Technology

M1, M1 Pro, M1 Max และ M1 Ultra ต่างกันอย่างไร เอาแบบ Non-Tech รู้เรื่อง

By Arnon Puitrakul - 06 พฤษภาคม 2022

M1, M1 Pro, M1 Max และ M1 Ultra ต่างกันอย่างไร เอาแบบ Non-Tech รู้เรื่อง

ตั้งแต่ Nov 2020 ที่ผ่านมา Apple ก็ได้เปิดตัวเจ้า Chip M1 ออกมา พร้อมกับแผนการ Transform ไปใช้ Apple Silicon ให้หมด ภายใน 2 ปี ถ้านับมา ณ วันที่เขียนคือเดือน Apr 2022 ก็เรียกได้ว่ามาถึงเกือบ 2 ปีกันแล้ว อีก 8 เดือนจะครบอยู่แล้ว Apple ก็ได้แตก Line ของ M1 ออกมาตั้งแต่ M1, M1 Pro, M1 Max และล่าสุดอย่าง M1 Ultra วันนี้เราจะพาไปดูความแตกต่างของ SoC ทั้ง 4 ตัวนี้กันว่ามันแตกต่างกันอย่างไรกัน

ปล. วันนี้เราจะเน้นไปที่ความแตกต่างที่ตัว SoC เน้น ๆ เลยนะ ไม่ได้ไปนับเรื่องของอุปกรณ์ที่ออกมา ไม่ได้ไปนับเรื่อง Port บนเครื่องอะไรเลย เอา SoC ล้วน ๆ

Segmentation

ก่อนเราจะไปเรื่องที่ลึก ๆ หน่อย เราขอเริ่มจาก Segmentation กันก่อน หรือ มันถูกสร้างมาเพื่อใครละกันง่าย ๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เรายอมรับเลยว่า Apple ทำได้ค่อนข้างชัดเจนมาก ๆ ในยุคหลังมา

Macbook Air M1

โดยเริ่มจาก M1 มันถูกออกแบบมาให้เน้นในเรื่องของการประหยัดพลังงานมาก ๆ แบบ มากจนตกใจเลย อย่างใน Macbook Air M1 ที่เราเคยรีวิวไปก่อนหน้านั่นก็เรียกว่า 2 วันชาร์จทีเลย แต่ยังให้ Performance ที่ล้ำหน้ามาก ๆ ลื่นปรืดเลย ทำให้มันจะไปเหมาะกับคนที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป เช่นงานเอกสาร งานอีเมล์ เรียนออนไลน์ และการประชุมต่าง ๆ เราว่าถ้าทำงานแค่นั้น แล้วเลือก M1 คือ ทั้งประหยัดเงิน ประหยัดไฟ และใช้งานได้ลื่นปรืดดดดดด

Studio Setup

แต่ในส่วนของตัวที่เหลืออย่าง M1 Pro, M1 Ultra และ M1 Max มันจะออกแบบมาให้มี Performance หรือประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่า M1 ปกติเยอะมาก ๆ ทำให้มันจะไปเหมาะกับสายที่ทำงานจริงจัง ใช้ Performance ของเครื่องออกมาเยอะมาก ๆ เช่น สายตัดต่อวีดีโอ อันนี้ได้เต็ม ๆ หรือจะเป็นพวกงาน 3D และ Visual Effect ต่าง ๆ รวมไปถึงงานอย่างฝั่งเราเอง ก็คือพวก Programming และ AI ต่าง ๆ ก็จะได้ประโยชน์ด้วย ทำให้สุดท้ายแล้วพวกนี้มันจะไปเน้นเรื่อง Performance มากกว่า การประหยัดพลังงาน ซึ่งมันก็จะตรงข้ามกับ M1 โดยสิ้นเชิงเลย

CPU Core

มาเข้าในตัวสเปกและความต่างของแต่ละตัวดีกว่า เรื่องแรกคือ CPU Core อันนี้จะค่อนข้างต่างพอสมควรในแต่ละตัวเลยก็ว่าได้

