By Arnon Puitrakul - 27 กันยายน 2020
ถ้าใครที่ตาม Blog เรามาก่อน น่าจะรู้ว่าเราพยายามทำ Smart Home ในบ้านแบบดี ๆ อยู่ (เสียค่าโง่ไปเยอะอยู่) จนเมื่อหลายเดือนก่อน เราเลื่อน ๆ ไป จนไปเจอกับอุปกรณ์ Smart Home ที่ใช้ Zigbee ของ Sonoff อื้มมมม จัดว่าแจ่ม และ บอกเลยว่าของ Sonoff ราคาดีมาก ๆ เหมาะกับคนที่อยากเริ่มต้นเลย เราลองมาดูกัน
ก่อนอื่น เราขอปูพื้นฐานก่อนละกัน สำหรับคนที่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับ Zigbee เพื่อที่จะได้เข้าใจเพิ่มด้วยว่า ทำไมเราต้องดีใจที่เห็นมันขนาดนั้น
Zigbee หรือในมาตรฐานเราเรียกว่า IEEE802.15.4 (คนที่เรียนน่าจะโดนให้ท่องมาสินะ ฮ่า ๆ) มันเป็นมาตรฐานในการสื่อสารแบบไร้สายประเภทหนึ่ง เหมือนกับ WiFi ที่เราใช้งานกันตามบ้านเลย แต่สื่งที่ Zigbee ต่างคือ มันออกแบบมาให้ใช้พลังงานน้อยมาก เช่น อาจจะใช้ถ่าน AA 2 ก้อน น่าจะอยู่ได้เป็นปีเลย สิ่งที่มันเสียไปคือ Data Rate หรือความเร็วในการส่งข้อมูล มันทำได้แค่ 20-250 Kbps เท่านั้นเอง แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับ Smart Home เลย เพราะ Smart Home Sensor เราส่งข้อมูลขนาดเล็กมาก ๆ เช่นอาจจะรายงานอุณหภูมิ ที่อาจจะไม่เกิน 20 Bits ด้วยซ้ำ และ สิ่งที่เราไม่น่าอยากทำบ่อย ๆ แน่คือ เราต้องมาเปลี่ยนถ่ายมันเป็นประจำ ซึ่ง Zigbee ตอบโจทย์หมดเลย เลยทำให้มันเหมาะกับการเอามาเป็นมาตรฐานนึงสำหรับ Smart Home Sensor มาก ๆ
ใครที่เคยทำพวก Smart Home มาก่อน อาจจะถามว่า แล้วพวก RF ละ มันก็ไร้สาย และ ใช้พลังงานต่ำเหมือนกัน Zigbee ดีกว่ายังไงละ เรื่องแรกที่เราว่า Zigbee เหนือกว่า RF มากคือ Zigbee ใช้การเชื่อมต่อแบบ 2 ทาง หมายความว่า ทั้งตัว Sensor และ สถานีฐาน มันสามารถคุยกันได้
ถ้าเราลองไปใช้พวก RF Sensor ที่ตัวสถานีฐานมันจะไม่รู้เลยว่า Sensor นั้นมัน Online อยู่มั้ย มันใช้งานได้มั้ย แบตจะหมดรึยัง สิ่งที่มันทำได้จริง ๆ คือ มันแค่รอค่าส่งเข้ามาเท่านั้นเอง ทำให้ แต่ถ้าเป็น Zigbee มันสามารถสื่อสารแบบ 2 ทางได้เลย พวกค่า Battery ที่ตัวสถานีฐานมันสามารถถามกลับไปที่ Sensor ได้เลย ทำให้เรารู้ได้ด้วยว่า แบตเราจะหมดแล้วนะ ให้เตรียมไปซื้อมาเปลี่ยนได้แล้ว
นอกจากนั้น Zigbee มันยังสามารถมี Router ได้ด้วย สมมุติง่าย ๆ ว่า ถ้าเกิดเราเอา Sensor ที่ใช้ Zigbee ไปวางในบ้านของเรา และ บ้านของเราใหญ่มาก หรือมีสิ่งกีดขวางเยอะ ๆ พวกตัวที่อยู่ไกล ๆ จากสถานีฐาน มันก็จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้ สิ่งที่ Zigbee มันมีคือมันจะมีอุปกรณ์บางตัวสามารถทำตัวเป็นคนกลางในการส่งข้อมูลให้ได้ด้วย ทำให้เราไม่จำเป็นต้องซื้อสถานีฐานทุกครั้งที่มี Sensor ตัวที่มันส่งสัญญาณให้สถานีฐานไม่ถึง
