Tutorial

Java 101 - Class & Object (EP.2)

By Arnon Puitrakul - 22 ธันวาคม 2014

Java 101 - Class & Object (EP.2)

จากตอนที่แล้ว EP.1 เราได้เขียนโปรแกรมเพื่อแสดงผลออกทางหน้าจอไปแล้ว
วันนี้เราจะมาเรียนรู้สิ่งนึงของ Java ที่เจ๋งคือ เรื่องของ Class และ Object
ผมจะพยายามเล่าให้เห็นภาพ สมมุติว่าเรากำลังจะสร้างบ้าน
เราจะต้องมีพิมพ์เขียวนั่นคือแบบบ้านว่า บ้านจะหน้าตาเป็นยังไง หน้าต่างวางตรงไหน ตรงไหนทำอะไรได้บ้าง พวกนี้เราจะเรียกมันว่า Class หรือพูดอีกอย่างก็คือ แบบแปลนของวัตถุในโปรแกรมเรา
ซึ่งในโปรแกรมมิ่ง Class จะประกอบไปด้วย

  • Attribute - มันจะเป็นตัวบอกรูปร่างหน้าตาของ Class ว่ามันหน้าตาเป็นยังไงประมาณไหน เช่นบ้าน บ้านสีอะไร บ้านกี่ชั้น

  • Method - อันนี้จะเป็นการบอกว่า Class เราทำอะไรได้บ้าง เช่นบ้านเราเปิดประตูได้มั้ย? เปิดหน้าต่างได้รึเปล่า เป็นต้น
    หลังจากเราได้พิมพ์เขียวหรือ Class แล้ว เราจะนำพิมพ์เขียวของเรามาสร้างเป็นบ้าน บ้านที่เราสร้างเราจะเรียกว่า Object ซึ่ง Object ที่เราสร้างขึ้นมาจาก Class นั้นจะมีหน้าตาเหมือน Class เลย 100%
    ถามต่อว่าเราจะใช้ Class สร้าง Object หลายๆอันจาก Class อันเดียวได้มั้ย ตอบเลยว่า "ได้"
    นึกภาพง่ายๆครับ หมู่บ้าน เราเขียนพิมพ์เขียวอันเดียว แต่เราสามารถเอาพิมพ์เขียวอันเดียวมาสร้างบ้านได้หลายๆหลัง นี่ก็เหมือนกับเรื่องของ Class กับ Object ในโปรแกรมเป๊ะเลย
    จบทฤษฏี ทีนี้มาที่เรื่องของโค๊ตกันบ้าง ใน Java การประกาศ Class ง่ายมากๆ บอก Modifier ตามด้วย Class แล้ว ใส่ชื่อ จบ ง่ายมาก

    public class name
    {
    Attribute Here...

    Method Here....
    }

เช่นๆ ผมสร้างไฟล์ ชื่อ Student.java ขึ้นมา ผมบอกว่า

public class Student
{
String name;
String surname;
int year;
int age;

public void setData()
{
name = "Test";
surname = "Class";
year = 1;
age = 18;
}

public void showData ()
{
System.out.println("Name: "+ name);
System.out.println("Surname: " + surname);
System.out.println("Year: " + year);
System.out.println("Age: " + age);
}
}

จากโค๊ตด้านบน ผมมีคลาสชื่อ Student มี Attribute

  • Name เป็น String ไว้เก็บชื่อ นศ.

  • surname เป็น String อีกเช่นกัน ไว้เก็บนามสกุล นศ.

