By Arnon Puitrakul - 23 เมษายน 2019
จากบทความก่อนเกี่ยวกับ 3 เครื่องมือที่ช่วยให้งานเขียนภาษาอังกฤษดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ก็มีคนถามมาในเรื่องของ การวาง Outline ว่าทำยังไงให้อ่านรู้เรื่อง ไม่ต่อความยาวสาวยาวยืด อ่านง่ายแบบที่เราเห็นในที่คนอื่น ๆ เขาเขียนกัน
ก่อนเราจะไปถึงไหนกัน เราต้องพาทุกคนย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นของงานเขียน หรือการสื่อสารกันก่อน เราต้องตอบให้ได้ก่อนว่า จริง ๆ ที่เรา เขียนงานขึ้นมา หรือง่าย ๆ ก็คือ การสื่อสาร เราทำมันเพื่ออะไร คำตอบง่าย ๆ ก็คือ เราต้องการที่จะส่งสารนั่นเอง พูดให้ง่ายกว่านั้นอีก เราต้องการจะส่งต่อข้อมูลอะไรสักอย่างให้ผู้อื่นใช่ม่ะ
เช่น ถ้าเราเมาท์มอยหอยกาบกับเพื่อน มันก็คือ การที่เราต้องการที่จะให้เพื่อนเรารู้เรื่องแย่ ๆ ของคนอีกคนใช่ม่ะ อันนี้แหละ เป็นการส่งสาร กลับมาที่งานเขียน การเขียน ก็เป็นการสื่อสารอย่างนึง ดังนั้นจุดประสงค์ของการเขียนก็คือ การทำให้ผู้อ่านได้รับสารครบถ้วน และ เหมาะสม
ทำให้ก่อนที่เราจะมาเริ่มต้นเขียน เราต้องเข้าใจก่อนว่า จะสื่ออะไร, สำหรับใคร และ เพื่ออะไร (What, Who, How) เพื่อที่เราจะได้รู้ว่า โทน หรือ อารมณ์ ของงาน เออ รู้ละ มันคือคำว่า เจตนา เขียนที่เราต้องการมันจะไปในทางไหน เช่น อยากให้มันโน้มน้าวคน ถ้าเป็นแบบนี้ เราก็ต้องไปดูต่อว่า แล้วคนที่เราจะไปโน้นน้าวเนี่ย เขาเป็นใครยังไง เพื่อที่เวลาเราเขียน เราจะได้เอาสิ่งที่เขาเข้าใจ หรือสนใจ หรือรู้สึกว่ามันอยู่ใกล้ตัวมาเขียน เช่น เราบอกว่า เราจะเขียนเรื่องของ ภาวะโลกร้อน ถ้าเราบอกว่า เราจะเขียนให้คนธรรมดาหันมาสนใจปัญหาภาวะโลกร้อน เราก็ต้องเขียนโดยไม่ได้ใช้ศัพท์ทางวิชาการ และ ยกตัวอย่างเรื่องให้มันใกล้ตัวมากกว่าอะไรแบบนั้นนั่นเอง
เจตนาของการเขียน ใหญ่ ๆ ที่เรามักจะเจอกันน่าจะมี เป็นการให้ข้อมูล (Informative) ซึ่งก็อาจจะเป็นการเปรียบเทียบ หรือไม่ก็มาเล่าถึงบางสิ่งเฉย ๆ ก็มี, การโน้นน้าว (Convince) อะไรประมาณนั้น อันนี้ต้องให้ผู้รู้มาตอบจริง ๆ
สรุปอีกที สิ่งที่เราต้องทำก่อนที่เราจะ Plan งานเขียนของเราก็คือ ดูก่อนว่า เราต้องการจะสื่ออะไร, เพื่ออะไร และให้ใคร แล้วเราค่อยเอาสิ่งเหล่านี้มาวางแผนว่าจะเขียนยังไงให้คนที่เราต้องการสื่อได้รับสารที่เราต้องการ จริง ๆ เรื่องนี้ ไม่ได้จำกัดแค่การเขียนในภาษาอังกฤษเลยนะ ใช้กับภาษาใดก็ได้
หลาย ๆ คนที่พึ่งเริ่มเขียน เวลาได้หัวข้อมา ก็มักจะเริ่มเขียนไปเลย โดยที่ไม่ได้คิดก่อนว่า เราจะเขียนมันออกมายังไง เราจะเขียนอะไรบ้าง จะพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง คือเปล่า ๆ แล้วเขียนเลย ถ้าใครเคยเป็น ลองกลับไปอ่านที่ตัวเองเขียนดู แล้วจะเห็นว่า เออ มันอะไรของมัน เดี๋ยววกไปตรงนี้ เดี๋ยววกไปตรงนั้นอ่านแล้ว งง ไปหมด
