Technology

ทำไมถ่ายรูปไม่คม ?

By Arnon Puitrakul - 21 ตุลาคม 2022

ทำไมถ่ายรูปไม่คม ?

เรามักจะได้คำถามจากเพื่อน หรือหลาย ๆ คนเลยละว่า ทำไมเราถ่ายรูปออกมาแล้วมันคมจัง หรือเป็นเพราะเราใช้กล้องใหญ่เหรอ ทำไมมันคมได้ขนาดนั้น จริง ๆ แล้ว เราจะบอกว่า มันไม่เกี่ยวหรอก เว้นแต่ใช้เครื่องคิดเลขถ่าย วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า ทำยังไง ถึงเราจะถ่ายรูปออกมาได้คมกริบอลังการเลย เราขอแยกสาเหตุออกมาเป็นทั้งหมด 4 สาเหตุคือ Shutter Speed, Aperture, ISO และ ชิ้นเลนส์

Shutter Speed

เรื่องแรกคือ Shutter Speed เป็นความเร็วในการให้แสงเข้าสู่ Sensor ของเรา ยิ่งเปิดนาน แสงยิ่งเข้าเยอะ เปิดสั้น แสงก็เข้าน้อย พวกนี้ดูเป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมา แต่ในความเป็นจริงคือ วัตถุที่เราถ่ายมักจะมีการขยับอยู่ตลอดเวลา ทำให้แสงที่เข้าไปใน Sensor มันมีการขยับตำแหน่งละ เช่นสีเขียวตำแหน่ง X มันขยับไปตำแหน่ง Y ทำให้ภาพที่ได้ออกมา มันจะเป็นเส้น ๆ ละ

โดยปกติ เราจะ Shutter Speed กันเป็นวินาที ซึ่งเราอาจจะเคยเห็นเป็น 1/250, 1/4 อะไรพวกนั้น หน่วยมันเป็นวินาที ถามว่า กล้องมันสามารถทำได้เท่าไหร่ ก็ขึ้นกับกล้องแล้วละ เช่น 1/8000 หรืออาจจะมากกว่านั้นไปอีก ถ้าเราใช้พวก Electronic Shutter (ระวังพวก Rolling Shutter ด้วยละกัน)

Olympus E-M5MarkII + Olympus 7-14mm f2.8 Pro at f/4.5, 1sec, ISO200

เทคนิคนี้เราก็เอามาใช้ในการถ่ายกัน เรียกว่า Long Exposure คือ เราก็เปิด Shutter Speed นาน ๆ เลยเพื่อให้แสงมันวิ่ง เลยได้เป็นเส้น ๆ เช่น ถ่ายริมถนนแล้วรถก็จะวิ่งไปวิ่งมา ทับเส้นไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเส้นที่ดูแปลกตา ไม่ก็ใช้กับพวกพลุอะไรแบบนั้นก็มี

แต่ ๆ ในการถ่ายภาพทั่ว ๆ ไป เราต้องการความคมพอตัว ดังนั้น เราไม่สามารถทำวิธีนั้นได้ เราคงไม่สามารถบอกแบบว่า พี่ครับ รบกวนยืนนิ่ง ๆ สัก 1 วินาที ห้ามขยับแม้แต่นิดเดียวเลยนะครับ พี่เขาคงเอามือฟาดหัวเอา หรือกระทั่ง ตัวคนถ่ายเองที่เมื่อใช้มือ ก็อาจจะไม่นิ่งพอทำให้ชิบหายได้

Sony A6400 + Sony E PZ 18-105mm f4 G OSS at f/6.3, 1/200, ISO 100 

ส่วนตัวเรา การตั้งค่า Shutter Speed เราจะแยกเคสกัน ถ้าเราถ่ายพวก Landscape ต่าง ๆ ที่ภาพมันไม่ได้มี Movement มากนัก เราจะใช้สูตรโกงง่าย ๆ คือ 1/(Aperature x 10) เช่น เราบอกว่า เราใช้เลนส์ f/2.8 เราจะต้องปรับ Shutter Speed อย่างน้อย 1/20 เราใช้คำว่า อย่างน้อยนะ หรือในงานจริงคือ เราลงไปได้สุด ๆ จริง ๆ เปิดได้นานสุดที่ 1/20 sec โดยที่จะไม่สั่นจากตัวเราเท่านั้น ใช้งานจริงอาจจะโดดไป 1/50 หรือ 1/100 sec เลยกันเหนียว

