By Arnon Puitrakul - 07 กรกฎาคม 2018
เมื่อสิ้นปีที่แล้วก็ได้ Google Pixel 2 XL มาใช้แทน Sony Xperia X Compact ถ้าใครที่ใช้โทรศัพท์ Sony ก็จะรู้ว่าเสียงของโทรศัพท์ Sony มันดีย์กว่าโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไปเยอะอยู่พอสมควรและสเปกมันก็ยังตามมาตรฐาน Hi-Res Audio ด้วย ทีนี้แหละพอเปลี่ยนมาใช้ Google Pixel 2 XL กับ Dongle ที่มันมาให้ก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่!! ฟังแล้วหงุดหงิด ถ้านึกภาพไม่ออก เมื่อก่อนเราอาจจะรู้สึกว่าดูวีดีโอที่ 360p มันโอเคใช่ม่ะ แต่ลองมาดูตอนนี้สิจะรู้สึกเลยว่า อะไรฟร๊ะ !! มันจะหงุดหงิดมาก ๆ เสียงก็เหมือนกัน คนอื่นไม่รู้ว่ารู้สึกมั้ย แต่เรารู้สึกนะ ปฏิบัติการตามล่าหา DAC ที่ถูกใจจึงเกิดขึ้น
หลังจากได้ไปลองที่ร้านมั่นคงมาหลายตัวก็โอเคถูกใจอยู่ แต่ราคาและ Form Factor ของมันที่ใหญ่และต้องชาร์จไฟก็ทำให้คิดหนักเหมือนกัน เพราะส่วนตัวเป็นคนที่ฟังเพลงเยอะมาก ไม่ว่าจะตอนนั่งทำงาน หรือแม้กระทั่งเดินทางก็ตาม ทำให้ขนาดและนำ้หนักจึงเป็นเรื่องสำคัญ พร้อมทั้งการที่ต้องชาร์จไฟก็ทำให้ปวดหัวไปหมด เพราะตอนนี้อะไร ๆ ก็ต้องชาร์จไปหมดไหนจะโทรศัพท์ ไหนจะ iPad ไหนจะ Laptop แม้แต่นาฬิกาก็ตาม ระหว่างที่ตามหาก็มีรุ่นน้องคนนึงส่งลิงค์ใน Indiegogo มาให้เป็น DAC จาก Zorloo ที่ตรูเกิดมายังไม่เคยได้ยินชื่อยี่ห้อนี้เลย ราคาที่น่าคบ และเป็น Early Bird ที่ทำให้ราคาถูกลงไปอีก
ก่อนที่เราจะไปกันถึงอุปกรณ์ ผมจะมาเล่าก่อนละกันสำหรับคนที่ไม่รู้จัก DAC
DAC หรือ Digital-to-Analogue Convertor ก็ตามชื่อเลยมันเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ Digital ให้กลายเป็น Analog อ่าใช่ หน้าที่มันมีเท่านั้นจริง ๆ ถามต่อว่าทำไมเราต้องแปลง แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการฟังเพลง
How Digital-to-Analogue Convertor works
คำตอบคือ เพลงที่เราฟังจากอุปกรณ์จำพวก เครื่องคอมพิวเตอร์, Tablet, โทรศัพท์ และอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมาย ก็ใช้การเก็บข้อมูลแบบ Digital ทั้งหมด ถ้าให้หูฟังมันเล่น 0101010101 แน่นอนเราคงฟังไม่ออกแน่ ๆ ทำให้ระหว่างอุปกรณ์ และหูฟังของเรามันต้องมีอุปกรณ์บางอย่างมาคั่นกลางเพื่อให้มันแปลงจาก 010100110 ให้กลายเป็นอะไรที่เราฟังรู้เรื่อง ซึ่งอุปกรณ์นั่นก็คือ DAC หูฟังที่เราใช้กันนั่นเอง
