By Arnon Puitrakul - 15 เมษายน 2020
Artificial Intelligence หรือ AI ถือว่าเป็น Talk of The Town เป็น Buzz Word เป็นมันทุกอย่างในช่วงนี้ คือถ้าใครออก Product อะไรมาแล้วไม่พูดคำนี้ออกมา ก็จะขายไม่ออกเลย เราก็แบบ วอท เดอะ แฮก
เรารู้สึกเลยว่า มันใช้กันพร่ำเพื่อเกินไปจริง ๆ นะ จนบางที มันก็นะ ดูแล้วไม่น่าเชื่อถือสำหรับเรา แต่มันกลายเป็นตัวสร้างความ ว้าว และ ความน่าเชื่อถือของเขาไปซะงั้น เออ อิ ชั้น งง มาก เจ้า ค่ะ
วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า จริง ๆ แล้ว AI มันคืออะไรกันแน่
จริง ๆ แล้ว AI หรือ Artificial Intelligence มันไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่อะไรเลย เพราะมันเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1956 แล้ว แต่ที่มันพึ่งมาบูมระเบิดเทิดเทิง ก็เพราะ จำนวนข้อมูลที่เรามีเยอะขึ้น (ส่วนที่เยอะที่สุดก็น่าจะเป็น UGC หรือ User Generated Content), พลังการประมวลผลที่เยอะขึ้น และ Algorithm ที่ดีขึ้น เลยทำให้บูมขึ้นมา
AI จริง ๆ แล้วมันก็คือ ศาสตร์นึงที่พยายาม ที่จะเลียนแบบ ความฉลาด ขึ้นมา เหมือนที่เราเด็ก ๆ เราไม่รู้อะไรเลย แต่พอเห็นพ่อแม่เราทำอะไรบางอย่าง เราก็พยายามที่จะเลียนแบบแล้วทำตาม ต่างจากเครื่องเมื่อก่อนที่มันไม่สามารถคิดเองได้ เราต้องโปรแกรมมันอย่างเดียว พูดง่าย ๆ คือ เราพยายามสอนให้เครื่องคิดได้เหมือนคน
AI ถามว่าเอามาทำอะไรบ้าง เอาแบบ ไม่โม้เหม็น ก็ถือว่ามีเยอะมากเลยทีเดียว ไม่ได้อยู่แค่ในเรื่องของคอมพิวเตอร์อย่างเดียวเหมือนเมื่อก่อนละ เพราะมันถูกนำไปใช้กับหลายแวดวงมาก ๆ เช่น การแพทย์ที่ มีการเอาพวก Computer Vision และ Deep Learning มาใช้ในการประเมินเคส และ Pathology ต่าง ๆ เยอะแยะมากมาย
หรือถ้าเอาที่มันดังมาก ๆ ก็คือพวก Self-Driving Car ที่เราชอบบอกว่ารถขับเองอะไรนั่นแหละ เบื้องหลังของมันก็คือ AI ที่ต้องเรียนรู้ว่า รถขับยังไง ต้องหยุดตอนไหน เหยียบคันเร่งเมื่อไหร่ เหยียบเบรกเมื่อไหร่ เพื่อให้ผู้โดยสารปลอดภัยที่สุดนั่นเอง
อีก Application นึงที่น่าสนใจมากคือ การที่เราเอาพวก AI มาช่วยในการตัดสินใจในการทำธุรกิจต่าง ๆ เช่น การประเมินความพึงพอใจของลูกค้าใน Social Media ที่มันมีข้อมูลเยอะมาก คนอ่านไม่ไหว ถ้ามีเครื่องที่อ่านแล้วเข้าใจภาษาคนได้ มันก็จะช่วยได้มากในการมานั่งอ่านข้อความ ความคิดเห็นเหล่านี้
นี่ก็คือเรื่องที่เราว่า น่าจะเป็นการเอา AI มาใช้กันเยอะแยะไปหมด จริง ๆ แล้วมันมีเอาไปใช้หลายอย่างมากมาย จนนน่าจะเรียกได้ว่า อยู่ในทุกสาขาอาชีพเลยก็ว่าได้ และแน่นอนว่า มันก็ยังต้องการ การพัฒนาต่อไป ทั้งในเรื่องของ ทฤษฏีต่าง ๆ ที่เป็นหน้าที่ของนักคอมพิวเตอร์ และ ตัวข้อมูลเองที่ต้องมาจากคนที่เก็บมา
