By Arnon Puitrakul - 18 พฤศจิกายน 2024
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา
เริ่มจากรุ่นเริ่มต้นอย่าง M4 เห็นว่าเป็นรุ่นเล็ก แต่บอกเลยว่า Performance มันไม่เล็กด้วย โดยที่เขาใส่ CPU มาให้ 10-Core แบ่งเป็น 4 Performance Core และ 6 Efficiency Core พร้อมกับ GPU จำนวน 10-Core ด้วยกัน และยังรองรับ Unified Memory สูงสุดที่ 32 GB ส่วนเรื่องของการต่อหน้าจอออก มันทำได้แค่ 2 จอเท่านั้น
บอกตัวเลขแค่นี้ อาจจะยังไม่เห็นภาพว่ามันเร็วได้ขนาดไหน หากเข้าไปดูคะแนน Benchmark จาก Geekbench คะแนนฝั่ง Multithread ทำได้มากกว่า M1 Max ที่ยัด 8 Performance Core และ 2 Efficiency Core ซะอีก และฝั่ง 10-Core GPU ทำได้น้อยกว่า M1 Pro ที่มี 16-Core GPU ประมาณนึงเท่านั้นเอง
และในเรื่องของ AI เอง Neural Engine ไม่เคยขาด มาเท่าเดิมที่ 16-Core แต่มันได้รับการพัฒนาให้เร็วส์ แรงทะลุนรกมากขึ้นมหาศาล Apple เคลมว่า เร็วกว่าตัวที่ใส่มาใน M1 ที่ว่าแรงระดับพระเจ้าแล้วถึง 3 เท่ากันเลยทีเดียว คือ ถ้าเราใช้งาน Application ที่มีการเรียกพวก AI Model เข้ามาใช้เช่น Photomator มันก็จะเร็วขึ้นเยอะมาก ๆ
หรือถ้าใครทำงานกับ AI แนะนำว่า แปลง Model ของคุณให้รันบน CoreML มันจะเร็วกว่าการรันบน GPU จนต้องร้องโอ้โห้เลยแหละ เราลองแปลงเข้าไป ขนาดเจอ Model ขนาดใหญ่ ๆ เข้าไปด้วย Unified Memory ขนาด 16 GB มันก็ยังเอาอยู่ได้สบาย ๆ เร็ว และกินพลังงานต่ำมาก ๆ เรียกว่าเป็น NPU ตัวนึงที่ไม่ได้ดูเคลมเยอะเหมือนเจ้านึง แต่แรงชิบหายเลยละ
ทำให้ หากเราต้องการเอามาใช้งานทั่ว ๆ ไปบอกเลยว่า มันเกินความจำเป็นไปเยอะมาก ๆ ไม่ต้องกลัวเลยว่า มันจะไม่เพียงพอกับการทำงาน มันทำได้ตั้งแต่ระดับการเข้าเว็บ ทำงานเอกสารทั่ว ๆ ไป จนไปถึงงานระดับ Semi-Professional อย่างการตัดต่อวีดีโอ 4K-6K พร้อมทำ Colour Grading, การแต่งภาพ (เรามีเพื่อนที่เป็นช่างภาพใช้ Lightroom Classic บน M1 มันก็ยังบอกว่า เอาอยู่ได้สบาย ๆ เลย) และ การ Compile โปรแกรมขนาดใหญ่ ๆ น้องเขาก็จัดไปได้หมดแบบชิว ๆ ทำให้เราคิดว่า มันน่าจะเหมาะกับผู้ใช้งานประมาณ 70% ได้เลย และที่สำคัญ มันเป็น SoC ที่กินพลังงานน้อยที่สุดด้วย หากเอาไปใช้กับ Macbook ทั้งหลาย ก็จะทำให้แบตอยู่ได้นานขึ้นด้วย
ซึ่ง Mac ที่สามารถเลือก M4 ได้ ณ วันนี้ จะมี Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ส่วน Macbook Air เราคิดว่า ก็น่าจะตามมาในเร็ว ๆ นี้แน่นอน
