By Arnon Puitrakul - 25 มีนาคม 2020
Sony WF-1000XM3 เป็นหูฟัง Truly Wireless ตัวล่าสุดจาก Sony ที่จะทำให้ Sony กลับมาผงาดในตลาด Truly Wireless อีกครั้ง หลังจากรุ่นก่อน WF-1000X ที่สำนักรีวิวหลายเจ้าแอบผิดหวังกัน วันนี้เราจะมารีวิวเจ้า Mark 3 กันหน่อยสิ๊ว่า มันจะทำให้ Sony กลับมาผงาดได้จริงมั้ย หรือจะพังกันแน่ ฮ่า ๆ
ก่อนเราจะไปรีวิวกัน เรามาแกะกล่องพร้อม ๆ กันก่อนดีกว่า ตัวกล่องก็จะเป็นกล่องกระดาษธรรมดาเลย ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษขนาดนั้น ที่หน้ากล่องก็จะมีการเขียนรุ่นมา ด้านล่างก็จะมีเป็นเหมือนสติ๊กเกอร์แปะไว้ว่า Google Assistant เดาว่ามันคงทำให้รองรับได้ทีหลังเหรอ เลยต้องแปะเป็นสติ๊กเกอร์ฮ่า ๆ และด้านล่างสุด ก็จะเขียน เป็นระยะเวลาการใช้งาน 6+18 ชั่วโมง และก็มีเขียน Wireless และ Noise Cancelling
ตัวที่เราซื้อมา มันจะแถมเคสหนังสำหรับใส่ตัวเคสอีกด้วยนะ แพคมาคู่กันเลย เดี๋ยวจะแกะให้ดูว่าเป็นยังไง
ด้านข้างกล่องก็ไม่มีอะไร ก็จะมีเขียนแค่ Sony ปกติ
ด้านหลังกล่องเอง ก็จะเป็นการบอกสรรพคุณต่าง ๆ ว่ามันทำอะไรได้บ้าง กับมีรูปของนิดหน่อย
ด้านบนของกล่อง ก็จะมีเขียน Made for iOS กับ Android เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปแล้วล่ะ กับพวก TRA อะไรไม่ต้องไปสนใจกับมันเลย
กลับมาที่ด้านข้างอีกข้างกัน มันจะเป็นดำ ๆ ก็คือ มันจะเป็นกล่องอีกกล่องให้เราดึงออกมาได้
เมื่อเราดึงออกมาแล้ว เราก็จะเจอกับขั้นตอนการเริ่มต้นใช้งาน เราว่าตรงนี้การออกแบบ ประสบการณ์การแกะกล่อง ถือว่าไม่เลวเลยนะ โดยเฉพาะกับคนที่พึ่งใช้งานแรก ๆ น่าจะมีความ งง ในการใช้งานอยู่
กล่องด้านใน เมื่อเราเปิดฝาออกมา เราจะเจอกับตัวหูฟังทั้ง 2 ข้าง และ เคสวางอยู่ในกล่องอย่างสวยงามเลย
เมื่อเราดึงส่วนที่มีหูฟัง และ เคส ออกมา ชั้นต่อไป เราจะเจอขั้นตอนที่ 2 และ 3 ก็คือ การโหลด App และ Pair เข้ากับ Device ของเรา
จากนั้น เราก็ดึงหน้าที่เป็นขั้นตอนเมื่อครู่ออกมา เราก็จะพบกับพวกของ Bundle ทั้งหลาย ที่เราว่ามันดีมากคือ จุกหูฟังที่แถมมาให้ เลยดีมาก ๆ
นอกจากนั้น ด้านล่างเมื่อกี้ ก็จะมีพวกคู่มือการใช้งานมาให้เราด้วย แน่นอนว่า เราไม่อ่านยาวไป ข้ามมมม
กับกล่องที่ใส่ จุกหูฟัง Sony ให้มาทั้งหมด 3 ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ โดยจะแบ่งออกเป็นอีก 2 แบบคือ เป็นโฟม ที่จะใส่สบายกว่าหน่อย แต่การซีลเสียงทำได้แย่กว่า (เพราะโฟมมีรูพรุนเยอะ) กับที่เป็นยาง ที่จะซีลเสียงได้ดีกว่า แต่ใส่ไม่ค่อยสบายเท่ากับโฟม อันนี้ก็ขึ้นกับเราเลือกแล้วว่า เราชอบแบบไหน และต้องใส่ให้ถูกไซส์ด้วยนะ เพื่อประสิทธิภาพในการจัดการเสียงรบกวนให้มากที่สุด
เราลองเอามาวางข้างกัน ถ้า งง ว่าอันไหนมันคืออันไหน ให้ลองวางเทียบกันดูเลย ถ้าอันที่อ่อนกว่าจะเป็นยาง และ อันที่ดำกว่าจะเป็นโฟม ถ้าได้ไปลองจับของจริง แล้วลองมองเข้าไปใกล้ ๆ อันที่เป็นโฟม เราจะเห็นเลยว่ามันเหมือนเป็นรู ๆ อยู่เยอะไปหมดเลย
ด้านล่างเปิดลงไปอีก เราก็จะเจอกับสาย USB-C to USB-A เส้นสั้น ๆ สีดำ สำหรับการชาร์จ
แต่ข้อสังเกตุคือ มันสั้นไปหน่อย แทบจะห้อยออกจาก Adapter บางตัวอยู่แล้ว กับคุณภาพของสาย มันเป็นเหมือนยาง ๆ สีดำธรรมดาเลย ถ้าโดนความร้อนไปนาน ๆ เราว่าระยะยาวไม่โอเคแน่ ๆ เลย เราว่าค่าตัวก็ไม่ถูกเลยนะ แต่ทำไมให้สายมาสั้น และ คุณภาพแบบนี้
