By Arnon Puitrakul - 05 พฤศจิกายน 2018
เมื่อปีก่อนเราก็รีวิว Spotify ที่เป็นบริการ Music Steaming เจ้าดังไป มาในปีนี้ โดนเพื่อนล่อล่วงให้เปิดของอีกเจ้านึงคือ Tidal ตอนนี้เราใช้มาสักพักแล้ว เลยจะมารีวิวกันว่า ถ้าเราเอามาใช้แล้วมันจะเหมือนหรือต่างจาก Spotify ยังไงบ้าง
ก่อนจะไปเรื่องอื่น เรามาที่เรื่องของ Application กันก่อนละกัน ใน Tidal เราสามารถฟังเพลงได้ทั้งผ่าน Application ทั้งบน iOS และ Android เลย หรือถ้าจะเป็นบน Desktop ก็ใช้ได้หมดเลย
Interface ของโปรแกรมก็ช่างเรียบง่ายแสนง่าย ลักษณะจะคล้าย ๆ กับ Spotify นั่นแหละ ไม่มีอะไร ก็สามารถเลือกหรือค้นหาเพลงได้อย่างอิสระ สำหรับใครที่ใช้บน Macbook Pro ที่มี Touchbar ตัว Tidal บน macOS เวลาเปิดแล้วก็ไม่มีเมนูอะไรเป็นพิเศษนะ บอกไว้ก่อนเผื่อใครอยากรู้
แต่จะขัดหน่อยก็เรื่องของการค้นหานี่แหละ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน เวลาเราหาเพลงมันเจอบ้างไม่เจอบ้าง โดยเฉพาะเพลงที่มีชื่อเป็นภาษาไทยนี่แล้วใหญ่เลย เพราะบางเพลงก็ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษเลย บางเพลงก็เป็นภาษาคาราโอเกะ บางเพลงก็เป็นภาษาไทยเลย ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน มันงง ๆ นอกจากเพลงภาษาไทยแล้ว ภาษาญี่ปุ่นก็ไม่เว้นเหมือนกัน (น่าจะเป็นทุกภาษาแหละที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ)
จากภาพด้านบน เราพยายามที่จะหาเพลง Perfect ของลุง Ed มันก็หาเจอนะ แต่พอกดเล่นมันก็จะได้ดั่งภาพซ้าย ที่เล่นในคุณภาพแค่ HiFi แต่ถ้าเราเข้าไปที่หน้าอัลบั้มแล้วกดเล่นผ่านหน้านั้นมันก็จะได้ดั่งภาพขวาที่เป็น Master
นอกจากความบรรลัยของชื่อเพลงแล้ว เวลาเราค้นหาเพลง โดยที่เรารู้อยู่แล้วว่ามันมีคุณภาพที่เป็น Master เวลาเราค้นหามาเจอแล้วกดฟัง อ้าวเฮ้ย มันไม่ใช่เว้ย ! วิธีคือ เราต้องกดเข้าไปที่หน้าของ Artist แล้วค่อยหาเพลงนั้น และกดฟัง ถึงจะได้ Master อันนี้งงจริงจังว่าอะไรของมัน
ถ้าทุกคนคิดว่า การค้นหาเพลง เป็นเรื่องที่อ่านแล้วน่าปวดหัวแล้ว ขอแนะนำหายนะของมันเลยดีกว่า คือ ฟัง ๆ ไปแล้วเพลงหยุด หมุน ๆ ไปทั้ง ๆ ที่เน็ตนี่ Steam Netflix ที่เป็น HDR Content แบบลื่นชิว ๆ แล้วหมุนติ้ว ๆ ไปเลย จนต้องปิด App แล้วเปิดใหม่ บ้างก็หาย บ้างก็ไม่หาย งงชิบหาย.... ซึ่งส่วนใหญ่เหยื่อที่มักจะเป็นคือบนโทรศัพท์นี่แหละ บน Desktop ไม่ค่อยเป็นเท่าไหร่ นาน ๆ ที