จากทั้งหมดนี่แหละ ทำให้เราแนะนำได้เลย ว่าถ้าใครกำลังมองหา Sensor หรือพวกอุปกรณ์ Smart Home ขนาดเล็กที่ไม่ได้เสียบปลั๊กเราแนะนำให้ไปใช้ Zigbee ในการคุยจะดีกว่ามาก ดูแลง่าย และ ประหยัดพลังงานมาก
ใน Brand Sonoff จะมีอุปกรณ์ที่รองรับ Zigbee อยู่ทั้งหมด 7 ตัวด้วยกัน เราซื้อมาใช้แค่ 4 ตัว ที่เหลือจะเป็นตัว Temp & Humidity Sensor, Smart Plug และ Relay จริง ๆ อุปกรณ์ทั้งหมดใน Series นี้น่าจะทำให้เราสร้าง Smart Home ได้ย่อม ๆ แบบพื้นฐานกันแล้วละ
โดยที่มันจะมีตัวที่ เป็น Main และต้องมีคือ Zigbee Bridge เป็นตัวรับสัญญาณ และ ส่งขึ้นไปที่ Cloud เพื่อต่อเข้ากับ App ผ่านโทรศัพท์ของเรานั่นเอง โดยที่มันจะต้องใช้ App ชื่อ Ewelink ในการควบคุมทั้งหมด
และพวก Sensor ที่ต้องเสียบปลั๊กคือ Smart Plug และ Relay จะมีความสามารถเพิ่มขึ้นมาจากตัวที่ใช้ Battery คือ มันสามารถเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลได้เหมือนที่เราบอกไป เราลองไปดูรีวิวทีละตัวเลยละกัน
Sonoff Zigbee Bridge เป็นเหมือนกับสมองของทั้งระบบนี้เลย เพราะมันเป็นเหมือนตัวกลางระหว่าง Sensor และ เราเอง โดยที่มันจะรับ และ ส่งข้อมูลจาก Cloud ไปที่เรา และ Sensor นั่นเอง ทำให้เราสามารถที่จะเห็นค่าใน App ได้นั่นเอง
ที่ตัวกล่องทำมาเป็นกล่องกระดาษเหมือนกับอุปกรณ์อื่น ๆ ของ Sonoff แต่สิ่งที่เราสังเหตุได้คือ กล่องจะทำมาเป็นสีส้ม เพื่อเป็นการบอกว่า มันเป็นอุปกรณ์ใน Series ของ Zigbee ที่ด้านหน้าของตัวกล่องจะมีการพิมพ์บอกไว้ด้วยว่าเป็น Bridge มีรูปของอุปกรณ์มาให้เรา พร้อมกับมีการพิมพ์ว่ารองรับ Ewelink, Google Assistant และ Amazon Alexa ด้วย ในกล่องก็คือมีแค่ตัวอุปกรณ์ พร้อมกับคู่มือนิดเดียวแค่นั้นเลย ไม่มีสายอะไรมาให้เลย เราต้องไปซื้อเองนะ นี่แหละความ Sonoff ราคาถูก สายต้องไปซื้อเอง ไม่แถม TT
ตัวอุปกรณ์ ทำมาจากพลาสติก สีขาว พร้อมกับตรงกลางมีการใส่เป็นสีเทาเขียนบอกว่าเป็น Zigbee Bridge จาก Sonoff ที่ด้านบนขวาจะมีไฟ LED อยู่ 2 ตัว โดยที่ดวงนึงจะเป็นไฟแสดงสถานะสีน้ำเงิน และ อีกดวงจะเป็นไฟสีเขียวแสดง Activity หรือก็คือ เมื่อมีอุปกรณ์ส่งข้อมูลมันจะกระพริบบอก พร้อมกับที่ด้านหลังของมันจะเป็นช่องสำหรับเสียบสาย Micro-USB สำหรับการจ่ายไฟ
อย่างที่บอกคือ ในกล่องไม่มีสาย USB และ Adapter มาให้เราก็ต้องไปหาเองนะ ก็ไม่ต้องไปหาซื้อแพง ๆ ไฟแรง ๆ มาก เพราะมันใช้แค่ 5V 1A เอง นิดเดียว เอา Adapter ตัวเล็ก ๆ พอแล้ว