ของในกล่องก็มีเท่านี้เลย ไม่ได้มีอะไรมากมายขนาดนั้น ก็จะมี หูฟังทั้ง 2 ข้าง, เคส, คู่มือ, จุกหูฟัง ทั้งหมด 12 อัน (6 คู่) และสาย USB-C to USB-A
ลักษณะโดยรวมของ Sony WF-1000XM3 ก็จะเหมือนกับ หูฟัง Truly Wireless ทั่ว ๆ ไปเลย ถ้าเราไปซื้อมันจะมีสีขาว และสีดำ อันนี้ขึ้นกับความชอบของแต่ละคนละกัน สำหรับตัวที่เราเอามารีวิวในวันนี้คือ จะเป็นตัวสีดำ
เรามาเริ่มที่ตัวเคสกันก่อน ได้เห็นครั้งแรก เราตกใจกับขนาดของมันมาก เพราะมันใหญ่มาก ๆ เลย อาจจะเป็นเพราะเมื่อก่อน เราเคยใช้ AirPod ด้วยแหละมั่ง พอมาเจอขนาดของเจ้านี่เข้าไปก็คือ ช๊อค ไปเลย ดูมันไม่น่าจะเอามาใส่กระเป๋ากางเกงเราได้เลย
ลักษณะของมันจะเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า ที่ทำจากพลาสติกคุณภาพดี บอกได้เลยว่าสัมผัสหลังจากได้จับมันดีมาก ๆ รู้สึกได้ถึงความหรูหราเลย ด้านล่างจะเป็นสีดำ ให้ความรู้สึกนุ่ม ๆ นิด ๆ เวลาจับ ส่วนฝาก็จะเป็นสี Rose Gold เพิ่มความหรูหราเข้าไปอีก กับขัดมาให้มันด้านนิด ๆ เวลาจับรู้สึกดีมาก
ด้านบนของตัวฝา ก็จะมีการเหมือนสลักคำว่า Sony ลงไป ถ้าเอานิ้วไปรูด ๆ จะรู้สึกว่าเหมือนมันขัดเพราะตรงตรา Sony มันบุ๊ม ๆ ลงไป
ด้านข้างก็ไม่มีอะไรเลย แต่จะเห็นได้ว่า ถึงมันจะใหญ่ก็จริง แต่ความหนาของมันไม่ได้เยอะเลย สามารถใส่กระเป๋ากางเกงได้อยู่นะ
ส่วนด้านล่างนั้นก็จะเป็นช่องเสียบ USB-C สำหรับชาร์จนั่นเอง
เมื่อเปิดฝาออกมา เราก็จะพบว่าฝามันจะเหมือนเป็นบุ๋มลงไป เพื่อให้เวลาเราเอาหูฟังใส่ลงไป มันจะได้เข้าที่พอดีนั่นเอง ส่วนที่ตัวเคส เราก็จะเห็นเป็นช่องสำหรับเอาหูฟังทั้ง 2 ข้างใส่เข้าไป
ดูให้ชัดขึ้น มันจะบอกเลยว่า ด้านไหนคือ ซ้าย ขวา ซึ่งในแต่ละข้าง เราจะเห็นว่ามันมีโลหะบางอย่างอยู่ ตรงนั้นเป็นที่ชาร์จกับแม่เหล็กที่ว่าเวลาเราเสียบหูฟังลงไป มันจะโดนล๊อคอยู่กับตัวเคสโดยแม่เหล็กและชาร์จผ่านแง่งที่เป็นจุด 3 จุดนั่นเอง
จะเห็นว่าเมื่อเราเอาเอาหูฟังใส่เข้าไป มันก็จะมีไฟแดงที่หูฟังขึ้นมา แสดงถึงสถานะว่ามันกำลังชาร์จแล้ว
เมื่อหันมาด้านหน้า เราจะเจอกับ สัญลักษณ์ NFC ที่เราสามารถนำอุปกรณ์ที่รองรับ NFC แตะแล้วใช้งานได้เลย
อีกข้อสังเกต เมื่อเราปิดฝา มันจะมีไฟแล่บออกมาด้วย อันนี้ก็คือ แสดงสถานะของตัวเคสด้วยว่า มันเหลือแบตเท่าไหร่ หรือกำลังชาร์จรึเปล่าอะไรแบบนั้น
มาดูที่ตัวหูฟังกันบ้าง จะสังเกตได้ว่า มันมีขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับฝ่ามือของเรา และวัสดุที่ใช้ก็จะทำจากพลาสติกที่จับแล้วให้ความรู้สึกหรูหรามาก น้ำหนักเพียงข้างละ 8.5 กรัมเท่านั้น
ที่ด้านบนของหูฟัง ก็เป็นพลาสติกเช่นกัน ที่มีการพิมพ์คำว่า Sony ลงไปด้วยสี Rose Gold และมีรู ๆ นึงที่หลาย ๆ คนถามมาเยอะมาก ว่ามันคือรูอะไร จริง ๆ มันคือ รู Microphone สำหรับตัดเสียงรบกวนนั่นเอง และกลม ๆ ที่อยู่ด้านบน จะเป็น Touch Control ของหูฟังนี้ ซึ่งเดี๋ยวเราจะอธิบายการใช้งานในหัวข้อต่อ ๆ ไป
ถ้าเราเอามาวาง จะเห็นได้เลยว่ามันเล็กน่ารักมาก
ที่ด้านหัวของ Touch Control เราจะเห็นว่ามีการพิมพ์บอกด้วยว่า นี่คือข้างไหน ซ้าย หรือขวา ผ่านตัวอักษร L และ R นั่นเอง พร้อมกับ ปริมาณไฟ และ แน่นอนว่า ไม่ได้ผลิตในไทย ฮ่า ๆ
ส่วนด้านข้างก็ไม่ได้มีอะไรพิมพ์อยู่เลย
เมื่อหงายดูด้านล่าง เราจะเห็นเหมือนแง่งสีทอง ๆ อันนั้นเอาไว้เชื่อมต่อกับตัวเคสเพื่อชาร์จ แล้วก็จะเป็นหู
)
ด้านตรงข้ามกับเมื่อกี้ หลังหูมันจะมีอะไรเงา ๆ อยู่ ในรูปอาจจะไม่เห็น อันนั้นเป็น Sensor สำหรับตรวจสอบว่า มันมีการสวมใส่อยู่รึเปล่า เพราะหูฟังตัวนี้มันสามารถหยุดเล่นเองได้ เมื่อมีการถอด และเริ่มเล่นต่อ เมื่อเราใส่มันเข้าไปอีกครั้ง