  • year เป็น Integer ไว้กับชั้นปี

  • age เป็น Integer อีกเช่นกัน ไว้เก็บ อายุ
    จากที่เราเห็น Attribute มันคือการประกาศตัวแปรธรรมดา ซึ่งถ้าเราเอา Class นี้ไปสร้างเป็น Object แล้วเราสามารถเข้าถึงค่าพวกนี้ได้อย่างอิสระ อาจจะยังไม่เห็นภาพ ผมจะลองยกตัวอย่างดู
    สมมุติผมเอา Class นี้ไปสร้างเป็น Object ชื่อ Student1 กับ Student2
    Attribute Name ของ Student1 กับ Student2 จะแยกออกเป็นอิสระต่อกัน เหมือนกับเราสร้างบ้านแล้วหลังแรกอยากให้มันมีสีเขียวกับอีกหลังมีสีฟ้า ก็ย่อมได้ แต่จริงๆแล้ว มันก็คือบ้านเหมือนกัน แต่ต่างกันแค่สีของบ้่านเท่านั้นเอง
    แต่ก็อีกเราไม่ควรที่จะเข้าถึงตัวแปรโดยตรง เราจำเป็นที่จะต้องสร้าง Method ขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนมัน เหมือนกับเรามีประตูในบ้าน แล้วเราบอกประตูว่า "เปลี่ยนสีให้หน่อยสิ" ซึ่งในความเป็นจริง ประตูเปลี่ยนสีเองไม่ได้ ถูกมั้ยครับ?
    เราจึงต้องสร้าง Method ทาสีขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนสีประตู เช่นเดียวกับโปรแกรม เราจะต้องกำหนด Method เพิ่ือจัดการกับ Attribute เหล่านี้
    ทีนี้เรามาดูการสร้าง Method บ้าง

    Modifier Returntype Name (Argument)
    {
    //write sth here
    }

เราจะต้องใส่ Modifier แล้วตามด้วย Return Type ว่าเราต้องการให้ Method นี้ส่งกลับค่าเป็นอะไร เช่น Int,String,double เป็นต้น แล้วก็ใส่ชื่อ Method เข้าไป สุดท้ายตามด้วย Argument (เหมือนกับการสร้างฟังก์ชั่นในภาษา C เลยแต่เพิ่ม Modifier เข้ามาเฉยๆ) เช่นๆๆ

public void showData ()
{
System.out.println("Name: " + name);
System.out.println("Surname: " + surname);
System.out.println("Year: " + year);
System.out.println("Age: " + age);
}

จากโค๊ตด้านบนผมสร้าง Method ชื่อ showData ขึ้นมา เรามาอ่านมันกัน
ผมบอกว่า public แปลว่า ผมจะเรียก Method นี้จากที่ไหนก็ได้ที่ผมสามารถเข้าถึง Object ที่สร้างจาก Class นี้ได้
void คือ Method นี้ไม่ส่งค่าใดๆกลับไปเลย
showData คือชื่อของ Method
ส่วนด้านใน Method น่าจะรู้อยู่แล้วนะครับ ไม่รู้เชิญไปอ่าน EP.1 ก่อนเลย
ตอนนี้ เราก็ได้คลาสชื่อ Student แล้ว ต่อมาเราจะมาสร้าง Object จาก Class Student กัน
ผมจะสร้างไฟล์ใหม่ชื่อ main_class.java (มันจะอยู่ในโปรเจ็คเดียวกันกับ Student.java นะครับ) แล้วผมบอกว่า

public class main_class
{
public static void main (String[] args)
{
Student test1 = new Student();
test1.setData();
test1.showData();
}
}

โค๊ตด้านบน ผมสร้าง class ชื่อ main_class ขึ้นมา
แล้วสร้าง method ชื่อ main ขึ้นมาตัวนึง
บรรทัดลงมานี่คือการสร้าง Object แล้วครับ
Student test1 = new Student();
คือ ผมสร้าง Object ลอกแบบจาก Class ชื่อ Student ชื่อ Test1 ขึ้นมา 1 ตัว
เพราะฉะนั้นผมสามารถเข้าถึง Attribute และ Method ของ Student ในชื่อของ test1 ได้
บรรทัดถัดมาผมบอกว่าให้ test1 ทำ Method ชื่อ setData (ถามว่ามันทำอะไร อันนี้ไปดูด้านบน ไม่ก็โหลด Source Code ด้านล่างแล้วเปิดไฟล์ Student.java ขึ้นมานะ)
ถัดมาผมบอกให้มันทำ Method ชื่อ showData
เพราะฉะนั้น Output ที่ผมได้คือ

