Technology

ขับรถไฟฟ้า เดือนนึง เสียค่าไฟเท่าไหร่ ถูกกว่ารถน้ำมันขนาดไหน

By Arnon Puitrakul - 05 พฤศจิกายน 2022

ขับรถไฟฟ้า เดือนนึง เสียค่าไฟเท่าไหร่ ถูกกว่ารถน้ำมันขนาดไหน

จากที่หลาย ๆ คนอาจจะเห็นในเฟสของเรามาบ้างแล้วว่า เราเปลี่ยนมาขับ ORA Good Cat ที่เป็น BEV มาเกิดครึ่งปีแล้ว และบ้านเราก็ติด Solar Cell เมื่อเดือนก่อน เราเกิดคำถามว่า เอ๊ะ จริง ๆ แล้ว เดือน ๆ นึง เราเสียค่าไฟให้กับการชาร์จรถในบ้านเป็นเท่าไหร่ คิดออกมา มันตกกิโลเมตรละเท่าไหร่ และคำถามที่สำคัญเลยคือ มันถูกกว่ารถน้ำมันขนาดไหน

ปล. การคำนวณนี้ คำนวณจากข้อมูลจริง ในการวิ่ง และ Deal ที่เราได้ของเราเอง ดังนั้น ท่านอื่นอาจจะคำนวณแล้วห่างจากนี้ น้อยกว่านี้ หรือมากกว่านี้ ขึ้นกับการวิ่งของตัวเอง, ปริมาณไฟที่ใช้ และ ปริมาณไฟที่ Solar Cell ผลิตได้

การคำนวณ

ในการทดลองนี้ เราจะเริ่มคำนวณ ว่าเดือนนึง เราวิ่งเท่าไหร่ และ เราใช้ไฟในการชาร์จไปเท่าไหร่ โดยปกติเราจะทำการเก็บเลข Odoometre ทุก ๆ ครั้งที่เราทำการชาร์จ และ หน่วยไฟ ที่เราเสียบชาร์จที่บ้านไป โชคดีที่เดือนนี้ เราได้มีการเสียบนอกบ้านเลย ทำให้หน่วยไฟ 100% นี้ จะเป็นหน่วยไฟที่ชาร์จจริง ๆ

ในเดือน ตุลาคม 2022 ที่ผ่านมา เราวิ่งไปทั้งหมด 1,907 กิโลเมตร อ้างอิงจาก Odometre ของรถวันที่ 31 ตุลาคม ลบกับของวันที่ 1 ตุลาคม 2022 และไฟที่ชาร์จ เราก็หาผลรวมของพลังงาน Transaction ที่เราชาร์จในวันเดียวกัน ทำให้เรา ชาร์จรถไฟทั้งหมด 255.45 kWh

กับตัวค่าไฟ เรามี Solar Cell และ ระบบสำหรับการ Track การใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราเอง อันนี้เราไม่ได้เลือกติดตั้งเป็นมิเตอร์แบบ TOU นะ ดังนั้น ทั้งวันทั้งคืน ราคาจะเท่ากันหมด เราเลยคำนวณง่าย ๆ เราเอาค่าไฟที่เราใช้แบบเพียว ๆ ไปคิดค่าไฟ ผ่าน ระบบประมาณการค่าไฟฟ้า ของ PEA และ ค่าไฟที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมันโดน Solar Cell หักออกไปบางส่วน เข้าระบบเดียวกัน ซึ่งหน่วยไฟที่เราใช้จริง ๆ คือ 1,244.76 kWh คิดเป็นค่าไฟ 6,934.1 บาท และ หน่วยไฟเมื่อโดน Solar Cell หักไปแล้ว 306.34 kWh คิดเป็นค่าไฟ 1,572.88 บาท ด้วยกัน

