By Arnon Puitrakul - 04 พฤษภาคม 2020
Incognito Mode หรือบาง Web Browser ก็เรียก Private Mode อะไรก็ว่ากันไป มันเป็นโหมดที่หลาย ๆ เจ้าเคลมว่า มันเป็นโหมดที่ให้ความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน ตามชื่อ Private Browsing ของมัน คำถามคือ แล้วมัน Private ยังไง และ แค่ไหนกัน เราเชื่อว่ายังมีคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Mode นี้อยู่เยอะเลย
ถ้าถามว่า Private Browsing คืออะไร มันคือโหมดที่ Web Browser หลาย ๆ เจ้าอย่าง Google Chrome, Firebox และอื่น ๆ ทำมาเพื่อให้เราเข้าเว็บแล้วไม่เก็บประวัติต่าง ๆ ของการเข้าเว็บไว้
มองให้ลึกขึ้นคือ มันจะสร้างเป็นเหมือนกล่องชั่วคราวมาให้เรา พอเราใช้งานเสร็จมันก็ทำลายกล่องนั้นทิ้งไปเท่านั้นเอง ถามว่าแล้วมัน Private ขนาดไหนกันละ ?
ตัวอย่างที่น่าจะรู้จักกันดีคือ Incognito Mode ใน Google Chrome นั่นแหละ ก็คือโหมดสำหรับการใช้ Private Browsing
ก่อนที่เราจะไปตอบคำถามนั้น เราอยากจะพามาทำความรู้จักกับคำว่า Digital Footprint กันก่อน
ถ้าเราเคยดูโคนันมาก่อน น่าเคยเจอฉากที่สันนิฐานว่าคน ๆ นี้เป็นใครจาก โคลนที่รองเท้า บางอย่างที่ติดอยู่ที่เสื้อ อาจจะเป็นขนหมา หรือง่าย ๆ เวลาผู้หญิงจับชู้ในหนัง ก็แหม่ เจอรอยลิปสติก 💋 อยู่ที่คอเสื้อ พวกนี้ก็เป็น Footprint ในโลกแห่งความเป็นจริงไป คิดซะว่าเป็นร่องรอยอะไรบางอย่าง
ส่วน Digital Footprint มันก็ตามชื่อเลย คือรอยเท้า Digital เอ่อ มันช่วยยังไง ฮ่า ๆ เล่าง่าย ๆ ก็คือ เวลาเราเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เราก็ต้องมีการเข้าสู่ระบบ มีการกดใช้งานต่าง ๆ ก็ย่อมสร้าง Digital Footprint กันทั้งนั้น พอเราเข้าเว็บมันก็มี Digital Footprint ของเราอยู่ในโลกออนไลน์แน่นอน
ตัวอย่าง Digital Footprint ง่าย ๆ คือ ลองเปิด Web Browser ของเราขึ้นมา แล้วกดหา History ดู เราจะเห็นเลยว่า ในเครื่องเราเองมันยังเก็บประวัติเลยว่า เราเข้าเว็บอะไรไปบ้าง ก็ถือว่าเป็นร่องรอยหนึ่ง
ซึ่งถ้าใครที่เรียนพวก Ethical Hacking มา ก็น่าจะรู้ดีว่า การกำจัด Digital Footprint ต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องจำเป็นของเหล่า Hacker ที่เป็นการลบหลักฐานไม่ให้สาวมาถึงตัวผู้ที่เจาะเข้ามาได้นั่นเอง
กลับเข้าเรื่องกันว่า เวลาเราเข้าเว็บมันเกิด Digital Footprint อะไรบ้าง มันต้องเริ่มจากว่า การที่เราเข้าเว็บสักเว็บนึง มันก็คือ การที่เราเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Web Server สักที่นึง ไม่รู้ละที่ไหนบ้าง แต่เราเชื่อมไปแน่ ๆ
มันก็ต้องเริ่มจากว่า ฝั่งเราเรียกอีกฝั่งไป ทำให้เกิด Log การเข้าใช้งานละ ฝั่งเราก็จะเก็บไว้ว่าเราเข้าอะไรไปบ้าง อันนี้สามารถดูผ่าน History ของ Web Browser เราได้ และอีกฝั่ง เวลามีคนเรียก พวกนี้เขาจะเก็บสิ่งที่เรียกว่า Log ไว้อยู่แล้ว เป็นเหมือนบันทึกการเข้าออกและการใช้งานต่าง ๆ เข้าหน้าไหน เข้าจากที่ไหน มันจะเก็บไว้หมดเลย
ทำให้ตอนนี้คือเมื่อเราเข้าเว็บแล้วมันจะเกิด Digital Footprint 2 ที่ละ มีที่อื่นอีกมั้ย จริง ๆ คือ มีนะ เพราะในความเป็นจริง เราไม่ได้เชื่อมต่อกับเว็บปลายทางตรง ๆ Internet มันไม่ได้ทำงานแบบนั้น จริง ๆ แล้ว กว่าคำเรียกของเราจะส่งไปถึงปลายทางได้นั้นมันต้องผ่านหลายมือมาก ๆ ซึ่งแต่ละมือ ก็จะมีการเก็บ Log ไว้เหมือนกัน ง่าย ๆ คือ เราเข้าเว็บทีก็มีรอยเท้าอยู่หลายที่มาก ๆ
