รีวิว Tesla Powerwall หมดปัญหาไฟดับ ไฟตกในราคาเกือบ 7 แสน (ตอน 2)

ตอนก่อน เราได้รีวิว Part การติดต่อ และ ติดตั้งตัว Tesla Powerwall ไปละ ในบทความนี้ เรามาดูกันดีกว่าว่า Powerwall มันมีการใช้งานอะไรยังไง แล้วมันดีจริง ๆ มั้ย

Powerwall ทำงานยังไง ?

สำหรับท่านที่อาจจะไม่คุ้นเคยกับการทำงานของ Powerwall เรามาเล่าให้อ่านกันก่อน หลัก ๆ แล้ว Powerwall เขาเป็น Battery สำหรับการเก็บพลังงาน ใช้ได้ทั้งภายในบ้าน และ สำหรับสำนักงาน (อาจจะต้องหลายก้อนหน่อย ฮ่า ๆ)

มิเตอร์ TOU คืออะไร ? เปลี่ยนแล้วจะคุ้มค่าจริงมั้ย ?
เมื่อก่อนเราก็เข้าใจว่า การคิดค่าไฟในประเทศไทย มันจะมีแค่แบบเดียวคือการใช้อัตราก้าวหน้าแบบปกติเลย แต่หลังจากที่เราติด Solar Cell ไป คนที่ติดให้เขาแนะนำให้เราเปลี่ยนไปเป็นมิเตอร์แบบ TOU ตอนนั้นเราก็คิดนะว่า เปลี่ยนแล้วมันจะคุ้มกว่ามั้ย วันนี้เราลองมาวิเคราะห์ให้ดูกันจัง ๆ เลยดีกว่า

โดยเขารองรับการชาร์จทั้งผ่าน Solar Cell และ การชาร์จผ่าน Grid ด้วย เอ๊ะ ชาร์จผ่าน Grid เราจะทำแบบนั้นทำไม เป็นเพราะ ถ้าเราใช้การคิดค่าไฟแบบ TOU (Time of Use)  เราสามารสั่งให้ Powerwall มันซื้อไฟในช่วงเวลา Off-Peak เพื่อเก็บไว้ใช้ในช่วง On-Peak ได้ เราจะได้ไม่ต้องเสียค่าไฟแพงในช่วง On-Peak นั่นเอง

นอกจากนั้น มันทำงานร่วมกับ​ Tesla Energy Gateway (TEG) เพื่อให้มันสามารถที่จะทำหน้าที่เป็นระบบไฟสำรองเวลาที่ระบบไฟจาก Grid หรือก็คือการไฟฟ้ามีปัญหาได้ เช่น ถ้าเกิดการไฟฟ้าสั่งตัดไฟ เพื่อซ่อมบำรุง หรือเกิดหม้อแปลงระเบิดอะไรที่เราเจอกันบ่อย ๆ บ้านอื่นไฟดับ ก็จะเป็นบ้านเราบ้านเดียวนี่แหละที่ไฟติดอยู่แบบ งง ๆ และระบบการ Backup มันพร้อมตลอดเวลา ทำให้มัน Kick-in โดยที่เราไม่รู้สึกเลย ถ้าไม่มี Notification จาก Tesla App เราไม่รู้เรื่องเลยนะ

ปกติ เมื่อ Powerwall มันอยู่ในสถานะการทำงานปกติ กลางวัน ถ้าเรามีการผลิตจาก Solar Cell แล้วเหลือ มันก็จะถ่ายเข้า Powerwall ให้เราเอง โดยมันจะรับได้สูงสุดที่ 5 kW เท่านั้น ถ้า ไฟที่เราเหลือมันเกิน 5 kW มันก็จะส่งออกไปที่ Grid ในกรณีที่เราอนุญาติให้มีการ Export ไปขาย หรือกลับกัน ถ้าเราใช้ไฟเยอะกว่าที่ Solar Cell ผลิตได้ หรือ ไม่ผลิตเพราะกลางคืน มันก็จะดึงไฟออกจาก Powerwall จ่ายกลับเข้าไปในบ้านให้ แต่ ๆๆ Powerwall มันจ่ายได้ 5 kW ต่อเนื่อง และ 7 kW Peak แปบเดียว ทำให้ถ้าเราใช้เกิน มันก็จะดึงไฟจาก Grid มาด้วย แต่ถ้าไฟดับมันก็จะเข้า Backup Mode ทันที Main ที่อยู่ใน TEG ก็จะโดนตัด แล้วจ่ายไฟจาก Powerwall ล้วน ๆ แทน ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเกิด มันก็จะตัดการทำงานไปเลยเด้อ