แต่ค่าไฟที่เกิดขึ้นมันเป็นค่าไฟที่รวมระหว่าง การชาร์จรถ 2 คัน และ การใช้ไฟในบ้าน ซึ่งในบทความนี้ เราจะคำนวณแค่ของรถที่เราขับคันเดียวเท่านั้น ดังนั้น เราจะลองคำนวณ ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยออกมาก่อน โดยการเอา ราคาค่าไฟ หารด้วยจำนวนหน่วย ทั่ว ๆ ไปเลย ในเคสแรกคือ ถ้าเกิด เราไม่มี Solar Cell เลย เราจะเอา 6,934.1 หารด้วย 1,244.76 เราจะได้ 5.57 THB/kWh ถือว่าโหดมาก อย่าลืมว่า ค่า Ft พุ่งกระฉูดขนาดนั้น แต่ถ้าเป็น เรามี Solar Cell ละ เราจะเอา ค่าไฟหลัง Solar คือ 1,572.88 หารด้วย หน่วยไฟที่ใช้จริง ๆ คือ 1,244.76 จะได้ออกมา 1.26 THB/kWh ด้วยกัน

ดังนั้น ค่าไฟที่เราเสียจริง ๆ ในการชาร์จรถก็จะเป็นหน่วยไฟที่เราใช้ชาร์จรถคือ 255.45 kWh คูณด้วย ราคาหน่วยไฟแยกออกเป็น 2 เคส คือ แบบไม่มี Solar Cell ก็คูณด้วย 5.57 บาท และแบบมี Solar Cell คูณด้วย 1.26 บาท จะได้ออกมาเป็น 1,422.86 บาท และ 321.87 บาทตามลำดับ

ถ้าเราคิดเป็นกิโลเมตร เราก็จะแบ่งเคสเป็น มี และ ไม่มี Solar Cell เหมือนเดิมก็ง่าย ๆ เลยเอา ราคา มาหารกับจำนวนกิโลเมตรที่เราวิ่ง คือ 1,907 กิโลเมตร ก็จะได้ออกมาเป็น 0.75 บาท และ 0.17 บาท ตามลำดับ แต่ถ้าเราไปชาร์จสถานีชาร์จสาธารณะ ก็จะแพงกว่านี้มาก ๆ

เทียบกับ TOU ละ

งั้นเราลองไปคำนวณอะไรที่สนุกกว่านั้นหน่อยละกัน แล้วถ้าเราเทียบกับว่า เราติดมิเตอร์ TOU และเราเสียบชาร์จตอน Off-Peak เสมอ เราใช้หน่วยไฟที่ 306.34 kWh ในการคำนวณเลย จะได้ออกมาที่ 1,496.30 บาท แล้วถ้าเทียบราคาต่อระยะทางก็จะอยู่ที่ 0.78 บาทต่อกิโลเมตรด้วยกัน แต่เอ๊ะแอบแพงกว่ามิเตอร์ปกติเฉย งง นะ

มิเตอร์ TOU คืออะไร ? เปลี่ยนแล้วจะคุ้มค่าจริงมั้ย ?
เมื่อก่อนเราก็เข้าใจว่า การคิดค่าไฟในประเทศไทย มันจะมีแค่แบบเดียวคือการใช้อัตราก้าวหน้าแบบปกติเลย แต่หลังจากที่เราติด Solar Cell ไป คนที่ติดให้เขาแนะนำให้เราเปลี่ยนไปเป็นมิเตอร์แบบ TOU ตอนนั้นเราก็คิดนะว่า เปลี่ยนแล้วมันจะคุ้มกว่ามั้ย วันนี้เราลองมาวิเคราะห์ให้ดูกันจัง ๆ เลยดีกว่า

ดังนั้นเราเลยมองว่า จริง ๆ แล้ว การติดมิเตอร์ TOU เพื่อชาร์จรถ EV เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะมันจะเป็น Extreme Case ที่เราจะอยู่กับ Off-Peak ในการชาร์จตลอดเวลาเลย เราจะได้ราคาต่อหน่วยที่ถูกมาก ๆ ทุกครั้งที่เราชาร์จ ซึ่งมันก็ถูกกว่าเรทปกติแน่นอน โดยเฉพาะมิเตอร์ TOU ไม่ได้คิดเป็นขั้นบันได

