By Arnon Puitrakul - 04 สิงหาคม 2022
เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ทุกวันนี้เราเก็บข้อมูลเยอะมาก ๆ ตั้งแต่ข้อมูลส่วนตัวจนไปถึงข้อมูลที่เป็นงานต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าเราเก็บไว้ข้อมูลนั้นก็ย่อมสำคัญแน่นอน เรื่องนึงที่เกิดขึ้นเมื่อเราเก็บข้อมูลคือ ข้อมูลหาย ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ หนึ่งในวิธีจะป้องกันเรื่องนี้คือ การสำรองช้อมูล หรือ Backup นั่นเอง วันนี้เราจะเอาหลักการนึงในการ Backup ข้อมูลมาเล่ากันนั่นคือ 3-2-1 Backup
เราจะบอกเสมอว่า การสำรองข้อมูล ไม่ต่างจากการทำประกันเลย เพราะ เป็นของที่เราไม่อยากใช้ แต่ถ้าเราไม่มี เราก็จะแตก เหมือนกับ ประกันรถเลย วันที่ประกันหมด รถชนเลย ไม่รู้เป็นอะไรกัน เจอเยอะมาก อุ๊ย ลืมต่อประกันวันเดียว อ้าวชนเฉย แบบนั้นเลย
ในแง่ของข้อมูลเอง ถ้าเรามาดูกันว่า การที่ข้อมูลมันจะหาย มันเกิดจากอะไรได้บ้าง เราขอแบ่งเป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ ด้วยกัน คือฝั่งของ Software และ Hardware
ฝั่ง Software เป็นสาเหตุที่เกิดจาก โปรแกรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมที่มีจุดประสงค์ดี และ ไม่ดีเองก็ตาม เช่น เราบอกว่า เราโดน Ransomware โจมตี ทำให้ข้อมูลของเราโดนเข้ารหัสไปหมด หรือจะเป็นเรื่องพวก Filesystem มีปัญหา ทำให้ชิบหายได้เหมือนกัน
และอีกส่วนที่เราว่า น่าจะเจอกันเยอะ ๆ คือ Hardware เช่น Hardware มันเกิดเสียขึ้นมา อย่าง Harddisk ที่เราใช้งานเยอะมาก ๆ พวกนี้มันก็จะไม่ชอบแรงสั่นสะเทือนมาก ๆ เลยละ บางครั้ง เราทำ External HDD ตก นี่คือ ใจตกไปถึงตาตุ่มแล้ว หรือบางครั้งไฟกระชากอะไรพวกนี้ ก็ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้เช่นกัน
เหตุการณ์พวกนี้เป็นเรื่องที่เราไม่อยากให้เกิดแน่นอน และเราไม่รู้ด้วยว่า มันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้นมันเป็นเรื่องดีที่เราจะทำการ Backup ตลอดเวลา เพื่อให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น เราจะได้เรียกคืนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และ ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับตอนที่ข้อมูลหายมากที่สุด
งั้นเรามาที่เรื่องของเราในวันนี้กันดีกว่า กับ 3-2-1 Backup ที่ไม่เกี่ยวกับวง 3.2.1 แต่อย่างใด ถ้าเข้าใจต้องอายุเท่าไหร่แล้วเนี่ย เข้ ! นอกเรื่องไปละ
