Tutorial

C Language 101 - Arrays! (EP.5)

By Arnon Puitrakul - 24 พฤษภาคม 2015

C Language 101 - Arrays! (EP.5)

หายหน้าหายตากันไปนานเลยกับ Tutorial นี้ ตอนนี้ปิดเทอมแล้ว ทำอะไรๆได้มากขึ้น แฮะๆๆ เที่ยวแน่นอน! เข้าเรื่องเลยดีกว่า วันนี้เราจะมาพูดถึง Array สำหรับคนที่เคยเรียนเขียนโปรแกรมภาษาอื่นมาแล้ว หรือเคยอ่านเรื่อง Data Structure ก็ข้ามๆตรงนี้ไปดูตรง Syntax ได้เลยนะฮ่ะ

Arrays คืออะไร?

ถ้าจำได้ ตอนก่อนๆเราเคยเรียนเรื่องการเก็บข้อมูลลงตัวแปรใช่มั้ยครับ ง่ายๆเลยคือ Array คือเซ็ตของตัวแปร (ที่เป็นประเภทเดียวกัน) มาแพครวมกัน เราจะเข้าถึงตัวไหนก็ได้ใน Array
ข้อมูลใน Array แต่ล่ะตัว เราจะเรียกว่า Member หรือสมาชิก เวลาเราเรียก เราจะต้องใช้เลข Index เรียกมันขึ้นมา (ถ้ายังนึกภาพไม่ออก เดี๋ยวรอดูตรง Syntax) โดย**เลข Index จะเริ่มจาก 0 ถึง n-1 เสมอ โอเคนะ

How to implement?

ถ้าใครที่เคยเรียน Data Structure มาก็จะรู้ว่า Array เป็นการเก็บข้อมูลแบบนึง ช่างมันเถอะครับ
เรามาดูวิธีการประกาศ Array กัน

int number [4];

วิธีประกาศ ก็ตามด้านบนเลยครับ คล้ายๆกับตอนที่เราประกาศตัวแปรปกติเลย แค่เพิ่มข้างหลัง เติม [] จำนวนสมาชิกเข้าไป อย่าลืม ว่าเลข Index มันจะรันตั้งแต่ 0 ถึง n-1 นะ

How to access value?

ก็เหมือนกับตัวแปรปกติเป๊ะเลย แค่ต้องเติม เลข Index ข้างหลังตามไปด้วย ถ้าเราจะเอาค่าออกทางหน้าจอก็เช่น

printf("%d",number[2]);

ส่วนการ Assign ค่าให้มันก็เหมือนเดิมง่าย ๆ เลย
number[2] = 10;

ง่ายนิดเดียวเองนะ เรื่องนี้ แต่เรื่องนี้มันจะไปยากตรงที่เราจะเอามันไปประยุกต์ใช้กับ ปัญหาจริงๆอะไรแบบนี้มากกว่า เอาควมคิดเห็นผมนะ! มันเล่นอะไรได้เยอะมากๆเลย มากเกินไปจริง lol พบกันใหม่ตอนหน้า ตอนหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ติดตามอ่านกันนะครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ!

Read Next...

นายเองก็ดูเทพได้นะ ด้วย tmux น่ะ

นายเองก็ดูเทพได้นะ ด้วย tmux น่ะ

เมื่อหลายวันก่อน เราไปทำงานแล้วใช้ Terminal แบบปีศาจมาก ๆ จนเพื่อนถามว่า เราทำยังไงถึงสามารถสลับ Terminal Session ไปมาได้แบบบ้าคลั่งขนาดนั้น เบื้องหลังของผมน่ะเหรอกัปตัน ผมใช้ tmux ยังไงละ วันนี้เราจะมาแชร์ให้อ่านกันว่า มันเอามาใช้งานจริงได้อย่างไร เป็น Beginner Guide สำหรับคนที่อยากลองละกัน...

ปกป้อง Ubuntu ผ่าน Firewall แบบง่าย ๆ ด้วย UFW

ปกป้อง Ubuntu ผ่าน Firewall แบบง่าย ๆ ด้วย UFW

Firewall ถือว่าเป็นเครื่องมือในการป้องกันภัยขั้นพื้นฐานที่ปัจจุบันใคร ๆ ก็ติดตั้งใช้งานกันอยู่แล้ว แต่หากเรากำลังใช้ Ubuntu อยู่ จริง ๆ แล้วเขามี Firewall มาให้เราใช้งานได้เลยนะ มันชื่อว่า UFW วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก และทดลองตั้ง Rule สำหรับการดักจับการเชื่อมต่อที่ไม่เกี่ยวข้องกันดีกว่า...

จัดการเรื่องแต่ละมื้อ แต่ละเดย์ด้วย Obsidian

จัดการเรื่องแต่ละมื้อ แต่ละเดย์ด้วย Obsidian

Obsidian เป็นโปรแกรมสำหรับการจด Note ที่เรียกว่า สารพัดประโยชน์มาก ๆ เราสามารถเอามาทำอะไรได้เยอะมาก ๆ หนึ่งในสิ่งที่เราเอามาทำคือ นำมาใช้เป็นระบบสำหรับการจัดการ Todo List ในแต่ละวันของเรา ทำอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า เราจัดการะบบอย่างไร...

Loop แท้ไม่มีอยู่จริง มีแต่ความจริงซึ่งคนโง่ยอมรับไม่ได้

Loop แท้ไม่มีอยู่จริง มีแต่ความจริงซึ่งคนโง่ยอมรับไม่ได้

อะ อะจ๊ะเอ๋ตัวเอง เป็นยังไงบ้างละ เมื่อหลายเดือนก่อน เราไปเล่าเรื่องกันขำ ๆ ว่า ๆ จริง ๆ แล้วพวก Loop ที่เราใช้เขียนโปรแกรมกันอยู่ มันไม่มีอยู่จริง สิ่งที่เราใช้งานกันมันพยายาม Abstract บางอย่างออกไป วันนี้เราจะมาถอดการทำงานของ Loop จริง ๆ กันว่า มันทำงานอย่างไรกันแน่ ผ่านภาษา Assembly...