Olympus E-M5MarkII + Olympus 12-100mm f/4 Pro at f/9, 1/20sec, ISO200

แต่ถ้าเราถ่ายภาพที่มี Movement เกิดขึ้น เช่น การ Portrait หรือ Street ที่มีคนเป็นส่วนประกอบ เราจะเลือกถ่ายที่ Shutter Speed สั้นกว่านั้นมาก จากประสบการณ์เรา เราจะกดไปที่ประมาณ 1/250 sec หรือ 1/500 sec ไปหรือสั้นกว่านั้นไปเลย ถ้าเป็นพวกเด็ก หรือสัตว์เลี้ยงที่ขยับเป็นลิงตลอดเวลา รูปตัวอย่างด้านบน จะเห็นว่า เรากดที่ 1/20 ไปเลย เป็นเพราะ เราต้องการเล่าเรื่องทำให้ภาพมันเกิด Movement มากขึ้น เห็นรถวิ่งแล้วเบลอ ๆ ทำให้ภาพนี้มันดูมีชีวิตชีวามากขึ้น ไม่แข็ง ๆ เห็นการใช้ชีวิตของคนแถวนั้น

หรือในเคสที่ Extreme กว่านั้นอีก เช่นพวก Sport Photography เรากำลังคุยกันระดับ 1/8000 sec ได้เลยนะ เพราะนักกีฬาเวลาเล่นกีฬา เราก็จะเห็นว่าเขาขยับอยู่ตลอดเวลา และเร็วมาก ๆ ด้วย เพื่อให้เก็บได้ทัน พลาดมาเขาน่าจะเอาไม้มาฟาดหัวเข้าให้ เราก็ต้องอัด Speed Shutter ไปให้สุดเท่าที่ แสง และ กล้องเราจะไปถึงเพื่อให้มั่นใจจริง ๆ ว่าเราเก็บได้ ไม่ใช่ว่าไปงก แล้วถ่ายออกมาเบลอหมดเลย เสียของเลยนะ

ตัวเลขที่เราเล่ามาตรงนี้ เป็นตัวเลขที่เราได้จากประสบการณ์เท่านั้น อย่าฟันว่าตัวเลขนี้จะเอามาใช้ได้เสมอนะ แนะนำว่า ให้ลองกดก่อน แล้วซูมดูว่า ภาพที่ได้มันคมมากพอมั้ย มันมีการสั่นหรือเบลออะไรมั้ย ถ้ามี เราก็ค่อย ๆ ปรับไป มันอาศัยประสบกาณ์ และ ความรู้จักระหว่างเรากับกล้องด้วย ว่าเรารู้จักขีดจำกัดของกล้องที่ตรงไหน

Aperture

มันคือความกว้างของรูตรงกลางนั่นแหละ ยิ่งเราเปิดเลขน้อย มันยิ่งกว้างขึ้นเรื่อย ๆ

Aperture หรือที่บางคนเรียกว่าค่า F คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า ยิ่งน้อยยิ่งเบลอหลังได้ละลายมากขึ้น (จริง ๆ ใช้ Focal Length ยาวขึ้นก็ช่วย) โอเคอะ ถูกแหละ ส่วนนึง แต่จริง ๆ แล้วค่า Aperture คือค่าความกว้างของทางเข้าของแสง ยิ่งเลขเยอะ ก็จะยิ่งแคบ เลขน้อยก็จะยิ่งกว้างมากขึ้นเท่านั้น

ถามว่าแล้วมันเกี่ยวอะไร อ่านมาถึงตรงนี้มันน่าจะเกี่ยวกับปริมาณแสงที่เข้ารึเปล่า ถ้า F เรายิ่งกว้าง เราเปิด Shutter Speed ได้สั้นมากขึ้นนิ ก็ใช่ เราเลยบอกว่า Shutter Speed ขั้นต่ำ เราลงไปได้มากสุด 1/(Aperature x 10) sec แต่จริง ๆ แล้วมันเกี่ยวกับเรื่องของความคมด้วย

เพราะเมื่อเราเปิด Aperture กว้างมากขึ้น (เลขน้อยลง) ระยะของ Depth of Field (DoF) เราจะสั้นลงเรื่อย ๆ ลงตามไปด้วย หมายความว่า ระยะชัดของเรามันจะสั้นลงมาก ๆ นั่นเป็นเหตุว่าทำไม เวลาเราถ่ายด้วยค่า Aperture ที่กว้างมาก ๆ แบบ หรือ Foreground มันเลยดูโดดขึ้นมามาก ๆ หลังละลายซะสวยเลยวุ้ย

