Technology

3-2-1 Backup คืออะไร ? ทำไมเราต้องใช้มัน ?

By Arnon Puitrakul - 04 สิงหาคม 2022

3-2-1 Backup คืออะไร ? ทำไมเราต้องใช้มัน ?

เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ทุกวันนี้เราเก็บข้อมูลเยอะมาก ๆ ตั้งแต่ข้อมูลส่วนตัวจนไปถึงข้อมูลที่เป็นงานต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าเราเก็บไว้ข้อมูลนั้นก็ย่อมสำคัญแน่นอน เรื่องนึงที่เกิดขึ้นเมื่อเราเก็บข้อมูลคือ ข้อมูลหาย ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ หนึ่งในวิธีจะป้องกันเรื่องนี้คือ การสำรองช้อมูล หรือ Backup นั่นเอง วันนี้เราจะเอาหลักการนึงในการ Backup ข้อมูลมาเล่ากันนั่นคือ 3-2-1 Backup

การสำรองข้อมูล เหมือนการทำประกัน

เราจะบอกเสมอว่า การสำรองข้อมูล ไม่ต่างจากการทำประกันเลย เพราะ เป็นของที่เราไม่อยากใช้ แต่ถ้าเราไม่มี เราก็จะแตก เหมือนกับ ประกันรถเลย วันที่ประกันหมด รถชนเลย ไม่รู้เป็นอะไรกัน เจอเยอะมาก อุ๊ย ลืมต่อประกันวันเดียว อ้าวชนเฉย แบบนั้นเลย

ในแง่ของข้อมูลเอง ถ้าเรามาดูกันว่า การที่ข้อมูลมันจะหาย มันเกิดจากอะไรได้บ้าง เราขอแบ่งเป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ ด้วยกัน คือฝั่งของ Software และ Hardware

ฝั่ง Software เป็นสาเหตุที่เกิดจาก โปรแกรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมที่มีจุดประสงค์ดี และ ไม่ดีเองก็ตาม เช่น เราบอกว่า เราโดน Ransomware โจมตี ทำให้ข้อมูลของเราโดนเข้ารหัสไปหมด หรือจะเป็นเรื่องพวก Filesystem มีปัญหา ทำให้ชิบหายได้เหมือนกัน

และอีกส่วนที่เราว่า น่าจะเจอกันเยอะ ๆ คือ Hardware เช่น Hardware มันเกิดเสียขึ้นมา อย่าง Harddisk ที่เราใช้งานเยอะมาก ๆ พวกนี้มันก็จะไม่ชอบแรงสั่นสะเทือนมาก ๆ เลยละ บางครั้ง เราทำ External HDD ตก นี่คือ ใจตกไปถึงตาตุ่มแล้ว หรือบางครั้งไฟกระชากอะไรพวกนี้ ก็ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้เช่นกัน

เหตุการณ์พวกนี้เป็นเรื่องที่เราไม่อยากให้เกิดแน่นอน และเราไม่รู้ด้วยว่า มันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้นมันเป็นเรื่องดีที่เราจะทำการ Backup ตลอดเวลา เพื่อให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น เราจะได้เรียกคืนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และ ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับตอนที่ข้อมูลหายมากที่สุด

3-2-1 Backup

งั้นเรามาที่เรื่องของเราในวันนี้กันดีกว่า กับ 3-2-1 Backup ที่ไม่เกี่ยวกับวง 3.2.1 แต่อย่างใด ถ้าเข้าใจต้องอายุเท่าไหร่แล้วเนี่ย เข้ ! นอกเรื่องไปละ

เข้าเรื่องกันดีกว่า 3-2-1 Backup มี 3 เลข เราพูดถึงเลขแรกก่อนคือเลข 3 หมายถึง เราควรมี Backup อยู่ทั้งหมด 3 ชุดด้วยกัน ถามว่า เออ การมี Backup มากขึ้น ทำให้เราลดโอกาสในการเสียข้อมูลมากขึ้นได้อย่างไร คิดง่าย ๆ จาก Counting Rule เลย ถ้าเรามี 1 Copy ก็เสียแล้วเสียเลย แต่ถ้าเรามี 2 Copies โอกาสที่เราจะเสียข้อมูลทั้งหมดคือ เราจะต้องเสียทั้ง 2 Copies เลย ดังนั้นโอกาสจะลดจาก 100% เป็น 50% ดังนั้นเมื่อเราเพิ่มจำนวน Copy ไปเรื่อย ๆ เราก็จะลดโอกาสที่เราจะเสียข้อมูลลงไปเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน

แต่ ๆๆๆๆๆ ในโลกแห่งความเป็นจริง เราเก็บข้อมูลลงไปในสื่อสำหรับเก็บข้อมูลบางอย่าง เช่น Flash Drive, External HDD และ NAS ของเราเอง ถึงเราจะมี Copy กี่ชุดก็ตาม ถ้าเราเก็บไว้ในที่เดียวกันทั้งหมดเลย นั่นแปลว่า เราเอาข้อมูลทั้งหมดของเราไปลงกับความเสี่ยงในที่เดียว เหมือนกับจำนวน Copy เลย ถ้าเกิดที่เก็บข้อมูลตรงนั้นมันเกิดเสียขึ้นมา ก็คือจบเลยเหมือนกัน ทำให้ เลข 2 เราพูดถึง เราควรมี 2 Copies ที่เก็บอยู่บนคนละสื่อกันเช่น 1 Copy เราเก็บบนเครื่องสำหรับทำงานของเราเลย และ อีก 1 Copy เราอาจจะเก็บไว้ใน External HDD แยกออกไป