)
ไปที่เคสแถมกันบ้าง มันทำจากหนังธรรมดาเลย ไม่ได้ให้ความรู้สึกหรูอะไร เออแต่ก็เข้าใจได้ว่า มันเป็นของแถมอะนะ เลยไม่ได้คาดหวังอะไรมาก ด้านหน้าก็จะมีเขียน For and By Music Lover ซึ่งเป็นเหมือน Sologan ของ Sony ไปซะแล้ว
ด้านข้างก็เรียบ ๆ เลย ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษเท่าไหร่
ด้านล่างจะเป็นช่องที่เขาเจาะไว้ให้เพื่อให้เราสามารถเสียบ USB-C ได้เลย โดยที่เราไม่ต้องแกะเคสออกมา
ส่วนด้านหลัง มันจะเป็นเหมือนกับที่คล้องสายห้อย เราจะเห็นว่ามันมีห่วงอยู่
ใช่แล้วล่ะ มันไว้ห้อยจริง ๆ เพราะมันมาพร้อมกับสายห้อยด้วย
เมื่อเราใส่ตัวเคสเข้าไป มันก็พอดีเลย (แหงแหละ มันออกแบบมาให้พอดีนิ) โดยที่จะเว้นตรงฝาไว้ให้เราสามารถเปิดปิดได้ปกติ กับมีการเว้นช่องที่ให้ไฟแสดงสถานะออกด้วย
การใช้งานสำหรับหูฟังนี้เราบอกเลยว่า ไม่ยากเลยจริง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการเชื่อมต่อ ถ้าอุปกรณ์ของเรารองรับ NFC มันจะง่ายมาก ๆ เลยละ แค่แตะมันเข้ากับอุปกรณ์ของเรา เท่านี้การเชื่อมต่อก็เรียบร้อยแล้ว หยิบขึ้นมาใสได้เลย
แต่ถ้าไม่มี ก็ต้องแตะที่ Touch Control ของทั้ง 2 ข้างไว้พร้อม ๆ กัน แล้วมันจะเข้าสู่ Pairing Mode ซึ่งเราก็ไม่ค่อยได้ใช้ Mode พวกนี้ซะเท่าไหร่ เรา Pair ผ่าน NFC ซะส่วนใหญ่
กับหูฟังตัวนี้ เราไม่สามารถที่จะใช้งานหลาย Device พร้อมกันได้ เราต้อง Connect ทีละ Device ซึ่งถ้าเรา Pair ไว้แล้วมันจะง่ายมาก ๆ เพียงแค่เข้าไปสลับใน Settings ของ Device เท่านั้นเอง ถ้าเป็นตัวอื่น การสลับมันจะใช้เวลาอยู่พอสมควรเลย แต่ตัวนี้เราพบว่ามันสามารถ Disconnect ออกจากตัวแรก และ Connect เข้ากับ Device ใหม่ได้อย่างรวดเร็วมาก ถือว่าทำได้ดีเลยก็ว่าได้
เวลาเราหยิบออกจากเคสแล้วเอามาใส่ มันจะมีเสียงเป็นเสียงผู้หญิงบอกว่า Power On กับ ปริมาณของ Battery ที่เหลือของแต่ละข้าง และ Bluetooth Connected เวลาเราได้ Pair กับ Device เอาไว้แล้ว ได้ยินครบแล้วก็ถือว่าใช้งานได้เลย
ส่วนเรื่องของการใช้งานจริง ๆ เล่าก่อนว่า การใช้งานมันค่อนข้างยากสำหรับมือใหม่มาก ๆ เพราะ Command ด้านซ้ายและขวามันไม่เหมือนกันเลย สำหรับด้านซ้ายจะเกี่ยวกับ Noise Cancelling และด้านขวา จะเกี่ยวกับการควบคุมเพลง รับสาย วางสายต่าง
เอาที่ด้านขวาก่อน ที่เราบอกว่ามันเกี่ยวกับการ รับสาย วางสาย ต่าง ๆ ก็คือ ถ้าโทรศัพท์เข้า เราก็สามารถแตะที่ Touch Control ทีนึงเพื่อรับสาย และวางสายเมื่อเสร็จได้ หรือถ้าเป็น Music Control ที่เราแตะเพื่อเล่น หรือ หยุดเพลงได้ กับเหมือนหูฟังอื่น ๆ ที่เราสามารถแตะ 2 ครั้ง เพื่อเล่นเพลงต่อไป หรือ 3 ครั้งเพื่อเล่นเพลงก่อนหน้าได้
มาที่ข้างซ้าย ที่ซับซ้อนกว่าคือ กด 1 ครั้งไปเรื่อย ๆ เพื่อเป็นการเปลี่ยน Mode จาก Noise Cancelling, Ambient Sound ที่จะเอาเสียงจากข้างนอกเข้ามา และ ปิดการใช้งาน Ambient Sound ก็คือไม่เปิด Noise Cancelling และ ไม่รับเสียงจากข้างนอกเข้ามา และ ๆๆๆ เมื่อเรากดค้างไว้ มันจะหยุดเพลง แล้วรับเสียงจากข้างนอกเข้ามา เอาไว้ใช้เวลาเราต้องคุยกับคนอื่น เราก็สามารถทำตัวเหมือนสายลับ แบบ กดปุ่มซ้ายเพื่อจะพูดได้เลยอะไรแบบนั้นฮ่า ๆ