เข้าเรื่องกันดีกว่า 3-2-1 Backup มี 3 เลข เราพูดถึงเลขแรกก่อนคือเลข 3 หมายถึง เราควรมี Backup อยู่ทั้งหมด 3 ชุดด้วยกัน ถามว่า เออ การมี Backup มากขึ้น ทำให้เราลดโอกาสในการเสียข้อมูลมากขึ้นได้อย่างไร คิดง่าย ๆ จาก Counting Rule เลย ถ้าเรามี 1 Copy ก็เสียแล้วเสียเลย แต่ถ้าเรามี 2 Copies โอกาสที่เราจะเสียข้อมูลทั้งหมดคือ เราจะต้องเสียทั้ง 2 Copies เลย ดังนั้นโอกาสจะลดจาก 100% เป็น 50% ดังนั้นเมื่อเราเพิ่มจำนวน Copy ไปเรื่อย ๆ เราก็จะลดโอกาสที่เราจะเสียข้อมูลลงไปเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน
แต่ ๆๆๆๆๆ ในโลกแห่งความเป็นจริง เราเก็บข้อมูลลงไปในสื่อสำหรับเก็บข้อมูลบางอย่าง เช่น Flash Drive, External HDD และ NAS ของเราเอง ถึงเราจะมี Copy กี่ชุดก็ตาม ถ้าเราเก็บไว้ในที่เดียวกันทั้งหมดเลย นั่นแปลว่า เราเอาข้อมูลทั้งหมดของเราไปลงกับความเสี่ยงในที่เดียว เหมือนกับจำนวน Copy เลย ถ้าเกิดที่เก็บข้อมูลตรงนั้นมันเกิดเสียขึ้นมา ก็คือจบเลยเหมือนกัน ทำให้ เลข 2 เราพูดถึง เราควรมี 2 Copies ที่เก็บอยู่บนคนละสื่อกันเช่น 1 Copy เราเก็บบนเครื่องสำหรับทำงานของเราเลย และ อีก 1 Copy เราอาจจะเก็บไว้ใน External HDD แยกออกไป
และท้ายที่สุด ถ้าเกิดอะไรขึ้นจริง ๆ เราหมายถึง เคสที่แย่ที่สุด เช่น ที่ ๆ เราเก็บข้อมูลอยู่ไฟไหม้ทั้งหมดเลย นั่นหมายถึง ถ้าเราเก็บข้อมูลทั้งหมดในที่เดียวเลย นั่นก็เป็นความเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้น ทำให้ 1 ในตัวสุดท้ายเลยหมายถึงการที่เราควรจะมีอย่างน้อย 1 Copy เก็บอยู่อีกสถานที่ เราเรียกว่า Off-Site Backup เช่น เราบอกว่า บริษัทเรามีสาขาอยู่ เราอาจจะเก็บข้อมูล 2 ชุดแรกไว้ที่สาขา และ อีกชุดไว้ที่สำนักงานใหญ่ก็ได้เหมือนกัน หรือบางครั้ง Offsite อาจจะหมายถึงการใช้ Cloud ก็ได้เหมือนกัน สำหรับบริษัทที่อาจจะยังไม่อยากลงทุนใน Infrastructure
จากที่อ่านมา อาจจะคิดว่าวิธีที่เราเอามาเล่าในวันนี้คือ สุด ๆ ของการ Backup แต่เราจะบอกว่า จริง ๆ แล้วมันก็ไม่ซะทีเดียว แต่มันเป็นวิธีที่และง่ายที่สุดที่จะเริ่มต้นละกัน เมื่อเราได้ลองใช้ดู เราอาจจะค่อย ๆ ปรับวิธีไปเรื่อย ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานของเราให้มากที่สุดจะดีกว่ามาก ๆ เพื่อให้เราใช้งานได้ง่ายขึ้น ลดภาระในการจัดการ และ ลดเงินในการจัดการไปได้อีกหน่อย
3-2-1 Backup หมายถึงการที่เราควรจะมีทั้งหมด 3 Copies ของข้อมูลเรา โดยที่ 2 ตัวแรก เราอาจจะเก็บไว้ที่เดียวกันแต่คนละที่เก็บกัน และอีก 1 สำหรับ Off-Site ด้วยวิธีทำให้เราสามารถสำรองข้อมูลได้มีประสิทธิภาพ ลดโอกาสที่ข้อมูลจะสูญหายได้ค่อนข้างมาก และอีกเรื่องที่อยากจะให้ระลึกไว้เสมอคือ การสำรองข้อมูล เหมือนการซื้อประกัน มันเป็นของที่เราไม่อยากใช้ แต่ถ้าไม่ทำ เดี๋ยวจะไม่เหลืออะไรเลย
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...
จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...