ขนาดของตัวอุปกรณ์ถือว่าเล็กมาก ๆ อันนี้เราเทียบกับ RF Bridge ของ Sonoff เหมือนกัน เราจะเห็นเลยว่า ขนาดมันเท่ากันเลย จริง ๆ Body มันเหมือนกันเลย แค่เปลี่ยนสีแค่นั้นเลย การที่มันเล็กแบบนี้ ทำให้เราสามารถเอาไปเสียบทิ้งไว้ละซ่อนให้มันดูเรียบร้อยได้ง่ายมาก ๆ
ตัวต่อไปเป็น Motion Sensor สำหรับการตรวจจับการเคลื่อนไหว อาจจะเอาไปติดตรงบันไดและสั่งว่า ถ้ามีการเคลื่อนไหวที่บันได ก็ให้มันเปิดไฟ ไม่มีก็ให้มันปิดไฟไป เราก็จะได้ไฟบันไดอัตโนมัติแล้ว
ตัวกล่องก็ทำมาเป็นกล่องกระดาษสีส้มเช่นกัน พร้อมกับบอกว่าเป็น Motion Sensor กับมีรูปของมัน เอาจริง ๆ คือ มองแว่บแรก นึกว่าแม่กุญแจ กำลังจะด่าแล้วว่าส่งมาทำไม แต่คิดดี ๆ ทำไมมันอันเล็ก ฮ่า ๆ
ในกล่องก็จะมีตัว Sensor เอง มาพร้อมกับคู่มือการใช้งาน มันจะบอกวิธีการใส่ Battery และ Pair เข้ากับ Bridge แล้วก็มีการ์ด QC ว่ามันผ่านการเช็คจากโรงงานแล้วว่าใช้ได้ และสุดท้าย มันมาพร้อมกับกาว 2 หน้าของ 3M เราไม่แนะนำให้ใช้ ถ้าคิดว่าอาจจะมีการแกะอนาคต เพราะมันแน่นมาก แกะออกมาสีกำแพงหลุดออกมาด้วยแน่ ๆ
ตัว Sensor ทำจากพลาสติก ขนาดเล็กมาก ยังไม่ถึงฝ่ามือเราเลย ที่หัวของมันที่เห็นมันนูน ๆ ออกมา มันคือตัว Sensor อย่าไปแกะมันออกละ
ที่ด้านบน จะมีรูเล็ก ๆ มันไม่ใช่รูระบายอากาศอะไร แต่มันเป็นรูสำหรับให้เราเอาเข็มเล็ก ๆ มาจิ้มค้างไว้เพื่อ Pair เข้ากับ Zigbee Bridge นั่นเอง ถัดลงไปหน่อย มันจะเป็นร่องเล็ก ๆ สำหรับให้เราเอาไขควงมาแงะ เพื่อเปิดฝาหลังออกมา
พูดถึงฝาหลัง ต้องบอกว่า มันแกะยากมาก ๆ คือต้องเอาไขควงมาแงะ (ในคู่มือบอกว่า ให้เอาเล็บแงะได้เลย แต่เราลองแล้วมันไม่ออกจริง ๆ) เราว่ามันควรจะทำมาเป็นกลไกที่เราเลื่อนขึ้นแล้วแกะออกมาได้เลย มันทำมาแบบนี้ ทำให้ยากเวลาเราจะต้องเปลี่ยน Battery มาก ๆ อันนี้คือส่วนที่เราไม่ชอบเลยจาก Zigbee Sensor ของ Sonoff
เมื่อเราแงะฝาหลังออกมา เราจะเจอกับถ่านแบบ CR2450 หรือที่บ้าน ๆ เราเรียกว่า ถ่านกระดุมนั่นเอง ซึ่งก็ไม่ได้หาซื้อยากเท่าไหร่ แต่เราว่าราคาแอบแพงไปหน่อย แต่ไม่ต้องคิดมาก เพราะกว่าจะหมดก็เป็นปีอยู่
ใต้ตัวถ่านมันจะมีกระดาษอยู่ อันนี้มันเอาไว้กันไม่ให้ถ่านสัมผัสกับตัวขั้ว ในการใช้งานเราก็เอามันออก และดันมันลงไป ข้อสังเกตุคือ เมื่อเราดันลงไป มันจะไม่เข้าล๊อค ใช่แล้ว มันไม่มีล๊อค วิธีการล๊อคของมันแย่มาก ๆ คือ เราใช้ฝานั่นแหละ ปิดทับไปแบบนั้นเลย แล้วมันจะแน่นเอง เราไม่ชอบเท่าไหร่กับวิธีแบบนี้