พอระยะ DoF มันสั้นลงมาก ๆ เข้า เวลาเราถ่าย ต้องอย่าลืมว่า ทั้งเราเอง และวัตถุมันไม่ได้อยู่กับที่ตลอดเวลา ทำให้สุดท้ายถ่ายออกมา มันจะไม่คม เพราะระยะวัตถุมันเลยช่วง DoF ไปแล้ว ไปเป็น Background แทนทำให้ วัตถุ หรือแบบที่เราต้องการถ่าย แหม่ ละลายซะเ_ยเลยนะ ถ้าเทียบจากภาพด้านบน ระยะมันจะแคบมากจนวัตถุของเรามันดันไปอยู่ปริม ๆ เส้นระยะพอดี พอมือเราโยกไปมา ประกอบกับวัตถุโยกอีก ก็พังเข้าไปใหญ่

Sony A7IV + Sony FE85 F/1.4 GM at f/1.4, 1/8000sec, ISO100

ส่วนตัวเรา เวลาถ่าย Portrait เราก็จะชอบใช้ Aperture กว้าง ๆ ละลายหลังสวย ๆ นะ มันกำลังดี แต่ระวังหน่อย เพราะมันอาจจะทำให้เหมือนตัดต่อได้ โดดเกิ้นนน !!!! อะพลีชีพรูปตัวเองละหนึ่ง และเพื่อป้องกันความชิบหายของการหลุด Focus เราจะตั้งค่ากล้องให้ใช้ Continues Focus แทน เพื่อให้เวลาเรา หรือวัตถุมันเคลื่อนไหว กล้องมันจะพยายาม Focus ใหม่ตลอดเวลา ทำให้โอกาสที่จะหลุด Focus มันต่ำลง โอกาสได้ภาพเสียก็น้อยลงด้วย กล้องรุ่นใหม่ ๆ ที่มี Continues Eye AF ก็คือ ได้เปรียบกับการถ่าย Portrait ไปเลย

ถามว่า Magic Number ของเราเป็นเท่าไหร่ ยากเลย เอาทั่ว ๆ ไป ถ้าถ่าย Portrait แบบคนเดียว เราจะกดอยู่ 1.4 จนไปถึง 2.8 แถว ๆ นั้น แต่ถ้าเริ่มมีคนเยอะขึ้น เราจะโดดไป 4 หรือมากกว่านั้นหน่อย เพื่อให้หน้าคนทั้งหมดอยู่ใน Focus หมด

Sony A7II + Sony FE 16-35mm F4 ZA OSS at f/4.5, 1/80sec, ISO100

หรือถ้าเป็นพวกภาพวิว อันนี้ขึ้นกับการเล่าเรื่องละ ถ้าเราอยากได้ชัดทั้งภาพ และแสงพอ เราจะโดดไปมากกว่า 10 จนไปถึง 16 เลยก็มี แต่ถ้าเราต้องการเล่าเรื่องหน่อยมี Foreground อยู่ข้างหน้าให้เบลอหน้าชัดหลังไป เราก็จะกดอยู่แถว ๆ 4-6 แถว ๆ นั้น อันนี้ต้องทดลองกดเลยละ

ISO

อันนี้เราซูมมาให้ดู ถ่ายบน ISO 3,200 เราจะเห็นว่ามันเป็นจุด ๆ เต็มไปหมด ทำให้ภาพไม่คมเท่าที่ควร

ISO เป็นค่าความ Sensitive ของ Sensor หรือสมัยก่อนก็ต้องเป็นฟิล์ม ยิ่ง ISO เยอะก็แปลว่า Sensor ยิ่ง Sensitive ต่อแสงมากขึ้น รับแสงได้มากขึ้น แต่นั่นก็แลกมากับ Noise ที่เราเจอกันได้บ่อยมาก ๆ ที่คนชอบถามว่า ทำไมถ่ายออกมาแล้วมีจุด ๆ เล็ก ๆ เต็มไปหมดเลย จนไปดู ISO ก็คือ 4,000 เ_ย เก็บไว้ให้แม่มึ_ถ่ายเถอะ

พอมันมี Noise เยอะ ๆ มันก็จะทำให้ภาพมันดูไม่คม ดูคุณภาพเหมือนเอาเครื่องคิดเลขถ่าย (ใครมันเริ่มอีคำนี้ฟร๊ะ) ยิ่งกว่านั้นอีก เราก็ไม่อยากได้ Noise เราก็จะไปดันพวก Noise Reduction ที่ส่วนใหญ่ ถ้าปรับไม่เก่งจริงก็คือกิน Detail ของภาพ เรียกว่า ทำให้เบลอกว่าเดิมอีก