ในปกติอุปกรณ์ที่สามารถขับเสียงเพลงออกมาได้มักจะมี DAC มาในตัวอยู่แล้ว แต่คุณภาพของเสียงที่ได้อาจจะไม่เท่ากับที่เราต้องการ ถ้านึกภาพง่าย ๆ เหมือนกับเราดูวีดีโอที่ความละเอียด 360p กับ 720p เราก็คงจะบอกว่า 720p ดีกว่า เพราะมันให้ภาพที่คมกว่าแน่ ๆ (โดยที่ใช้จอเดียวกันนะ)
เวลาเราดู Spec ของ DAC ให้เราคิดคล้าย ๆ กับเวลาเราดูวีดีโอเลย โดยมันจะมี ความละเอียด ก็เหมือนกับ 360p และ 1080p ของในวีดีโอ และจำนวน Bit ที่เหมือนกับจำนวนสีที่เราชอบดู HDR กันนั่นแหละ ยิ่ง Bit เยอะมันก็ยิ่งเก็บรายละเอียดได้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ก็มากับขนาดไฟล์ที่ใหญ่ขึ้นเช่นกัน
ถ้าเราเอาไฟล์เสียงของเรามากแสดงเป็นเส้น โดยแกนตั้งจะเป็นความถี่ และแกนนอนจะเป็นเวลา สมมุติว่า เราเราบอกว่า DAC ของเราสามารถถอดรหัสเสียงได้ 1 Bit นั่นหมายความว่า Output ที่ DAC จะให้ได้คือ เงียบ กับ ส่งเสียง (สักความถี่นึงแล้วแต่) ก็จะแบ่งได้ 2 (มาจาก 2^1 = 2) ระดับ นั่นแปลว่า ถ้าเรามีจำนวน Bit เยอะ DAC เราก็จะ Output ระดับเสียงได้เยอะยิ่งขึ้น ถ้ายังนึกไม่ออกอีกก็นึกถึงเสียงของเกม 8 Bits (ก็จะแยกได้ 2^8 = 128 ระดับ) สมัยก่อนกับเพลงสมัยนี้อะ คนละเรื่องเลยใช่ม่ะ
อีกมิตินึกคือความละเอียด เราวาดกราฟเดิม แต่รอบนี้ตัดมาแค่ 1 วินาทีแรก และให้ดูที่แกนของเวลาแทน เราลองมาเทียบกันนะว่า ถ้า 1 วินาที เราเก็บความแตกต่างของเสียงได้ 10 ครั้ง ก็คือ 1 วินาทีเราจะซอยออกเป็น 10 ชิ้น เราก็จะเรียกว่า 10 Hz แต่ถ้าเราไปดู Spec ของ DAC อย่างตัวนี้เขาก็เขียนว่า 192 kHz ซึ่งมันก็คือ 192 * 10^3 (10^3 มาจาก k เป็น Prefix) ชิ้นต่อ 1 วินาที ลองคิดดูนะครับ ถ้า 1 วินาที ถ้าเราซอยน้อยชิ้นเสียงที่เราได้มันก็จะไม่ละเอียดเท่าที่ควร ฟังแล้วมันก็จะหงุดหงิด ๆ
ทีนี้เราลองหยิบทั้ง 2 อย่างมาใส่รวมกันในกราฟเดียว ให้จำนวนเส้นนอนเป็นมาจากจำนวน Bit ยกกำลัง 2 และเส้นตั้งก็มาจากจำนวน Hz ต่อ 1 วินาที เราก็จะได้ออกมาเป็น Grid ตาราง ยิ่งค่าทั้ง 2 เยอะก็ทำให้ Grid เราละเอียดขึ้น ซึ่งมันก็คือคุณภาพเสียงที่ดีนั่นแหละ
ถ้าอยากรู้ละเอียดกว่านั้น ลองดู The Beginner’s Guide to Digital Audio for Music Recording อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี
เพราะฉะนั้นการใช้ DAC แยกก็เป็นการทำให้ Grid ของเพลงเราละเอียดมากขึ้นนั่นแหละ ~
การจัดส่งจะส่งผ่านไปรษณีย์ของฮ่องกงแล้วก็จะบินแล้วไปรษณีย์ไทยก็รับช่วงต่อ โดยหลังจากที่ทาง Zorloo จัดส่งแล้วเราจะได้ Tracking Number ที่เข้าไปเช็คกับเว็บไปรษณีย์ของประเทศฮ่องกงได้เลย พอมันเข้าไทยเราก็ใช้เลข Tracking Number เดียวกันกับเว็บของไปรษณีย์ไทยได้เลย ตอนนั้นระยะเวลาจะอยู่ที่ 7-8 วัน ไม่นับเสาร์-อาทิตย์
Package ที่ได้รับมาจากไปรษณีย์
เริ่มจาก Packaging ที่เราได้กันมาก่อนเลย ตอนได้มาคือตกใจเพราะมันมาในซองและเบามาก ตอนแรกคิดว่ามันจะต้องมาเป็นกล่องและต้องมีน้ำหนักหน่อย ๆ แต่มันมาเป็นซอง !! โอเค ก็เป็นซองที่แปะที่อยู่เรากับที่อยู่ต้นทางจากฮ่องกง
ภาพซ้ายคือด้านหน้า และภาพขวาคือด้านหลัง ของกล่อง
พอแกะซองออกมาก็จะเจอกับกล่องที่ขนาดเล็กกว่าซองอีก ขนาดเท่าฝ่ามือเราเลย หน้ากล่องก็จะมีรูปตัว DAC พร้อมกับชื่อรุ่น และยี่ห้อประมาณนั้น และด้านหลังก็จะเป็นสเปกตามด้านล่างนี้
คือที่ซื้อเพราะชิพที่ใช้เป็น ESS Sabre 9018 ที่อ่านจากรีวิวมันก็เป็น DAC ที่คุณภาพดีตัวนึงเลย ก็เลยลองใช้ดู ไปที่แกะกล่องกันต่อ
พอเราแกะดึงของออกมา เราจะพบกล่องสีขาว พร้อมกับ DAC ของเราวางอยู่ ข้อระวังคือเวลาแกะโปรดหงายหน้ากล่องขึ้น อย่าคว่ำเพราะเวลาแกะ DAC มันจะหล่นลงมาเหมือนผม ด้านในกล่องย่อยมันก็จะมีสายแปลงจำนวน 3 เส้นมาให้เรา
สายถักปลายเป็น Micro-USB, USB-A และ USB-C อีกด้านของทุกเส้นจะเป็น Micro-USB
ก่อนจะไปที่ตัว DAC เรามาดูกันก่อนว่าเขาให้อะไรแถมมาบ้าง อย่างแรกเป็นสายแปลงจาก Micro-USB to USB-A , Micro-USB to USB-C และ Micro-USB to Micro-USB ทั้งหมดเป็น 3 เส้น โดยแต่ละเส้นที่สายก็จะเป็นสายถักและหัวก็ดูแข็งแรง ความยาวสั้น ๆ เพื่อให้ไม่เกะกะเวลาเราใช้งาน
คู่มือการใช้งานก็มีมาให้เช่นกัน โดยมาในรูปแบบของกระดาษมัน เขียนรายละเอียดวิธีการเชื่อมต่อต่าง ๆ, Spec และ Warranty ต่าง ๆ แน่นอนว่า I’m Thaist เราก็จะข้ามมันไป
จริง ๆ สภาพตอนส่งมามันดีกว่านี้นะ อันนี้คือผ่านสงครามการใช้งานจากผมมาแล้ว
นอกจากจะให้สายมาอย่างเกือบครบแล้วก็ยังมีที่ใส่มาให้ด้วย โดยมันจะเป็นกำมะหยี่สีเทา ด้านหลังสกรีนชื่อ Brand ชื่อ Zorloo โดยขนาดที่ให้มาก็สามารถใส่สายและตัว DAC ได้อย่างพอดีเลยไม่แน่นและคับไป ข้อสังเกตอยู่ที่กระดุม (ไม่รู้มันเรียกอะไรที่เวลาปิดมันจะดัง แป๊ะ ๆ อะ) ด้านในที่ใส่หลังกระดุมมันจะเป็นจุดที่เย็บกระดุมลงไป ทำให้ด้านในส่วนนั้นมันจะไม่ใช่กำมะหยี่แต่มันเป็นด้านหลังของกระดุมที่เป็นโลหะ ทำให้เวลาเราใส่ DAC ที่ Body เป็น Aluminum ลงไปก็กลัวมันจะเป็นรอยหน่อย ๆ
วิธีใส่คือก็เอาสายทั้งหมดงอเล็กน้อยและใส่เข้าไป ตามด้วยหยอด DAC ลงไป โดยผมจะใส่ DAC อยู่ทางด้านข้างแทนเพราะกลัวกระดุมโลหะนั่นทำให้ตัว DAC เป็นรอย
โดยรวมแล้วคุณภาพของ Packaging สำหรับผมจัดว่าไม่ค่อยดีเท่าไหร่ อย่างตอนที่แกะออกมา DAC หล่นนี่ก็ตอนที่เขาออกแบบตัวกล่องข้างในก็ไม่ได้ทำให้ขนาดมันพอดีสักเท่าไหร่ หรือไม่มีคำเตือนอะไร
มาดูที่ตัว DAC กันบ้าง Body ของมันทำจาก Aluminum สีเทา (จริง ๆ มันมี 3 สีให้เลือกนะ ตัวที่ซื้อมาเป็นสีเทา) คล้าย ๆ กับสี Space Grey ของ Apple Product เลย ลองดูจากรูปจะเห็นว่าขนาดเล็กมาก ดูได้ในภาพผมว่ามือผมก็เล็กแล้วนะ แต่นี่คือเล็กกว่าเยอะ จับดูแล้วการประกอบก็ไม่เลวเลยแน่น และรู้สึกว่ามัน Premium มาก อาจจะเพราะด้วยการประกอบที่แน่นและเป็น Aluminum
ไฟสีฟ้าจะอยู่ตรงที่วงสีแดงไว้ พอเสียบมันก็จะติดขึ้นมาเอง
ด้านหน้าก็จะประกอบด้วย Logo และไฟสีฟ้าแสดงสถานะว่าเสียบไฟอยู่หรือไม่
เพิ่ม/ลดเสียง ผ่าน ปุ่มดำ ๆ 2 ปุ่ม
ด้านหลังก็จะเป็นปุ่มแป๊ะ ๆ สีดำ 2 ปุ่มสำหรับการปรับเสียงขี้นลง ซึ่งตัวปุ่มก็ไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่ เพราะมันดูรู้เลยว่ามันเป็น Part ราคาถูก และด้านหัวก็จะเป็น Port Micro-USB สำหรับ Input ด้านล่างจะเป็น 3.5mm สำหรับ Output ออกไปที่หูฟัง
ZuperDAC-S สามารถใช้ได้กลับหลายอุปกรณ์ตั้งแต่ PC ที่เป็น Windows (ต้องลง Driver เพิ่ม), macOS และ Linux (ที่ลองคือ Ubuntu 18 ได้), Android และ iOS ได้หมดถ้าสดชื่น
การใช้งานก็ง่ายมาก ๆ โดยการที่เราเอาสายแปลงเสียบจากอุปกรณ์ของเราไปที่ ZuperDAC-S และก็เอาหูฟังมาเสียบก็สามารถใช้งานได้ทันที
ยกเว้น Windows ที่ต้องลง Driver ครั้งแรกเน้อ โดยการ Install ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรถ้าเป็น Thaist ก็กด Next ยาว ๆ ไปจน Finish ได้เลยหลังจากลงเสร็จก็ลองเสียบใหม่ก็จะใช้ได้เลย
ข้อสังเกตคือ ถ้าเราจะนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่เป็น iOS เช่น iPhone และ iPad เราจะเห็นว่าเขาไม่ได้ใส่สายแปลงจาก Lighting to Micro-USB มาให้ในกล่อง ตอนแรกก็สงสัยเหมือนกันว่าแล้วจะใช้ยังไง จนไปดูคู่มือมันก็บอกว่า เราต้องไปซื้อ Adapter แปลงจาก Lighting to USB-A หรือที่ Apple เรียกน่าจะเป็น Lighting to USB Camera Adapter ที่มันจะเป็น Lighting ต่อออกจาก iPhone และ iPad ของเราออกเป็น USB-A เราก็เอาหัวแปลง Micro-USB to USB-A มาเสียบกับ Adapter และเอา Adapter เสียบเข้า iPhone และ iPad ก็เป็นอันเสร็จใช้ได้เหมือนกัน
แต่ฮ่ะแต่ ๆๆๆ ใช้มาชาติเศษจนเมื่อไม่กี่วันก่อนตอนที่เขียนก็มีเมล์เด้งจาก Zorloo ว่าตอนนี้เรามี Lighting to Micro-USB ขายแล้วนะแกร์เก๋ ๆ ในราคา 15 USD ก็ถ้าใครจะใช้กับ iOS ก็แนะนำให้ซื้อมาเพิ่มน่าจะถูกกว่าการไปซื้อ Adapter ของ Apple มา
ด้วยความที่ผมมี Lighting to USB Camera Adapter ที่เป็น USB3 ที่มันจะมี Port สำหรับเสียบพ่วง Lighting อีกโดยที่เราสามารถเอาสายชาร์จมาเสียบชาร์จตอนที่ฟังอยู่ได้โชคดีไป แต่ก็นะด้วยขนาดของ Adapter ทำให้การเดินฟังมันเลยไม่น่าจะรอดแน่ ๆ ถ้าลองคิดว่าเป็น iPhone น่าจะปวดหัวมากแน่ ๆ ก็ย้ำอีกครั้งว่าถ้าเป็น iOS ยังไงก็แนะนำให้ซื้อตัวแปลงอีก 15 USD
เวลาเราใช้ปกติ เราก็จะเสียบกับโทรศัพท์และงอเอาด้านที่เสียบหูฟังขึ้นและใส่กระเป๋ากางเกงเวลาเดินฟังก็ไม่ได้รู้สึกมันใช้ชีวิตยากอะไร ถ้าเราใช้ DAC ตัวใหญ่ ๆ ก็น่าจะมีปัญหาเรื่องการพกพาแหละ ใช้เสร็จก็เอาใส่ที่ใส่ของมันก็เรียบร้อย ใช้งานง่ายมาก
ข้อสังเกตเล็กน้อยตอนใช้งานคือมันจะมีไฟแสดงสถานะสีฟ้าติดอยู่ และถ้าเราใช้ไปสักพักนึกตัว DAC ก็จะมีอุณหภูมิมากขึ้นจับแล้วอุ่น ๆ นิดหน่อยแต่พอเวลามันก็อยู่กระเป๋ากางเกงมันก็จะแปลก ๆ นิดหน่อยเหมือนมีอะไรอุ่น ๆ มานาบขาอยู่ตลกดี
ด้วยชิพเสียงระดับเยี่ยมอยู่อย่าง ESS Sabre 9018 DAC ที่รองรับ Sampling Rate อยู่ที่ 192 kHz และ Bit Depth ที่ 24 Bits ทำให้เราได้รายละเอียดเสียงที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับ Build-in DAC ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วงกลางของเสียงก็ให้เสียงที่สะอาดมากขึ้น รู้สึกถึง Stage ที่กว้างขึ้นหน่อย ๆ เหมือนมันมีมิติมากขึ้น เสียงสูงที่ค่อนข้างต่างชัดมากคือมันไม่บาดหูเลย ช่วงเสียงต่ำก็ให้เบสที่แน่นและมีน้ำหนักมากขึ้น โดยเฉพาะตอนเอามาเสียบกับ Macbook Pro 13-inch Early 2015 ที่ฟังแล้วรู้สึกเลยว่าเหมือนเราอยู่อีกโลกไปเลย มันต่างกันมาก ๆๆๆๆๆ เลย แต่ถ้าเอามาฟังกับ Sony Xperia X Compact รายละเอียดได้ใกล้เคียงกัน แต่ทางฝั่ง Sony จะให้เสียงที่อุ่นกว่าตามสไตล์ของเขา
ส่วนเรื่องของกำลังขับนี่ใช้ได้เลย ผมใช้กับหูฟังจาก Sony ในรุ่น XBA-N1AP ที่มันก็ไม่ได้เป็นหูฟังที่ขับยากนัก ก็กดเพิ่ม Volume ไปได้ 1-2 ขีดก็ดังเกินไปแล้ว หูฟังที่ขับยากกว่านี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นหูฟังที่ขับยากมาก ๆ อาจจะไม่ไหว เพราะก็ตัวแค่นี้เองนะ แต่หลัก ๆ ถ้าใช้กับหูฟังทั่วไปกำลังขับก็เหลือเลยละ
ส่วนตัวแล้วเพลงที่ผมฟังส่วนใหญ่จะมาจาก Spotify ที่คุณภาพสูงสุดของมันก็อาจจะไม่เท่ากับ Lossless หรอกแต่มันก็อยู่ในช่วงที่สูงพอสมควรแล้วละ เลยไม่ได้ Aim ไปซื้อ DAC ในสเปกที่โหดกว่านี้ แต่กับไฟล์ Lossless เอา ZuperDAC-S มาฟังมันก็ทำให้เราได้ยินรายละเอียดเสียงที่เยอะขึ้นมาแล้วนะ ก็ประทับใจอยู่
จากขนาดตัวที่เล็กกว่านิ้วก้อยผม น้ำหนักที่น้อยกว่า 10g แต่มันเพิ่มคุณภาพเสียงได้อย่างโหดขนาดนี้ด้วยชิพเสียงอย่าง ESS Sabre 9018 โดยที่ไม่ต้องชาร์จไฟ การเชื่อมต่อก็ง่ายแสนง่ายเพียงแค่เสียบ ๆ ก็ใช้งานได้เลย พร้อมกับ Aluminum Body ที่ทำให้ดู Premium มาก ๆ ข้อเสียน่าจะอยู่ที่มันปรับอะไรไม่ได้เลยนี่แหละ ด้วยความที่มันเล็กมาก การที่จะยัด Switch มันคงยาก ถ้าเราไปดูยี่ห้ออื่นเขาอาจจะมี Switch สำหรับปรับ Gain อะไรมาให้เราประมาณนั้นแต่ ZuperDAC-S ไม่มีอะไรเลยนอกจากปรับ Volumn แค่นั้น เหมาะสำหรับคนที่ฟังเพลงช่วงเริ่มต้นจนไปถึงกลาง ๆ ด้วยค่าตัวที่ไม่ได้โหดมากนักประกอบกับซื้อตอน Early Bird ที่ทำให้ราคามันถูกลงมาก เขาไม่ได้จ่าย แต่ผมจ่ายเอง สามารถสั่งซื้อได้ที่ลิงค์ใน Indigogo นี้เลย
เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...
ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...
จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...
หลังจาก Apple Transition ไปสู่ Apple Silicon มาจนถึงจุดที่การเปลี่ยนผ่านเสร็จสิ้น เราก็ไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไรกับ Apple Silicon อีกเลย จนกระทั่งตอนที่ M4 ออกนี่แหละ ที่เราคิดว่า มันถึงจุดที่ใช่ละ ฤกษ์มันมาแล้ว ก็จัดเลยสิครับ มาดูกันว่าฤกษ์มันจะตรงอย่างที่เราคิดหรือไม่...