CPU Core Job Assignment

ตัว CPU Core ถ้าเปรียบเทียบง่าย ๆ จะเหมือนกับ คนที่มาทำงานให้เรา ยิ่งเรามีงานเยอะ งานเราก็จะยิ่งเสร็จไวขึ้น แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่างานของเรานั้นทำได้คนเดียวหรือหลายคน ถ้าทำได้คนเดียว มีเยอะไปคนที่เหลือก็จะยืนนิ่ง แต่เราก็ยังต้องจ่ายค่าข้าวให้มันอยู่ หรือก็คือพลังงานในโลกของคอมพิวเตอร์นั่นเอง อาจจะไม่ได้จ่ายเยอะเท่าตอนมันทำงาน แต่ก็ต้องจ่ายอยู่ดี และใน SoC ของ Apple เองก็ออกแบบมาให้เจ๋งกว่านั้นอีกคือมี Performance Core เปรียบเหมือนหนุ่มล่ำบึก แข็งแกร่งทำงานแรงมาก แต่กินข้าวเยอะมาก และ Efficiency Core ที่อาจจะไม่ได้ล่ำเท่าไหร่ เน้นงานเบา ๆ แต่กินข้าวน้อยมาก ๆ ซึ่งเครื่องมันก็จะต้องแบ่งงานออกไปตามประเภทของงานนั่นเอง

M1 CPU Core Configuration

อย่างที่บอกว่า M1 เขาไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้กับงานหนักหน่วงอย่างการตัดวีดีโอ 8K หรือการ Render Video ความยาว 20 ชั่วโมงอะไรแบบนั้น แต่เน้นเรื่องของการประหยัดพลังงานมากกว่า ทำให้ใน M1 ก็จะมาพร้อมกับ 4 Core ทั้งฝั่ง Efficiency และ Performance Core เรียกได้ว่าครึ่ง ๆ ไปเลย ซึ่งงานที่ทำเบา ๆ ส่วนใหญ่ อย่างการเขียนอีเมล์ การเข้าเว็บต่าง ๆ ก็เรียกได้ว่าเป็นงานเบา ๆ สำหรับ Efficiency Core เลย ทำให้ Apple เลือกที่จะใส่มาให้เยอะเป็นพิเศษบน M1 ปกติ ทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างราบลื่น โดยที่ยังกินพลังงานไม่เยอะ

M1 Pro and Max CPU Core Configuration

แต่พอมาในรุ่นที่สูงขึ้นอย่าง M1 Pro และ M1 Max ชื่อก็บอกเลยว่า Pro ดังนั้นมันออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานระดับ Professional ทำให้งานส่วนใหญ่ที่จะเอามาโหลดในเครื่องจะเป็นงานที่หนักละ พวก Efficiency Core ทำงานไม่ทันแน่นอน ทำให้ Apple เลือกที่จะเปลี่ยน Configuration ใหม่ละ จากเดิม 50-50 ระหว่าง Efficiency และ Performance Core เป็น 20-80 แทน ทำให้ใน M1 Pro และ Max มี 2 Efficiency Core และ 8 Performance Core จุก ๆ ไปเลยทำให้เรื่องการกินพลังงานแน่นอนว่าสู้ M1 เฉย ๆ ไม่ได้แต่แลกมากับ Performance ที่แรงมาก ๆ พร้อมรบกับงานได้สารพัดแน่นอน

M1 Ultra CPU Core Configuration

สุดท้ายตัวเหี้ยมสุด ๆ ที่พึ่งเปิดตัว (ณ วันที่เขียน) คือ M1 Ultra เราจะชอบเรียกว่า 8x เพราะมันเหมือนเอา M1 ต่อกัน 8 ตัวเลย แต่ Apple บอกว่าจริง ๆ มันคือ M1 Max ต่อกัน 2 ตัว ทำให้ใน CPU ใน M1 Ultra ก็เรียกว่า คูณ 2 ไปเลย คือมาพร้อมกับ 4 Efficiency Core และ 16 Performance Core กันเลยทีเดียว ทำให้รับโหลดของงานใหญ่ ๆ ได้อลังการงานสร้างมาก ๆ ระดับ Workstation กันแล้วมั้งนั่น