และท้ายที่สุด ถ้าเกิดอะไรขึ้นจริง ๆ เราหมายถึง เคสที่แย่ที่สุด เช่น ที่ ๆ เราเก็บข้อมูลอยู่ไฟไหม้ทั้งหมดเลย นั่นหมายถึง ถ้าเราเก็บข้อมูลทั้งหมดในที่เดียวเลย นั่นก็เป็นความเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้น ทำให้ 1 ในตัวสุดท้ายเลยหมายถึงการที่เราควรจะมีอย่างน้อย 1 Copy เก็บอยู่อีกสถานที่ เราเรียกว่า Off-Site Backup เช่น เราบอกว่า บริษัทเรามีสาขาอยู่ เราอาจจะเก็บข้อมูล 2 ชุดแรกไว้ที่สาขา และ อีกชุดไว้ที่สำนักงานใหญ่ก็ได้เหมือนกัน หรือบางครั้ง Offsite อาจจะหมายถึงการใช้ Cloud ก็ได้เหมือนกัน สำหรับบริษัทที่อาจจะยังไม่อยากลงทุนใน Infrastructure

3-2-1 Backup ไม่ใช่พ่อทุกสถาบัน

จากที่อ่านมา อาจจะคิดว่าวิธีที่เราเอามาเล่าในวันนี้คือ สุด ๆ ของการ Backup แต่เราจะบอกว่า จริง ๆ แล้วมันก็ไม่ซะทีเดียว แต่มันเป็นวิธีที่และง่ายที่สุดที่จะเริ่มต้นละกัน เมื่อเราได้ลองใช้ดู เราอาจจะค่อย ๆ ปรับวิธีไปเรื่อย ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานของเราให้มากที่สุดจะดีกว่ามาก ๆ เพื่อให้เราใช้งานได้ง่ายขึ้น ลดภาระในการจัดการ และ ลดเงินในการจัดการไปได้อีกหน่อย

สรุป

3-2-1 Backup หมายถึงการที่เราควรจะมีทั้งหมด 3 Copies ของข้อมูลเรา โดยที่ 2 ตัวแรก เราอาจจะเก็บไว้ที่เดียวกันแต่คนละที่เก็บกัน และอีก 1 สำหรับ Off-Site ด้วยวิธีทำให้เราสามารถสำรองข้อมูลได้มีประสิทธิภาพ ลดโอกาสที่ข้อมูลจะสูญหายได้ค่อนข้างมาก และอีกเรื่องที่อยากจะให้ระลึกไว้เสมอคือ การสำรองข้อมูล เหมือนการซื้อประกัน มันเป็นของที่เราไม่อยากใช้ แต่ถ้าไม่ทำ เดี๋ยวจะไม่เหลืออะไรเลย

Read Next...

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

หูฟัง Noise Cancelling อาจมีดีกว่าแค่ตัดเสียง

ปัจจุบันหูฟังที่มีระบบ Noise Cancelling มีมากขึ้นเรื่อย ๆ หลาย ๆ คนอาจจะมองแค่ว่า มันทำให้เราสามารถฟังเสียงโดยมีเสียงรบกวนที่น้อยลง เพิ่มอรรถรสในการฟังได้ แต่จริง ๆ แล้วมันมีข้อดีมากกว่านั้นมาก ๆ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีข้อดีอะไรอีกบ้าง...

สำรองข้อมูลไว้ก่อนจะสายด้วย Time Machine

สำรองข้อมูลไว้ก่อนจะสายด้วย Time Machine

การสำรองข้อมูลเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันข้อมูลของเราเอง วันนี้เราจะมาแนะนำเครื่องมือสำหรับการสำรองข้อมูลที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ อย่าง Time Machine กัน...

Disk Defragment ของเก่าจากอดีต ทำไมปัจจุบันเราไม่ต้องใช้แล้ว

Disk Defragment ของเก่าจากอดีต ทำไมปัจจุบันเราไม่ต้องใช้แล้ว

หลายวันก่อน นอน ๆ อยู่ก็นึกถึงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สมัยก่อนขึ้นมา หนึ่งในสิ่งที่คนบอกว่าเป็นวิธีการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นคือการทำ Disk Defragment มันทำให้เครื่องเร็วขึ้นอย่างที่เขาว่าจริงมั้ย แล้วทำไมปัจจุบันมันมีเทคโนโลยีอะไรเข้ามาช่วย ทำให้เราถึงไม่ต้องทำแล้ว...

เมื่อ Intel กำลังทิ้ง Hyper-threading มันจะดีจริง ๆ เหรอ

เมื่อ Intel กำลังทิ้ง Hyper-threading มันจะดีจริง ๆ เหรอ

เชื่อหรือไม่ว่า Intel กำลังจะทิ้งสุดยอด Technology อย่าง Hyperthreading ใน CPU Generation ใหม่อย่าง Arrow Lake ทำให้เกิดคำถามว่า การที่ Intel ทำแบบนี้เป็นเรื่องดีหรือไม่ และเราที่เป็นผู้ใช้จะได้หรือเสียจาก CPU ใหม่ของ Intel ตัวนี้...