ถ้าเราเอา 306.43 kWh ไปหาค่าไฟในมิเตอร์ปกติ ราคาจะไม่ต่างกันเรท TOU มากเท่าไหร่เลย แต่ในความเป็นจริง เราไม่ขอมิเตอร์ปกติ 2 ลูกกันมั้ยอะ กับเรารู้อยู่แล้ว ยังไง ๆ เราก็ชาร์จในช่วง Off-Peak อยู่แล้วด้วย มันก็ดูตลก ๆ ถ้าเราจะขอมิเตอร์ปกติ 2 ลูก เพื่อไม่อยากเจอขั้นบันได หรือมันทำได้วะ ??? แต่เราจะบอกว่า การเปลี่ยนมาใช้ในบ้านลูกเดียวเลย จะไม่คุ้มถ้าเราใช้ไฟน้อย และพฤติกรรมเราอยู่กลางวันเยอะจะไม่คุ้มละ

เทียบกับรถน้ำมันคันเก่า จะห่างกันเท่าไหร่

แอบคิดถึงรถคันเก่า ไม่รู้น้องไปอยู่กับเจ้าของใหม่แล้วจะทำตัวดีมั้ยนะ เจ้าของใหม่เขาจะดูแลอย่างดีมั้ย

เพื่อให้สนุกยิ่งขึ้น เราขอเทียบกับรถน้ำมันละกัน เอาเป็นคันเก่าเราคือ Honda City RS ปี 2020 ถ้าตาม Eco Sticker จะอยู่ที่ 4.6 l / 100 km โดย เราเขียน ณ วันที่ 4 พฤจิกายน 2022 ราคาน้ำมัน E20 ล่าสุดอยู่ที่ 34.64 บาท ต่อลิตร ดังนั้น 100 km จะใช้ 159.34 บาท ดังนั้น 1 km จึงจะใช้ 1.59 บาทต่อกิโลเมตร

แต่เอาความจริงเท่าที่เคยใช้จริง ๆ เท่าที่จำได้จากหน้าปัดของรถมันบอกไว้ 12-13 km/l แถว ๆ นั้น เอาแบบขับปกตินะ ทำให้เราจะใช้อยู่ 2.66 บาทต่อกิโลเมตร มันก็จะห่างกับ ORA Good Cat ที่เราใช้ Solar Cell ด้วย (0.17 บาทต่อกิโล) 15.65 เท่าด้วยกัน ถือว่าเยอะโหดมาก

ถ้าเทียบเอากิโลเมตรที่เราขับเมื่อเดือนก่อนมาคำนวณ ก็จะเป็น 1,907 กิโลเมตร คูณกับราคาต่อกิโลเมตรคือ 2.66 บาท ก็จะเป็น 5,072.62 บาทด้วยกัน ซึ่งทิ้งห่างจากค่าไฟที่เราใช้ชาร์จรถที่ 385.99 บาท เรียกว่า ไป ไกล มาก เลย ที เดียว

รวมค่า Maintenance ด้วยสิ

หลาย ๆ คนบอกว่า เวลาเราคิด เราควรจะคิดรวมกับค่า Maintenance ที่เกิดขึ้นด้วย เพราะเอาเข้าจริงคือ รถเราขับ เราก็ต้องเข้าเช็คระยะตามระยะทาง หรือ ช่วงเวลา แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อนเสมอ อย่างในตัว ORA Good Cat เอง จะเข้าเช็คระยะที่ 15,000 km หรือ 1 ปี อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน

ซึ่ง Deal ที่เราได้ เราได้ GPSI 5 ครั้ง คือ 5 ปี หรือ 75,000 กิโลเมตร ดังนั้น เราจะหักตรงนั้นเป็น 0 บาทไปเลย และเราจะตีว่า เราวิ่งเต็มจน 150,000 กิโลเมตรไปเลย ค่าบริการรวมของเราจะอยู่ที่ 11,267 บาท หรือถ้ารวม VAT 7% ไปก็จะเป็น 12,055.69 บาทด้วยกัน

