Technology

มหกรรมแห่ง USB เดี๋ยวมาตรฐานนั่นนี่ ! เต็มไปหมด

By Arnon Puitrakul - 08 สิงหาคม 2022

มหกรรมแห่ง USB เดี๋ยวมาตรฐานนั่นนี่ ! เต็มไปหมด

USB น่าจะเป็นช่องสำหรับการเชื่อมต่อที่เป็นที่นิยมสูงมาก ๆ เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็ใช้ USB เป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น อุปกรณ์สำหรับการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ อย่าง External HDD และ USB จนไปถึงพวก อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเครื่องดนตรีก็เสียบได้เหมือนกัน เรียกได้ว่า เราใช้งานมันเยอะมาก ๆ

แต่ปัญหานึงของ USB ที่เราเจอกันรัว ๆ คือ เอ๊ะ สรุปแล้ว หัวอันนี้ ช่องเสียบนี้มันรองรับความเร็วเท่าไหร่กันบ้าง บางครั้งเราต้องการที่จะเสียบอุปกรณ์ที่ต้องการ Bandwidth สูง ๆ เช่นพวก External SSD ความเร็วสูง ๆ เสียบเข้าไปเท่านั้นแหละ อ้าว ทำไมวิ่งแค่นี้เอง ยังไม่นับเรื่องการจ่ายไฟอีก วันนี้เลยเราจะมาดูกันว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า อันไหนรองรับเท่าไหร่ยังไง

เราจะต้องแยกออกเป็น 3 เรื่องก่อนนะ คือ มาตรฐานการเชื่อมต่อ,  การจ่ายไฟ และ Form Factor

มาตรฐานการเชื่อมต่อ

มาที่ขาแรกกันก่อนคือมาตรฐานการเชื่อมต่อ โดยทั่ว ๆ ไป เราจะพูดถึง USB2.0, 3.0, 3.1, 3.2 และ Version ล่าสุดคือ 4

ตัวมาตรฐานตรงนี้จะพูดถึงความเร็วสูงสุดที่เป็นไปได้ โดยยิ่ง Version ใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะมีความเร็วสูงสุดในการเชื่อมต่อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน เช่น USB2.0 จะมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 480 Mbps เท่านั้นแต่พอการมาถึงอย่าง USB3.0 ที่ไปได้ถึง 5 Gbps เหรือเอาจริง ๆ 10 เท่าเลยนะ ตอนนั้นมันเลยเหมือนเป็น Game Changer เลย แบบ เมื่อก่อนเสียบ External HDD ได้ความเร็วน้อยมาก ๆ จนเครื่องรองรับ USB 3.0 คือเหมือนโลกใหม่เลย

จนตอนนี้เรามาถึง USB 4.0 กันไปแล้ว ที่เรียกว่าได้ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงมาก ๆ เท่ากับ Thunderbolt 4 ที่เป็น Port การเชื่อมต่อความเร็วสูง ๆ ไปแล้วถึง 40 Gbps กันไปเลยทีเดียว ทำให้มันสามารถที่จะรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ต้องการ Bandwidth สูง ๆ อย่าง External SSD ที่ไส้เป็น NVMe PCIe 4.0 ได้สบาย ๆ เลย ซึ่ง ณ วันที่เขียน USB 4.0 ยังถือว่าใหม่มาก ๆ และอุปกรณ์ที่รองรับยังไม่เยอะเท่าไหร่ ตัวอย่างอุปกรณ์ที่รองรับแล้วแน่ ๆ ก็คือพวก Macbook Pro 14 และ 16 นิ้วพวกนี้เป็น USB4.0 หมดเลย

การจ่ายไฟ

โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ถ้าเราเจอ USB ปกติเลย มันจะจ่ายไฟให้เราได้อยู่ที่ 5V/500mA หรือถ้าเราคิดเป็นกำลังก็จะอยู่ที่ 1.25W เท่านั้นเองเรียกได้ว่า จ่ายไฟชาร์จอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์ยังเหนื่อยเลย แต่เดี๋ยวนี้ด้วยอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อกินไฟมากขึ้นเลยทำให้บาง USB อาจจะรองรับการจ่ายไฟได้ถึง 5V/2100mA หรือ 10.5W ไปเลย ซึ่งถือว่าเยอะมาก ๆ แล้วสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก ๆ