ไหน ๆ ก็พูดถึงปัญหาแล้ว ก็ไปที่ปัญหาของ Playlist กันบ้างดีกว่า ด้วยความที่ใช้ Spotify มานานมากแล้ว ทำให้การ Suggest เพลงมาให้เป็น Feature ที่ MUST HAVE สำหรับเราไปแล้ว อย่างใน Spotify มันก็จะมี Daily Mix มาให้เราก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก กดฟังได้เลย และการเลือกเพลงของมันคือดีมาก ไม่ต้องขึ้นมาเปลี่ยนบ่อย กลับกัน Tidal นี่คือ ต้องกลับมาเปลี่ยนแทบทุกเพลงเพราะไม่ได้มี Suggested Playlist เลยไง เราก็ต้องกดเข้าไปตามหน้า Artist อะไรแบบนั้น หรือถ้า Playlist ที่มันมีมาให้เรื่อย ๆ ถามว่าถูกใจมั้ย มันก็ไม่อะ เลยหงุดหงิดเรื่องนี้มาก
ส่วนใหญ่เพลงที่ Tidal ชูโรงน่าจะเป็นเพลงสากลซะส่วนใหญ่มาก ๆ ถ้าเราเปิด App มาครั้งแรก แล้วไม่หานี่คือเราไม่รู้เลยนะว่ามันมีเพลงไทยด้วย นี่ก็พึ่งมารู้ตอนนั่งลองหานี่แหละ ไม่รู้นะว่าคนอื่นฟังเพลงอะไรกัน แต่เราเองมาใช้ก็พบว่าเพลงที่เราฟังอยู่แล้วมันก็มีเกือบหมดนะ (ไม่ค่อยฟังเพลงไทยไง) เพลงไหนมีใน Tidal ก็ฟังในนั้น ถ้าไม่มี Spotify ช่วยได้
คุณภาพของไฟล์เพลงน่าจะเป็นจุดชูโรงของ Tidal เลยก็ว่าได้ เพราะ Tidal เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ Music Steaming แบบ Lossless ที่ให้คุณภาพของเสียงที่โคตรโหดเลย (ถ้าเราเปย์มันในตัวท๊อปคือ Tidal HiFi ในที่มาเขียนอันนี้คือผมใช้ HiFi นะ ไม่ใช่ Premium ถ้าเราใช้ในระดับ Premium เราจะได้แค่ไฟล์ Lossy เท่านั้นนะ)
สำหรับใครที่ไม่รู้จักว่า Lossless คืออะไร ต้องมาเกริ่นกันก่อนว่า ปกติไฟล์เสียงที่เราฟังกันจากสื่อต่าง ๆ เช่น Youtube, Spotify หรือไฟล์ MP3 ต่าง ๆ เราจะบอกว่ามันเป็น Lossy อาจจะงง อะไรคือ Lossless และ Lossy
ต้องเกริ่นก่อนว่า ปกติเวลา Studio ที่เขาทำเพลงออกมา ไฟล์ต้นฉบับที่ได้มา ขนาดมันจะโคตรใหญ่เลย ไม่เหมาะกับการ Steaming อย่างรุนแรง หรือไม่กระทั่ง Download กันผ่าน Internet ด้วยซ้ำ บางเพลงขนาดเกิน 1 GB ก็มี เพราะฉะนั้น มันน่าจะมีวิธีการบางอย่างที่ทำให้ไฟล์ที่มันใหญ่ ๆ เล็กลง ซึ่งก็คือ การบีบอัดไฟล์ (File Compression)
ซึ่งวิธีการบีบอัดไฟล์ก็มีอยู่หลากหลายวิธี หลากหลาย Algorithm แต่สำหรับไฟล์เสียง ก็จะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ Lossy และ Lossless ไปที่ Lossless กันก่อน ตามชื่อเลย Loss Less ก็คือ ไม่เสีย ในที่นี้หมายถึง ไม่เสีย คุณภาพของไฟล์นั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าเราเอาไฟล์ Master ที่มาจาก Studio มาบีบอัดแบบ Lossless ก็จะทำให้เราได้ไฟล์ที่คุณภาพใกล้เคียงกับไฟล์ต้นฉบับในขนาดที่เล็กลงนั่นเอง