โดยสรุป M1 ที่มีจำนวน Core น้อยที่สุด และมี Efficiency Core เยอะสุด ก็ทำให้มันประหยัดพลังงานมาก ๆ ในขณะที่ รุ่นพี่มันอย่าง M1 Pro และ Max ก็จะมีจำนวน และ Configuration ของ Core ที่แตกต่างออกไปเน้น Performance ซะเยอะกว่า ทำให้ด้อยเรื่องของการประหยัดพลังงานไปเมื่อเทียบกับ M1 และ M1 Ultra ง่าย ๆ คือเอา M1 Max 2 ตัวต่อกัน ความแรง ถ้าเอา Ideal Scale ก็คือ คูณ 2 จาก M1 Max นั่นเอง (แต่ความจริง เป็นไปได้ยากมาก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ)

Memory

มาถึงอีกส่วนกันบ้างอย่าง Memory เราไม่สามารถเรียกว่า RAM ได้เต็ม ๆ ปากเท่าไหร่ เอาตามที่ Apple เรียกละกันคือ Unified Memory ก็คือเป็นเหมือน Memory ขนาดใหญ่เลย ที่ทั้ง CPU และ GPU จะใช้งานร่วมกัน การมี Memory ชุดนี้ที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เราสามารถเปิดโปรแกรม หรือทำงานขนาดใหญ่ขึ้นได้

Unified Memory Architecture

ข้อดีที่ทำให้ Unified Memory เหนือมาก ๆ คือ เมื่อเราทำงานประมวลผลพวก Graphic ต่าง ๆ ข้อมูลจะต้องวิ่งจาก Primary Memory หรือ RAM ในเครื่องเรา ไปที่ CPU แล้วส่งให้ GPU ไปเก็บใน Memory ของมันแล้วค่อยทำงาน แต่ Unified Memory ตัดวงจรพวกนี้ไปเลย ด้วยการสร้าง Pool ของ Memory ขึ้นมา ก็ตัดเรื่อง Copy ส่งไปมาเลย มันก็แค่ไปสะกิด GPU ว่าข้อมูลพร้อมแล้วดึงไปใช้ได้เลย ทำให้ลดเวลาไปได้เยอะ ส่งผลเรื่องความเร็วมหาศาล และ ทำให้เครื่องสามารถกำหนดขนาดของ GPU Memory และ Primary Memory ได้อย่างยืดหยุ่นตามการใช้งานได้เลย

โดยคนทั่ว ๆ ไป เรามองว่า ถ้าเราทำงานเบา ๆ อย่างการเปิดเว็บ ดูเอกสารอะไรพวกนั้น 8 GB ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว ส่วนมากกว่านั้น เราแนะนำสำหรับคนที่ทำงานจริงจังขึ้นหน่อย ก็กดสัก 16 GB และ ถ้าเราทำงานที่ขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกเช่นตัดวีดีโอ 6K แล้วทำ Effect ซ้อน ๆ เข้าไปอีก หรือทำรูปแบบ 100 MP เลย พวกนี้ ก็อาจจะค่อย ๆ ขยับขึ้นไปตามสเกลของงานละกัน มันจะเริ่มเฉพาะทางขึ้นเรื่อย ๆ

และอีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ Memory Bandwidth หรือความเร็วของ Memory ที่จะทำให้การเข้าถึง และ การเขียนทำได้เร็วขึ้น ส่งผลถึงการทำงานโดยเฉพาะงานที่ใช้ Memory เยอะ ๆ ทำได้รวดเร็วขึ้นมาก โดยปกติ ถ้าเราไปซื้อ RAM กับเครื่องทั่ว ๆ ไป เราก็อาจจะเจอ DDR4 หรือตอนนี้ก็ต้อง DDR5 แล้ว Bus นั่นแหละคือความเร็วของมัน

ในตัว M1 เนื่องจากมันใช้งานปกติเลย ทำให้มันไม่ได้ต้องการความจุที่ใหญ่โตอะไร และ ความเร็วสูงอะไร โดยจะเริ่มต้นที่ขนาด 8 - 16 GB เท่านั้น และเร็วอยู่ที่ 4,266 MHz ถ้าเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป RAM เร็วเท่านี้ก็มีขายนะ ถ้า ณ ตอนที่เขียน 16 GB เราว่าน่าจะ 8,000 กว่าบาทได้เลย ถามว่าเร็วมั้ย เร็วนะเมื่อเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปในท้องตลาด และเร็วมาก ๆ เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ในราคาใกล้ ๆ กัน แต่เรามองว่า มัน ช้า เมื่อเราบอกว่า GPU จะต้องใช้ Memory ตรงนี้ด้วย เพราะ GPU ส่วนใหญ่ตอนนี้ เราก็จะใช้เป็นพวก GDDR5 ซึ่งมันเร็วอยู่แล้วละ แต่ถ้ามองว่ามันออกแบบมาให้เราใช้งานทั่ว ๆ ไป เราว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาอะไรเลย มันเอาอยู่แน่นอน เราใช้งานมาจริง ๆ หนัก ๆ ก็เอาอยู่สบาย ๆ เลยละ ถือว่าเร็วเกินตัวมาก ๆ