ใหญ่ขึ้นมาอีกอย่าง M4 Pro ที่ Efficiency Core จะโดนลดลงไปเป็น 4 Core แต่เพิ่ม Performance Core เป็น 10 Core ทำให้ มีจำนวน CPU Core เพิ่มเป็น 14 Core โดยรวมจะมีพลังในการประมวลผลมากกว่า M4 อยู่เกือบ ๆ 2 เท่าตัวเลยทีเดียว และ GPU สูงสุดมีให้ทั้งหมด 20 Core จึงทำให้ GPU Performance ก็จะดีกว่า M4 ประมาณ 2 เท่ากว่า ๆ เลยทีเดียว (ที่เร็วเกิน 2 เท่า เพราะ Memory Bandwidth เร็วขึ้นจาก 120 GB/s เป็น 273 GB/s ทำให้เพิ่มความเร็วเข้าไปได้อีก) รองรับ Unified Memory สูงสุด 64 GB เพิ่มขึ้นมาอีกพอสมควร ที่สำคัญยังรองรับ Thunderbolt 5 ที่ทำความเร็วได้ถึง 120 Gbps เร็วกว่า Thunderbolt 4 เยอะมาก ๆ
โดย CPU Performance ของมันหากเทียบกับ M1 เรียกว่าทะลุแซง M1 Ultra ไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนงาน GPU ที่ใส่มาให้แค่ 20-Core แต่แรงเกือบ ๆ เท่า M1 Max ที่ยัดมา 32 GPU เลยละ ทำให้ SoC ตัวนี้เราคิดว่าเหมาะกับงานระดับ Professional ไปเลย รองรับการการตัดต่อวีดีโอที่ซับซ้อนมาก ๆ ได้สบาย ๆ หรือกระทั่งการทำงานกับชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ๆ ได้เพราะมันรองรับ Unified Memory ขนาดใหญ่ระดับ 48 GB กันเลย เราคิดว่ามันเหมาะกับคนประมาณ 25% เป็นกลุ่มที่ซื้อเครื่องมาเพื่อทำงานระดับ Professional เป็นหลัก มีภาพอยู่ประมาณนึงแล้วว่า งานของเราจะต้องทำอะไรบ้าง และถ้าเราเอามิติของราคามากางร่วมด้วย เราจะเห็นว่า มันเป็น Sweet Spot ที่ดีมาก ๆ ระหว่างราคา และ Performance ที่ได้
ซึ่ง Mac ที่สามารถเลือก M4 Pro ได้ ณ วันนี้จะมี Mac Mini และ Macbook Pro เท่านั้น
M4 Max นี่ไม่ต้องพูดเยอะเลย เป็นตัวใหญ่สุด ณ วันนี้แล้ว (ตอนที่ M4 Ultra ยังไม่มาอะนะ) ฝั่ง CPU ใส่ Efficiency Core เพิ่มให้อีก 2 Core ทำให้ใน M4 Max จะมี 4 Efficiency Core และ 12 Performance Core และ GPU เพิ่มขึ้นมาอีก 2 เท่าตัว เป็น 40-Core รองรับ Thunderbolt 5 เช่นเดียวกับ M4 Pro แต่เพิ่มจำนวนการต่อหน้าจอเป็น 4 จอ ใครที่ใช้หลาย ๆ จอ ก็ต่อได้เลยฉ่ำ ๆ มากกว่านี้น่าจะเป็น Wall-Monitor แล้วนะ จะต่ออะไรเยอะแยะวะ และรองรับ Unified Memory สูงสุดที่ 128 GB (ลองคิดดูนะ Laptop ที่มี Unified Memory 128 GB ที่เราสามารถ Allocate ใช้งานบน GPU ได้ เท่ากับว่าเราสามารถรัน Model ขนาดใหญ่ ๆ มาก ๆ ที่ขนาด Desktop ส่วนใหญ่ยังไม่ไหวเลยด้วยซ้ำ แมร่งบ้ามาก !)