ดังนั้น ประโยชน์ใหญ่ ๆ ของ Powerwall คือ เรื่องของการเก็บไฟที่เหลือจาก Solar Cell บ้านใครที่ใช้ TOU ก็สามารถเลือกที่จะซื้อไฟช่วง Off-Peak ราคาถูกไว้ใช้ในเวลาอื่น ๆ ได้ ก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายค่าไฟต่อเดือนออกไปได้ และ ยังรองรับการ Backup ในกรณีที่ไฟดับได้ด้วย

Tesla App

การใช้งาน และ การตั้งค่าทั้งหมด เราจะทำผ่าน Tesla App ตัวเดียวกับที่คนใช้รถ Tesla ใช้เลย เมื่อเราเข้ามาหน้าแรก มันจะแสดงรายละเอียดการใช้พลังงานของบ้านเรา เรียกว่า เกือบจะ Real-time เลย เราบอกเลยว่า เราไม่เคยเห็นจากเจ้าไหนที่ทำได้ขนาดนี้นะ เช่น Huawei นี่น่าจะมี 10-15 นาที Update ค่าใหม่ทีนึง ทำให้การดูค่ากำลังไฟมันแอบไม่ Make Sense เท่าไหร่ และ ทำ Graphic ออกมาได้สวย ดูง่าย ใช้ได้เลย

เราสามารถที่จะทดลอง สั่งให้ TEG มันตัดตัวเองออกจาก Grid ได้ด้วย โดยการกด Go Off-Grid ถ้าเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มันตั้งไว้ผ่าน เช่น Powerwall แบตต้องเหลือไม่ต่ำกว่า 20% หรือการใช้ไฟเราโหลดมันน้อยกว่า 5kW มันก็จะทำการตัด Grid ออกไปเลย เสมือนกับบ้านเราไฟดับ สับ Main Breaker ลง มิเตอร์จะไม่วิ่งไม่อะไรทั้งนั้นเลย (ถ้าแมร่งขยับคือ ตลกเลยนะ) แต่ถ้า Powerwall ของเรา แบตกำลังจะหมดเหลือ 5% หรือ 10% นี่แหละ มันจะยกเลิกโหมดนี้กลับสับ Grid กลับมารันเหมือนเดิม เราว่า Feature นี้พวก Youtuber เรียกร้องปะ แบบอยากทำ Grid Outage Challenge เมื่อก่อนต้องไปสับ Grid ออกเองจาก Breaker แล้วพอ Powerwall หมดไฟดับเลย ฮ่า ๆ

มาที่เมนูสำหรับการดูข้อมูลกันบ้างดีกว่า เราว่า Tesla ออกแบบเมนูมาให้เป็นมิตรกับคนทั่ว ๆ ไป และยัง Informative สำหรับการปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของเรามาก ๆ

เริ่มจากเมนู Impact เมื่อเราเข้ามามันจะบอกให้เราเลยว่า วันนี้ หรือ เราเลือกช่วงเวลาได้นะ เราใช้ไฟจากแหล่งที่มาไหนคิดเป็นกี่ Percent เช่น ถ้าเราเห็นว่า เห้ย เราใช้จาก Solar น้อยจังเลย เราก็อาจจะปรับการใช้งาน การทำงานบางอย่างที่ใช้ไฟเยอะไปในช่วงกลางวันที่ Solar กำลังทำงานได้มั้ย

เลื่อนลงมา ก็จะเป็น Solar Offset ก็จะบอกเราว่า พลังงานที่เราใช้งานเทียบกับที่ Solar ผลิตได้ทั้งหมดคิดเป็นเท่าไหร่ เช่น ของบ้านเราวันนี้ Solar ผลิตได้ทั้งหมด 15.8 kWh แต่บ้านใช้อยู่ 22.0 kWh ดังนั้น ไฟจาก Solar Cell มันก็จะคิดเป็น 71% เมื่อเทียบกับการใช้ไฟทั้งหมด เป็นสัญญาณว่า เอ๊ เราจะต้องลดการใช้ไฟ หรือใช้เพิ่มแล้วมั้ยนะ

ไปที่เมนู Energy กันบ้าง อันนี้ชอบมาก ๆ ฉลาดในการเลือก Visualise มาก เพราะเรามีมิติของ บ้าน, Powerwall, Solar และ Grid ใน App เขาจะแบ่งค่าที่เราต้องการดูอยู่ข้างล่างให้เรากดเรียบร้อย เช่น อันนี้ เราขอดูบ้าน มันจะมี Graph กำลังไฟบอกเลยว่า ช่วงเวลาไหน เราใช้ไฟ จากแหล่งที่มาคิดเป็นเท่าไหร่ กับด้านล่าง สรุปมาให้เราเลยว่า จากแต่ละแหล่งคิดเป็นพลังงานมันเป็นเท่าไหร่บ้าง

หรือในฝั่งของ Powerwall เอง กราฟมันก็จะบอกกำลังที่ Powerwall มันชาร์จ และ จ่ายออกในแต่ละเวลา แล้วสรุปออกมาด้วยว่า มันชาร์จเข้าจากอะไรไปเท่าไหร่ และ จ่ายออกไปไหนเท่าไหร่

ฝั่งของ Solar มันก็จะบอกว่า ไฟที่ผลิตจาก Solar ในแต่ละช่วงเวลาเป็นเท่าไหร่ แล้วกำลังพวกนั้นมันไปที่ไหนบ้างไปบ้าน ไป Powerwall หรือกระทั่งไป Grid สำหรับคนที่ขายไฟ

และสุดท้ายในมุมมองของ Grid มันก็จะแสดงให้เราเห็นว่า Grid มันโหลดตอนไหนบ้าง แล้วโหลดพวกนี้มันวิ่งไปบ้าน หรือ Powerwall แต่ในภาพด้านบนคือ เราไม่ได้อนุญาติให้มันซื้อไฟเก็บไว้ เลยไม่มีการซื้อไฟใส่เข้าไปใน Powerwall กับเราจะเห็นว่า ช่วงกลางวัน กราฟมันโบ๋ไป ข้อมูลไม่ได้หายนะ แต่เพราะว่า ช่วงเวลานั้น เราโหลดกันจาก Solar และ Powerwall ทั้งหมด เลยทำให้มิเตอร์เราจะไม่หมุนเลย เจ๋งมาก ๆ

Operation Mode

ภายในการตั้งค่าเราสามารถเลือก Backup Reserve หรือก็คือ ปริมาณพลังงานที่แบตจะเหลือไว้เผื่อในกรณีที่ไฟดับขึ้นมา ค่าเริ่มต้นเขาจะอยู่ที่ 20% แต่ของเราตั้งเอาไว้ที่ 10% พอ เพราะเราไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ๆ ไฟดับเป็นระยะเวลานาน ๆ ดังนั้นเลยเอาไว้แค่นี้แหละ ที่เหลือเก็บไว้ใช้ดีกว่า แต่พอเราตั้งแบบนี้ปุ๊บ มันจะ Warning เลยว่า ถ้า Battery เหลือต่ำกว่า 5% ใน Off-Grid Mode มันจะเข้าสู่สถานะ Standby แปลว่า ถ้ามันเหลือต่ำกว่า 5% มันจะไม่จ่ายไฟนั่นเอง ถ้าเราตั้งเหลือไว้ 10% แปลว่า เราจะมี Backup จริง ๆ ที่ 5% เท่านั้น เราคิดว่า น่าจะเพียงพอกับการใช้งานของบ้านที่ไฟดับไม่บ่อยแล้วละ

เราสามารถตั้งโหมดการทำงานได้ คือ แบบ Self-Powered และ Time-Based Control โดยแบบแรก ง่ายมาก ๆ คือ เราพยายามจะลดการดึงไฟจาก Grid โดยการใช้พลังงานจากตัวเราให้มากที่สุด เหมาะกับบ้านที่ยังไม่ได้เปลี่ยนมาใช้แบบ TOU คือ Powerwall มันก็จะเอาไฟที่เหลือจาก Solar Cell และการใช้ภายในบ้านไปชาร์จเข้า Powerwall เก็บไว้ ถ้าเราเกิดต้องการใช้ไฟขึ้นมา มันก็จะปล่อยไฟออกมาให้เราใช้ ทำให้มันลดโอกาสที่เราจะดึงไฟจาก Grid ได้นั่นเอง

ส่วนอีก Time-Based Control จะสำหรับบ้านที่ใช้ TOU มันจะพยายามลดค่าไฟที่เราจะต้องจ่ายให้ได้มากที่สุดคือ เราจะต้องกรอกเข้าไปว่า Utility Plan Rate หรือค่าไฟของเรามันคิดยังไง ช่วงไหนถูก ช่วงไหนแพงราคาเท่าไหร่ แล้วเครื่องมันจะปรับการจ่ายไฟเพื่อให้เราเสียค่าไฟถูกที่สุด เช่นช่วง On-Peak ค่าไฟแพง ถ้าเราใช้เกิน Solar มันก็จะพยายามเอา Battery มาใส่ให้เต็ม หรือกลางคืน ไฟถูกมันก็จะจ่ายจาก Grid เอา แต่เป้าหมายของมันก็คือ การ Optimise การใช้ไฟให้ดึงจาก Grid ในช่วง On-Peak ให้ได้มากที่สุด

เลื่อนลงมา อันนี้แหละ เราชอบมากคือ Grid Charging บางประเทศจะไม่มีตัวเลือกนี้ให้เราติ๊กนะ เพราะบางประเทศเขาไม่อนุญาติให้เราชาร์จ Backup Battery จาก Grid แต่บ้านเราไม่ได้มีข้อบังคับว่าไม่ให้ทำ ทำให้ตัวเลือกนี้เลยมีขึ้นมา คือ ถ้าเราติ๊กเปิด และ เราใช้ Time-Based Control มันจะพยายามเดาว่า ช่วงกลางวัน เราน่าจะใช้ไฟเกินเท่าไหร่ มันจะซื้อไฟในช่วงที่ถูกที่สุดเก็บเอาไว้ไปใช้กับช่วงที่แพงกว่า เช่นประเทศไทยเรา ไฟ On-Peak หน่วยละ 5.1135 และ Off-Peak 2.6037 บาท หรือหาร ๆ ออกมาคือ 1:2 เลยนะ คือ ไฟ On-Peak 1 หน่วย เกือบ ๆ เท่ากับไฟ Off-Peak 2 หน่วย ทำให้การใช้ Grid Charging กับ TOU ทำให้เราประหยัดไปได้พอสมควรเหมือนกัน

Tesla launches ‘Charge on Solar’ to charge your cars with sunshine
Tesla has officially launched its new ‘Charge on Solar’ feature to let its electric car owners charge their vehicles with…

แล้วใน Feature Update เขามี Charge on solar ด้วยนะ แค่เรามี Powerwall และรถ Tesla เราสามารถตั้งให้มันชาร์จจาก Solar อย่างเดียวได้ด้วย คิดว่าน่าจะต้องรอ Software Update ฝั่งไทย ตอนนี้ ใน App มันอนุญาติให้เราเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ได้เท่านั้น ยังไม่เปิด Feature นี้มาให้ ไว้ถ้าเปิดมา เราจะมารีวิวให้อ่านกัน

ความคุ้มค่าอยู่ตรงไหน ?

ถ้าเราบอกว่า Powerwall ตัวนี้ รวมติดตั้งหมด จะอยู่ที่ 699,990 บาท ตีกลม ๆ ว่า 7 แสนก็ได้ ความคุ้มค่ามันอยู่ตรงไหนที่ประกัน 10 ปี เราสามารถตอบได้เลยว่า มันไม่มีทางคุ้มทุนก่อน 10 ปีประกันหมดแน่นอน ถึงจะปรับไปใช้ TOU และปรับพฤติกรรมยับ ๆ แล้วอะนะ เพราะราคานี่แหละ สูงปรี๊ด เราก็ยังยืนยันคำเดิมว่า ถ้าใครที่จะติด Battery เพื่อประหยัดค่าไฟร่วมกับ Solar Cell คิดผิดมาก ๆ สำหรับคนกลุ่มนี้อาจจะต้องรอดู Battery Generation ใหม่ ๆ ที่ราคาถูกลงเช่นพวก Sodium Battery ที่ราคาน่าจะถูกลง ความหนาแน่นพลังงานช่างมัน เราแขวนบ้านหนักเท่าไหร่ไม่สำคัญอยู่แล้ว เอาราคาต่อหน่วยไฟถูกก็โอเคละ

แต่ Value ที่เรามองหาคือ เรื่องของการลดการพึ่งพา Grid ล้วน ๆ บ้านเราจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรถ้าไฟดับ การทำงาน การอยู่อาศัยของเราจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย ไม่ว่าการไฟฟ้าจะดับไฟหรือทำอะไรกับระบบจำหน่ายไฟ ไฟดับขึ้นมากลางดึก เราก็ไม่ต้องตื่นขึ้นมาเพราะเหงื่อท่วม หรือ เราไม่สามารถอาบน้ำเพื่อจะไปทำงานได้ เพราะปั้มน้ำไม่มีไฟจ่ายไฟดับอยู่ นี่แหละคือ สิ่งที่เรามองเห็นว่า เออ มันมีค่าจริง ๆ นะ โดยเฉพาะ บ้านเราเองต้องยอมรับเลยว่า คุณภาพ Grid ของ MEA แถวบ้านคือ บรรลัยมาก ๆ อาจจะเพราะหมู่บ้านมันเก่าแล้วแหละ ซื้อตั้งแต่เราเกิดมาไม่กี่ปีจนแมร่งจะ 30 ละ คงไม่แปลกที่อาจจะมีปัญหาหลายอย่าง

สรุป

Tesla Powerwall เป็น Battery สำหรับบ้านและอาคารสำนักงาน ที่ไม่ได้ทำให้การติด Solar Cell ของเรามันคุ้มทุนเร็วขึ้น หรือทำให้เราได้กำไรเป็นเงินจากการประหยัดค่าไฟเพิ่มมากขึ้น แต่เป็นเรื่องของการสำรองไฟทำให้บ้านหรือสำนักงานของเราใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่สะดุด เมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่น เราคิดว่า Powerwall น่าจะเหมาะกับเราที่สุดแล้วละ เพราะการ Backup ที่เป็นประเด็นหลักของเรา มันทำได้เร็วแบบไม่ขาดตอน ไม่รู้สึกเลยว่าไฟดับจริง ประกอบกับ Software ที่เป็นงานถนัดของ Tesla เขาทำมาดีมาก ๆ พวก App การแสดงข้อมูล และ การตั้งค่าต่าง ๆ ที่ยังอนุญาติให้ผู้ใช้มีการตั้งค่าอะไรเองได้บ้าง และเรื่องที่สำคัญคือ การเคารพข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าตัวเอง ถึงเขาจะมีระบบหลังบ้านให้ Installer ของเราเข้ามาตั้งค่า หรือดูอะไรได้ แต่ขั้นตอนมันทำมาดีจริง ๆ ทำให้เราไม่รู้สึกเลยนะว่า เราโดนแอบดูข้อมูลกันทุกวันจนน่ากลัวเหมือนที่ฝั่ง Huawei ทำ นั่นทำให้ Cost ที่แพงกว่า Huawei ที่เราดูไว้ มันคุ้มค่ามาก ๆ