สิ่งที่มันสามารถทำได้คือ มันสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวได้ อันนี้ปกติแหละ ตัวรุ่นที่เป็น RF ก็ทำได้เหมือนกัน แต่สิ่งที่ตัวรุ่น Zigbee มันทำได้เพิ่มคือ มันมีสถานะว่า ไม่มีการเคลื่อนไว้ ด้วย มันเข้ามาแก้ปัญหาที่เราเจอกับตัวที่เป็น RF อย่างดีเลยคือ ไฟห้องน้ำ
เราจะเอา Motion Sensor ไว้ที่ห้องห้องน้ำและเราตั้งไว้ว่า ถ้ามันมีการเคลื่อนไหว ให้เปิดไฟห้องน้ำ ขาเปิดเนี่ยไม่มีปัญหาอะไรเลย แต่พอมาขาปิดนี่แหละ ถ้าเป็นตัว RF เราเช็คไม่ได้เลยว่ามันไม่มีการเคลื่อนไว้ สิ่งที่เราทำได้คือ เราจะต้องตั้งเวลาเลยว่า ถ้าเปิดแล้วให้ปิดในกี่นาที ซึ่งมันก็ยากแหละ บางทีเราเข้ามาแค่ล้างมือ บางทีเขามาลี่คู่ มันก็ใช้เวลาต่างกัน
แต่ตัวนี้ที่เป็น Zigbee เพิ่มสถานะว่าไม่มีการเคลื่อนไหวมาด้วย เราก็ใช้สถานะนี้แหละในการสั่งให้มันปิดไฟเองได้เลย โดยที่ไม่ต้องมานั่งคิดแล้วว่าเราจะต้องตั้งเวลาเท่าไหร่กันแน่ ให้มันพอดีกับทุก ๆ คน (ที่เอาจริง ๆ คือมันเป็นไปไม่ได้เลย)
มาที่ตัว Wireless Switch กันบ้าง มันเป็นเหมือน Switch ที่เราใช้งานเลย มันเป็นปุ่ม ที่ทำให้เรากดได้ เอ่อออ อ่านแล้วอาจจะ งง ๆ ไปแกะกล่องกันก่อนละกัน
ตัวกล่องมาเหมือนกับตัว Sensor อื่น ๆ คือมาเป็นกล่องกระดาษสีส้มเช่นเดิม พร้อมกับบอกว่ามันเป็น Wireless Switch
ในกล่องจะมีตัว Switch เอง คู่มือการใช้งาน, QC Card และ กาวสองหน้า 3M เหมือนกับ Motion Sensor เลย
ตัวอุปกรณ์เป็นพลาสติกสีขาว เช่นเดียวกับ Motion Sensor เลยขนาดพอ ๆ กัน เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสเหมือนกัน ที่ด้านหน้าของมัน จะเป็นปุ่มให้เรากดได้ ปุ่มมันจะตื้น ๆ หน่อยกดยากหน่อย ที่ตรงกลางของปุ่ม มีร่อง ๆ ทำมาเหมือนเป็นรูปนิ้ว น่าจะเป็นการบอกว่า ตรงนี้กดได้นะอะไรแบบนั้น
ที่ด้านข้างก็จะมีร่องเล็ก ๆ เพื่อการแงะ แน่นอนว่า ในคู่มือก็ยังบอกเหมือนกันว่า ใช้มือแงะได้เลย แต่ก็แน่นอนว่าไม่ได้เหมือนกัน ต้องใช้ไขควงปากแบนแงะออกมาอย่างง่ายดาย
ด้านในของ Sensor ก็จะมีถ่าน CR2450 เช่นเดียวกับ Motion Sensor เลย นั่นเป็นเรื่องดีมาก และก็มีกระดาษขั้นถ่านกับ Sensor ไว้เหมือนกันเลย อันนี้ดีหน่อยที่ช่องสำหรับใส่ถ่านมันพอดีกับถ่านนิดนึง ทำให้เราไม่ต้องไปพึ่งฝาด้านหลังเพื่อให้ถ่านมันแนบสนิทไปกับขั้วของมัน อาจจะถามว่า แล้วรูที่เราจิ้มเพื่อ Pair กับ Bridge ตรงไหนละ
มันจะมีรูเล็ก ๆ อยู่ข้าง ๆ ถ่าน 2 รู อันนึงมันจะเขียนว่า RST อันนี้แหละคือปุ่มที่ใช้จิ้มเพื่อ Pair กับ Bridge ส่วนอีกรูนึงจะเป็นไฟ LED ที่มันจะแสดงสถานะว่ามันพร้อม Pair แล้วเมื่อเราจิ้ม