แต่ถ้าเราอยากได้ขนาดของ Memory ที่เยอะกว่านี้ ก็ต้องไปเล่นพวกตัวที่สูงกว่านี้หน่อย อย่างใน M1 Pro มันก็จะรองรับ Unified Memory ขนาดสูงสุดถึง 32 GB ไปเลย โดยที่มี Bandwidth ถึง 200 GB/s หรือถ้าเราโดดไป M1 Max เลย มันจะรับสุดที่ขนาด 64 GB และ Bandwidth 400 GB/s ถือว่าเร็วมาก ๆ เลยนะ โดยเฉพาะในแง่ของ CPU เอง ทำให้มันสามารถโหลดและทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่ได้เร็วจนน่าตกใจเลยละ กับไปให้สุดเลยคือ M1 Ultra ก็กดไปถึงขนาด 128 GB และ Bandwidth ที่ 800 GB/s โหดชิบหายเลยละ

GPU

ส่วนของ GPU หรือส่วนที่ใช้ในการประมวลผลพวก Graphic ตั้งแต่พวก Animation ที่เราเห็นตอนเราขยับ หรือเปิดโปรแกรม จนไปถึงการทำงาน Graphic หนัก ๆ อย่างการทำ 3D, ตัดต่อวีดีโอ เป็นต้น ในแต่ละตัวก็จะมีความแตกต่างกันอยู่ สิ่งที่เหมือนกันคือพวก Clock อะไรต่าง ๆ น่าจะใกล้ ๆ กันแหละ แต่จำนวน Core มันไม่เท่ากันมากกว่า ดังนั้น อันนี้เราสามารถดูได้ที่จำนวน Core ตรง ๆ เบื้องต้นเลยก็ได้ ถ้าเอาง่าย ๆ คือ จำนวน Core เยอะยิ่งทำงานได้เร็วขึ้น

ในตัว M1 ปกติ ก็จะมาพร้อมกับ GPU จำนวน 7 และ 8 Core ขึ้นกับที่เราซื้อเลย ถามว่า เพียงพอกับการใช้งานทั่ว ๆ ไปมั้ย พอ นะ แบบใช้งานได้ลื่น ๆ แล้ว ถ้าเราไม่ได้ตัดวีดีโอ 6K แล้ว Colour Grading หรือใส่ Effect ทับหนัก ๆ หรือเราทำงานพวก Machine Learning หนัก ๆ เราว่าเพียงพอกับความต้องการเลย

แต่สำหรับคนที่ทำงานหนักขึ้นมาหน่อย การขยับไป M1 Pro ก็น่าสนใจ เพราะมันมาพร้อมกับ GPU 14 และ 16 Core ไปเลย ก็เรียกว่า 2 เท่าของ M1 ปกติขึ้นไปอีก และ 24 กับ 32 Core สำหรับ M1 Max หรือสุด ๆ ๆ เลย ก็ M1 Ultra สุดที่ 64 Core ไปเลย เรียกว่า รองรับงานขนาดใหญ่ ๆ ได้สบายเลย

ถ้าเราบอกว่า อ้าว งี้ ยิ่งซื้อเร็วยิ่งดีสิ จริง ๆ จะบอกว่า ไม่จริง เพราะถ้า GPU Core เราเยอะขึ้น นั่นหมายความว่า การใช้พลังงานจะสูงขึ้นด้วย นั่นส่งผลไปในเรื่องของ Battery ที่สั้นลง เพราะต้องเอาไฟมาจ่าย เหมือนกับ CPU เลยคือ ไม่ใช้ก็ต้องให้ข้าวมันอยู่ดี แค่ให้น้อยลง และทำให้เกิดความร้อนมากขึ้นอีก

Co-Processors

M1 Co-Processors

มาที่ความดีงามของพวก SoC บ้าง ที่มันเป็นการรวมกันของ Chip หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกัน ทำให้ Apple สามารถใส่พวก Chip ที่ทำงานเฉพาะทาง ที่กินพลังงานน้อยกว่า และ เร็วกว่าหลายเท่าตัวลงมาได้เลย ต่างจากพวก CPU ที่เก่งหลายด้านมาก ๆ แต่ช้า และกินพลังงานเยอะกว่าเมื่อเทียบกับพวก Chip ที่ทำงานเฉพาะทาง พวก Chip ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลเฉพาะเรื่อง ๆ ไปเราเรียกพวกนี้ว่า Co-Processor

โดยใน M1 ทั้งหลาย มันจะมีหลายตัวมาก ๆ แต่มันก็จะสเปกเท่ากันหมด พวก Chip สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลอะไรแบบบนั้น มันก็เหมือนกันหมด เราจะพูดถึงตัวที่ต่างกันดีกว่า ตัวแรกคือ Neural Engine

Neural Engine เป็น Co-Processor ตัวนึงที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลพวก Vector ต่าง ๆ หรือก็คืองานพวก Mechine Learning โดยเฉพาะ Deep Learning โดยเฉพาะเลย ซึ่งใน M1, M1 Pro และ M1 Max ก็จะมาพร้อมกับ Neural Engine ทั้งหมด 16-Core ด้วยกัน พวกโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้ Neural Engine ก็จะได้ประโยชน์จากการใส่มาเต็ม ๆ เลยละ ส่วน M1 Ultra อย่างที่บอกเลย 2 เท่าของ M1 Max ทำให้มี Neural Engine ถึง 32 Core อันนี้อย่างบ้าเลย โหดมาก ๆ ถ้าอนาคต Apple ออก Library สำหรับ Tensorflow คือ เร็วแรงส์ทะลุอเวจีไปเลยจ้าาา

M1 Pro & Max Media Encoder

แต่อีกตัวนึงที่ทำให้ M1 Pro ขึ้นไปน่าสนใจขึ้นมาเลยทีเดียว โดยเฉพาะกับสายงานตัดต่อวีดีโอแบบ Professional เลยคือ ProRes Encoder/Decoder ที่มันจะเป็นรูปแบบของวีดีโอที่ใช้ในงานระดับ Pro เขาใช้กันเลย ทำให้การทำงานมันเร็วขึ้นแบบเยอะมาก ๆ เรียกว่าหายไปเกินครึ่งของเครื่องใหญ่ ๆ รุ่นก่อนหน้าเลย และรองรับการเล่นพร้อม ๆ กันได้เยอะมาก ๆ ขนาดเทียบกับ Mac Pro ที่ใส่ Afterburner แล้วนะ มันโหดมาก ๆ

โดยที่ M1 Pro จะมาพร้อมกับ Video Encoder/Decoder จำนวน 1 ชุด, 2 ชุดสำหรับ M1 Max และ 4 สำหรับ M1 Ultra ลื่นปรืดดดดเลยละ แต่สำหรับ M1 ปกติ เขาจะมากับ Video Encoder/Decoder เหมือนกัน แต่จะเป็นแค่ Format แบบ H.264 และ HEVC ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอยู่แล้วบ้าน ๆ เราไม่ได้ใช้ ProRes อยู่แล้ว ใส่มาก็ไม่ต่างอะไรอยู่ดี

ส่วน Co-Processor อื่น ๆ ในทั้ง M1 เลยก็จะเหมือนกันหมด พวกการเข้ารหัสข้อมูล การจัดการอะไรต่าง ๆ อาจจะเหมือนหรือคล้ายกันเลยละ ไม่มีผลต่อการใช้งานอะไรอย่างใดเลย ไม่ต้องกลัว

สรุป : เราควรเลือกตัวไหนดี ?

M1 Family

มาถึงบทสรุป และ คำถามที่สำคัญกันแล้วว่า เราควรจะเลือกใช้งานตัวไหนดี ก่อนอื่น เราต้องบอกเลยว่า ลบภาพเก่า ๆ ออกไปว่า คอมยิ่งแรงยิ่งดี มันไม่จริงเสมอไปเลยนะ เช่น เราบอกว่า เราใช้งานทั่ว ๆ ไป พิมพ์เอกสาร แล้วซื้อ M1 Max มาแล้วหวังว่ามันจะทำงานเอกสารเร็วขึ้น อันนี้ มโน คิดไปเองขร๊ะ ตอแหล สุด ๆ พักวางถุงกาวลงก่อนนะ ในตระกูล M1 พวกนี้เราแนะนำให้ซื้อแค่เพียงพอกับการใช้งานเท่านั้นพอ ไม่ต้องไปหาทำซื้ออะไรที่มันเกินตัวเลย นอกจากจะเสียเงินเยอะแล้ว ก็ยังกินพลังงานเยอะ ทำให้ระยะเวลาในการใช้งาน Battery สั้นลงด้วย ไม่ Practical เท่าไหร่

ในการทำงานทั่ว ๆ ไป พวกงานเอกสาร เข้าเว็บ Video Conference และการตัดต่อวีดีโอเบา ๆ แบบ Vlog หรือ Youtube Video เล็ก ๆ อะไรพวกนั้น เราแนะนำว่า M1 ตัวปกติก็พอแล้ว ประหยัดไฟ แบตใช้ได้นาน และ เบาด้วย

แต่ถ้าเราบอกว่า ไม่ได้แล้ว งานเราใช้สเปกเยอะหน่อย อาจจะเป็น Programmer ที่ต้อง Compile โปรแกรมใหญ่ ๆ ทุก ๆ วัน หรือพวก สาย Video ที่ต้องตัด 4K แล้ว Colour Grading ใส่ Effect เยอะหน่อยอาจจะโดดไป M1 Pro ก็ได้อีก แต่ถ้าเราบอกว่า งานเราตัดพวก 8K เลย เราแนะนำไปเล่น M1 Max จะสบายตัวกว่าเยอะ และ ถ้างานเราคืออลังการงานสร้างมาก ๆ เครื่องเก่ารัน Mac Pro เครื่องใหญ่ ๆ แล้วช้า มาลอง M1 Ultra เลย แมร่งเร็วชิบหาย

แต่สำหรับคนที่ใช้งาน CPU เยอะ ๆ เลย แนะนำเล่นแค่ M1 Pro พอ อย่าไป M1 Max เพราะ CPU เท่านั้นเป๊ะเลย ไม่ต่างกันเลย ต่างแค่ GPU เท่านั้น ไม่งั้นต้องไปเล่น M1 Ultra เลย ที่ CPU จะคูณ 2 ไปเลย

เอาจริง ! พวก M1 แพงจริงเหรอ ?

เราเห็นคนออกมาบอกเยอะนะว่า เหยย M1 Ultra บน Mac Studio หรือ M1 Max บน Macbook Pro แพงมาก ๆ เลย เอาจริงถามว่ามันแพงจริงเหรอ ส่วนตัวเรามองว่า คนที่มองว่ามันแพงคือ งานที่เขาทำมันไม่ถึงขั้นจริง ๆ นะ เอาอย่าง M1 Max เลยละกัน มันต้องทำงานระดับที่เรียกว่า Time-Sensitive หรืองานใหญ่มาก ๆ เลยนะ เช่น การ Export รูปสัก 1,000 รูป แล้วต้องใช้เดี๋ยวนั้น หรือระดับตัดวีดีโอทุกวัน คนที่ทำงานพวกนี้เอาจริง ๆ แสนเดียว คือถูกมาก ๆ เพราะทำไม่กี่งานเขาคืนทุนแล้ว

ดังนั้นจริง ๆ แล้วพวกอุปกรณ์การทำงานพวกนี้อะ มันจะถูกหรือแพงจริง ๆ มันมาจากว่า เราจะหาเงินมาคืนทุนเร็วแค่ไหนดีกว่า สำหรับเราเอง เราก็มองว่ามันโคตรถูกเลย ด้วยสเปกขนาดนี้ ซื้อเวลาได้มหาศาล เอาเวลาไปหาเงินได้อีกเยอะ

Read Next...

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...