Technology

มหกรรมแห่ง USB เดี๋ยวมาตรฐานนั่นนี่ ! เต็มไปหมด

By Arnon Puitrakul - 08 สิงหาคม 2022

มหกรรมแห่ง USB เดี๋ยวมาตรฐานนั่นนี่ ! เต็มไปหมด

USB น่าจะเป็นช่องสำหรับการเชื่อมต่อที่เป็นที่นิยมสูงมาก ๆ เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็ใช้ USB เป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น อุปกรณ์สำหรับการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ อย่าง External HDD และ USB จนไปถึงพวก อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเครื่องดนตรีก็เสียบได้เหมือนกัน เรียกได้ว่า เราใช้งานมันเยอะมาก ๆ

แต่ปัญหานึงของ USB ที่เราเจอกันรัว ๆ คือ เอ๊ะ สรุปแล้ว หัวอันนี้ ช่องเสียบนี้มันรองรับความเร็วเท่าไหร่กันบ้าง บางครั้งเราต้องการที่จะเสียบอุปกรณ์ที่ต้องการ Bandwidth สูง ๆ เช่นพวก External SSD ความเร็วสูง ๆ เสียบเข้าไปเท่านั้นแหละ อ้าว ทำไมวิ่งแค่นี้เอง ยังไม่นับเรื่องการจ่ายไฟอีก วันนี้เลยเราจะมาดูกันว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า อันไหนรองรับเท่าไหร่ยังไง

เราจะต้องแยกออกเป็น 3 เรื่องก่อนนะ คือ มาตรฐานการเชื่อมต่อ,  การจ่ายไฟ และ Form Factor

มาตรฐานการเชื่อมต่อ

มาที่ขาแรกกันก่อนคือมาตรฐานการเชื่อมต่อ โดยทั่ว ๆ ไป เราจะพูดถึง USB2.0, 3.0, 3.1, 3.2 และ Version ล่าสุดคือ 4

ตัวมาตรฐานตรงนี้จะพูดถึงความเร็วสูงสุดที่เป็นไปได้ โดยยิ่ง Version ใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะมีความเร็วสูงสุดในการเชื่อมต่อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน เช่น USB2.0 จะมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 480 Mbps เท่านั้นแต่พอการมาถึงอย่าง USB3.0 ที่ไปได้ถึง 5 Gbps เหรือเอาจริง ๆ 10 เท่าเลยนะ ตอนนั้นมันเลยเหมือนเป็น Game Changer เลย แบบ เมื่อก่อนเสียบ External HDD ได้ความเร็วน้อยมาก ๆ จนเครื่องรองรับ USB 3.0 คือเหมือนโลกใหม่เลย

จนตอนนี้เรามาถึง USB 4.0 กันไปแล้ว ที่เรียกว่าได้ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงมาก ๆ เท่ากับ Thunderbolt 4 ที่เป็น Port การเชื่อมต่อความเร็วสูง ๆ ไปแล้วถึง 40 Gbps กันไปเลยทีเดียว ทำให้มันสามารถที่จะรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ต้องการ Bandwidth สูง ๆ อย่าง External SSD ที่ไส้เป็น NVMe PCIe 4.0 ได้สบาย ๆ เลย ซึ่ง ณ วันที่เขียน USB 4.0 ยังถือว่าใหม่มาก ๆ และอุปกรณ์ที่รองรับยังไม่เยอะเท่าไหร่ ตัวอย่างอุปกรณ์ที่รองรับแล้วแน่ ๆ ก็คือพวก Macbook Pro 14 และ 16 นิ้วพวกนี้เป็น USB4.0 หมดเลย

การจ่ายไฟ

โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ถ้าเราเจอ USB ปกติเลย มันจะจ่ายไฟให้เราได้อยู่ที่ 5V/500mA หรือถ้าเราคิดเป็นกำลังก็จะอยู่ที่ 1.25W เท่านั้นเองเรียกได้ว่า จ่ายไฟชาร์จอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์ยังเหนื่อยเลย แต่เดี๋ยวนี้ด้วยอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อกินไฟมากขึ้นเลยทำให้บาง USB อาจจะรองรับการจ่ายไฟได้ถึง 5V/2100mA หรือ 10.5W ไปเลย ซึ่งถือว่าเยอะมาก ๆ แล้วสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก ๆ

อ่านแล้วจะเอ๊ะว่า อ้าว แล้วที่เราเห็น ๆ เราเสียบชาร์จไม่ว่าจะเป็นพวก Laptop หรือโทรศัพท์เราผ่านสาย USB-C ละ นั่นมันคืออะไร พอมันมีอุปกรณ์ที่ต้องการไฟกำลังสูง ๆ เลยทำให้เกิดมาตรฐานที่เรียกว่า USB-PD หรือ USB Power Delivery ขึ้นมา ซึ่งพวกนี้มันสามารถจ่ายไฟตามมาตรฐานสูงสุดได้ที่ 20V/5A หรือ 100W ไปเลย แน่นอนว่าไฟขนาดนี้ เราสามารถชาร์จได้ยัน Laptop เครื่องใหญ่ ๆ ได้เลย เช่น Macbook Pro 14-inch ที่กดไป 96W ได้เลย แต่ลองสังเกตมั้ยว่า ถ้าอุปกรณ์ไหนที่รองรับ USB-PD มันจะไม่มีแบบไหนเลยที่เป็นหัว USB-A ดังนั้น ทำให้เราจำง่าย ๆ เลยว่า USB-A ไม่มีทางจ่ายไฟสูง ๆ ได้แน่นอน ทำให้เราไม่สามารถที่จะชาร์จไฟกำลังสูง ๆ กับอุปกรณ์ได้นั่นเอง แต่กลับกัน หัว USB-C ก็ไม่ใช่ทุกหัวที่จะชาร์จกำลังสูง ๆ ได้ ก็ต้องรองรับ USB-PD ด้วยเช่นกัน

Form Factor

เรื่องสุดท้ายคือ Form Factor หรือหน้าตาของมัน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว หน้าตาของ USB เราจะมีอยู่ทั้งหมด 3 แบบใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ Type A, Type B และ Type C ง่าย ๆ แบบนี้เลย

เริ่มจาก Type A กันก่อน มันก็คือ อันหัวใหญ่ที่เราใช้งานกันทั่วไปนี่แหละ กับพวกอุปกรณ์อย่างเมาส์ และ Keyboard ที่เราใช้กัน โดยที่เขาก็จะมี Standard อยู่ว่า ถ้าเป็น USB3.0 ขึ้นไปที่แง่งภายในหัวมันจะเป็นสีน้ำเงิน แต่เอาจริง ๆ เลยนะ หลายเจ้าก็มีแบบ กวนประสาทด้วยการ เออ เราไม่อยากใช้สีน้ำเงินอะ เราอยากใช้สีอื่น เลยทำให้มันปวดหัวเข้าไปใหญ่

หรือบางเจ้าบอกว่า เรามีหัวที่มันจ่ายไฟตลอดเลยนะ แม้แต่เครื่องจะปิดอยู่ พวก Power Port ทั้งหลาย เราเคยเห็นอยู่ตามพวก Mainboard และ Laptop บางรุ่น นั่นก็จะใช้เป็นสีเหลืองอีก เอาเข้าไป ! บอกเลยว่า ปวดหัวสุด ๆ

ส่วน Type B เราอาจจะไม่ค่อยได้เจอเยอะเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ที่เราจะได้เจอคือ จากพวก Printer ต่าง ๆ หรืออย่างบ้านเราเองใช้ UPS ของ APC รุ่นสูง ๆ หน่อยมันจะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อสั่งให้มันปิดเครื่องเมื่อ UPS ใกล้จะหมดได้

และ Type C ที่กำลังเริ่มจะได้รับความนิยมสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เป็นหัวเล็ก ๆ นี่แหละ ที่สำคัญคือ เสียบจากด้านไหนก็ได้ด้วย อันนี้ชอบเลยนะ เพราะก่อนหน้านี้เราใช้ USB มา ถ้าเราเสียผิดด้าน มันก็จะเสียบไม่ได้เลย อันนี้คือเพิ่มความสะดวกให้เราเยอะโคตร ๆ เลยทีเดียว

โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ใหม่ ๆ ณ ตอนนี้ก็มูฟออนไปที่ USB-C ค่อนข้างเยอะมากแล้วละ เพราะทั้งใช้งานได้ง่ายจากการเสียบด้านไหนก็ได้ รองรับการเชื่อมต่อความเร็วสูงกว่า และ จ่ายไฟได้มากกว่าใน Form Factor เดียวกันได้เลย

ทั้งสาย และ หัว ต้องไปด้วยกัน

inChargeX with Omega X

ถึงเราจะดูจากภายนอก เราจะเห็นว่า เออ มันเป็น USB-C และรองรับ USB-PD นะ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกอันจะจ่ายไฟได้ที่ 100W ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างอันนี้แสบ ๆ เลยคือ ตอนที่เราทดสอบการชาร์จของ Macbook Pro 14-inch ที่เราใช้สาย InCharge X Max และตอนนั้นเราก็ใช้กับ Adapter ที่รองรับ 100W ด้วย แต่มันดันได้แค่ 67W เท่านั้น

แต่พอเราลองเอาสาย USB-C ของ Apple เองไปเสียบ มันดันไปได้ถึง 90W ไปเลย ซึ่งเป็นกำลังไฟสูงสุดที่ Macbook Pro 14-inch จะรองรับได้แล้ว ดังนั้นเราจะบอกว่า ถึงสายมันจะหน้าตาเหมือนจะรองรับได้ แต่เอาเข้าจริง มันเกิดมาไม่เท่ากันซะทีเดียว

ดังนั้น เราเลยจะบอกว่า บางที การที่มันหน้าตาเหมือนกัน เช่นการเป็น USB-C มันก็อาจจะไม่ได้รองรับมาตรฐาน ทั้งความเร็ว และ การจ่ายไฟที่ได้สูงอย่างที่เราคิด ทำให้เวลาเราจะไปซื้อสายอะไรพวกนั้น เราอาจจะต้องดูรีวิว และ ทดลองด้วยตัวเองด้วยจะดีมาก

สรุป

เรื่องของ USB เราว่าเป็นเรื่องพิศวงมาก ๆ เพราะมาตรฐานมันค่อนข้างที่จะเยอะ และเพราะความที่มันรองรับ Backward Compatibility ด้วยที่ทำให้เราสามารถใช้งานกับ USB Version ก่อน ๆ ได้หมด มันเลยทำให้มันก็มีปัญหาในเรื่องของการเชื่อมต่อที่แอบปวดหัวมาก ๆ ว่า เอ๊ะ อันไหนมันรับได้ขนาดไหนนะ หน้าตาเหมือนจะได้ แต่มันก็ไม่ได้ คือ งง ไปหมดเลย

Read Next...

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...