ดังนั้น เพื่อลด Noise ให้มากที่สุด เราจะพยายามปรับ ISO ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ง่าย ๆ คือ เราจะพยายามปรับ Aperture และ Shutter Speed ให้ได้ก่อน ถ้าไม่ได้จริง ๆ เราค่อยไปดัน ISO ขึ้นแต่ถ้ากล้องใครรุ่นใหม่ ๆ หน่อย มันจะมี Auto ISO แบบที่เราสามารถปรับจุดสูงสุดต่ำสุดได้

โดยเราจะปรับต่ำสุดเท่าที่กล้องมันจะไหว ส่วนตัวเราปรับไว้ 100 ไปเลย อันนี้คือใช้กลางแดดคือสบาย ๆ ละ กับสูงสุดอันนี้อยู่ที่กล้องเราละ คุณภาพ Sensor และเลนส์เราละว่าไปได้แค่ไหน ต้องอาศัยการใช้งานบ่อย ๆ เราจะพอรู้ว่า ISO ประมาณนี้เรารับได้ รับไม่ได้ ส่วนตัวเรา เราเคยชินกับกล้องเก่า ๆ เลยอย่าง Nikon D5300 ที่เจอ ISO 800 เข้าไปน้องกรีดร้อง Noise บาน ตอนนี้มาใช้ Sony A7IV มันไปได้อีก แต่เราก็ยังมั่นใจที่ไม่เกิน 800 เลยเซ็ตไว้แค่นั้น ซึ่งก็เพียงพอกับการใช้งานส่วนใหญ่ของเราหมด

ชิ้นเลนส์

ถ้าเราลองปรับทั้งหมดแล้วมันไม่รอดสักที กดยังไงก็ไม่คม Focus ไม่เข้าสักที อะส่วนนึงเป็นเพราะวัตถุที่เราถ่ายมัน Focus ยากมาก แต่เปลี่ยนเป็นอะไรที่ง่ายกว่านั้นแล้วก็ยังไม่รอดสักที ให้เราสงสัยที่เลนส์ก่อนเป็นอย่างแรกเลย

เพราะตัวที่จะทำให้ Focus เข้าหรือไม่เข้า เป็นที่เลนส์ของเรา ในเลนส์เขาจะมีมอเตอร์เพื่อปรับระยะชิ้นเลนส์เพื่อให้เข้า Focus ถ้าเกิดว่า ชิ้นเลนส์ หรือมอเตอร์ในเลนส์มันมีปัญหามันจะทำให้เรา Focus เข้ายากมาก หรือไม่เข้าเลย อันนี้ไม่ยาก เดินเข้าไปที่ศูนย์บริการให้เขาตรวจสอบได้ อันนี้ไม่ใช่ปัญหาเรื่องเทคนิคละ แต่เป็นปัญหาที่ตัวเลนส์เลย เราแก้เองไม่ได้ละ

สรุป

Taken on iPhone 13 Pro Max (Original)

การถ่ายภาพแล้วอยากให้มันคม จริง ๆ แล้วมันไม่ได้ยากขนาดนั้น มันมีวิทยาศาสตร์อยู่เบื้องหลัง สำหรับการใช้งานจริง ๆ นั้น มันอาศัยประสบการณ์ และ ความรู้จักระหว่างเรากับอุปกรณ์ของเราค่อนข้างมาก เลยแนะนำว่า ถ้าอยากถ่ายให้ได้ ให้ออกไปถ่ายบ่อย ๆ ใช้งาน ทำความรู้จักกับอุปกรณ์ของเรา แล้วจะถ่ายออกมาอลังการขึ้นเรื่อย ๆ แน่นอน

Read Next...

รวมวิธีการ Backup ข้อมูลที่ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

รวมวิธีการ Backup ข้อมูลที่ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน...

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...

รีวิว Ugreen Nexode Pro Charger ที่เบา กระทัดรัดที่สุด

รีวิว Ugreen Nexode Pro Charger ที่เบา กระทัดรัดที่สุด

เมื่อปีก่อน เรารีวิว Adapter 100W จาก UGreen ที่เคยคิดว่ามันเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่ายที่สุดไปแล้ว ผ่านมาปีนึง เรามาเจออีกตัวที่มันดียิ่งกว่าจากฝั่ง Ugreen เช่นเดียวกันในซีรีย์ Nexode Pro วันนี้เรากดมาใช้เอง 2 ตัวคือขนาด 65W และ 100W จะเป็นอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้เลย...