ตรงส่วนนี้เรายอมรับเลยว่า ไอเดียดีมาก แต่พอใช้เข้าจริง ๆ เราก็ถอดหูฟังออกอยู่ดี เพราะมันต้องกดค้างไว้ ซึ่งมันทำให้เราดูแปลกมาก เวลาเราไปซื้อของ พนักงานร้านจะเห็นว่าเราใส่หูฟังอยู่ ก็คือ เขาจะไม่เก๊ตว่าเราจะได้ยินเพราะเรากดปุ่มค้างไว้ไง
เรายกตัวอย่างเวลาเราไปจ่ายเงินใน 7-11 ละกัน (เขาไม่ได้จ่าย) เราต้องวางของ จังหวะนั้นแน่นอนว่า เราจะเอามือทั้ง 2 วางของอยู่ ระหว่างนั้นเอง พนง ก็จะถามว่า มี All Member มั้ย ตรงนี้แหละ เราจะไม่ได้ยินคำถามนั้น ดังนั้น Solution ของการแตะข้างจะใช้ได้กับ เหตุการณ์ที่เราเองเป็นผู้เริ่มบทสนทนานั่นเอง มันจะไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวันของบ้านเราเท่าไหร่
นอกจากนั้น ฝั่งเราเองก็ ไม่แน่ใจอีกว่า เสียงที่มันดูดเข้ามา มันดังกว่าเสียงจริงขนาดไหน เพราะเราต้องกะเพื่อให้เราเปร่งเสียงให้พอดี ใช้จริง กว่าจะชินได้มันยากมาก กะเสียงพูดเราให้ดังพอดีเนี่ย
Source sony.co.th
เราเป็นคนนึงที่ใช้หูฟังในชีวิตประจำวันเยอะมาก ตั้งแต่เราใช้ Sony WH-1000XM3 มาเรื่อย ๆ เราว่ามันใส่สบายมาก ถึงจะใส่นาน ๆ ก็เถอะ เมื่อก่อน เวลาใช้พวก Truly Wireless ยุคแรก ๆ เราบอกเลยว่า มันไม่ได้ใส่สบายแบบนี้เลย อันนี้ใส่เหมือนไม่ใส่อะ
Sony เคลมว่า เขานั้นใช้การออกแบบที่เรียกว่า Tri-hold ที่มีจุดสัมผัสกับหูอยู่ทั้งหมด 3 จุด เขาบอกว่า มันจะไม่ได้ทำให้หูฟังหลุดออกมาจากหูเราง่าย ๆ จากการทดลองเรา ลองใส่แล้วหมุนหัวไปมา แบบ Metel Rocker !!! ก็ยังไม่หลุด หรือแม้กระทั่งใส่ไปวิ่ง ก็ยังไม่หลุดเลย หรือกระทั่งไปซ้อนพี่สุชาติเจอลมก็ยังไม่หลุดเหมือนกัน เอาเป็นว่ามันทำมาค่อนข้างดี เวลาใส่แล้วไม่ค่อยหลวม และหลุด
วิธีการใส่ เราว่ามันแอบไม่เหมือนกับหูฟังจากยี่ห้ออื่นเท่าไหร่ ไม่สิ วิธีใส่ปกติอะ มันก็ใช้ได้แหละ แต่เขาแนะนำว่า เวลาใส่อะ เราควรจะเอาด้านแหลมหันลงด้านที่ชี้ไปที่ไหล่เรา แล้วค่อยบิดมันขึ้น มันก็จะฟิตพอดี เท่าที่ลองมา เออ มันดีจริง ฟิต ไม่หลุด แต่ก็ไม่ได้รู้สึกอึดอัด หรือแน่นแต่อย่างไร
ใน Sony WX-1000XM3 นั่นใช้ Bluetooth 5.0 ในการเชื่อมต่อ โดยระยะทางที่มันจะทำได้จะอยู่ที่ราว ๆ 10 เมตร เท่านั้น ซึ่งเอาจริง ๆ เวลาเราใช้งานเราจริง เราไม่น่าจะเดินออกห่างจากตัวเครื่องขนาดนั้นหรอกมั่งนะ
ถึงจะพูดอย่างงั้นก็เถอะ วันที่เขียนบทความนี้เลย คือใส่หูฟังเปิดเพลงตลอดลงจากรถไปเดินเข้าบ้าน ตอนแรกก็ไม่ได้มีอะไรแปลก จนเดินลึกเข้าไปในบ้าน เอ๊ะะะะ ทำไมสัญญาณมันขาด ๆ ติด ๆ ปรากฏว่า โทรศัพท์อยู่ในรถ !!!! ซึ่งมันอยู่ห่างออกไปพอสมควร กับมีพวกกำแพงอะไรอีก ตะลึงมาก
ส่วนเรื่องของ Latency ที่อาจจะเป็นปัญหากับ Truly Wireless บางรุ่นเราบอกเลยว่า แทบไม่รู้สึกเลย คือ ถ้าเราดูหนังแล้วเราไม่ได้ไปอ่านปากขนาดนั้น มันก็ไม่ได้รู้สึกอะไรเลยนะ ถึงจะลองเล่น ROV ดูแล้ว มันก็ไม่ได้ทำให้เรารำคาญเหมือน Truly Wireless อื่น ๆ เลย
สิ่งที่น่าเสียดายสำหรับรุ่นนี้คือ มันไม่ได้รองรับพวก Hi-Res Music Codec อย่าง AptX หรือ LDAC เลย เศร้าใจมาก
และเรื่องความเสถียรของสัญญาณ ถ้าเราเดินอยู่ข้างนอกบ้านทั่ว ๆ ไป เราก็ไม่เจอสัญญาณขาด หรือ กระตุกเลย นะ จนกระทั่งไปเดินห้างนี่แหละ ที่อาจจะมีอาการหลุด หรือกระตุกให้เราเห็นบ้าง เพราะมันมีสัญญาณรบกวนเยอะมาก อันนี้เราเข้าใจได้แหละ เพราะหูฟังแบบนี้มันส่งสัญญาณกันผ่านเครือข่ายไร้สาย ไม่แปลกที่จะมีการตีกันของสัญญาณกันบ้าง
อีกเรื่องที่สำคัญของหูฟังในปัจจุบัน นอกจากเรื่องเสียงออก แล้วก็ต้องเสียงเข้าด้วย นั่นคือ Microphone เป็นเรื่องที่เราอยากจะติมาก เพราะเรารู้สึกว่าคุณภาพมันไม่ได้ดีอย่างที่เราคาดไว้เท่าไหร่