Name: Test
Surname: Class
Year: 1
Age: 18

แต่เดียวก่อน จริงๆแล้วเราสามารถสร้าง Object เป็น Array เลยก็ยังได้ โดย

Student [] stu = new Student [5];

ใช้โค๊ตด้านบนนี้เลย ด้านบนผมสร้าง Object จาก Class ชื่อ Student เป็น Array มี 5 Elements (คล้ายๆกับเมื่อกี้เลยใช่มั้ยครับ แต่เราแค่เพิ่มปีกกาเพื่อบอกว่ามันคือ Array แล้วมีกี่ Element ในนั้นเท่านั้นเอง)
ส่วนการอ้างถึง เราสามารถอ้างได้เหมือน Array ปกติได้เลย เช่น stu[1].setData(); เป็นต้น
สรุปวันนี้เราได้เรียนรู้การสร้าง Class ขึ้นมาโดย

class ชื่อclass
{
Attribute Here

Method Here
}

แล้วนำ Class ที่สร้างนั้นมาสร้างเป็น Object โดย

ชื่อclass ชื่อobject = new ชื่อclass

แต่ถ้าเป็น array ก็ต้องใส่จำนวน Element เข้าไปด้วยคือ

ชื่อclass [] ชื่อobject = new ชื่อclass [จำนวน Elements]

Source Code : https://drive.google.com/folderview?id=0BwrPA9Miv4o2ZzZWYnc5Z01GV0U&usp=sharing

Read Next...

ติดตั้ง Zigbee Dongle บน Synology NAS กับ Home Assistant

ติดตั้ง Zigbee Dongle บน Synology NAS กับ Home Assistant

ก่อนหน้านี้เราเปลี่ยนมาใช้ Zigbee Dongle กับ Home Assistant พบว่าเสถียรขึ้นเยอะมาก อุปกรณ์แทบไม่หลุดออกจากระบบเลย แต่การติดตั้งมันเข้ากับ Synology DSM นั้นมีรายละเอียดมากกว่าอันอื่นนิดหน่อย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการเพื่อใครเอาไปทำกัน...

โหลด CSV วิธีไหนเร็วที่สุด ?

โหลด CSV วิธีไหนเร็วที่สุด ?

เมื่อหลายวันก่อนมีพี่ที่รู้จักกันมาถามว่า เราจะโหลด CSV ยังไงให้เร็วที่สุด เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายนะ แต่พอมานั่งคิด ๆ ต่อ เห้ย มันมีอะไรสนุก ๆ ในนั้นเยอะเลยนี่หว่า วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีวิธีการอย่างไรบ้าง และวิธีไหนเร็วที่สุด เหมาะกับงานแบบไหน...

ฮาวทู Sync Obsidian Note ด้วย LiveSync Plugin

ฮาวทู Sync Obsidian Note ด้วย LiveSync Plugin

ตั้งแต่ใช้ Obsidian เป็น App จด Note หลัก ชอบวิธีการจัดการมาก ๆ เมื่อใช้งานร่วมกับ Plugin ต่าง ๆ ยิ่งทำให้การใช้งานยืดหยุ่นมากกว่าเดิมอีกเยอะมาก ๆ ติดอยู่เรื่องเดียวคือ การใช้งานในหลาย ๆ อุปกรณ์ แต่เราเจอ Plugin ตัวนึงที่น่าสนใจมาก ๆ คือ LiveSync วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการติดตั้ง และใช้งานมันกัน...

การสร้าง SSD Storage Pool บน Synology DSM

การสร้าง SSD Storage Pool บน Synology DSM

สำหรับคนที่ใช้ Synology NAS บางรุ่นจะมีช่อง M.2 สำหรับเสียบ NVMe SSD โดยพื้นฐาน Synology บอกว่ามันสำหรับการทำ Cache แต่ถ้าเราต้องการเอามันมาทำเป็น Storage ละ มันจะทำได้มั้ย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการทำกัน...