Tutorial

กว่าจะได้ 1 บทความ มันต้องผ่านอะไรบ้าง ?

By Arnon Puitrakul - 21 มีนาคม 2018

กว่าจะได้ 1 บทความ มันต้องผ่านอะไรบ้าง ?

กว่าจะมาเป็นบทความสักบทความ พวกเราอาจจะถามกันว่า “มันจะต้องผ่านอะไรมาบ้าง ? กว่าจะเป็นสักบทความนึง” ผมเชื่อว่ามันคงเป็นคำถามที่ หลาย ๆ คนอาจจะไม่ได้สนใจมันเท่าไหร่ เพราะมันเป็นขั้นตอนที่เป็นเบื้องหลังซะส่วนใหญ่ บ้างก็ว่า ผมแอบดองบ้างละ หายตัวบ้างละ วันนี้เลยจะมาแชร์ว่า กว่าที่บทความสักบทความนึงจะขึ้นในเว็บผมนั่น มันต้องผ่านขั้นตอนอะไรมาบ้าง

1. คิดหัวข้อ

Draft an Content
Draft Content

จริง ๆ ตรงนี้ก็ไม่ได้นั่งขุ่นคิดอะไรขนาดนั้นนะ ไอเดียเขียนดี ๆ มันมักจะมาตอนที่เรากำลังสบาย ๆ เช่นตอนกำลัง อาบน้ำ หรือ เข้าห้องน้ำ อะไรทำนองนั้น แต่หลัก ๆ ของบทความในเว็บนี้ เราก็จะมีการกำหนด Theme ไว้ล่วงหน้าแล้วละว่า ช่วงนี้จะเขียนออกมาในแนวไหน เรื่องอะไรบ้าง บางเรื่องก็ทำออกมาเป็นซีรีส์ยาว ๆ ก็มี ขึ้นกับเวลาที่มีช่วงนั้น แต่ก็อาจจะมีการขัดด้วยเรื่องอื่นบ้างถ้ามีเรื่องที่อยากเขียนกระทันหัน หรือเป็นเรื่องที่มันต้องเขียนเดี๋ยวนั้นเพราะเวลา

เรื่องส่วนใหญ่ที่จะเขียน เราก็น่าจะเห็นกันอยู่ว่าส่วนใหญ่ผมจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องพวก Coding และ Technique ต่าง ๆ ที่ผมได้เรียนมา กับพวก Milestone ต่าง ๆ ในชีวิตผมที่ผ่าน ๆ มา ก็ถือเป็นการเล่าประสบการณ์ให้กับคนอื่น ๆ อ่านว่า ที่ผ่านมาผมผ่านอะไรมาบ้าง และอีกเหตุผลคือ ผมอยากเก็บไว้อ่านในวันข้างหน้าด้วย

หลัก ๆ หลังจากที่รู้แล้วว่าจะเขียนเรื่องอะไร ผมจะ Mark ลงใน Google Keep พอจะเริ่ม Draft ก็จะเขียนออกมาคร่าว ๆ ก่อนว่า หลัก ๆ บทความมันจะออกมาอารมณ์ไหน แล้วจะมีหัวข้อย่อยอะไรบ้าง ? แล้วค่อยเขียน ไม่งั้นเวลาเขียนแล้วผมมักจะหลุดหัวข้อเป็นประจำเลย

2. Write & Re-Write

Write an article

หลังจากที่ ผมรู้ละว่าจะเขียนเรื่องอะไร ขั้นตอนต่อไปก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากนั่นคือ การเขียน นั่นเอง แต่ก็นะ ผมเองก็เป็นคนนึงที่ไม่ถนัดเรื่อง การเขียน กับ ภาษาไทย สักเท่าไหร่ ประกอบกับ เรื่องส่วนใหญ่ที่ผมเขียนมักจะเป็นเรื่อง Technical ที่บางทีเราอาจจะต้องแปลภาษา Geek 🤓 ให้คนธรรมดาเข้าใจ

เว็บนี้เกิดขึ้นมาครั้งแรก โดยผมอยากจะสร้างมาเป็นที่ที่ผมเอาไว้แชร์ความรู้ที่ผมได้เรียนมาให้คนอื่นต่อไป เหมือนกับการส่งต่อความรู้นี่แหละ ฉะนั้นดารที่จะทำให้คนเข้าใจง่ายที่สุดคือ การใช้ภาษาที่ง่าย และการจินตนาการ เพื่อช่วยให้คนอ่านเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น

แต่ก็อย่างที่บอกมาว่า การเขียน อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ผมถนัดเท่าไหร่ แต่ตอนเรียน Academic Writing ที่คณะ อาจารย์ก็จะให้เขียน แล้วเอาที่เราเขียนมาเขียนใหม่อีกรอบ ซึ่งจริง ๆ มันช่วยให้บทความเราอ่านง่ายขึ้นเยอะมาก ๆ ก็จากที่อ่านกันก็น่าจะเห็นแล้วละว่า ผมพยายามทำให้บทความมันเข้าใจได้ง่ายขึ้นดีกว่าการเขียนภาษาเอเลี่ยน 👽 ให้อ่านกัน

เวลาเขียนผมจะพยายามเขียนให้เร็วที่สุด เพื่อให้ผมไม่หลุดเรื่องออกทะเลกับทำให้ข้อความมันกระชับมากที่สุด ส่วนเรื่อง Device ที่ใช้ ผมจะทำใน iA Writer ใน iPad ซะเป็นส่วนใหญ่ เหตุผลที่ใช้แบบนี้เพราะ Smart Keyboard ของ iPad Pro มันพิมพ์แล้วมันส์มาก ๆ และอีกเหตุผลคือ iPad มันไม่สามารถทำ Multitasking ได้เก่งเท่ากับ macOS หรือ Windows บนเครื่องคอมจริง ๆ ทำให้ผมสามารถ Focus กับบทความได้ดีกว่า อาจจะใช้ Spotify ช่วยหน่อยนึง เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมในการเขียน

แต่เวลาเขียน มันก็ไม่ได้แค่จะเขียน ๆ แล้วเสร็จ แต่เวลาเขียนผมยังนึกถึงเรื่องของ SEO หรือ Search Engine Optimisation หรืออีก พูดง่าย ๆ มันคือ การทำให้บทความของเราอยู่ในหน้าแรก ๆ ของการค้นหาของ Google หรือ Search Engine ต่าง ๆ ซึ่งมันก็จะมีกฏของมันอยู่ เช่นบอกว่า จำนวนคำต้องมากกว่า 300 คำ หรือจะต้องมี Focus Word โน้นนี่นั่นเท่าไหร่ก็ว่ากันไป ซึ่งจริง ๆ อันนี้เมื่อก่อนตอนใช้ Wordpress ผมดูผ่าน Yoast SEO ที่เป็น Plugin ใน Wordpress ที่ช่วยให้เราทำ SEO ได้ง่ายขึ้น ทำให้เวลาเขียน เราก็ต้องมานั่งปรับเรื่องของการใช้คำบางอย่างเพื่อให้มันเข้ากับกฏของมัน

Google Trends
Google Trends

เช่นการเปลี่ยนการใช้ Focus Word บางอย่างที่เขียนแล้วใช้เยอะเกินไป ก็อาจจะต้องลบคำนั่นออกแล้วเปลี่ยนเป็นการใช้สรรพนามแทนอะไรทำนองนั้น มันก็มีหลาย ๆ เทคนิคในการทำให้บทความเราติด Top Search อยู่นะ ซึ่งปกติเวลาเขียนบทความ บางคนอาจจะเข้าไปดูใน Google Trend เพื่อดูว่า Keyword ไหนที่เราควรเอามาเป็น Focus Word แต่ก็นะ เว็บผมก็อินดี้ ๆ หน่อยก็เลยไม่ทำ แต่ก็ขึ้น Top Search ในหลาย ๆ Keyword จนตอนนี้ผู้อ่านส่วนใหญ่ เข้ามาผ่านการ Search เกือบหมดแล้ว

3. วาดรูป

Drawing Picture in iPad Pro

ถ้าสังเกตในบทความใหม่ ๆ มานี้ผมจะนิยมวาดรูปเองซะเป็นส่วนใหญ่ เอาจริง ๆ เป็นเพราะไม่ค่อยอยากไปก๊อปรูปใครเท่าไหร่ เพราะไม่ค่อยรู้ในเรื่องของการเอามาใช้ว่าเราต้องทำอะไรยังไงบ้าง ก็เลยพยายามวาดเอง หรือ ก็ไม่ใส่เลย จนกระทั่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมาก็ไปเจอหลาย ๆ เว็บที่เป็นรูปฟรีเอามาใช้ได้ (แต่ต้องให้ Credit อยู่นะ) หลังจากนี้เราก็จะใส่รูปดี ๆ มากขึ้นละ

ส่วนการวาดรูปเนี่ยก็ยอมรับแต่โดยดีเลยว่า เป็นคนวาดรูป 🎨 กาก มาก ซึ่งก็พยายามทำให้มันดีขึ้นอยู่เรื่อย ๆ นะ ถ้ามีวิธีดี ๆ กับเรื่องนี้จะดีมาก ๆ ซึ่งในการวาดจริง ๆ ไม่สิ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงตอนนี้ ผมจะทำบน iPad หมดเลย เพราะ iPad Pro มันมีทั้ง Keyboard และ Pencil เลยทำให้ทำได้หมดทุกอย่างตั้งแต่เริ่มเลย

4. ย้ายลง Markdown + Deploy

Atom Markdown

หลังจากที่ได้บทความ และรูปประกอบทั้งหมดแล้ว ผมก็จะ Airdrop ของทั้งหมดไปลงใน Laptop และเอาเข้าใน Project ถ้าเป็นเมื่อก่อน ผมก็อาจจะย้ายที่เขียนจาก iA Writer ลงใน App Wordpress ได้ แต่ตอนนี้ผมไปใช้ Static Stie Generator อย่าง Gatsby ทำให้เวลาผมจะเอาบทความขึ้นที่ต้องเอาไฟล์มา Build แล้วสั่ง Deploy เอาง่าย ๆ คือมันลำบากขึ้น เพราะต้องมาเปิดคอมแล้วเอาขึ้น แต่ในอนาคต เวอร์ชั่นต่อ ๆ ไปก็จะพยายามเขียนตัวช่วยอะไรพวกนี้ให้ดีขึ้น เพราะไม่งั้นนี่ลำบากแน่ ๆ กว่าจะเอาขึ้นที

สรุป

ก็สรุปง่าย ๆ วันนี้ก็มาเล่าเรื่องกว่าจะมีเป็นบทความสักอันนึง มันก็มีหลาย ๆ ขั้นตอนที่เราต้องทำ หลัก ๆ ถ้าไม่ได้เป็นบทความที่ต้องย่อยข้อมูลมาก ๆ ก็ราว ๆ 2-3 วันต่อบทความกันเลย แต่ก็นะ ผมก็เป็นสาย Technical เพียวที่พยายามจะเป็นสาย Content บ้าง แรก ๆ บทความของผมมันอาจจะอ่านยาก และไม่สนุกเท่ากับเว็บอื่น ๆ แต่ก็หวังว่าอนาคตผมจะเก่งขึ้น และสร้าง Content ที่ดีป้อนให้กับผู้อ่านทุกคนละกันนะครับ ถ้าใครมีข้อแนะนำติชมสำหรับการเขียนบทความแล้วก็ละก็ Comment มาด้านล่างได้เลยครับ วันนี้ก็หมดละ มาแค่นี้แหละ สวัสดีครับ 🤟

ปล. แต่ละที่ก็มี Workflow ที่ต่างกันไป ก็ไม่ต้อง งง นะว่ามันไม่เหมือนชาวบ้านเขา บอกเลยว่านี่ก็ทำแบบบ้าน ๆ ง่าย ๆ เลย

Read Next...

จัดการข้อมูลบน Pandas ยังไงให้เร็ว 1000x ด้วย Vectorisation

จัดการข้อมูลบน Pandas ยังไงให้เร็ว 1000x ด้วย Vectorisation

เวลาเราทำงานกับข้อมูลอย่าง Pandas DataFrame หนึ่งในงานที่เราเขียนลงไปให้มันทำคือ การ Apply Function เข้าไป ถ้าข้อมูลมีขนาดเล็ก มันไม่มีปัญหาเท่าไหร่ แต่ถ้าข้อมูลของเราใหญ่ มันอีกเรื่องเลย ถ้าเราจะเขียนให้เร็วที่สุด เราจะทำได้โดยวิธีใดบ้าง วันนี้เรามาดูกัน...

ปั่นความเร็ว Python Script เกือบ 700 เท่าด้วย JIT บน Numba

ปั่นความเร็ว Python Script เกือบ 700 เท่าด้วย JIT บน Numba

Python เป็นภาษาที่เราใช้งานกันเยอะมาก ๆ เพราะความยืดหยุ่นของมัน แต่ปัญหาของมันก็เกิดจากข้อดีของมันนี่แหละ ทำให้เมื่อเราต้องการ Performance แต่ถ้าเราจะบอกว่า เราสามารถทำได้ดีทั้งคู่เลยละ จะเป็นยังไง เราขอแนะนำ Numba ที่ใช้งาน JIT บอกเลยว่า เร็วขึ้นแบบ 700 เท่าตอนที่ทดลองกันเลย...

Humanise the Number in Python with "Humanize"

Humanise the Number in Python with "Humanize"

หลายวันก่อน เราทำงานแล้วเราต้องการทำงานกับตัวเลขเพื่อให้มันอ่านได้ง่ายขึ้น จะมานั่งเขียนเองก็เสียเวลา เลยไปนั่งหา Library มาใช้ จนไปเจอ Humanize วันนี้เลยจะเอามาเล่าให้อ่านกันว่า มันทำอะไรได้ แล้วมันล่นเวลาการทำงานของเราได้ยังไง...

ทำไม 0.3 + 0.6 ถึงได้ 0.8999999 กับปัญหา Floating Point Approximation

ทำไม 0.3 + 0.6 ถึงได้ 0.8999999 กับปัญหา Floating Point Approximation

การทำงานกับตัวเลขทศนิยมบนคอมพิวเตอร์มันมีความลับซ่อนอยู่ เราอาจจะเคยเจอเคสที่ เอา 0.3 + 0.6 แล้วมันได้ 0.899 ซ้ำไปเรื่อย ๆ ไม่ได้ 0.9 เพราะคอมพิวเตอร์ไม่ได้มองระบบทศนิยมเหมือนกับคนนั่นเอง บางตัวมันไม่สามารถเก็บได้ เลยจำเป็นจะต้องประมาณเอา เราเลยเรียกว่า Floating Point Approximation...