ย้อนกลับมาที่เครื่องเรา นอกจากที่จะมีการเก็บบันทึกการเข้าแล้ว มันยังมีอย่างอื่นที่เก็บอีก เช่น Cookie, Session และ Local Storage ต่าง ๆ ไหนจะไฟล์ที่เราโหลดมาอีกมากมาย
ตัวอย่างเช่น Cookie เป็นของตัวนึง สำหรับใช้ระบุให้กับเว็บปลายทางว่าเราเคยเข้ามาแล้วนะ โดยที่ใน Cookie สามารถใส่ค่าอะไรสักอย่างไว้ก็ได้ อาจจะเป็น ID ของเราที่เขา Generate ขึ้นมา พอเราเข้าอีกที ฝั่งเว็บก็จะรู้ว่า อ่ออออ นี่ไง แกเคยเข้ามาแล้ว
หรือ Session เอง ส่วนใหญ่ก็จะเกิดตอนที่เรามีการ Login ต่าง ๆ เช่นง่าย ๆ เลย Facebook เมื่อเรากด Login มันก็จะมี Session เก็บไว้ที่เครื่องเรา
ดังนั้นสุดท้ายแล้ว เวลาเราเข้าเว็บต่าง ๆ มันจะเกิด Digital Footprint ใน 2 สถานที่ใหญ่ ๆ คือ เครื่องเราเอง และ ที่อื่น ๆ
เอาหล่ะ ย้อนกลับมาที่คำถามแรกที่เราคุยกัน ต้องเข้าใจว่าพวก Private Browsing มันจะสามารถจัดการกับ Digital Footprint ในเครื่องเราเองเท่านั้น ไม่สามารถที่จะไปลบอะไรของในเครื่องคนอื่นได้ ดังนั้น เมื่อเราปิด ใช่ เครื่องเราอะหาย แต่ในฝั่ง Internet และ ปลายทางก็ยังมี Log การเข้าใช้งานของเราไว้อยู่นั่นเอง
ดังนั้นการบอกว่า เมื่อเราเข้าเว็บไซต์ที่ผิดกฏหมายผ่าน Private Browsing แล้วจะจับไม่ได้ อ่าาาห์ จริง ๆ แล้วจะบอกว่า มันจับได้ง่าย ๆ เลยละ ถึงแม้ว่า จะไม่มีหลักฐานการเข้าใช้งานจากเครื่องเราเอง แต่ถ้าไปคุ้ย Log จาก Router แถวนั้น หรือ Log จากผู้ให้บริการก็เรียบร้อยแล้วถ้าไม่ได้ปิดบังตัวตนอะไร
ถ้าเราอยากจะปกปิดตัวตนจริง ๆ วิธีนึงที่ทำได้คือ การใช้งาน VPN ร่วมด้วย แต่ก็ต้องเลือกใช้ VPN ที่เชื่อถือได้ เพราะมันคล้าย ๆ กับเรามุดไปออกสักที่นึง (Server ของ VPN เขานั้นแหละ)
แปลว่า ถ้าเราโดนตรวจสอบ Log ที่ Router แถว ๆ นั้น ก็จะเจอแค่ว่าเราเข้าใช้งาน VPN ที่นึง แต่ไม่รู้เลยว่าปลายทางจริง ๆ แล้วเราเข้าอะไร กลับกัน ปลายทางก็จะเห็นแค่ว่า เข้ามาจาก VPN ที่นึง ไม่เห็นว่าเราเข้าจากที่ไหน ดังนั้นคนที่รู้จริง ๆ ในคอมพิวเตอร์ว่า เข้าออกอะไรคือ ตัวเราเอง และ VPN Server นั่นเอง
ประกอบกับ เราใช้พร้อมกับ Private Browsing ที่มีการลบประวัติ, Cookie และ Session ต่าง ๆ ออกไป เมื่อเราปิด และ VPN ไม่ Log มันก็จะไม่เหลืออะไรที่เชื่อมโยงเรากับ การเข้าเว็บของเราได้เลย
สรุปง่าย ๆ คือ Private Browsing ไม่ได้ทำให้เราใสผ้าคลุมล่องหนในโลกของ Internet เพียงอย่างใด มันแค่ลบบันทึกที่อยู่ในเครื่องเราเท่านั้น ปลายทางและทางผ่านก็ยังเห็นเหมือนเดิมอะไร การเรียก Location ก็ยังทำได้เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจาก การใช้งานปกติเลย ดังนั้นก็ใช้งานกันระมัดระวังนิดนึงนะจ๊ะ จบ สวัสดี
การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน...
คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...
หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...
เมื่อปีก่อน เรารีวิว Adapter 100W จาก UGreen ที่เคยคิดว่ามันเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่ายที่สุดไปแล้ว ผ่านมาปีนึง เรามาเจออีกตัวที่มันดียิ่งกว่าจากฝั่ง Ugreen เช่นเดียวกันในซีรีย์ Nexode Pro วันนี้เรากดมาใช้เอง 2 ตัวคือขนาด 65W และ 100W จะเป็นอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้เลย...