เท่ากับว่า ใน 150,000 กิโลเมตร เราจะเสียค่าบริการเฉลี่ยอยู่ที่ 0.08 บาทต่อกิโลเมตรเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเราบอกว่า เราชาร์จด้วย Solar Cell จริง ๆ ที่เราวิ่งประมาณ 0.17 บาทต่อกิโลเมตร รวมกับค่าบริการก็จะเป็น 0.25 บาทต่อกิโลเมตร เท่านั้น ดังนั้น ถ้าเราตีว่าเดือนนึงเราขับ 1,907 กิโลเมตร เราก็จะเสียเงินทั้งค่าเชื้อเพลิง และ ค่าบำรุงรักษาอยู่ที่ 476.75 บาท

สรุป

ตอนแรกก็รู้นะว่า มันถูกกว่าเยอะมาก แต่ก็ไม่คิดว่า มันจะเยอะขนาดนี้ ถ้าดูจากตัวเลข Configuration ที่เราได้ ถือว่าเป็น Extreme มาก ๆ เพราะในบ้านของเราเองติด Solar Cell และเราทำงานอยู่บ้าน ทำให้เราสามารถเสียบชาร์จตอนที่แดดจัด ๆ ตอนเที่ยงได้สบาย ๆ ส่งผลให้ค่าไฟในการชาร์จของเราถูกมาก ๆ เลยทำให้อยู่ใน Rate ที่คำนวณกันในบทความนี้ แต่สำหรับท่านอื่น ๆ เรามองว่า ถ้ามีเงินก้อน การลง Solar Cell เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก ๆ กับอีกวิธีที่ถูกน้อยลงหน่อย แต่ไม่ต้องลงเงินก้อนใหญ่หลักแสนคือ การใช้มิเตอร์แบบ TOU อย่างน้อยลดราคาหน่วยไฟที่ใช้ลงไปได้ จาก 4 บาทกว่า ๆ กลายเป็น 2 บาทกว่า ๆ ในช่วง Off-Peak ไปได้ แล้วไปโดนพวก Ft อะไรพวกนั้นเหมือนเดิมไป ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

Read Next...

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

ปัจจุบันหูฟังที่มีระบบ Noise Cancelling มีมากขึ้นเรื่อย ๆ หลาย ๆ คนอาจจะมองแค่ว่า มันทำให้เราสามารถฟังเสียงโดยมีเสียงรบกวนที่น้อยลง เพิ่มอรรถรสในการฟังได้ แต่จริง ๆ แล้วมันมีข้อดีมากกว่านั้นมาก ๆ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีข้อดีอะไรอีกบ้าง...

สำรองข้อมูลไว้ก่อนจะสายด้วย Time Machine

สำรองข้อมูลไว้ก่อนจะสายด้วย Time Machine

การสำรองข้อมูลเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันข้อมูลของเราเอง วันนี้เราจะมาแนะนำเครื่องมือสำหรับการสำรองข้อมูลที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ อย่าง Time Machine กัน...

Disk Defragment ของเก่าจากอดีต ทำไมปัจจุบันเราไม่ต้องใช้แล้ว

Disk Defragment ของเก่าจากอดีต ทำไมปัจจุบันเราไม่ต้องใช้แล้ว

หลายวันก่อน นอน ๆ อยู่ก็นึกถึงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สมัยก่อนขึ้นมา หนึ่งในสิ่งที่คนบอกว่าเป็นวิธีการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นคือการทำ Disk Defragment มันทำให้เครื่องเร็วขึ้นอย่างที่เขาว่าจริงมั้ย แล้วทำไมปัจจุบันมันมีเทคโนโลยีอะไรเข้ามาช่วย ทำให้เราถึงไม่ต้องทำแล้ว...

เมื่อ Intel กำลังทิ้ง Hyper-threading มันจะดีจริง ๆ เหรอ

เมื่อ Intel กำลังทิ้ง Hyper-threading มันจะดีจริง ๆ เหรอ

เชื่อหรือไม่ว่า Intel กำลังจะทิ้งสุดยอด Technology อย่าง Hyperthreading ใน CPU Generation ใหม่อย่าง Arrow Lake ทำให้เกิดคำถามว่า การที่ Intel ทำแบบนี้เป็นเรื่องดีหรือไม่ และเราที่เป็นผู้ใช้จะได้หรือเสียจาก CPU ใหม่ของ Intel ตัวนี้...