By Arnon Puitrakul - 08 ธันวาคม 2020
หลาย ๆ คนที่ติดตามเฟสเราน่าจะเห็นมาบ้างแล้วละว่าเราได้ Zorloo Zella มาหลายเดือนมาก ๆ แล้วเผลอ ๆ ครึ่งปีรึยังนะ ไม่แน่ใจ ง่าย ๆ คือ ดองไว้นานมาก แต่วันนี้ก็เหมือนเป็นฤกษ์งามยามดีหรืออะไรก็ตามที่เราจะเอาเจ้า Zorloo Zella ที่เป็น DAC ขนาดจิ๋วแต่อ่าน MQA ได้มารีวิวกัน
ปล. ก่อนหน้านี้เราเคยรีวิว DAC อีกตัวของ Zorloo คือ ZuperDAC-S ที่อันนั้นเราว่ามันเล็กและพลังมันก็เหลือล้นด้วยสเปกที่อ่านไฟล์ความละเอียดสูงได้สบาย ๆ แต่อ่าน MQA ไม่ได้อันนั้นเสียดายมาก มาวันนี้นางมาใหม่ รับรองเจ๋ง
หน้าตาของน้องเขาก็คือ น้อนน มาก ด้วยขนาดที่เล็กมาก ๆ เราสามารถพกไปไหนมาไหนได้อย่างง่ายดาย ก็คือมีแค่ช่องเสียบทั้ง 2 ด้านและสายสั้น ๆ เท่านั้น สำหรับเราเองเราก็เอามาเสียบทิ้งไว้ที่หูฟังเลย เพราะส่วนใหญ่แล้วเราจะฟังเพลงโดยใช้ Port การเชื่อมต่อแบบ USB-C ซะเกือบ 100%
ตัวสาย บอกเลยว่าไม่ได้แย่เลย เพราะเขาทำมาเป็นสายถักอย่างดีเลย ดังนั้นไม่ต้องกลัวสายหัก หรือ หลุดอะไรเลย นอกจากนั้น ที่เราว่าเขาทำมาดีขึ้นคือ ตรงสุดเชื่อมระหว่างหัว กับสาย มีการใช้พลาสติกสีดำเข้ามาเป็นส่วนที่ป้องกันสายหักด้วย
ที่หัวฝั่ง USB-C ด้านนึงจะเป็น Logo ของ Zorloo ที่ใช้ลักษณะของการพิมพ์มา และ มันเป็นจุดที่เราต้องจับ เพื่อเสียบ USB-C เข้ากับอุปกรณ์ ทำให้เวลาเราใช้ไปนาน ๆ มันอาจจะเกิดอาการลอกได้ อันนี้ต้องทำใจไว้เลย
ส่วนอีกด้าน Version ที่เป็น MQA จะมี Logo ของ MQA มาให้ด้วยเพื่อเป็นการบอกว่าเรารองรับ MQA จริง ๆ นะ ส่วนด้านบนที่เป็น รู ไม่ใช่เราทำพังนะ แต่มันคือ ส่วนสำหรับไฟแสดงผล LED ที่จะแสดงผลในเรื่องของความละเอียดไฟล์ที่มันกำลังเล่นอยู่
อีกสิ่งที่มาในกล่อง เห้ย ถุงคือ ตัวแปลงจาก USB-C เป็น USB-A สำหรับเสียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่มี USB-C นางก็ทำมาอันเล็ก ๆ น่าหายมาก ๆ คุณภาพก็ถือว่าเฉย ๆ นะ ไม่ได้ดูดี หรือ น่าจะคงกระพันอะไรมากขนาดนั้น
ในการใช้งาน เราสามารถเอา Zorloo Zella ไปเสียบเข้ากับอุปกรณ์ที่เราต้องการใช้งานได้เลย ตัวอย่างเช่น เราเอามาเสียบกับเครื่อง iMac มันก็จะมีไฟสีฟ้าขึ้นมาแสดงผลเพื่อบอกว่า มันทำงานแล้วนะ หรือ มันยังเป็นการบอกอีกว่า มันกำลังเล่นไฟล์ที่ความละเอียดแบบ SD หรือถ้าเราเล่นไฟล์เสียงที่ความละเอียดสูงขึ้นอีกมันจะขึ้นเป็นไฟสีแดง
หรือที่เป็นตัวพีคเลยก็คือ เมื่อเราเล่นไฟล์เพลงที่เป็น MQA มันจะออกเป็นไฟสีม่วงแทน อันนี้เราทดลองกับ Tidal ก็ Support การเล่นไฟล์แบบ MQA อย่างเต็มรูปแบบกันไปเลย
หรือแม้กระทั่ง เราเอาไปเสียบกับอุปกรณ์พกพาอย่าง iPad Pro เอง เมื่อเสียบ และลองเล่นเพลง เสียงก็ออกมาเป็นปกติ และถ้าเราเล่น MQA Track ที่อยู่ใน Tidal ตัว DAC ก็เล่นได้ที่ความละเอียดแบบ MQA เช่นกัน
แต่ถ้าเราต้องการจะเอาไปเสียบกับพวกอุปกรณ์ที่เป็นหัวแบบ Lighting ที่อยู่บน iPhone และ iPad บางรุ่น เวลาสั่งอย่าลืมสั่งหัวแปลงมาด้วยไม่งั้นเราจะเสียบไม่ได้
ในคู่มือบอกว่า มันสามารถเล่นได้กับทุก OS เลย ไม่ว่าเราจะใช้ macOS, iOS, Android, Linux และ Windows โดยที่ไม่ต้องลง Driver เลย อันนี้ถือว่าทำดีขึ้น เพราะตอน Zuper DAC-S ก็คือฝั่ง Windows ต้องลง Driver เพื่อจะใช้งาน ทำมาแบบนี้ทำให้ผู้ใช้งาน Windows ง่ายขึ้นเยอะมาก
การปรับเสียงต่าง ๆ จะเห็นว่า ที่ตัว DAC มันไม่มีปุ่มอะไรเลย แล้วเราจะปรับเสียงอย่างไร คำตอบคือ เราสามารถปรับได้จากตัวเครื่องเล่นของเราปกติได้เลย ไม่ต้องใช้ปุ่มอะไรพิเศษ
ส่วนเรื่องของ Spec เราไม่พูดละกัน เพราะเราไม่รู้เรื่องอะไรพวกนี้เหมือนกัน แต่เรื่องของการถอดรหัสไฟล์มันสามารถถอดรหัสได้ถึง PCM 384 Kbps, DSD 5.6 MHz และแน่นอนว่า ถอดรหัสไฟล์แบบ MQA ได้ด้วย ถ้าไม่นับเรื่องของ MQA DAC ตัวอื่น ๆ ไม่น่ามีปัญหาในการถอดรหัส Codec แบบนี้ แต่ MQA นี่แหละ ทำให้มันน่าสนใจขึ้นมาทันที
ด้วย Spec ที่จัดเต็มยันอ่าน MQA ได้แบบนี้ ถ้าใครที่ไม่มี DAC แยกพวกนี้มาก่อน ฟังครั้งแรกคือ รู้สึกเลยว่า มันโคตรต่าง ต่างแบบมาก ๆ เลย เสียงสะอาดขึ้นมาก ๆ พวก Sound Stage รู้สึกกว้างขึ้นสุด ๆ เหมือนอยู่อีกโลกเลย
โดยเฉพาะเมื่อเราลองไฟล์แบบ MQA ที่ Stream จาก Tidal เทียบกับไฟล์เสียงแบบปกติ รู้สึกได้อย่างชัดเจนมาก ๆ เลยว่า เสียงมันมีความละเอียดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เช่นพวก เสียงย่านต่ำที่ลงลึกไปอีก และเสียงสูงมันขึ้นเหมือนได้ไกลขึ้น อีกอันที่รู้สึกไม่รู้ว่าคิดไปเองรึเปล่าคือ ความละเอียด ที่มันเพิ่มขึ้นมา เช่น เสียง Timpani ที่พอฟังเทียบกับไฟล์ปกติ เสียงเวลาเขาตี มันละเอียดขึ้นจริง ๆ
โดยรวมถือว่า เราประทับใจมาก ๆ โดยเฉพาะ MQA ถ้าเราไม่เคยฟังไฟล์ MQA เต็ม ๆ พอมาฟังแล้ว ไม่อยากกลับไปฟังไฟล์ธรรมดาอีกเลย มันเหมือนกับ เราดู Youtube 360p เมื่อก่อนเราก็รับได้นะ แต่พอปัจจุบัน เรามี 4K มา เราก้ไม่อยากกลับไปดู 360p อะไรแบบนั้นเลย
ด้วยขนาดที่โคตรเล็ก จนเสียบทิ้งไว้กับหูฟังได้เลย และความสามารถในการถอดรหัสเสียงความละเอียดสูงได้ถึง MQA เลย ทำให้ Zorloo Zella เป็น DAC ที่น่าสนใจมาก ๆ ถ้าเรากำลังตามหา DAC ขนาดเล็กและให้เสียงความละเอียดสูงได้ แต่ถามว่า เท่ากับพวก Meridian มั้ยก็คือไม่นะ แต่มันได้เปรียบเรื่องขนาดไง ทำให้เหมาะกับการพกพามาก ๆ ที่สำคัญ ราคามันอยู่ไม่เกิน 2 พันเอง ถือว่าถูกมาก ๆ ถ้าเรานับว่ามันอ่าน MQA ได้ ลองไปหาซื้อกันได้ ในเว็บไทยตอนนี้น่าจะมีคนเอาเข้ามาแล้วละ ส่วนเรา เราไปลงทุนใน Kickstarter เลยทำให้ได้มาในราคา Early Bird ที่ค่อนข้างถูกกว่าพอตัว
เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...
ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...
จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...
หลังจาก Apple Transition ไปสู่ Apple Silicon มาจนถึงจุดที่การเปลี่ยนผ่านเสร็จสิ้น เราก็ไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไรกับ Apple Silicon อีกเลย จนกระทั่งตอนที่ M4 ออกนี่แหละ ที่เราคิดว่า มันถึงจุดที่ใช่ละ ฤกษ์มันมาแล้ว ก็จัดเลยสิครับ มาดูกันว่าฤกษ์มันจะตรงอย่างที่เราคิดหรือไม่...