อ่านแล้วจะเอ๊ะว่า อ้าว แล้วที่เราเห็น ๆ เราเสียบชาร์จไม่ว่าจะเป็นพวก Laptop หรือโทรศัพท์เราผ่านสาย USB-C ละ นั่นมันคืออะไร พอมันมีอุปกรณ์ที่ต้องการไฟกำลังสูง ๆ เลยทำให้เกิดมาตรฐานที่เรียกว่า USB-PD หรือ USB Power Delivery ขึ้นมา ซึ่งพวกนี้มันสามารถจ่ายไฟตามมาตรฐานสูงสุดได้ที่ 20V/5A หรือ 100W ไปเลย แน่นอนว่าไฟขนาดนี้ เราสามารถชาร์จได้ยัน Laptop เครื่องใหญ่ ๆ ได้เลย เช่น Macbook Pro 14-inch ที่กดไป 96W ได้เลย แต่ลองสังเกตมั้ยว่า ถ้าอุปกรณ์ไหนที่รองรับ USB-PD มันจะไม่มีแบบไหนเลยที่เป็นหัว USB-A ดังนั้น ทำให้เราจำง่าย ๆ เลยว่า USB-A ไม่มีทางจ่ายไฟสูง ๆ ได้แน่นอน ทำให้เราไม่สามารถที่จะชาร์จไฟกำลังสูง ๆ กับอุปกรณ์ได้นั่นเอง แต่กลับกัน หัว USB-C ก็ไม่ใช่ทุกหัวที่จะชาร์จกำลังสูง ๆ ได้ ก็ต้องรองรับ USB-PD ด้วยเช่นกัน

Form Factor

เรื่องสุดท้ายคือ Form Factor หรือหน้าตาของมัน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว หน้าตาของ USB เราจะมีอยู่ทั้งหมด 3 แบบใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ Type A, Type B และ Type C ง่าย ๆ แบบนี้เลย

เริ่มจาก Type A กันก่อน มันก็คือ อันหัวใหญ่ที่เราใช้งานกันทั่วไปนี่แหละ กับพวกอุปกรณ์อย่างเมาส์ และ Keyboard ที่เราใช้กัน โดยที่เขาก็จะมี Standard อยู่ว่า ถ้าเป็น USB3.0 ขึ้นไปที่แง่งภายในหัวมันจะเป็นสีน้ำเงิน แต่เอาจริง ๆ เลยนะ หลายเจ้าก็มีแบบ กวนประสาทด้วยการ เออ เราไม่อยากใช้สีน้ำเงินอะ เราอยากใช้สีอื่น เลยทำให้มันปวดหัวเข้าไปใหญ่

หรือบางเจ้าบอกว่า เรามีหัวที่มันจ่ายไฟตลอดเลยนะ แม้แต่เครื่องจะปิดอยู่ พวก Power Port ทั้งหลาย เราเคยเห็นอยู่ตามพวก Mainboard และ Laptop บางรุ่น นั่นก็จะใช้เป็นสีเหลืองอีก เอาเข้าไป ! บอกเลยว่า ปวดหัวสุด ๆ

ส่วน Type B เราอาจจะไม่ค่อยได้เจอเยอะเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ที่เราจะได้เจอคือ จากพวก Printer ต่าง ๆ หรืออย่างบ้านเราเองใช้ UPS ของ APC รุ่นสูง ๆ หน่อยมันจะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อสั่งให้มันปิดเครื่องเมื่อ UPS ใกล้จะหมดได้

และ Type C ที่กำลังเริ่มจะได้รับความนิยมสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เป็นหัวเล็ก ๆ นี่แหละ ที่สำคัญคือ เสียบจากด้านไหนก็ได้ด้วย อันนี้ชอบเลยนะ เพราะก่อนหน้านี้เราใช้ USB มา ถ้าเราเสียผิดด้าน มันก็จะเสียบไม่ได้เลย อันนี้คือเพิ่มความสะดวกให้เราเยอะโคตร ๆ เลยทีเดียว

โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ใหม่ ๆ ณ ตอนนี้ก็มูฟออนไปที่ USB-C ค่อนข้างเยอะมากแล้วละ เพราะทั้งใช้งานได้ง่ายจากการเสียบด้านไหนก็ได้ รองรับการเชื่อมต่อความเร็วสูงกว่า และ จ่ายไฟได้มากกว่าใน Form Factor เดียวกันได้เลย

ทั้งสาย และ หัว ต้องไปด้วยกัน

inChargeX with Omega X

ถึงเราจะดูจากภายนอก เราจะเห็นว่า เออ มันเป็น USB-C และรองรับ USB-PD นะ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกอันจะจ่ายไฟได้ที่ 100W ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างอันนี้แสบ ๆ เลยคือ ตอนที่เราทดสอบการชาร์จของ Macbook Pro 14-inch ที่เราใช้สาย InCharge X Max และตอนนั้นเราก็ใช้กับ Adapter ที่รองรับ 100W ด้วย แต่มันดันได้แค่ 67W เท่านั้น

แต่พอเราลองเอาสาย USB-C ของ Apple เองไปเสียบ มันดันไปได้ถึง 90W ไปเลย ซึ่งเป็นกำลังไฟสูงสุดที่ Macbook Pro 14-inch จะรองรับได้แล้ว ดังนั้นเราจะบอกว่า ถึงสายมันจะหน้าตาเหมือนจะรองรับได้ แต่เอาเข้าจริง มันเกิดมาไม่เท่ากันซะทีเดียว

ดังนั้น เราเลยจะบอกว่า บางที การที่มันหน้าตาเหมือนกัน เช่นการเป็น USB-C มันก็อาจจะไม่ได้รองรับมาตรฐาน ทั้งความเร็ว และ การจ่ายไฟที่ได้สูงอย่างที่เราคิด ทำให้เวลาเราจะไปซื้อสายอะไรพวกนั้น เราอาจจะต้องดูรีวิว และ ทดลองด้วยตัวเองด้วยจะดีมาก

สรุป

เรื่องของ USB เราว่าเป็นเรื่องพิศวงมาก ๆ เพราะมาตรฐานมันค่อนข้างที่จะเยอะ และเพราะความที่มันรองรับ Backward Compatibility ด้วยที่ทำให้เราสามารถใช้งานกับ USB Version ก่อน ๆ ได้หมด มันเลยทำให้มันก็มีปัญหาในเรื่องของการเชื่อมต่อที่แอบปวดหัวมาก ๆ ว่า เอ๊ะ อันไหนมันรับได้ขนาดไหนนะ หน้าตาเหมือนจะได้ แต่มันก็ไม่ได้ คือ งง ไปหมดเลย

Read Next...

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...

LLM จะเข้ามาทำให้เราเลิกใช้ Search Engine ได้จริงเหรอ ?

LLM จะเข้ามาทำให้เราเลิกใช้ Search Engine ได้จริงเหรอ ?

เมื่อหลายวันก่อน เราเลื่อนเฟสไปเจอความเห็นนึงที่อ่านแล้วถึงกับต้องขยี้ตาอ่านซ้ำบอกว่า ให้เราลองถาม ChatGPT ดูแล้วเราจะไม่กลับไปหา Google อีกเลย มันเป็นแบบนั้นได้จริงหรือไม่ วันนี้เราจะมาอธิบายในแง่หลักการทำงานของมัน และความเป็นไปได้กันว่า มันเป็นไปได้จริงหรือไม่อย่างไร...

ซื้อ NAS สำเร็จรูปหรือจะประกอบเครื่องเองเลยดี

ซื้อ NAS สำเร็จรูปหรือจะประกอบเครื่องเองเลยดี

ในปัจจุบันเราพึ่งพาการเก็บข้อมูลต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับบางคนมากจนไม่สามารถเก็บได้ในเครื่องของเราอีกแล้ว ทำให้อาจจะต้องมองหาระบบจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ เข้ามาใช้งาน หนึ่งในนั้นคือการใช้ NAS หลายคนมีคำถามว่า แล้วเราควรจะเลือกซื้อ NAS สำเร็จรูป หรือ DIY ดี...