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้งานเขียน (ไม่ว่าจะภาษาอะไรก็ตาม) อ่านรู้เรื่อง อ่านแล้วลื่น คือการวางแผนก่อนการเขียน เพราะโดยปกติ คนเรามันจะคิดเป็นเหตุเป็นผล Flow ต่อกันไปเรื่อย ๆ อยู่แล้ว โดยปกติ ถ้าเอาแบบที่เราเรียนของการเขียนในภาษาอังกฤษมา เขาก็จะให้เริ่มจาก Introduction ที่จะบอกว่า เรื่องที่เราจะเขียนมันมีประเด็นสำคัญอะไร (Main Idea) แล้วค่อย ๆ ซอยออกมาเป็นแต่ละประเด็นย่อย ๆ แล้วในแต่ละอัน เราก็ให้เหตุผลมา Support ออกมา มันก็จะเป็นแบบด้านล่างนี้
1. Introduction
2. Body Paragraph 1
3. Body Paragraph 2
4. Body Paragraph 3
5. Conclusion
จากตรงนี้ เราจะเห็นว่า ในการเขียน Essay มันจะแบ่งส่วนออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ Introduction, Body Paragraph และ Conclusion ถ้าเราจำกันได้ เออ จริง ๆ มันก็คือ สิ่งที่เราเขียนกันตั้งแต่ประถมต้นแล้ว (อันนี้อ้างอิงจากตัวเองนะ คุ้น ๆ ว่าประถมต้นก็เจอแล้ว ยันมหาลัยเลย) เดี๋ยวตอนท้ายของหัวข้อนี้เราจะบอกว่า โครงสร้างพวกนี้ มันเป็นเหมือน Best Practice มากกว่า แต่มันก็ใช้ไม่ได้กับทุกงานหรอกนะ
ไม่ต้องตกใจ เราจะพาไปดูในแต่ละส่วนเลยว่า เราควรจะเขียนยังไงให้ได้ บอกก่อนเลยว่า จริง ๆ มันไม่ได้ยากขนาดนั้น
เริ่มที่ Introduction กันก่อน ส่วนนี้จะเล่าคร่าว ๆ ว่า เราจะพูดถึงอะไรเท่านั้นเลย แต่แค่นั้นมันก็ไม่พอที่จะล่อลวงคนอ่านให้อ่านแล้วรู้สึกสนใจได้ เหมือนกับเราบอกว่า "Global Warming caused by several reasons including..." แค่นี้ ถามว่าคนอ่านจะรู้มั้ยว่า แล้วไง ? โอเค รู้ว่า สาเหตุคืออะไร แล้วทำไมเราต้องอ่านมันละ ทำให้เรากลับไปที่คำถามตอนแรกเลยว่า เราเขียนไปทำไม เอาตรงนี้มาใส่ตรงนี้แหละ อาจจะเขียนสั้น ๆ ให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของสิ่งที่เราาต้องการจะสื่อหน่อย เขียนให้น่าสนใจ เราเรียกประโยคที่ทำให้น่าสนใจว่าเป็น Hook อาจจะใส่เป็น คำถาม หรือ Quote ก็ได้ จากนั้น ค่อยตามด้วย การเล่าคร่าว ๆ หน่อยว่า สิ่งที่เราจะเล่ามันเป็นยังไง หรือมันมีผลอย่างไร (Background) และสุดท้ายบอกคนอ่านหน่อยว่า เราต้องการจะสื่ออะไรในงานเขียนนี้ (Thesis Statement) มันก็จะเป็นแบบด้านล่างนี้
1. Introduction
- Hook
- Background
- Thesis
สิ่งที่ยากที่สุด เราว่าน่าจะเป็น Hook ที่เราต้องเขียนยังไงก็ได้ให้น่าสนใจ และเข้ากับสิ่งที่เราต้องการจะสื่อได้ ทำให้มันน่าค้นหาน่ะ และอีกส่วนที่น่าจะยากสำหรับใครหลาย ๆ คนนั่นคือ Thesis ที่จะต้องบอกว่า เราจะเขียนไปทางไหน เช่น ถ้าเราจะโน้มน้าว เราก็อาจจะต้องบอกว่า สิ่งที่เราต้องการจะโน้มน้าวมันดีกว่าอีกอย่าง อะไรแบบนั้น
เราลองยกตัวอย่างละกัน เช่นถ้าเราบอกว่า งานเขียนนี้เราต้องการจะบอกว่า เพราะประชากรโลกเราเยอะขึ้น เราควรหันมาสนใจเรื่องของ GMO มากขึ้น
World population is exponentially increasing while starvation becomes a severe problem in lots countries especially developing countries. According to the United Nation, the population increases faster than we thought. UN expects that the population will be increased up to 11.2 billion in 2100 while the food production is lessening in some countries. Most of the causes are geography and climate change. Several organisations offer helps by feeding with tons of food, but it is not the stainable solution since they still cannot produce food on their own. Growing GMO is the best solution for this crisis for several reasons.