กับอีกแบบก็คือ Lossy ก็จะตรงข้ามกับ Lossless คือ บีบอัดแบบเสียคุณภาพ ทำให้เราจะได้ไฟล์ที่คุณภาพแย่กว่าต้นฉบับนั่นเอง แต่ข้อดีของมันคือไฟล์จะมีขนาดเล็กกว่า Lossless เป็นอย่างมาก เพราะเรายอมทิ้งข้อมูลบางส่วนออกไปนั่นเอง กลับกัน Lossless ก็มีข้อดีคือให้เสียงที่มีคุณภาพสูงตามขนาดของมันนั่นเอง
ถามว่า ทำไมเราต้องฟังเสียงคุณภาพสูง ? ถ้าเทียบให้เป็นวีดีโอหรือภาพก็น่าจะเป็นประมาณว่า เราชอบดู Youtube ที่ 144p หรือ 1440p นั่นแหละฮ่ะ ไฟล์เสียงก็เหมือนกัน ยิ่งเราได้ไฟล์ที่มีคุณภาพดีขึ้น ประสบการณ์ที่ได้มันก็จะดีขึ้น (บางคนก็ฟังไม่ออกนะ) ส่วนตัวเราเป็นคนที่ชอบฟังเพลงอยู่แล้ว การได้ไฟล์พวกนี้มาก็เหมือนกับเราได้ดู Content ดี ๆ อันนึง
ออกทะเลมาซะไกล กลับไปที่ตรง Tidal เป็นบริการ Music Steaming แบบ Lossless ก่อน มันก็จะทำให้เราได้ไฟล์เสียงคุณภาพสูงกว่าเจ้าอื่น ๆ อย่าง Spotify ที่เป็น Lossy ซึ่งแน่นอนว่า ขนาดของไฟล์นั้นก็ใหญ่อยู่พอสมควร ถ้าฟังผ่าน LTE นี่คือบางทีก็รอด บางที่ก็ไม่รอด กระตุกเป็นพัก ๆ ก็มีให้เห็นบ่อยมาก ๆ แต่เสียงดีจริง ๆ อันนี้ไม่เถียงเลย ชอบมาก ๆ ในเรื่องคุณภาพเสียง
ไหน ๆ เราก็เปย์กันมาระดับนี้แล้ว Lossless อย่าง FLAC File ไม่น่าจะล่อล่วงเรามาเปย์มันได้ ใช่ฮ่ะ Tidal มีไฟล์เสียงที่สูงขึ้นไปอีกคือระดับ Master เพราะเขาจับมือกับ MQA (Master Quality Authenticated) ที่จะมอบคุณภาพเสียงระดับที่เรียกได้ว่าโคตรใกล้เคียงกับต้นฉบับในขนาดไฟล์ที่เล็กลงมา เท่าที่ได้ลองฟัง บอกได้เลยว่า มันต่าง ต่างแบบทิ้ง HiFi ที่เป็น FLAC ไม่น่าจะเห็นฝุ่นเลย ต้องลองไปฟังดู ยิ่งถ้าใช้ DAC ที่ถอดรหัส MQA File ได้แล้วละก็ ความต่างนี่คือบินทะลุขึ้นฟ้าไปเลย เพราะไฟล์ FLAC ที่ Tidal เอามาใช้คุณภาพมันอยู่ที่ 44.1 kHz / 16 bit แต่ MQA นี่เลยไปถึง 96 kHz / 24 bit กันเลยทีเดียว แต่ ๆๆๆๆๆ
คุณภาพระดับ Master จะฟังผ่าน Desktop App ได้อย่างเดียว ถ้าฟังผ่าน Mobile App หรือ Web App หมดสิทธิ์นาจา นอกจากนั้น ไฟล์ที่เป็น MQA นี้ไม่ใช่ทุกเพลงใน Tidal จะเป็นนะ มีแค่บางเพลงเท่านั้น เพลงที่เป็น Master มันจะมีสัญลักษณ์รูปตัว M อยู่ข้าง ๆ อัลบั้ม โปรดระวังนิดนึง ถ้าใครใช้เน็ตโทรศัพท์แล้วต่อเข้ามาในคอมและฟัง Master ระวังเน็ตหมด ถถถถ ฟังไปไม่กี่เพลงเปิดมาดูกินไปเกือบ 1 GB
ต้องบอกเลยว่าประทับใจมากที่มันมีบริการ Steam ไฟล์เสียงคุณภาพสูงขนาดนี้ในราคาที่เอื้อมถึง คุณภาพสูงจนกลับไปฟัง Lossy นี่คือเซงไปเลย
สำหรับประสบการณ์โดยรวมของการใช้ Tidal ฟังเพลงก็ต้องบอกเลยว่า ก็ดีนะ 8/10 ละกัน ถ้าเอาเรื่องดีก็คงหนีไม่พ้นคุณภาพของเพลงที่สูงปรี๊ดยิ่งเป็นเพลงที่เป็น MQA นี่คือลอยไปจักรวาลอื่นเลยดีมากจริง ๆ ถ้าจะติดก็จะเป็นเรื่องของการแนะนำเพลงที่ไม่มีระบบแนะนำแบบส่วนตัวเลย อย่าง Spotify ต้องยอมรับเลยว่านางเก่งเรื่องนี้มาก ๆ จนทำให้เราขาด Feature นี้ไม่ได้เลย พอมาใช้ใน Tidal เลยทำให้หงุดหงิดนิดหน่อย เวลาไม่มีอะไรแบบนี้ นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องของการค้นหาเพลงละ เพลงอาจจะมีเยอะจริงแหละ แต่ถามว่าเราเข้าถึงได้เท่าไหร่ดีกว่า เราไม่ได้รู้จักเพลงเยอะมาก และระบบการแนะนำก็ไม่ได้ดีขนาดนั้น หรือแม้กระทั่งบางอัลบั้มถ้าเราใช้ช่องค้นหามันก็จะเจอนะ แต่เปิดมามันไม่ใช่ Master (ถึงจะกดเลือกคุณภาพก็ไม่เจอ Master) ทั้งที่ถ้าเราเข้าไปที่หน้าศิลปินแล้วเปิดหน้าอัลบั้มเราจะเห็นว่ามันเป็นรูปตัว M แล้วก็ตาม ถ้าอยากฟัง Master เราต้องกดเข้าไปในหน้าอัลบั้มแล้วกดฟัง ถึงจะได้ งงมากตรงนี้ แต่ถ้าเข้าผ่าน Playlist ไม่มีปัญหาอะไรนะ
อีกจุดที่เคยบอกไปว่า ถ้าเราจะฟัง Lossless และ Master ความเร็วอินเตอร์เน็ตก็ควรจะสูงและถ้าใช้เน็ตโทรศัพท์ก็เตรียมตัวเน็ตหมดกันได้เลย แนะนำให้เปย์นางด้วย Package เน็ตแรง ๆ และเยอะ ๆ ก็จะแก้ปัญหาได้ดี แน่นอนว่ามันคือการ ใช้เงินแก้ปัญหา นั่นเอง
ไหน ๆ ก็พูดเรื่องตังค์ มาดูราคาค่าบริการกันบ้างดีกว่า ใหญ่ ๆ มันจะมีอยู่ 2 Package ให้เราเลือกคือ Premium สำหรับคนเปย์น้อย และ HiFi สำหรับคนเปย์หนัก ในราคา 179 บาทและ 358 บาท ต่อเดือน ตามขนาดของการเปย์ โดยทั้ง 2 สามารถเข้าถึงเพลงได้เท่ากันแหละ แต่จุดที่คนสายเปย์จะได้เพิ่มก็คือคุณภาพไฟล์แบบ Lossless ทั้ง FLAC และ MQA ถ้าเทียบกับ Spotify ที่เดือนละ 129 และแบบ Family เดือนละ 199 บาท ก็ถือว่า Tidal Premium ราคาแอบแพงกว่า Spotify อยู่นิดหน่อย แต่ไม่แน่ใจว่าคุณภาพมันต่างกันขนาดไหนเหมือนกัน แต่ถ้าใครชอบฟังไฟล์เพลงคุณภาพสูง Tidal ก็เป็นตัวเลือกที่ดีอยู่นะ ราคามันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น ถ้าบอกว่าเดือนละ 358 บาท มันก็ตกวันละเกือบ 12 บาทเท่านั้นเอง แล้วดูว่าวันนึงเราฟังนานเท่าไหร่ก็คุ้มแล้ว ณ จุด ๆ นี้
ถามว่า เราใช้ Tidal แล้วจะเลิกใช้ Spotify มั้ย ก็คงตอบว่า ไม่นะ เพราะจากที่เราได้ใช้มาทั้ง Spotify และ Tidal แล้ว มันก็มีข้อดี ข้อเสียของแต่ละตัวไม่เหมือนกัน อย่างข้อดีของ Spotify มันคือการ Discover เพลงใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยฟังและการ Recommend เพลงของมันไม่ได้เป็นการทำอะไรแบบไก่กาเลย เพราะเพลงที่มันแนะนำมาจัดว่าดี ๆ มาก ๆ เหมาะสำหรับเราที่ไม่ชอบหาเพลงใหม่ ๆ เอง แต่อยากฟังเพลงที่ไม่ซำ้ซากจำเจ นอกจากนั้นเพลงไทยมันก็มีเยอะด้วยไง ถ้าใครชอบฟังเพลงไทยก็อาจจะเหมาะ แต่ข้อเสียก็คงอยู่ที่คุณภาพเสียงนี่แหละ ที่เป็น Lossy ทำให้เวลาฟังมันก็จะหงุดหงิดหน่อย ๆ (ไม่รู้นะ เราฟังออกเลยนะ อันไหนดี อันไหนไม่ดี เหมือนเราดูวีดีโอเลย)
สำหรับ Tidal เราก็น่าจะให้เรื่องคุณภาพเสียงนี่แหละ ที่ทำให้เราได้ดื่มด่ำกับสิ่งที่เจ้าของเพลงอยากให้เราได้ยิน เพราะถ้าเปรียบไฟล์เพลงเป็นผลงานสักชิ้นนึง คนที่ทำเพลงขึ้นมาก็คงอยากให้เราได้เข้าถึงอารมณ์ของผลงานชิ้นนั้น ๆ ไฟล์เพลงคุณภาพสูงแบบนี้แหละเป็นเหมือนทางเข้า ให้เราได้รับประสบการณ์ที่ว่าได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ตอนนี้เราเวลาฟังเพลงก็คือ ถ้านั่งอยู่เฉย ๆ ก็จะหยิบ DAC ขึ้นมาต่อแล้วเปิด Tidal เลย แต่ถ้าต้องการความีคล่องตัวก็จะใช้ Spotify เพราะจะได้ไม่ต้องเลือกเพลง จิ้ม Shuffle แล้วจบเลยชิว ๆ
Tidal เป็นบริการ Music Steaming คุณภาพสูง ที่คุณภาพมันดีจริง ๆ ถ้าเรายอมเปย์มันใน Package HiFi ประกอบกับถ้าเรามีเครื่องเสียงที่สามารถรีดคุณภาพของไฟล์ออกมาได้ ทำให้มันคุ้มยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกหลายเท่า ถ้าจะให้ติ ก็คงเป็นเรื่องของการค้นหา การแนะนำเพลง และจำนวนเพลงไทยที่บางคนอาจจะชอบฟังอันนี้ก็แล้วแต่คน แต่ส่วนตัวเราเป็นคนไม่ค่อยฟังเพลงไทยซะเท่าไหร่ เลยไม่ได้เดือดร้อนอะไร ทำให้ Tidal น่าจะเหมาะกับคนที่ชอบฟังเพลงแบบจริงจังขึ้นไปอีก จริงจังกว่า Spotify และ Apple Music ที่กลุ่มผู้ใช้น่าจะเป็นคนที่ฟังเป็นงานอดิเรกเฉย ๆ ถ้าใครชอบฟังเพลงแบบเริ่มจริงจังมากขึ้น และได้เปย์หูฟังกับ DAC ดี ๆ หน่อยก็แนะนำเลยฮ่ะ เปย์ Tidal เพิ่มซะ !! แล้วจะรู้ซึ้งว่าไฟล์คุณภาพต่างกันมันเป็นยังไง !!
เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...
ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...
จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...
หลังจาก Apple Transition ไปสู่ Apple Silicon มาจนถึงจุดที่การเปลี่ยนผ่านเสร็จสิ้น เราก็ไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไรกับ Apple Silicon อีกเลย จนกระทั่งตอนที่ M4 ออกนี่แหละ ที่เราคิดว่า มันถึงจุดที่ใช่ละ ฤกษ์มันมาแล้ว ก็จัดเลยสิครับ มาดูกันว่าฤกษ์มันจะตรงอย่างที่เราคิดหรือไม่...