เราคิดว่า พวกหูฟังที่เป็น Noise Cancelling มันต้องใช้ Microphone ในการรับเสียงแล้วตัดเสียง มันน่าใช้ตัวที่มีคุณภาพดีหน่อย เราไม่รู้นะว่าตัว Hardware ที่ใส่มาดีขนาดไหน แต่เวลาเราใช้โทรศัพท์ไปแล้ว ปลายสายรู้สึกว่ามันแอบไม่ชัดเท่าที่ควร กับมีอาการเสียงขาด และ เสียงเบาบ้าง อันนี้ทำให้เรารู้สึกหงุดหงิดบ้าง เวลาเราใช้คุยโทรศัพท์
ถ้าเราใช้คุยโทรศัพท์ในห้องที่ค่อนข้างเงียบ ส่วนใหญ่เราไม่เจอปัญหาเท่าไหร่เลย แต่เมื่อเราออกไปข้างนอก แย่มาก ๆ นอกจากนั้น เสียงที่ถูกส่งไปที่ปลายสายเนี่ย เสียงรอบข้างเข้าไปหมดเลยนะ ไม่ได้ทำ Noise Cancelling อะไรเลยนะ แบบเสียงสด ๆ จาก Microphone ไปที่ปลายสายเลย
เพื่อให้เป็นการเข้าใจความดีงามของเจ้าหูฟังนี่มากขึ้น เราต้องมาเล่าเรื่องของเทคโนโลยี Adaptive Noise Cancelling กันหน่อย
หูฟัง แน่นอนละมันมีไว้ฟังเสียงอะไรบางอย่างแบบคนเดียว เมื่อก่อนหูฟังอาจจะออกแบบมาเพื่อขับเสียงอย่างเดียว แต่ปัญหามันเกิดเมื่อ เวลาเราฟัง ๆ ไป โดยเฉพาะในที่ ๆ มีเสียงข้างนอกดังมาก ๆ บางทีเราจะไม่ได้ยินเสียงจากหูฟังเลยก็เป็นได้
มันเลยต้องมีวิธีการบางอย่างที่จะทำให้เราสามารถลดเสียงจากข้างนอกได้ วิธีแรก ๆ ที่ทำกัน ที่เราเห็นอยู่ตามท้องตลาดคือ การออกแบบหูฟังให้มีความสามารถในการป้องกันเสียงจากข้างนอกเข้ามานั่นเอง ซึ่งอาจจะใช้วัสดุซับเสียงเข้ามาช่วย หรือออกแบบให้มีการซีลมากขึ้นก็ช่วยได้เหมือนกัน แต่ก็พบกันว่า มันก็ไม่ได้ช่วยได้ 100% ยังมีเสียงเล็ดรอดเข้ามาได้อยู่ อาจจะเกิดจากการออกแบบเอง หรือ Fitting ของหูแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เลยทำให้มีการพัฒนาพวก Noise Cancelling Technology ขึ้นมา โดยใช้หลักการในการ Filter ย่านเสียงที่เราไม่ต้องการออกไปให้เหลือแต่เสียงเพลงที่เราต้องการ สิ่งที่เราเข้าใจจากฟิสิกส์กันก็คือ เสียงก็คือคลื่นชนิดหนึ่ง เราสามารถหักล้างความถี่ที่เราต้องการได้ด้วยการส่งความถี่ตรงข้ามเข้าไปสู้ก็ทำให้คลื่น 2 ลูกมันหักล้างกันไปได้ ผลก็คือ เสียงตรงนั้นก็จะหายไป เราจะไม่ได้ยิน เพราะมันโดนหักล้างไปหมดแล้ว
วิธีการของ Noise Cancelling สมัยก่อนคือ เราพอจะรู้แล้วว่า Noise น่าจะอยู่ส่วนไหนของเสียงที่เรามักจะได้ยินในชีวิตประจำวันเรา แทนที่เราจะเล่นเพลงอย่างเดียว เราก็เอาคลื่นเสียงที่ตรงข้ามกับ Noise ที่เรามักจะได้ยินกัน เล่นทับเข้าไปด้วย ทำให้เสียงจากข้างนอกก็จะจางลงนั่นเอง แต่เอาจริง ๆ คือ เสียงรบกวนที่เราได้ยิน กับเสียงด้านตรงข้ามที่ใส่มา อาจจะไม่ตรงกันเลย ทำให้สุดท้ายแล้วมันก็อาจจะไม่ได้หักล้างเสียงรบกวนทั้งหมดไปได้
ทำให้ Adaptive Noise Cancelling ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเมื่อกี้ จากเดิมที่เรา Fix เลยว่า Noise ตรงอยู่ตรงไหนของเสียง เราเปลี่ยนใหม่ คือเราจะเปลี่ยนความถี่ด้านตรงข้ามไปตามเสียงภายนอก นั่นแปลว่า เราจะต้องมี Microphone มารับเสียง แล้วค่อยแปลงเสียงให้เป็นความถี่ที่หักล้างกับเสียงที่รับมา แล้วแปลงออกไป ทำให้เราสามารถหักล้างเสียงในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น โดยที่ไม่ได้ผูกอยู่กับช่วงเสียงที่ถูกทำจากโรงงานนั่นเอง
Challenging ของการทำเทคโนโลยีนี้คือ Latency เพราะเสียงจากข้างนอกมันเปลี่ยนตลอด ตัวระบบที่ Invert เสียงแล้วพ่นออกมา มันจะต้องประมวลผล และปล่อยออกมาให้เร็วพอ ๆ กับเสียงข้างนอก ไม่งั้น เทคโนโลยีนี้จะไม่ได้ผลเลย มันจะเหมือนชีวิตติดดีเลย์
ข้อดีของการทำพวก Noise Cancelling คือ ทำให้เราได้อรรถรสในการฟังเพลงมากขึ้น ไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม จากเมื่อก่อนที่เราฟังไป เจอเสียงข้างนอกไป ฟังไม่รู้เรื่องเลย ตอนนี้เราจะฟังเพลงเงียบ ๆ ที่ไหนก็ได้แล้ว อีกอย่างที่เราว่ามันช่วยได้ดีมากเลยคือ ความดังของเสียงที่เราต้องเปิด
เพราะถ้าเราไม่ได้ใช้ Noise Cancelling เราจะต้องเปิดเสียงดังแข่งกับข้างนอก เพื่อให้เสียงเพลงมันกลบข้างนอกจนหมด ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าข้างนอกเสียงดังมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเปิดดังมากขึ้นเท่านั้น มันไม่ดีต่อหูเราแน่ ๆ การใช้ Noise Cancelling ช่วยเรื่องนี้ได้มากเลยล่ะ เพราะ ถ้าเราลองไปฟังดูอะ เราจะรู้เลยว่า มันทำให้เราเปิดเสียงเบากว่ามากในการฟังให้ได้เงียบ ๆ เหมือนกัน เราว่าอันนี้น่าจะเป็นข้อดีที่ทำให้เราเลือกใช้เลยก็ว่าได้
WF-1000XM3 แน่นอนว่า ใช้ Chip สำหรับการทำ Noise Cancelling เป็น QN1e ถอดแบบมาจาาก WX-1000XM3 รุ่นพี่เลย เป็นตัวเดียวกันเลย ถือว่าเป็นตัวที่น่าจะเป็นผู้นำตลาดในเรื่องของการทำ Noise Cancelling เลยก็ว่าได้
การใช้งาน เราสามารถใช้ Touch Control ด้านซ้ายในการเปลี่ยน Mode ไปมา เท่าที่ได้ใช้มา เราบอกเลยว่า มันทำงานได้ดีมาก ๆ เมื่อเราเปิด Noise Cancelling แล้ว ก็คือเงียบมาก ๆ เงียบจนน่ากลัวเลยฮ่า ๆ โดยเฉพาะพวก Noise ที่เป็น Static Noise อย่างเสียง เครื่องบิน เสียงแอร์ พวกนี้คือ เงียบหายหมด
ที่เราไม่ชอบ จะมี 2 เรื่องคือ เวลามันเปลี่ยน Noise มันจะมีการสะอึกเล็กน้อย ถ้าไม่ได้คิดมากก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
อีกปัญหา จะเกิดขึ้นตอนปั่นจักรยาน แล้วใส่หูฟัง จะได้ยินเสียงลมเข้าเยอะมาก เพราะลมมันเข้าไมค์รับเสียง ทำให้มันคิดว่าเป็น Noise เลยพยายามที่จะเอามันออกไป แต่ลมมันไม่ได้นิ่งขนาดนั้นเลยทำให้มันกลายเป็นเสียงลมเข้ามาซะงั้น
วิธีจัดการคือ เราก็ต้องปิดทั้ง Noise Cancelling และ Ambient Sound หมดเลย เพื่อให้มันไม่รับเสียงเข้ามาเลย ก็คือ กันเสียงรบกวนผ่านพวกจุกยางอย่างเดียวเลย
ระยะเวลาการใช้งานต่อ 1 ครั้ง ถือว่าไม่น้อยเลย เพราะถ้าเราไม่เปิด Noise Cancelling เราสามารถใช้ได้ถึง 8 ชั่วโมงต่อ 1 ครั้งการชาร์จตัวหูฟังเลย หรือถ้าเราอยากที่จะเปิดก็จะเหลือ 6 ชั่วโมงเท่านั้น
และเคสเองก็มี Battery ในตัวมันด้วยเช่นกัน เมื่อแบตในหูฟังหมด เราก็แค่เสียบกลับลงไปที่เคส มันก็จะชาร์จกลับมาให้เราอีกรอบ ซึ่งถ้าเราชาร์จเคสให้เต็ม ก็จะชาร์จตัวหูฟังได้อีกราว ๆ 3-4 ครั้งเลย รวม ๆ แล้วน่าจะได้ถึง 24 ชั่วโมงเลย
ขอเสริม ตรงที่เราใส่หูฟังลงไป แม่เหล็กที่ใช้ยึดต้องบอกเลยว่ามันแน่นมาก ขนาดเขย่าแล้วก็ยังไม่หล่นเลย
นอกจากนั้น มันยังมีระบบ Quick Charge ด้วย ที่เราเอาหูฟังชาร์จไป 10 นาที เราสามารถใช้ได้อีก 90 นาทีไปเลย อันนี้ดีมาก เวลาเราต้องใช้คุยโทรศัพท์ยาว ๆ แต่แน่ล่ะว่า มันไม่น่าจะมีใครคุยโทรศัพท์ยาวขนาด 6 ชั่วโมงแน่ ๆ ฮ่า ๆ (หรือมีหว่าาาาา)
เวลาเราใช้แล้วเสียบกลับไปชาร์จแล้ว ถ้าเราลองหยิบออกมาดู ตัวหูฟังมันจะแอบอุ่น ๆ หน่อย น่าจะเกิดจากการชาร์จเร็วด้วยล่ะมั่งนะ แต่ถ้าเราเสียบทิ้งไว้สักพักใหญ่ ๆ เลย หยิบขึ้นมา มันจะไม่อุ่นละ เลยเดาว่าน่าจะเกิดจากการชาร์จ
ส่วนการชาร์จเคส เราสามารถชาร์จมันผ่านสาย USB-C ได้เลย ซึ่งระยะเวลาในการชาร์จเราว่ามันแอบนานไปหน่อย แบบตั้งแต่หมดเลย จนเต็มน่าจะราว ๆ เกือบ 3 ชั่วโมงได้เลยมั่ง ทำให้ปกติ เวลาเราชาร์จ เราจะเสียบทิ้งไว้แล้วไปนอนเลย และไม่รองรับการชาร์จแบบไร้สายเหมือนยี่ห้ออื่น ๆ
ที่ตลกสำหรับเราคือ เวลามันบอกสถานะของ Battery ของเคสมันไม่ได้บอกเป็นตัวเลขหรืออะไรเลย มันบอกด้วยการกระพริบของไฟ ถ้าจำไม่ผิดคือ ถ้ามันกระพริบเร็ว ๆ ก็คือ มันไม่ชาร์จแล้ว เพราะแบตเคสหมดอะไรแบบนั้นแหละ ตอนแรกเราก็ไม่ได้สังเกตเลย เราก็ไม่รู้เลย ก็ว่าทำไมเวลามันบอกเลขแบตของหูฟังแล้วมันไม่เต็มหว่า ทั้งที่เราก็เสียบไว้นานแล้วอะไรแบบนั้น เรื่องนี้ แรก ๆ จะ งง มาก ๆ แต่พอใช้ไปเดี๋ยวก็ชิน
ความสนุกของ Sony WX-1000XM3 คือ การที่มันสามารถเชื่อมต่อกับ App Headphone Connect ของ Sony ได้ ทำให้เราสามารถ Custom การทำงานของหูฟังได้อย่างละเอียดมากขึ้น
ในหน้าแรกของ App นั้น มันจะบอกรุ่นของหูฟังที่เรากำลังเชื่อมต่ออยู่ พร้อมกับ Battery ที่เหลืออยู่ นอกจากนั้นมันจะบอก Codec ที่กำลังใช้งานอยู่ด้วย อย่างที่เราใช้อยู่ตอนนี้มันจะเป็น AAC (Advance Audio Codec) สำหรับไฟล์ความละเอียดสูง (แต่ก็ยังไม่ใช่ Hi-Res นะ) พร้อมกับเปิดการใช้งาน DSEE-HX ที่จะช่วยคืนรายละเอียดของไฟล์เสียงที่มีความละเอียดต่ำกลับมา ถ้าเราเปิด DSEE HX เราจะไม่สามารถใช้ Equalizer ได้นะ
ถัดลงมา เราว่าอันนี้แหละ น่าสนใจ และสนุกที่สุดสำหรับเราแล้ว คือ Adaptive Sound Control ที่มันจะเป็น Function ที่ปรับการทำงานของ Noise Cancelling ให้เราเองอัตโนมัติตามกิจกรรมที่เราทำอยู่ จะมี นั่ง เดิน วิ่ง และ เดินทาง
ซึ่งในแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ เราสามารถเข้าไปปรับได้เลยว่า เราอยากให้มันตัดเสียงยังไง เช่น ถ้าเรานั่งอยู่ เราอาจจะให้มันเปิด Noise Cancelling ทั้งหมดเลย เพื่อกันเสียงรอบข้างทั้งหมดออกไป แต่ถ้าเราเดิน ๆ อยู่ข้างนอก อันนี้อาจจะไม่โอเท่าไหร่ที่จะปิดเสียงหมดโดนรถชนตายพอดี เราก็อาจจะเปิดให้เสียงเข้ามาปริมาณนึง ซึ่งเราสามารถเลือกได้ด้วยว่าให้มันเข้ามาระดับไหน
หรือที่เราชอบอีกอย่างคือ เมื่อเราเดินทาง ที่เราอาจจะต้องฟังประกาศต่าง ๆ อย่าง เมื่อเราขึ้น BTS เวลาเราเดินทาง ก็จะมีการบอกว่า สถานีต่อไปคืออะไร บางทีเราอาจจะมองจอไม่เห็นแล้วต้องฟังเอา หูฟังตัวนี้มีตัวเลือกที่เรียกว่า Focus on voice ด้วย เมื่อเราเปิดใช้ มันจะทำให้เสียงพูดประกาศดังขึ้น กว่าปกติ แทนที่เราจะเปิดให้เสียงอื่น ๆ เข้ามาเยอะขึ้น เราก็เอาเข้ามาแค่เสียงประกาศพอ อันนี้เรามักจะเปิดใช้ตอนเดินทาง
ซึ่งการเปลี่ยนกิจกรรมทั้งหมดนี้ เราไม่ต้องไปเลือกอะไรมันเลย เพียงแค่เราใส่แล้ว มันจะรู้เองว่า เราทำอะไรอยู่ แล้วก็เปลี่ยนให้เราเลย อันนี้เราชอบมาก แต่แอบติหน่อย เพราะบางทีมันจะกวนเท้ามาก อย่างเรานั่งรถอยู่ มันก็จะเปลี่ยนไปเป็นโหมด เดินทาง นั่ง ๆ ไป อ้าว มันกลายเป็น นั่งเฉย ๆ เอ้า งงไปหมด เพราะเวลามันเปลี่ยนมันจะมีเสียง ติ๊งงงง ขึ้นมา มันก็ ติ๊งงงง ไปเรื่อย บางทีแอบงีบบนรถสะดุ้งตื่นเพราะอีเสียงนี่แหละ ตลกไปละ
ซึ่งแน่นอนว่า เราสามารถที่จะใช้ Touch Control ด้านซ้าย เพื่อ Override Mode เองได้นะ หรือเราจะเปิด Adaptive Sound Control ก็ได้ แต่ส่วนแต่เราเลือกที่จะเปิด เพราะมันง่ายดี
ถัดไปคือ Equalizer ซึ่งเป็นตัวเลือกสำหรับการปรับจูนเสียงในช่วงย่านต่าง ๆ ตามความชอบเลยละกัน ซึ่งใน App ก็จะมาพร้อมกับ Preset หลายตัวให้เราลองใช้ได้เลย แต่ ๆ บอกอีกครั้งว่า ถ้าเราเปิดใช้งาน Equalizer แล้ว DSSE HX จะใช้ไม่ได้นะ ดังนั้น ถ้าใครที่ใช้ฟังเพลงความละเอียดต่ำ แล้วต้องการขยายความละเอียดขึ้นมา ก็จะใช้ Equalizer ไม่ได้นั่นเอง
ถัดไปเป็นตัวเล่นเพลง มันก็จะแสดงว่าเราเล่นเพลงอะไรอยู่ กด Play และ Pause ได้แค่นั้น ฮ่า ๆ กับลงมาข้างล่างอีกช่อง จะเป็นตัวเลือกว่า ถ้าเราถอดหูฟังออก จะให้มันหยุดเล่นเพลงเองมั้ย ซึ่ง Default มันให้หยุดเองเลย อันนี้เราก็ปล่อยไว้ละกัน
ถัดไปจะเป็นพวก 360 Reality Audio มันคืออะไรลองไปหาดูได้จากเว็บของ Sony มันจะเป็นเหมือนพวก Audio Technology ที่ทำให้เราสามารถได้ยินเสียงเพลงแบบ 360 องศากันไปเลย ในการที่จะใช้ เราจะต้องมี Music Subscription ที่รองรับซึ่งมันก็จะมี Tidal, Deezer และ nugs.net แค่นั้นเลย อีกขั้นตอนที่เราจะต้องทำการถ่ายรูปหูของเราเพื่อให้ระบบทำการวิเคราะห์ เท่านี้เราก็สามารถได้อรรถการฟังเพลงจากเสียงแบบ 360 องศาได้แล้วอะไรแบบนั้นเลย
ที่เหลือก็จะเป็น Settings ย่อย ๆ แล้ว ก็ลองไปเล่นกันดูได้ละกัน เราขอหยิบมาแค่นี้เดี๋ยวจะยาวกันเกินไปน่ะ ถถถถ
มาที่เรื่องสำคัญของหูฟังกันแล้วนั่นคือ คุณภาพเสียง เสียงที่ได้จาก WF-1000XM3 เป็นหูฟังที่แอบน่าทึ่งมาก เพราะด้วยขนาดที่เล็ก และ เบา แต่สามารถให้เสียงที่มี Sound Stage ที่กว้าง ฟังสนุกได้อยู่
เนื้อเสียงที่ได้ ค่อนข้างมีความอุ่นสไตล์ Sony เลย รายละเอียดอาจจะสู้พวกที่เป็น Hi-Res ไม่ได้เท่าไหร่ ส่วนเบสก็ไม่ได้มาเป็นลูก ๆ ใหญ่โตอะไรขนาดนั้น กลาง ๆ แต่มาแบบลึก ๆ อย่างบอกไม่ถูก ไม่ได้ทำให้สนุกแบบเหวี่ยงเท่าไหร่ กับช่วงสูง เราว่ามันสะอาดใช้ได้เลย
แต่ถ้าเอาไปฟังกับ Tidal ที่รองรับ 360 Reality Audio มันให้ความรู้สึกแปลกใหม่กับเรามากอย่างบอกไม่ถูกเลย ทำให้ต้องหันหลังตลอดเลย อันนี้มันดีจริง
รวม ๆ แล้วหูฟังตัวนี้ค่อนข้างฟังสนุกในหลาย ๆ แนวเพลงเลยล่ะ เหมือนเป็นพวกหูฟังอเนกประสงค์มากกว่า ที่ฟังเพลงไหนมันก็สนุกได้ แต่ถามว่า สนุกสุด ๆๆๆๆ ไปเลยมั้ย เราก็ตอบเลยว่าไม่ ไม่เท่ากับพวกหูฟังที่มันออกแบบมาเฉพาะกว่านั้น แต่เราว่ามันก็สมน้ำสมเนื้อกับราคาเท่านี้แล้วล่ะ
ตั้งแต่ได้ลองใช้มา เราคิดว่า Sony WF-1000XM3 เป็นหูฟังที่ไม่ได้ดีที่สุดในสักด้าน มันอยู่กลาง ๆ ทั้งในเรื่องของ คุณภาพเสียง และการออกแบบ แต่มันไม่ใช่เรื่องไม่ดีนะ จริง ๆ เรามองว่ามันเป็นเรื่องดีมากกว่า เพราะ หูฟังอื่น ๆ อาจจะมี เสียงที่ดีกว่า แต่ Noise Cancelling ไม่ดี หรือไม่มีเลยอะไรแบบนั้น ตัวนี้มันอยู่กลาง ๆ ที่มี Feature หลาย ๆ อย่าง และ สามารถตั้งค่าได้ค่อนข้างละเอียดมากผ่าน App Headphone Connect ส่วน Noise Cancelling ที่เป็นตัวชูโรง เราบอกเลยว่า สมควรรรร มันดีย์มาก โดยเฉพาะถ้าใครเดินทางบ่อย ๆ แนะนำให้ไปซื้อมาใช้เลยมันดีย์มากกกกกกก คุณภาพเสียงก็ถือว่า ใช้ได้เลย ฟังสนุกมาก
ทั้งหมดที่ว่ามานั้นสนนราคาอยู่ที่ 8,990 บาท ตามร้าน Sony และตัวแทนจำหน่ายได้เลย
เป็นเวลากว่า 1 เดือนเต็ม ๆ แล้วที่เราได้ใช้งาน Macbook Pro 14-inch M4 Max ในการทำงานของเรา ความเห็นเราจะเปลี่ยนจากตอนที่เรารีวิวไปตอนแรกหรือไม่วันนี้เราจะมาบอกเล่าประสบการณ์ที่เราได้ใน 1 เดือนจาก Laptop เครื่องนี้กัน...
เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...
ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...
จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...