จะเห็นว่า เราเริ่มที่การบอกว่า ประชากรเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัญหาความหิวโหยมันหนักขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทษกำลังพัฒนา อันนีคือ Hook ของเรา แล้วเราก็เล่าต่อว่า เออ แล้วประชากรมันเพิ่มขึ้นแค่ไหนแล้ว โดยเอาข้อมูลจาก UN มาบอก และ ยังบอกอีกว่า ปัญหาการขาดแคลนอาหาร มันเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุใหญ่ ๆ มันน่าจะมาจากเรื่องของ ภูมิศาสตร์ และ ภาวะโลกร้อน แถมยังเน้นอีกว่า จริง ๆ แล้วมันก็มีความช่วยเหลือจากหลาย ๆ องค์กรนะที่เอาอาหารจำนวนมากไปให้ แต่มันก็เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน เพราะสุดท้าย เขาก็ยังผลิตอาหารไม่ได้อยู่ดี และสุดท้าย Thesis ของเราเลยบอกว่า โอเคการปลูก GMO น่าจะเป็น น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีสำหรับวิกฤตินี้ในหลาย ๆ เหตุผล จากตรงนี้หลัก ๆ ที่เราต้องการจะสื่อคือ
ประชากรเพิ่มขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้น -> ปัญหาความหิวโหยมันหนักขึ้น -> GMO น่าจะเป็นทางออก
จากนั้น เราก็จะมาเล่าต่อในประเด็นย่อย ๆ ละ นั่นคือส่วนที่เป็น Body Paragraph ที่เราจะใส่กี่ประเด็นก็ใส่ไป ในแต่ละประเด็น มันก็ต้องพูดถึงว่า ประเด็นย่อยมันคืออะไร ทำให้โครงสร้างของ Body Paragraph มันจะเป็นแบบด้านล่างนี้
x. Body Paragraph
- Topic Sentence
- Supporting Detail 1
- Supporting Detail y
จากด้านบน ก็คือ Topic Sentence เราก็จะบอกว่า ประเด็นย่อยของเราคืออะไร พร้อมกับการใส่ตัวเชื่อมจาก Paragraph ที่แล้วด้วย จากนั้น เราก็ต้องบอกว่า แล้วประเด็นย่อยของเรามันคืออะไร ทำไมถึงเป็นแบบนั้น หลัก ๆ มันก็คือ ทำให้สิ่งที่เราพูดใน Paragraph นี้มันดูอ่านแล้ว Make Sense นั่นแหละ กับบางคน อาจจะเติม Conclusion ลงไปใน Body Paragraph ไปด้วยเลย อันนี้ก็แล้วแต่คน ถ้าเป็นงานเขียนที่ยาวมาก ๆ เราว่า ก็น่าเขียนอะ มันทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น
เรามาที่ตัวอย่างดีกว่า เราขอเขียนต่อจากเมื่อกี้เลยละกัน
First, GMO can grow in any environmental condition that was genetically modified. One of the most serious problems in the environment of growing crops is climate and plant disease. GMO can overcome this problem by adding genes that can protect from certain conditions. Genetic modification technology was developed rapidly in 10 years. Currently, there are several plants that are genetically modified such as corn and strawberry to resist itself from weed which is the natural enemies for these crops.
ในเหตุผลแรก Topic Sentence เราบอกว่า GMO มันโตที่ไหนก็ได้ขึ้นกับการตัดต่อพันธุกรรมเลย และ ในที่นี้เราใส่ Supporting Detail มาอันเดียว โดยการบอกว่า ปัญหาของการเลี้ยงพืชเหล่านี้คือ อากาศ และ โรคในพืช และให้รายละเอียดเพิ่มไปหน่อย GMO เองก็สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้จากการเติม หรือ ปรับแต่ง Gene ที่ทำให้พืชสามารถอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เราต้องการ และเทคโนโลยีการตัดต่อพันธุกรรมก็ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมีพืชหลายชนิดที่ถูกตัดต่อพันธุกรรม เช่น ข้าวโพด และ สตอเบอรี่ เพื่อให้มันป้องกันตัวมันเองจากวัชพืชที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติของพืชเหล่านี้
หลัก ๆ คือ เราต้องการจะบอกแหละว่า เออ GMO มันทำให้เราปลูกที่ไหนก็ได้ โดยที่ปัญหาหลัก ๆ มันก็มาจาก เรื่องของ อากาศ และ ศัตรูพืช ซึ่งเราสามารถแก้มันได้ด้วย GMO แค่นั้นเลย อันนี้เราพยามเขียนให้มันเรียบง่ายแล้วนะ มันอาจจะดูไม่ Make Sense ในบางอย่างนะ
และสุดท้าย คือ Conclusion หรือ การสรุป ในส่วนนี้เราอาจจะเริ่มด้วย การบอกสิ่งที่เราต้องการจะบอกอีกที พูดง่าย ๆ คือการเอา Thesis Statement ใน Paragraph แรกมาเขียนใหม่ พร้อมทั้ง สรุปแต่ละประเด็นย่อยออกมา และจบด้วยประโยคปิดแบบ Closing Thought สักหน่อยสวย ๆ ว่าที่เขียนมามันประมาณว่า แล้วไง ??? ต้องการอะไร แบบนั้น ก็เป็นอันจบละ ทำให้โครงสร้างมันจะเป็นแบบนี้
3. Conclusion
- Restate thesis
- Summerise main points
- Closing Thoughts
ลองมาดูตัวอย่างเลยละกัน เราจะเอาจากเมื่อกี้มาเขียนต่อ
In conclusion, GMO helps us solve the food shortage from increasing population by using genetic modification technology. It allows crops to grow anywhere we want, increase production yield by eliminating the natural enemies and reduce the cost by reducing some ingredient such as fertiliser and enhancer substrate. GMO is a fascinating invention in the 21st century by improving the quality of life mostly in a developing country but it just the beginning. We hope that it will be the gold standard for food production in the future.
ก่อนอื่น เราเริ่มจาก การ Restate Thesis โดยการบอกว่า GMO ช่วยเราแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารจากการเพิ่มขึ้นของประชากรได้ โดยการใช้เทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรม จากนั้นเราก็ Summerises main points โดยการบอกว่า GMO มันทำอะไรได้บ้าง ตั้งแต่ ทำให้มันปลูกที่ไหนก็ได้, เพิ่มประสิทธิภาพโดยการลดศัตรูธรรมชาติ และ ลดต้นทุนเพราะเราสามารถลดการใช้ปุ๋ย และการใช้ยาต่าง ๆ ลงได้ สุดท้าย Closing Thoughts เราก็บอกว่า GMO เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจในศตวรรษที่ 21 เพราะมันสามารถที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้นได้ โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา และก็หวังมากว่า มันจะเป็นมาตรฐานในอนาคต
เอาจริง ๆ เราว่าในส่วนของ Conclusion ตรง Closing Thoughts นี่ยากสุดละ เขียนยังไงให้คม เขียนยังไงให้กินใจ เราว่าตรงนี้แหละยาก เราเขียนมาเยอะ เขียนได้คม ๆ อยู่ไม่กี่ครั้งจริง ๆ เราไม่สามารถเขียนให้คมได้ ถ้าไม่อินอะ
เท่านี้เราก็ได้ Essay ที่อ่านง่าย ขึ้นมาอีกอันแล้ว แต่เราจะบอกเลยว่า อย่าเอาเรื่องการเขียนแบบนี้มาเป็นกฏที่ทำให้เราไม่สามารถเขียนแบบอื่นได้ เพราะเอาจริง ๆ ของพวกนี้มันเป็นแค่ Best practice ที่ออกแบบมาสำหรับงานเขียนส่วนใหญ่ แต่บางงานโครงสร้างแบบนี้เอามาเขียนมันอาจจะไม่เหมาะเท่าไหร่ เราว่าส่วนตรงนี้มันเป็นศิลปะมากกว่าว่า เราจะเล่าเรื่อง หรือ ส่งสาร ยังไงให้ผู้รับสาร หรือ ผู้อ่าน ได้รับข้อมูลตามที่เราต้องการ และเข้าใจได้ง่าย
บางที เราอาจจะไม่ได้เขียน Essay เราอาจจะเขียนเป็น Paragraph เดียว ดังนั้น บางอย่างก็อาจจะต้องย่อมันหน่อย หรือ เขียนให้ละเอียดน้อยลงหน่อยอะไรแบบนั้น เพื่อให้มันอ่านได้ใน Paragraph เดียวได้ง่ายขึ้น เห็นม่ะ มันเป็นเหมือนศิลปะ
ทำให้เราต้องกลับไปที่จุดตั้งต้นไงว่า สุดท้ายแล้วเราเขียนมาทำไม เพื่ออะไร และให้ใครอ่าน นั่นแหละ ที่ทำให้เราพูดถึงเรื่องนี้ก่อน
ปล. ตัวอย่างที่เราเขียนอาจจะยังไม่ได้ดีที่สุดนะ ขอโทษด้วยฮื่ออ เราไม่มีเวลา มาประติดประต่อ Logic กับ เช็คคำอะไรมากนัก อันนี้เราเขียนรอบเดียวผ่านเลย ถ้าใครมีอันที่ดีกว่าก็ Comment มาได้
หลังจากที่เราเขียนออกมาแล้ว อย่าพึ่งจบแค่นั้น ลองกลับมาอ่านก่อน เราลองนึกดูนะ ถ้าเราเป็นคนอ่าน เราอยากอ่านอะไรที่มันซับซ้อน วนไปวนมา หรือเขียนอะไรยาว ๆ ไม่ได้เรื่องอะไรเลย เวลาเราเขียน เราก็ไม่รู้หรอกว่า เราทำอะไรแบบนี้ไปรึเปล่า ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การกลับมาอ่านแล้ว พยายามเขียนออกมาใหม่ เพราะทุกครั้งที่เราอ่านอะไรมาแล้วเอามาเขียน มันจะทำให้ประเด็นมันดูกระชับขึ้นไปเรื่อย ๆ อาจจะเพราะเราได้กลั่นกรองละมั่ง ทำให้เรายิ่งเขียนซำ้ ประเด็นที่เราต้องการจะสื่อออกมามันจะชัดเจนขึ้น
นอกจากจะแก้เรื่องของการทำให้ประเด็นมันกระชับขึ้นแล้ว อีกสิ่งที่เราต้องมานั่งดูเพิ่มอีก 2 อย่างคือ การใช้ประโยค และ การใช้คำ
การใช้ประโยค หมายถึงว่า เราสร้างประโยคขึ้นมายังไง เช่น บางประโยค เราร้อย Logic ออกมาถูกมั้ย และ เราพูดด้วย Passive หรือ Active Voice แล้วมันง่ายกว่า มันมีนะ ประโยคที่เราอาจจะพูดด้วย Passive Voice แล้วมันเข้าใจง่ายกว่า มันขึ้นกับการเล่าเรื่องของเราด้วยแหละ นอกจากนั้น เราอยากให้ระวังเรื่องของ Composite Sentence ด้วย บางทีเราเข้าใจแหละว่า เขียนเพลิน เพลินไปหน่อย Comma เพียบ จนประโยคนึงนี่ยาวไปกิโล ยาวยันเชียงใหม่แล้วมั้ย อันนี้การมาอ่านอีกครั้ง ก็จะช่วยให้เราเห็นสิ่งเหล่านี้และแก้ไขได้
อีกเรื่องคือ การใช้คำ อันนี้ต้องกลับไปดูที่จุดประสงค์ของเรา ว่า เราต้องการเขียนให้ใคร มันทางการแค่ไหน เช่น ถ้าเราเขียนไม่ได้เป็นทางการอะไรมาก เราก็อาจจะใช้พวก แสลง ได้หรือ ที่หลาย ๆ คน ที่เราเจอมาว่าไม่รู้กันคือ เราไม่ควรใช้ Conjunction อย่าง Or, But และ So ขึ้นต้นในการเขียนที่ Formal กับอีกอันที่เราอยากเล่าคือ Vague Phrasing หรืออะไรที่คลุมเคลืออะ ในการเขียนที่ Formal พยายามเขียนยังไงก็ได้ให้มันกระชับ และ แข็งแรงมากที่สุด อย่างเช่น In recent year อาจะต้องเขียนเป็น "in 2 years" หรือก็คือ การบอกตัวเลขไปเลย
แม้แต่คำบางคำที่เราอ่านไปแล้วรู้สึกว่า เราเขียนโดยที่ไม่รู้คำของมันเลย เรามักจะใช้การอธิบายลักษณะของมันทำให้เกิด Composite Sentence ขึ้นได้บ่อยมาก การไปหาคำที่เหมาะกับมันก็เป็นไอเดียที่ดี อาจจะเปิดจาก Thesaurus เพื่อหาคนที่น่าจะคล้าย ๆ กัน เผื่อจะเจอคำที่สื่อความหมายได้ดีกว่าก็ได้
บางคนที่เราเคยเจอมา คือคิดว่า การใช้คำยากชิบหาย คือการบอกว่า ตัวเองรู้ศัพท์เยอะ OMG เจอครั้งแรก ก็อึ้งเหมือกัน ได้เหรอเฮ้ย !! เรามองว่า ยิ่งเราใช้คำยาก มันไม่ได้เป็นการบอกว่า เราเก่งเลยนะ เพราะจุดประสงค์ของการเขียนจริง ๆ คือการส่งสาร ไม่ใช่การโชว์ว่า ตรูรู้ศัพท์เยอะ อยู่สูงกว่าอะไรแบบนั้น อย่างในภาษาไทยเอง ถ้าเราเขียนมาแล้วใช้คำยาก ๆ คนไทยเองอ่านแล้วยังอุทานเลยมั่ง ยากนะถ้าเราเป็นคนธรรมดาที่จะรู้ทุกคำในพจนานุกรม ภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน เขาก็ไม่ได้รู้ทุกคำใน Dictionary หรอกนะ เราว่า คนที่เจ๋งจริงคือ คนที่ใช้คำที่เข้าใจง่าย กระชับ และสามารถอธิบายเรื่องยาก ๆ ได้นี่แหละเทพสาดดด