จากที่เราไปงานต่าง ๆ เจอหลายเจ้าที่ออกมาบอกว่า เฮ้ย ๆ แก นี่นะชั้นใช้ AI ในการทำโน้นนี่นั่น เราเองฟังแล้วก็คือ ฮัลโหล แก มันไม่ได้จำเป็นมั้ยอะ คือบางอย่างมันไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น แต่เราว่า ที่ทำแบบนั้น เพราะ ผู้บริโภคเองหลายคนที่เหมือนกับถูกฝังหัวมาแล้วว่า การมี AI = เทพ นั่น มันไม่ใช่ความจริงเลย เผลอ ๆ จะ Overengineer แล้วก็ทำให้ก่อปัญหาหลาย ๆ อย่างเข้ามาในระบบ
ดังนั้น ในฐานะของนักพัฒนาเราไม่อยากให้ใช้ AI เพราะความว้าวซ่า แต่เราอยากให้ใช้เพราะมันต้องใช้มากกว่า โอเคแหละ ณ ตอนนี้สายตาที่คนมอง มันอาจจะทำให้แย่ไปหน่อยสู้กับตลาดไม่ได้ แต่ถ้าเราทำให้คนเข้ามาใช้ แล้วเราสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีอะ ระบบตอบโจทย์ ยังไงเขาก็น่าจะต้องซื้อของเราอยู่แล้ว อย่าลืมว่า AI ไม่ใช่ทุกอย่าง
หรือในฐานะผู้บริโภคเอง เราควรที่ไตร่ตรองก่อนจะ ว้าว ไปตามที่เขาบอกโน้นนี่นั่นมา บางทีการมี AI อาจจะโม้เหม็นเพื่อเป็นการทำตลาดก็ได้ จริง ๆ ดังนั้นก่อนจะว้าว เราก็ควรจะพิจารณาก่อนที่จะมาว้าว ๆ อะไรกันได้ขนาดนั้น
AI เอาตามนิยามมันก็คือ การที่เราทำให้เครื่องมันมีความฉลาด หรือ คิดอะไรเองได้โดยที่เราไม่ต้องไปโปรแกรมมัน ซึ่งมันถูกเอาไปใช้ในหลาย ๆ อย่างมาก ๆ ตั้งแต่เราตื่นนอนยันเรานอนอีกวันเลย ซึ่งในฐานะของนักคอมพิวเตอร์เอง ก็เห็นว่าสิ่งนี้มันจะถูกพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนทำให้เราหลีกเลี่ยงเรื่องเหล่านี้ไม่ได้เลยจริง ๆ
การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อารมณ์มันเหมือนกับเราซื้อประกันที่เราก็ไม่คาดหวังว่าเราจะได้ใช้มันหรอก แต่ถ้าวันที่เราจำเป็นจะต้องใช้การมีมันย่อมดีกว่าแน่นอน ปัญหาคือเรามีวิธีไหนกันบ้างละที่สามารถสำรองข้อมูลได้ วันนี้เราหยิบยกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้านมานำเสนอกัน...
คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...
หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...
เมื่อปีก่อน เรารีวิว Adapter 100W จาก UGreen ที่เคยคิดว่ามันเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่ายที่สุดไปแล้ว ผ่านมาปีนึง เรามาเจออีกตัวที่มันดียิ่งกว่าจากฝั่ง Ugreen เช่นเดียวกันในซีรีย์ Nexode Pro วันนี้เรากดมาใช้เอง 2 ตัวคือขนาด 65W และ 100W จะเป็นอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้เลย...