By Arnon Puitrakul - 27 มีนาคม 2023
ตั้งแต่เรารีวิว Synology NAS ไป ก็มีคนถามเข้ามาให้เราแนะนำหลายคนแล้วละ แต่เรื่องนึงที่พอคนถามเข้ามา แล้วทำให้เราฉุกคิดได้ว่า เออ มันมีราคาอีกส่วนที่เรามักจะละเลยไปในหลาย ๆ ครั้งคือ ค่าไฟ ถ้าดูจากการกำลังไฟในสเปก ก็อาจจะเห็นว่า มันกินไฟนิดเดียวเองนะ มันจะสักเท่าไหร่กันเชียว งั้น วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า เดือน ๆ นึงมันจะกินเท่าไหร่ คิดเป็นเงินเท่าไหร่ และ เราจะเลือก NAS อย่างไรให้ประหยัดค่าไฟสูงสุด
ถ้าเราอยากจะประเมินคร่าว ๆ เกี่ยวกับการกำลังไฟที่เครื่องควรจะใช้ เราเข้าไปดูในเว็บของ Synology ได้ ในหน้าของแต่ละรุ่น เรายกตัวอย่างของเรา อย่าง Synology DS1621+ ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้ในระดับบ้านใหญ่ ๆ หรือ Small Business กันแล้ว ในหน้าเว็บ เขาจะแยกเคสออกมา เป็น ช่วงเวลาที่ไม่มีการเข้าถึงข้อมูลเลย HDD ในเครื่องหยุดหมุน และ เมื่อ HDD มันหมุนเต็มที่ หรือก็คือ ตอนที่เรากำลังมีการเข้าถึงข้อมูลอยู่ ถ้าเราดูก็คือ มันเป็นครึ่งต่อครึ่งเลยนะ
งั้นเราสมมุติว่า NAS ของเรามีการเข้าใช้ตลอดเวลาเลย กินสัก 50.22W ตลอดเวลาเลย ชั่วโมงนึงเราก็จะกินอยู่ประมาณ 0.05 หน่วย ทำให้ใน 1 เดือน เราก็จะใช้อยู่ประมาณ 36 หน่วยไฟด้วยกัน ถ้าเราตีว่า เราใช้ไฟด้วยละ 5.5 บาท เราก็จะเสียค่าไฟประมาณ 198 บาทเท่านั้น อื้ออ ดูดีมากเลยนะ ถ้าเราบอกว่า เราสามารถเก็บข้อมูลกับตัวเราได้ เราไม่ต้องไปยึดกับการจ่ายค่า Cloud ไปเรื่อย ๆ
งั้นเราเอาความเป็นจริงมาดูกันดีกว่า ของจริงเรากินอยู่ประมาณ 51-60 หน่วยต่อเดือนเลย ซึ่งเยอะกว่าที่ Synology เคลมไว้เยอะมาก ๆ เลยนะ น่าจะมีห่างกันเกือบ ๆ 2 เท่าไปเลย ถ้าเราคิดเอาเป็นเดือนนึงละกันต่ำสุด ๆ 51.2 หน่วยไฟ เราก็จะเสียค่าไฟอยู่ 281.6 บาท สำหรับเดือนนึงเต็ม ๆ ก็ยังพอได้อยู่นะ ยิ่งถ้าเราไปดูสเกลของ NAS เราที่เรียกว่า SME แล้ว ค่าไฟเท่านี้ถือว่า เรื่องเล็กมาก ๆ
อย่างที่เราเคยรีวิวกันมาก่อนหน้านี้ว่า เราได้รับการสนับสนุนจากทาง Synology Thailand ส่ง Expansion Unit DX517 เข้ามาให้ และเราใส่ HDD เข้าไปเพิ่มในนั้นอีก 2 ลูกด้วยกัน ทำให้การใช้ไฟเราจะอยู่ที่ประมาณ 68-70 หน่วย ด้วยกัน เราเอาที่ 68.1 หน่วยที่เป็นเลขจริงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2023 มา ทำให้เราจะโดนค่าไฟอยู่ที่ 374.55 บาทด้วยกัน แต่เราได้พื้นที่การจัดเก็บเพิ่มอีกเยอะเลย ด้วยความที่ Expansion Unit เขาไม่ได้มีคอมพิวเตอร์ทั้งตัวอยู่ภายในเป็นแค่กล่องที่เราใส่ HDD แล้วเชื่อมต่อกับตัว Main เท่านั้น เลยทำให้มันไม่ได้กินไฟมากเท่าไหร่ ผลรวมต่อเดือนมันเลยไม่ได้เยอะมาก
แต่ถ้าเป็นระดับบ้านจริง ๆ เราว่า ก็น่าจะเล่นกันสุด ๆ ก็พวกแบบ 923+ ถ้าดูจากสเปกในหน้าเว็บ ก็คือ การกินไฟหายไปเกือบครึ่งเลย ถ้าเราเอาหน่วยที่เราโดนจริงไปทาบ แล้วหันครึ่งประมาณ ๆ เอา มันก็จะประมาณ 30 หน่วยอะ ก็ประมาณ 165 บาทเท่านั้น ทำให้ถ้าเราแชร์กันทั้งบ้านเลย เราว่ายังไง ๆ ก็ถูกกว่าการจ่าย Cloud ระดับครอบครัวแน่นอน ถ้าเรามีเงินก้อนที่จะลงไปตรงนี้อะนะ
มาถึงจุดที่หลายคนอยากรู้แล้ว (เหรอ...) ว่าเราจะเลือก NAS อย่างไรให้มันประหยัดไฟสุด ๆ ต้องเข้าใจก่อนนะว่า จริง ๆ NAS มันก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนึงเท่านั้นแหละ ดังนั้น ถ้าเราเลือก CPU ที่พลังในการประมวลผลน้อย ๆ หน่อย แต่เพียงพอกับการใช้งานของเราที่สุด ก็จะเป็นการลดการใช้ไฟได้มหาศาลมาก ๆ เช่น ฝั่งของ Synology รุ่นใหม่ ๆ จะใช้ CPU เป็น AMD Ryzen ก็กินไฟค่อนข้างน้อยอยู่แล้วแหละ แต่ถ้าเราอยากได้ให้มันต่ำลงไปอีก มันก็จะมีกลุ่มที่เป็น CPU จาก Realtek เอง ซึ่งพวกนี้ Performance เราว่าน่าจะทำได้อย่างมากก็คือ เก็บไฟล์เฉย ๆ เลย ถ้าใครใช้แค่เท่านั้นมันก็เพียงพอแล้ว
อีกปัจจัยที่ทำให้ NAS กินไฟก็คือ ตัว HDD ที่เราใช้ด้วย ยิ่งถ้าเราใช้ HDD จำนวนเยอะเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งกินไฟสูงขึ้นเท่านั้น ทำให้ถ้าเราอยากจะประหยัดไฟจริง ๆ เราอาจจะต้องยอมลงทุนซื้อ HDD ที่ลูกใหญ่ขึ้น เช่น 6-8TB ก็น่าจะเยอะมาก ๆ สำหรับบ้าน และ SME แล้วนะ อาจจะกดมาเริ่มต้นสัก 2 ลูกทำ RAID1 แล้ววันนึง เราก็อาจจะขยับขยายไปเพิ่มรอบแรกอาจจะมาอีก 2 ลูก ก็จะเก็บได้ 24 TB แบบชิว ๆ แล้วละ
นอกจากนั้น ในตัว HDD เอง มันก็จะมีหลายเกรดอยู่ หนึ่งในนั้นคือ ความเร็วรอบของ HDD ยิ่งเยอะ มันก็ยิ่งเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้นเท่านั้น แต่ก็แลกมากับการกินไฟที่สูงขึ้นหน่อยนึงด้วย ถ้าเราดูที่ลูกนึง มันก็ไม่เยอะหรอก แต่ NAS เราใส่กันมากกว่า 1 ทำให้มันก็จะคูณ ๆ ไปเรื่อย ๆ และ เอาเข้าจริง ๆ ถ้าเราใส่หลาย ๆ ลูกทำ RAID ด้วยกัน เราว่า สัก 3 ลูก ก็ใช้ตัวที่รอบต่ำ ๆ สัก 5,200 รอบ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว สุดท้ายจะไปตันที่ความเร็วของ Ethernet แทน ลดการใช้พลังงาน ลดความร้อน และ อายุที่ยืนกว่าด้วย
NAS เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของเราเอง เราอาจจะเอามันมาวางไว้ในบ้าน เพื่อเก็บข้อมูลของบ้านเรา หรือ ไว้ในองค์กรบริษัท เพื่อเก็บข้อมูลระดับบริษัท แต่พอมันเป็นเครื่องที่เราจะต้องเปิดตลอดเวลา มันมาพร้อมกับค่าไฟที่ เราเอาข้อมูลจริง ๆ มาทำให้เห็นแล้วว่า มันไม่ได้กินเยอะขนาดนั้น อย่างน้อยที่สุด ก็ยังน้อยกว่าค่า Cloud ที่เราจะต้องจ่ายไปเยอะมาก ๆ ยิ่งถ้าเราเลือกรุ่นให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เลือกสเปกของเครื่องที่เหมาะสม และ ใส่ HDD ที่ขนาดพอดีเผื่อ ๆ อนาคตไปนิดหน่อย ก็จะทำให้เราประหยัดไฟได้มากขึ้นไปอีกเยอะเลย ทำให้ NAS ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับใครต้องเก็บข้อมูลจำนวนเยอะ ๆ
ต้องยอมรับว่า Galaxy AI เป็นเจ้าแรก ๆ ที่ Integrate AI Feature ต่าง ๆ เข้ามาในการใช้งานโทรศัพท์ จนสามารถสร้างกระแสได้แบบสุด ๆ เราได้ทดลองใช้งานมันมาสักพักกับ Galaxy Z Flip 5 และ 6 วันนี้เราจจะมารีวิว Feature ที่เราใช้งานบ่อย ๆ ให้อ่านกัน...
ก่อนหน้านี้เราเคยปรามาสโทรศัพท์จอพับได้มาก่อน จนได้มาใช้ Galaxy Z Flip จนมาถึงรุ่นที่ 6 ที่เราต้องบอกเลยว่ามันสมบูรณ์กว่ารุ่นก่อนหน้าพอสมควร การเปลี่ยนแปลงจะมีอะไรไปอ่านได้ในบทความนี้เลย...
การตัดต่อวีดีโอมีการเปลี่ยนแปลงไปมาเป็นยุคที่เราต้องรีบเข็น Content ออกมาเร็วขึ้น การตัดต่อบนอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่าง โทรศัพท์ และ Tablet กลายเป็นปัจจัยสำคัญมากเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมารีวิว App สำหรับการตัดต่อวีดีโอบน Mobile Platform ตัวแรก ๆ อย่าง LumaFusion กันว่า มันทำอะไรได้บ้าง และมันเหมาะกับใคร...
เราซื้อ Macbook มาใช้งาน ราคาแพงแสนแพง เราย่อมอยากใช้งานมันให้ยาวนานที่สุดอยู่แล้ว หนึ่งในอุปกรณ์ภายในเครื่องที่มักจะพังเป็นอันดับต้น ๆ เลยคือ Battery นั่นเอง วันนี้เราจะมาแนะนำ App อย่าง AlDente ที่จะเข้ามาช่วยถนอม Battery ของเราให้มีอายุยาวนานขึ้นได้...