การเขียนคือส่งสารผ่านตัวหนังสือ ดังนั้นการเล่าเรื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการเล่าเรื่องมันก็มาจากการเรียงลำดับความคิด ให้เป็นเหตุเป็นผลกันอย่างถูกต้อง และ กระชับ จะทำให้ผู้อ่าน ๆ แล้วเข้าใจได้ง่าย มันก็ต้องมาจากการคิดก่อนว่า เราต้องการจะสื่ออะไร เราต้องการจะส่งให้ใคร และ เพื่ออะไร มันก็จะช่วยทำให้เราตั้งลักษณะการเขียนของเราได้ตรงประเด็นมากขึ้น แล้วเราเอาข้อมูลเหล่านี้มาสร้างเป็น Outline แล้วค่อยเขียน เขียนเสร็จก็เอามาอ่านแล้วลองเขียนออกมาใหม่ ลองแก้ ด้วย 3 ขั้นตอนนี้ก็จะทำให้งานเขียนของเราออกมา อ่านง่าย กระชับ และเข้าถึงผู้อ่านได้มากขึ้นนั่นเอง
ทั้งหมดที่เราเขียนมา มันอาจจะไม่ถูกทั้งหมดก็ได้นะ เราเขียนมาจากการผสมระหว่างสิ่งที่เราเรียนมา และ การเขียนของตัวเอง ถ้าใครคิดว่า เราผิดตรงไหนก็ Comment มาบอกกันได้นะ เราก็อยากรู้เหมือนกัน สุดท้ายก็อยากจะบอกว่า อย่ากลัวที่จะผิด เพราะถ้าเรากลัว เราก็จะไม่ได้เริ่มต้นอะไรเลย การเขียนก็เช่นกัน ถ้าเรากลัวผิด ชาตินี้เราก็เขียนไม่ได้หรอกครับ สวัสดี ~
เราเป็นคนที่อ่านกับซื้อหนังสือเยอะมาก ปัญหานึงที่ประสบมาหลายรอบและน่าหงุดหงิดมาก ๆ คือ ซื้อหนังสือซ้ำเจ้าค่ะ ทำให้เราจะต้องมีระบบง่าย ๆ สักตัวในการจัดการ วันนี้เลยจะมาเล่าวิธีการที่เราใช้ Obsidian ในการจัดการหนังสือที่เรามีกัน...
หากเราเรียนลงลึกไปในภาษาใหม่ ๆ อย่าง Python และ Java โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการ Memory ว่าเขาใช้ Garbage Collection นะ ว่าแต่มันทำงานยังไง วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า จริง ๆ แล้วมันทำงานอย่างไร และมันมีเคสใดที่อาจจะหลุดจนเราต้องเข้ามาจัดการเองบ้าง...
ก่อนหน้านี้เราเปลี่ยนมาใช้ Zigbee Dongle กับ Home Assistant พบว่าเสถียรขึ้นเยอะมาก อุปกรณ์แทบไม่หลุดออกจากระบบเลย แต่การติดตั้งมันเข้ากับ Synology DSM นั้นมีรายละเอียดมากกว่าอันอื่นนิดหน่อย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการเพื่อใครเอาไปทำกัน...
เมื่อหลายวันก่อนมีพี่ที่รู้จักกันมาถามว่า เราจะโหลด CSV ยังไงให้เร็วที่สุด เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายนะ แต่พอมานั่งคิด ๆ ต่อ เห้ย มันมีอะไรสนุก ๆ ในนั้นเยอะเลยนี่หว่า วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีวิธีการอย่างไรบ้าง และวิธีไหนเร็วที่สุด เหมาะกับงานแบบไหน...