่งคิด ๆ ต่อ เห้ย มันมีอะไรสนุก ๆ ในนั้นเยอะเลยนี่หว่า วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีวิธีการอย่างไรบ้าง และวิธีไหนเร็วที่สุด เหมาะกับงานแบบไหน...

ฮาวทู Sync Obsidian Note ด้วย LiveSync Plugin

ฮาวทู Sync Obsidian Note ด้วย LiveSync Plugin

ตั้งแต่ใช้ Obsidian เป็น App จด Note หลัก ชอบวิธีการจัดการมาก ๆ เมื่อใช้งานร่วมกับ Plugin ต่าง ๆ ยิ่งทำให้การใช้งานยืดหยุ่นมากกว่าเดิมอีกเยอะมาก ๆ ติดอยู่เรื่องเดียวคือ การใช้งานในหลาย ๆ อุปกรณ์ แต่เราเจอ Plugin ตัวนึงที่น่าสนใจมาก ๆ คือ LiveSync วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการติดตั้ง และใช้งานมันกัน...

การสร้าง SSD Storage Pool บน Synology DSM

การสร้าง SSD Storage Pool บน Synology DSM

สำหรับคนที่ใช้ Synology NAS บางรุ่นจะมีช่อง M.2 สำหรับเสียบ NVMe SSD โดยพื้นฐาน Synology บอกว่ามันสำหรับการทำ Cache แต่ถ้าเราต้องการเอามันมาทำเป็น Storage ละ มันจะทำได้มั้ย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการทำกัน...