By Arnon Puitrakul - 05 มกราคม 2018
จุดเริ่มต้นของบทความนี้คือพึ่งเครือข่ายไปใช้ของค่ายเขียว (Nvidia แน่นวล #ผิด) เพราะค่ายฟ้ามันช้าซะเหลือเกินประกอบกับเปลี่ยนไปใช้ Pixel 2 XL ที่มาพร้อมกับ Modem X16 จาก Snapdragon ที่โคตรจะเร็ว ฟิลลิ่งเหมือนกับเอารถสปอร์ตไปวิ่งบน กทม เลย วันนี้ก็เลยจะมาไขความ งง ของเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังของเทคโนโลยีการสื่อสารที่เราใช้กันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่กัน
คำเตือนมันจะมีบางส่วนที่อาจะลงลึก ถ้ายาวไปไม่อ่านก็ข้ามส่วนที่เป็น Technical ไปได้
การสื่อสารเราจะประกอบด้วย ผู้ส่งสาร, สาร, ตัวกลาง และผู้รับสารใช่ม่ะ ในการสื่อสารไร้สาย ผู้ส่ง และ ผู้รับสารก็คือเครื่องโทรศัพท์ สารคือข้อมูลที่ผู้ส่งสารต้องการส่งถึงผู้รับสาร และ ตัวกลางก็คงไม่ใช่บุรุษไปรษณีย์ แต่เป็นอากาศ
James Maxwel ทางซ้าย และ Guglielmo Marconi ทางขวา
ใช่ครับ ณ ตอนนี้เราส่งข้อมูลผ่านอากาศกัน ซึ่งถามว่าแล้วเราจะส่งยังไง อันนี้ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 1867 ที่คุณลุง Maxwell พิสูจน์แล้วว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีอยู่จริง และในปี 1896 ที่ Guglielmo Marconi คุณลุงเจ้าพ่อแห่ง Wireless ส่งสัญญาณไปที่เรือที่อยู่ห่างจากฝั่ง 29 km ได้ 📻 จากนั้นมาเราก็ใช้หลักการที่คุณลุง Marconi (ชอบเรียกว่า มักกะโรนี เพราะมันอร่อย 🤩) มาสร้างเป็นวิทยุ และกลายเป็นสัญญาณโทรศัพท์ที่เราใช้จนถึงปัจจุบัน
ถ้าเราพูดถึงคลื่น กสทช บอกว่า คลื่นคือสมบัติของชาติ (แต่ชาติไม่ได้สร้าง แต่ก็ช่างเถอะ) เพราะเราถือว่าคลื่นเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัด และต้องการการจัดระเบียบ ลองนึกดูนะครับว่าถ้าเราฟังวิทยุช่อง A ที่ความถี่นึง แล้วพอเดินไป 5 ก้าวช่องความถี่เดิมแปลงร่างเป็นอีกช่องนึงคงจะงงมากมาย
ฉะนั้น กสทช เข้ามาทำหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า กสทช จะเปิดประมูลคลื่นความถี่นี้ ๆ นั้น ๆ ออกมา ก็คือ กสทช กำลังจะเปิดประมูลให้เช่า (ย้ำนะว่า เช่า) คลื่นความถี่ไปใช้กันผ่านการให้สัมปทาน เพราะฉะนั้นผู้ให้บริการอย่าง AIS, DTAC และ True ก็คือถือสัมปทานบอกว่า ฉันสามารถปล่อยคลื่นสัญญาณที่ความถี่นี้ ๆ เพื่อทำใช้ในการทำ 4G 3G อะไรก็ว่ากันไป
จากตรงนี้จะทำให้เราเห็นว่าแต่ละผู้ให้บริการได้รับการจัดสรร คลื่นความถี่ อย่างจำกัด (อย่าเรียกว่าเขาได้ จัดสรร เลย เรียกว่าเขา เช่า ได้จำกัดละกัน)
High vs Low Frequency Comparison
คลื่นความถี่แต่ละย่านก็จะให้ข้อดี ข้อเสียต่างกัน เหมือนที่เราเรียนกันในฟิสิกส์กันแล้วว่า ความถี่แปรผกผันกับระยะทาง หมายความว่า ยิ่งความถี่สูงก็ยิ่งส่งข้อมูลได้ไกลน้อยลงนั่นเอง แต่ความถี่สูงก็มีข้อดีที่สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วกว่า (ส่วนเพราะอะไร ไม่ขอเล่าละกัน จะยาวเกิน ไว้ถ้าใครอยากรู้ก็ลองไปหาดูครับ มันเรียนในฟิสิกส์เด็ก ม.ปลาย) ด้วยความถี่ที่แปรผกผันกับระยะทางทำให้ การที่เครือข่ายจะทำให้ตัวเองครอบคลุมทั่วมากขึ้นก็คือการเพิ่ม เสา (Cell Site)
ปัญหาก็มาอีก คือยิ่งเพิ่มเสาเยอะก็ทำให้เกิด Operation Cost เยอะขึ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นวิธีการแก้ปัญหาง่าย ๆ อย่างหนึ่งคือการถือครองย่านความถี่ต่ำไว้สักหน่อย เพื่อให้เพิ่มพื้นที่ครอบคลุมได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
เพิ่มเติม ลืมเล่าไปว่าพวก Network พวกนี้เราเรียกมันว่า Cellular Network เพราะว่า เรามองว่าคลื่นที่ไปได้ใน 1 เสาคือ ช่อง ๆ นึง พอรวมกัน มันก็จะเป็น Grid เราเลยเรียก Network พวกนี้ว่า Cellular Network
ปีนี้ 2018 คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักคำว่า 4G กันแล้ว
4G ที่แท้จริงแล้วนั้นมันคืออะไรกันแน่ ? 🧐
คำว่า 4G จริง ๆ แล้วมันย่อมาจากคำว่า 4th Generation หรือรุ่นที่ 4 นั่นเอง แปลว่า ถ้ามีรุ่นที่ 4 มันก็จะต้องมีรุ่น 1, 2, 3 แน่นอน และแน่นอนอีกว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยผ่านยุคเหล่านั้นมาแล้วแน่นวล 🙀
Nokia Talkman
เริ่มต้นกันที่ยุคของ 1G หรือ 1st Generation กัน ในยุคนั้นการสื่อสารไร้สายยังคงอยู่ในรูปแบบ Analog (นึกภาพง่าย ๆ นึกถึงวิทยุบนรถ) ที่ส่งได้แค่เสียง หรือก็คือโทรคุยกันได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถส่งข้อความหรือเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้เลย 🗑
Frequency Division Multiple Access
แน่นอนว่าเราคงไม่ซื้อเครือข่ายนึงไว้ใช้คนเดียวแน่ ๆ ทำให้เราจะต้องมีเทคนิคในการทำให้คลื่นที่เรามีอยู่จำกัดใช้ได้หลายคนมากที่สุด เทคนิคที่ใช้ในตอนนั้นคือ Frequency Division Multiple Access หรือ FDMA มองภาพง่าย ๆ ว่า เครือข่ายหรือผู้ให้บริการ ถือคลื่นอยู่ก้อนนึง เช่น 20 MHz ก้อนนึง เราเปรียบเหมือนถนนเส้นนึงที่กว้าง 20m ก็ได้
แต่ถนนเส้นนี้มีข้อจำกัดของมันคือ ถนนเส้นนี้จะถูกวิ่งได้โดยรถของเจ้าของคนเดียวในเวลาเดียวกัน พอคนแรกใช้เสร็จคนต่อไปถึงจะเข้ามาใช้ต่อ FDMA คือแนวคิดที่เอาถนนเส้นใหญ่ ๆ ที่วิ่งได้ทีละคน ฉีกมันออกมาให้กลายเป็นหลาย ๆ เส้นเพื่อให้คนหลาย ๆ คนสามารถวิ่งหรือใช้งานเครือข่าย ณ ที่นั้น ๆ ได้พร้อมกันหลาย ๆ คนนั่นเอง
แต่ข้อจำกัดมันอยู่ที่ว่า เราไม่สามารถที่จะซอยถนนออกมาได้เยอะมาก ๆ แบบเป็นหลายร้อยได้ เพราะถ้าเราซอยของให้ออกมาจำนวนชิ้นมากขึ้นสิ่งที่จะตามมาคือ ของมันก็จะชิ้นเล็กลง นึกสภาพว่ามันคือถนน ถ้าเราบอกว่า เรามีถนนกว้าง 20 เมตร รถคันนึงกว้าง 1 เมตร ฉะนั้นความกว้างของถนนน้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้คือฉีกออกมาเส้นละ 1 เมตร ไม่ต้องพูดถึงน้อยกว่าเมตรเลย ไม่งั้นเราคงได้ตัดรถออกมาแล้ววิ่งไปทีละเสี้ยวแล้ว
แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่รถเรากว้าง 1 เมตร แล้วถนนเราซอยออกมาเส้นละ 1 เมตรก็คงวิ่งกันลำบาก เพราะต้องมานั่งกลัวว่า ฉันจะไปเฉียวใครมั้ย เสียวไปหมด ฉะนั้นถนนก็ควรจะแบ่งให้เกิน 1 เมตร เพื่อให้รถวิ่งสวนไปมาได้สะดวกมากขึ้น ในเชิงของการแบ่งสัญญาณเราเรียกสัญญาณที่เราแบ่งเกินมาว่า Guard Band นั่นเอง ตัวอย่างที่เราเห็นได้ง่ายที่สุดจากการใช้ Guard Band คือในวิทยุ เคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมเราถึงไม่มีช่อง FM 103.25 หรือ FM 105.14 แต่ทุกช่องดันเพิ่มขึ้นมาทีละ 5 เช่น 105.5, 95.5 สาเหตุก็มาจากการแบ่งเป็น Guard Band นี่ละ
ซึ่งเทคโนโลยี 1G ก็มีหลายตัวออกมาใช้กันทั่วโลก เช่น Advance Mobile Service (AMPS) ที่ใช้ใน US ส่วนในไทยตอนนั้นใช้เป็น Total Access Communication System (TACS) ที่วิ่งอยู่บนย่านความถี่ 900 MHz
Nokia 3310
มาในยุคของ 2G ก็มีการพัฒนาในเรื่องของการส่งข้อมูลจากส่งเป็น Analog ใน 1G มาใน 2G ก็เปลี่ยนไปใช้การส่งแบบ Digital แทน ข้อดีของมันคือ เรื่อง Security เพราะเราสามารถทำการเข้ารหัสสัญญาณได้ดีขึ้น (ถ้าเป็น Analog การเข้ารหัสสัญญาณนั้นทำได้ยากกว่า Digital เยอะ) อีกหนึ่งข้อดีคือเราสามารถส่งข้อมูลประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช้เสียงได้ SMS ที่ใช้ส่งข้อความ และ General Packet Radio Service (GPRS) ที่เป็นการรับส่ง Data ก็เกิดมาในยุคของ 2G นี่แหละ กับ Enhanced Data-rates for Global Evolution (EDGE) ที่ตามมาในยุค 2.5G
Time Division Multiple Access
เนื่องจาก FDMA ใน 1G ทำให้เราซอยคลื่นสัญญาณเพื่อให้คนใช้เป็นจำนวนมากทำได้ยาก ใน 2G จึงมาพร้อมกับสิ่งที่เรียกว่า Time Division Multiple Access หรือ TDMA ⏱ ที่จะไม่ได้ซอยคลื่นความถี่ละ มันมาซอยเวลาแทน ทำให้ถนนเส้นเดียวกันสามารถแบ่งกันวิ่งได้หลาย ๆ คนในเส้นเดียว แต่แค่ต้องแบ่งเวลาวิ่งเท่านั้น ทำให้รับผู้ใช้งานได้เป็นจำนวนที่มากกว่า FDMA
นอกจากนั้นการมาถึงของเทคโนโลยี 2G ทำให้เกิดมาตรฐานในการคุยกับเสา และวิธีการในการส่งข้อมูลระหว่างเสาที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น ทำให้เกิดระบบที่เรียกว่า Global System for Mobilization (GSM) ทำให้มือถือเครื่องเดียวสามารถเดินทางไปใช้ในหลาย ๆ ประเทศได้หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า Roaming
GSM System Architecture
อธิบายลงลึกเข้าไปอีก อันนี้ Geek Only ในระบบ GSM มันก็จะมีหน้าตาแบบภาพด้านบนเริ่มจากอุปกรณ์เช่นโทรศัพท์, Tablet อะไรก็ว่าไปจะเชื่อมต่อไปที่ Base Transceiver station หรือ BTS (จำว่าจะไปรถไปฟ้า 🚝) จากนั้น BTS ก็จะส่งข้อมูลไปที่ Base Station Controller หรือ BSC และแต่ละ BSC ก็จะเชื่อมต่อไปที่ Mobile Switching Centre หรือ MSC ที่มีหน้าที่เหมือนกับ Router ในการเปลี่ยนเส้นทางคู่สายต้นทางไปถึงปลายทาง นอกจากนั้น MSC ยังเชื่อมต่อกับ 4 Database นั่นคือ
ทีนี้ถามว่าแล้วเราจะเข้ารหัสสัญญาณได้อย่างไร การที่เราจะใช้งานเครือข่ายได้ เราก็ต้องมี SIM หรือเต็ม ๆ คือ Subscriber Identity Module คล้าย ๆ กับเราถือ Visa ในการใช้งานเครือข่าย ซึ่งใน SIM ก็จะมีข้อมูลหลายอย่างเช่น Personal Indentification Number หรือ PIN, PUK หรือ PIN Unblocking Key, Temporary Subscriber Identity หรือ TIMSI
และส่วนที่สำคัญมากคือ International Mobile Subscriber Identity หรือย่อ ๆ ว่า IMSI เพราะมันจะประกอบด้วยของ 3 อย่าง Mobile Country Code (MCC), Mobile Network Code (MNC) และ Mobile Subscriber Identity (MSIN) ความยาวทั้งหมดจะอยู่ที่ 128 Bits ที่เป็นการบอกว่า เรา Register อยู่ประเทศไหนผ่าน MCC, เครือข่ายอะไรผ่าน MNC และ ID อะไรผ่าน MSIN เพราะฉะนั้นการที่เรากดเบอร์โทรศัพท์ก็เหมือนกับเราใส่รหัสเพื่อให้เราสามารถเข้าถึงสายปลายทางได้นั่นเองงง
และแน่นอนว่าเทคโนโลยี 2G ก็มีอยู่หลายตัวด้วยกันเช่น Personal Digital Cellular (PDC) ที่ใช้ในญี่ปุ่น ถ้าในไทยก็จะเป็น Global System for Mobile (GSM) ที่อยู่บนย่านความถี่ 900 และ 1800 MHz
Code Division Multiple Access
มาในยุคของ 3G ที่ทำการแก้ไขปัญหาที่ว่า ถนนมันต้องแบ่งกันวิ่ง แต่เราอยากให้ถนนเส้นเดียว ทุกคนวิ่งอยู่พร้อม ๆ กันได้ เหมือนกับถนนทั่ว ๆ ไปในโลกแห่งความเป็นจริงที่ รถคันที่ 1 ไปสถานที่ A ก็วิ่งอยู่บนถนนเดียวกับรถคันที่ 2 ไปสถานที่ B ได้ Code Division Multiple Access (CDMA) จึงถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งดั่งเดิมของมันถูกนำมาใช้ในเชิงของการทหาร เพื่อป้องกันการถูกดักฟัง และอีกหนึ่งข้อดีของมันคือทนต่อคลื่นรบกวนค่อนข้างมาก
ซึ่งวิธีในการส่งสัญญาณจะไม่เหมือนกับ FDMA และ TDMA ที่เป็นการแบ่งย่านความถี่ และเวลากัน เพราะ CDMA จะใช้ลักษณะคล้าย ๆ กับการแปะป้ายว่าข้อมูลก้อนนี้มาจากไหน
คำเตือน Geek Only ไม่ใช่ Geek ลงไปอ่านข้างล่างต่อตรง Non-Geek Resume วิธีการทำงานของมันจะเริ่มต้นจาก ทุกคนจะมีข้อมูลชุดนึง เรียกว่า Shift Code จำนวนหลักก็จะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการจะตั้ง
Encoding Rule in CDMA ( '-' for slient)
เนื่องจากเรามี 3 สถานะในการส่งคือ ส่ง 1, ส่ง 0 และไม่ส่ง มันก็จะแทน +1 เป็นการส่ง 1 แทน 0 เป็นการไม่ส่ง และส่ง -1 เป็นการส่ง 0
CDMA Multiplexer
จากภากข้างบนเป็นตัวอย่างว่า เรามีอยู่ทั้งหมด 6 สถานี ทำให้เรามี Shift Code ทั้งหมด 6 ตัว ณ เวลานึงมี Station 1 ต้องการจะส่ง Bit 1 และ Station 2 ต้องการส่ง Bit 0 เราก็จะแปลงด้วยกฏที่พึ่งพูดถึง แล้วก็เอามาคูณกับ Shift Code ของแต่ละสถานี แล้วก็เอาผลลัพธ์จากทุกสถานีมาบวกกัน ก็เรียบร้อย มันก็เหมือนกับเราเอาข้อมูลมาแปะป้ายแสดงความเป็นเจ้าของแล้วจับมันอัดรวมกันลงกล่องแล้วส่ง
CDMA Demultiplexer
เมื่อฝั่งขารับต้องการจะถอดค่ากลับมาเป็น Bit เหมือนเดิมสิ่งที่ต้องมี Shift Code ของสถานีที่ต้องการ ก็จับค่าที่รับได้มาคูณกับ Shift Code ของสถานีนั้น ๆ เรียงตัวไป, จับบวกกันให้หมด, หารด้วยจำนวนสถานี (ในข้อนี้คือ 6) แล้วก็แปลงผ่าน Rule เราก็จะได้ Bit กลับมา ปกติก็เป็นอันเสร็จ ด้วยความงามของคณิตศาสตร์ตรงนี้ทำให้คนที่ไม่มี Shift Code ก็ไม่สามารถถอดสัญญาณที่เราไม่มี Shift Code ไม่ได้
Non-Geek Resume ซึ่งแน่นอนเหมือนกับ 1G และ 2G ที่ 3G ก็มีหลายเทคโนโลยีเช่นกัน เช่น CDMA2000 และ Universal Mobile Telecommunication
System หรือ UMTS
3GPP Logo
มาในยุคของ 4G ที่ต้องการความเร็วที่สูงขึ้น 3G ที่ตอนนั้นถือว่าเร็วก็ช้าไปเลยเมื่อเจอ 4G ต้นกำเนิดของมันมาจาก 3rd Generation Partnership Project หรือ 3GPP ได้พัฒนาเทคโนโลยีตัวนึงที่เร็วกว่า 3G ถึง 10 เท่า ซึ่งได้ถูกตั้งชื่อว่า Long Term Evolution หรือย่อว่า LTE ดั่งที่เรารู้จักกัน
เบื้องหลังของความเร็วในเทคโนโลยี 4G นั้นมาจากการใช้ Orthogonal Frequency Division Multiplexing หรือ OFDM ที่เป็นเทคนิคเดียวกับ WiFi (IEEE 802.11 a/g) ที่ถูกคิดจากนักวิจัยใน Bell Labs ในปี 1996 เพื่อทำให้สามารถรองรับการจราจรได้เป็นจำนวนมากขึ้น และยังรองรับการส่งข้อมูลความเร็วสูงมากขึ้นอีกด้วยถึง 100 Mbps Downlink และ 50 Mbps Uplink โดยใช้ความกว้างของสัญญาณอยู่ที่ 20 MHz และยังรองรับการใช้งาน Multiple-Input-Multiple-Output หรือ MIMO
Orthogonal Frequency Division Multiplexing
แนวคิดของ OFDM คือจับคลื่นมาซอยออกเป็นชิ้น ๆ เยอะ ๆ เรียกว่า Sub-Carrier ซึ่งแต่ละ Sub-Carrier ก็จะถูก Modulate โดย Modulation Scheme ต่าง ๆ แล้วแต่กำหนดเช่น ASK, FSK, PSK หรือ QAM (ขอไม่เล่าพวก ASK อะไรพวกนั้นนะ ไม่งั้นยาวว) แล้วจับแต่ละ Sub-Carrier มารวมกันเป็นคลื่นเดียวโดยอาศัยเทคนิค Fast Fourier Transform (FFT) ซึ่งจะขอไม่ลงลึกไปมากกว่านี้ก่อนที่จะพาไป Proof ที่มาของมัน
ในเวลาเดียวกันที่เทคโนโลยี LTE ออกมา Worldwide Interoperability for Microwave Access หรือ WiMax ที่เป็นลูกหลานของ CDMA2000 ก็ออกมาตามกัน ทำให้มี 2 เทคโนโลยีเกิดขึ้นมาในยุคของ 4G ซึ่งหลาย ๆ ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกก็ไปใช้ LTE กัน แต่ WiMax ก็ไม่ได้หายไปไหน เพราะมีอยู่อีกหลายประเทศเช่นกันที่นำ WiMax มาใช้ เช่นญี่ปุ่น
LTE-A Logo
ทีนี้เวลาผ่านไป ความเร็วมันก็ไม่เคยพอสักที LTE-Advanced หรือ LTE-A ก็ได้ออกมา หลัก ๆ ก็คือ LTE นี่แหละ แต่มีการเติมเรื่องของ Carrier Aggregation, MU-MIMO ที่โหดขึ้น และเริ่มใช้ Modulation Scheme ที่โหดขึ้นไปถึง 256-QAM (จาก LTE ปกติอยู่ที่ 64-QAM) เข้ามาทำให้ทำความเร็วสูงสุดได้มากขึ้นไปอีกถึง 1 Gbps บน Downlink และ 500 Mbps บน Uplink ในทางทฤษฏี (นอกจาก CA, MU-MIMO และ Modulation Scheme แล้ว LTE-A ยังมี Key Technologies อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกเช่น Coordinated Multipoint, LTE Relaying และ Device 2 Device)
256-QAM Constellation Mapping
Source: http://edadocs.software.keysight.com/display/ads2011/Mapper
อาจจะสงสัยกันว่า QAM คืออะไร ? มันย่อมาจาก Quadrature amplitude modulation คือ Modulation Scheme ตัวนึงพูดง่าย ๆ มันเป็นเทคนิคหนึ่งในการจับ 2 ข้อความมารวมกัน (Modulating) นึกภาพง่าย ๆ ว่ายิ่งเลขหน้า QAM เยอะยิ่งแปลว่าสามารถส่งข้อมูลได้เยอะกว่าเดิมเพราะ 1 Symbol สามารถแทนจำนวน Bit (0/1) ได้มากขึ้น เช่น 1 Symbol ใน 64-QAM ที่ใช้ใน LTE สามารถแทนได้ 6 Bits หรือ 256-QAM ที่ใช้ใน LTE-A ก็จะแทนได้ 8 Bits ทำให้เราสามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นไปอีก (ในเชิงทฤษฏีการใช้ 256-QAM ทำให้สามารถข้อมูลได้เร็วขึ้นประมาณ 30% เมื่อเทียบกับ 64-QAM)
ทีนี้ถามว่าในภาพมันคืออะไร ? ก่อนอื่นข้อให้มีภาพ Sine Wave อยู่ในหัวก่อน เริ่มต้นที่ 0 แล้วเหวี่ยงขึ้นไป 90 ไปเรื่อย ๆ ใช่ม่ะ อันนี้ก็เหมือนกัน จุดแต่ละจุดใน Constellation Map จะบอกว่า ถ้ามันเหวี่ยงไปองศานี้มันคือค่าก้อนนี้นะ อย่างในภาพคือ 256-QAM ดังนั้น 1 จุดนึงมันแทน 6 Bits ฉะนั้นเวลาส่งข้อมูลไปเป็น Analog ถ้า Wave เหวี่ยงไปที่ไหน ตัวอ่านก็จะเอามาเทียบกับ Map แล้วแปลค่าออกมาเป็น 6 Bit ตามที่เราเห็นใน Map
Carrier Aggregation หรือ CA คือการที่เราเอาย่านความถี่ หรือเรียกว่า Carrier หลาย ๆ ย่านมารวมกัน ต้องเล่าก่อนว่า ก่อนที่เราจะเอา CA มาใช้ การที่ผู้ให้บริการมี 1 คลื่นความถี่ขึ้นไปในเครือข่าย และ ณ เวลาและสถานที่หนึ่งที่มีผู้ใช้จำนวนน้อยมากก็อาจจะได้ใช้แค่ ย่านความถี่เดียว ทำให้ย่านที่เหลือก็ไม่ได้ใช้งาน จึงเกิดไอเดียที่ว่า
มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเราสามารถใช้งานย่านที่ไม่มีใครใช้มาใช้ด้วย
เช่นเราบอกว่าตอนนี้ Carrier A มีคนใช้อยู่ ในขณะที่ Carrier ที่เหลือโล่งเชียว CA เลยบอกว่า โอเค !! งั้นเราให้ทุกคนจับหลาย ๆ ย่านเลย แล้วแบ่งกันส่งข้อมูล ส่งผลให้เราสามารถทำความเร็วได้สูงขึ้นถึง 2-3 เท่าจาก LTE ปกติ เพราะเราหยิบย่านความถี่หลาย ๆ ย่านมาส่งข้อมูลพร้อม ๆ กันนั่นเอง
Operator | CA | Frequency | Bandwidth | Expire |
เคยสงสัยกันมั้ยว่า Filter ที่เราใช้เบลอภาพ ไม่ว่าจะเพื่อความสวยงาม หรืออะไรก็ตาม แท้จริงแล้ว มันทำงานอย่างไร วันนี้เราจะพาไปดูคณิตศาสตร์และเทคนิคเบื้องหลังกันว่า กว่าที่รูปภาพจะถูกเบลอได้ มันเกิดจากอะไร...
หลังจากดูงาน Google I/O 2024 ที่ผ่านมา เรามาสะดุดเรื่องของการใส่ Watermark ลงไปใน Content ที่ Generate จาก AI วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า วิธีการทำ Watermark ใน Content ทำอย่างไร...
ก่อนหน้านี้เราทำ Content เล่าความแตกต่างระหว่าง CPU, GPU และ NPU ทำให้เราเกิดคำถามขึ้นมาว่า เอาเข้าจริง เราจำเป็นต้องมี NPU อยู่ในตลาดจริง ๆ รึเปล่า หรือมันอาจจะเป็นแค่ Hardware ตัวนึงที่เข้ามาแล้วก็จากไปเท่านั้น วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...
บทความนี้ เราเขียนสำหรับมือใหม่ หรือคนที่ไม่ได้เรียนด้านนี้แต่อยากรู้ละกัน สำหรับวันนี้เรามาพูดถึงคำที่ถ้าเราทำงานกับพวก Developer เขาคุยกันบ่อย ๆ ใช้งานกันเยอะ ๆ อย่าง Database กันว่า มันคืออะไร ทำไมเราต้องใช้ และ เราจะมีตัวเลือกอะไรในการใช้งานบ้าง...