Technology

Single Gateway กับนโยบายเศรฐกิจ ดิจิตอล งงมั้ยล่ะ

By Arnon Puitrakul - 25 กันยายน 2015

Single Gateway กับนโยบายเศรฐกิจ ดิจิตอล งงมั้ยล่ะ

เชื่อว่าหลายๆ คนตอนนี้น่าจะได้ข่าวกันมาบ้างแล้วล่ะ ว่ารัฐบาลผู้น่ารักของเราได้พยายามพลักดันให้มีการจัดตั้ง "เกตเวย์แห่งชาติ" หรือเราเราเรียกกันอย่างน่ารักมุ้งมิ้งว่า Single Gateway ซึ่งก็มีหลายๆ คนก็ได้ให้ความคิดเห็นกันอย่างมากมายในโลก Social ทั้งด้านลบ และด้านบวก ว่ากันไป วันนี้เราจะมาดูกันว่ามันคืออะไร และ มันมีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง ถ้าประเทศอันน่าอยู่ของเราทำมันขึ้นมา

Gateway มันคืออะไร?

ลองนึกภาพนะครับ ว่าถ้าเราจะเดินทางออกนอกประเทศ เราจะต้องไปไหน?
เราก็ต้องไปสนามบินใช่มั้ยครับ นั่นแหละคือ Gateway ในโลกแห่งความเป็นจริง ทีนี้มาที่ฝั่งคอมพิวเตอร์กันบ้าง สมมุติว่าเราเปิดเว็บ Facebook.com ที่เราเปิดกันทุกวัน ก่อนอื่นคำขอเว็บของเราก็จะถูกส่งจากเครื่องของเราไปที่ ISP (Internet Service Provider) หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน เช่น True, Dtac, 3BB อะไรก็ว่ากันไปในแต่ล่ะเจ้า
หลังจากผ่าน ISP แล้วมันจะถูกส่งต่อไปที่ Gateway เพื่อที่จะเดินทางออกนอกประเทศไปยัง สิงคโปร์ (เพราะ Server ของ Facebook ที่ใกล้เราที่สุดอยู่ สิงคโปร์) จากนั้นมันก็จะผ่านเข้าไปยัง Gateway ของประเทศ สิงคโปร์ และสุดท้ายก็ไปถึงที่ Server ของ Facebook นั่นเอง
ถ้ายัง งง อยู่ว่า Gateway คืออะไร ให้เรานึกถึงสนามบิน เพราะมันคือช่องทางการผ่านเข้าออกของข้อมูล อันมหาศาลเลยล่ะ ในปัจจุบันในประเทศไทยเรามีข้อมูลวิ่งเข้า ออก ผ่าน Gateway ของประเทศเราอยู่ประมาณเกือบ 240 GB ต่อวินาที และยังมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย
ในปัจจุบันประเทศของเราก็ไม่น้อยหน้าใครในสามโลก เพราะเรามี Gateway เพื่อรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตอยู่ 10 Gateway ด้วยกัน

ซึ่งทั้ง 10 Gateway ก็จะช่วยกันส่งข้อมูลออกจากประเทศเราไป แต่ถ้าเกิดตัวใดตัวนึงมันเกิดล่มขึ้นมา ระบบก็ยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ เพราะตัวที่เหลือก็จะรับหน้าที่ในการส่งแทนตัวที่ล่มไป อาจจะทำให้เกิดอาการช้านิดหน่อย แต่ก็ยังสามารถใช้ได้อยู่เหมือนเดิม

ซึ่งสัดส่วนก็จะตามภาพข้างบนเลยว่า แต่ล่ะ Gateway รับหน้าที่กันไปอันล่ะเท่าไหร่ก็ว่ากันไป

ปัญหามันเกิดเมื่อ....

รัฐบาลไทยผู้น่ารักของเราจะเข็นนโยบาย Single Gateway ออกมา ซึ่งหลายๆ คนก็มองว่า มันน่าจะมีข้อเสียมากกว่าข้อดีซะอีก ซึ่งสำหรับปัญหาทางเทคนิคที่จะตามมาเมื่อเราเปลี่ยนไปใช้ Single Gateway เดียวนั่นคือ
เมื่อเราบีบ Gateway จาก 10 ที่มารวมกันให้เป็นอันเดียว ทำให้ Gateway ที่เราจะทำเป็นอันเดียวเนี่ยจะต้องรับ Traffic อันมหาศาล และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีก ถ้าเกิดว่า Gateway ตัวนั้นไม่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วเพียงพอ มันก็จะเกิดปัญหาที่เรียกว่า ขอขวด นี่เอง หรือถ้ามันเยอะมากจนกระทั่งมันไม่สามารถรับการโหลดข้อมูลไม่ไหว ในกรณีที่แย่ที่สุดคือ "ล่ม" ถ้ามันเกิดขึ้นจริง ณ ตอนนั้น คนทั้งประเทศก็ไม่สามารถส่งข้อมูลออกไปนอกประเทศเราได้เลย ทำให้เกิดความสูญเสียทางสังคมและเศรฐกิจอย่างมหาศาล
นอกจากปัญหาทางเทคนิคอันมากมายกายกองแล้ว ยังมีปัญหาในเรื่องของ "ความเป็นส่วนตัว" อีกด้วย เพราะว่า รัฐบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลที่วิ่งผ่านได้โดยที่ไม่ต้องขอเลย น่ากลัวมาก~~ ซึ่งมันก็น่าจะสวนทางกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิดอลอยู่เหมือนกัน เลยแอบ งงๆ ว่าตอนคิดนโยบายนี้ได้ไปปรึกษากับอีกนโยบายนึงรึเปล่า lol
หลังจากที่ลองมานั่งคิดๆ ดูหลายๆ รอบแล้ว โครงการนี้น่าจะมีข้อเสียเยอะกว่าข้อดีซะอีก ดูจากหลายๆ วันที่ผ่านมา กระแสของการผลัดดันโครงการนี้ ก็ทำให้คนหลายๆ คนก็เริ่มตื่นตัวต่อโครงการนี้อยู่เป็นจำนวนมากเหมือนกัน จนตอนนี้ก็มีแคมเปญเพื่อคัดค้าน Single Gateway กันแล้วใน Change.org ซึ่งผมก็หวังลึกๆ อยู่เหมือนกันว่า รัฐบาลจะยอมฟังความคิดเห็นจากคนที่มาคัดค้านนะครับ สวัสดีครับ
ภาพ Cover จากคุณ Wisaruth Wisidh (PhuPhu)

Read Next...

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...