สำหรับสายงานวีดีโอ M4 Max ใส่ Video Encoder Engine และ ProRes Engine มาให้ 2 ชุดเลย ทำให้เหมาะกับคนที่มีการตัดต่อวีดีโอที่ต้องซ้อนกันเยอะ ๆ มีหลาย ๆ Stream โดยเฉพาะการใช้ไฟล์ความละเอียดสูง ๆ เช่น 8K จนไปถึง 12K เลยละ (โดยเฉพาะคนที่ Proxy Transcode จาก RAW Format ของกล้องเป็น ProRes บอกเลยว่า รู้เรื่อง !) และคนที่ใช้ Framerate สูง ๆ บน ProRes อย่าง 4K 120FPS น่าจะได้รับอานิสงส์เต็ม ๆ อย่างแน่นอน
ในการทำงาน พลังการคำนวณไม่ต้องพูดถึง เร็วแรงของแทร่ แรงกว่า M2 Ultra ซะอีก และ GPU สูงสุด 40-Core ก็คือแรงกว่า M1 Ultra และแทบจะกิน ๆ กับ M2 Ultra ด้วยซ้ำ ด้วยพลังล้นเหลือขนาดนี้ ทำให้เราคิดว่ามันค่อนข้าง Niche มาก ๆ น่าจะเหมาะกับคนแค่ประมาณ 5% เท่านั้นเอง ต้องเป็นกลุ่มที่รันเครื่องหนักมาก ๆ เช่นการทำ VFX ขนาดใหญ่ ๆ ยันกลุ่ม Train AI Model หรือเล่นกับ LLM ที่มีจำนวน Parameter ฉ่ำ ๆ เลยแหละ มันไม่ใช่ของที่คนทั่วไปน่าจะลงมาเล่นเท่าไหร่ โดยคนกลุ่มนี้เราไม่ต้องพูดเยอะเลย เพราะที่เหมาะเราว่า เขารู้ตัวเองดีว่างานตัวเองมันต้องใช้ขนาดนี้แหละ
ซึ่ง Mac ที่สามารถเลือก M4 Pro ได้ ณ วันนี้จะมีเพียง Macbook Pro เท่านั้น
ที่เราออกมาเล่าในบทความนี้ เพื่อเป็นเหมือน Buyer Guide สำหรับการเลือก M4 ที่เหมาะกับทุกคน คนที่รู้ว่าจะซื้อมาใช้งานอะไร เราว่าคนพวกนี้รู้อยู่ละว่าตัวเองต้องการอะไร แต่สำหรับคนที่ซื้อมาใช้งานทั่วไป เราอยากจะบอกว่า อย่า Underestimate พลังของ M4 เพียงเพราะมันเป็นรุ่นเล็กสุด อย่างที่บอกคือ เมื่อเรา Benchmark หรือกระทั่งทดสอบการทำงานจริง ๆ มันสู้กับรุ่นบน ๆ ของตัวก่อนหน้าได้ เผลอ ๆ บางการทดสอบแซงตัว Top สุดกันไปแล้วด้วยซำ้ ซึ่งรุ่นพื้นฐานของรุ่นก่อนหน้ามันก็แรงเพียงพอสำหรับคนทั่วไปแล้ว ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องห่วงเลยว่ามันจะแรงส์ไม่พอ ไม่จำเป็นต้องไปเลือกตัวที่สูงขึ้นเลยด้วยซำ้ แถมถ้าเราเลือกตัวที่สูงขึ้น มันก็จะกินพลังงานมากขึ้น แบตก็จะหมดเร็วขึ้นด้วย เราได้เรียนรู้จาก Macbook Pro 14-inch M1 Max เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า แบตไหลเป็นน้ำอาการมันเป็นยังไง
Homebrew เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เราชอบมาก ๆ มันทำให้เราสามารถติดตั้งโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ได้เยอะแยะมากมายเต็มไปหมด แต่วันนี้ เราจะมาแนะนำ 5 Homebrew Package ที่เรารักส์และใช้งานบ่อยมาก ๆ กันว่าจะมีตัวไหนกันบ้าง...
การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน...
คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...
หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...