สิ่งที่มันทำได้คือ มันทำตัวเป็น Switch แบบอเนกประสงค์มาก คือเราสามารถสั่งได้หมดเลยว่าถ้าเรากดปุ่มแล้วจะให้มันทำอะไร อาจจะให้เปิดไฟ หรืออาจะไปสั่งให้ Smart Plug เปิดอาจจะเป็นการเปิดโคมไฟอะไรแบบนั้นก็ทำได้เช่นกัน นอกจากนั้น ในปุ่มเดียว เรายังสามารถตั้งคำสั่งได้ 3 อย่างเลยคือ กด, กด 2 ครั้ง และ กดค้าง เราสามารถตั้งได้หมดเลยว่า กดแบบไหนให้ทำอะไรได้
และของเล่นตัวสุดท้ายในวันนี้คือ Door/Window Sensor หรือ Sensor ของประตูและหน้าต่างที่มันสามารถตรวจสอบได้ว่า มันมีการเปิดอยู่หรือไม่ซึ่งมันเอาไปใช้ได้หลาย Application มาก ๆ อันที่น่าจะง่ายที่สุดก็คือ พวกสัญญาณกันขโมย โดยที่เราอาจจะต่อพวก Siren ไฟฟ้ากับ Relay ไว้ก็ได้ ถ้าเราไม่อยู่บ้านเราก็ตั้งกฏไว้ว่า ถ้ามีการเปิดประตูหรือหน้าต่างให้ Siren มันร้องไปเลย
ตัวกล่องทำมาเหมือนกับ Sensor ตัวอื่น ๆ เลย แต่ที่หน้ากล่อง เราจะเห็นจากรูปว่า มันมี 2 ชิ้นด้วยกัน ในกล่อง มันก็จะมีตัว Sensor พร้อมกับคู่มือ, QC Card และกาว เหมือนกับ Sensor อื่น ๆ เช่นกัน
มาที่ตัว Sensor กันบ้าง มันจะมาเป็น 2 ชิ้น โดยที่อันนึง เราจะเอาไปติดที่ตัวบานประตู และ อีกอันจะเอาไปที่ติดที่วงกบ โดยให้เมื่อเราปิดประตู หรือหน้าต่าง ให้ทั้งสองชิ้นมันมาอยู่ข้างกันพอดีในด้านที่มีลูกศรทั้งคู่
เบื้องหลังการทำงานของมันคือ ที่ตัวใหญ่มันจะเป็น Sensor วัดพวกแม่เหล็ก พร้อมกับวงจรสำหรับสื่อสารกับตัว Bridge ในขณะที่อันเล็ก มันไม่ได้มีอะไรเลย ถ้าเราแกะออกมา เราจะเจอกับแท่งเหล็กเล็ก ๆ เวลาใช้งาน เมื่อ Sensor มันเจอเหล็ก หรือก็คือ ชิ้นใหญ่กับชิ้นเล็กมันแนบกันตรงลูกศรพอดี มันก็จะเป็นสถานะปิด แต่ถ้ามันไม่ได้ชิดกัน มันก็จะเป็นสถานะเปิดไป
มาดูที่ตัวใหญ่กันก่อน มันก็ทำจากพลาสติกเหมือนกับ Sensor อื่น ๆ เช่นกัน โดยที่ด้านหน้ามันจะมีการทำร่องที่เป็นรูปลูกศรมาด้วย สำหรับให้มันประกบกับอีกด้านนึงแล้วเป็นสถานะปิดได้ ด้านบน จะเป็นรูสำหรับจิ้มเพื่อทำการ Pair กับตัว Bridge และ ถัดลงมาหน่อยก็จะเป็นร่องสำหรับแงะ เพื่อเปิดฝาหลัง
เปิดออกมา เราก็จะเจอกับถ่าน CR2032 ข้อสังเกตุคือ มันเป็นถ่านกระดุมเหมือนกันนะ แต่มันคือคนละขนาดกับตัวอื่น ๆ ที่ใช้ CR2450 ดังนั้นเวลาเราไปซื้อถ่านมาเปลี่ยนให้มันต้องซื้อให้ถูกด้วย เพราะมันใช้ด้วยกันไม่ได้
เมื่อเราเปิดมาครั้งแรก ที่ถ่านเราก็จะเจอกับกระดาษที่คั่นถ่าน และ ขั้วของมันเหมือนกับ Sensor อื่น ๆ เลย ก็คือ เราก็ดึงออกมาก็ใช้งานได้แล้ว แต่เราว่าความหายนะมันคือ ตอนที่เราเปลี่ยนถ่านมากกว่า
เราไม่สามารถเลื่อนถ่านออกมาตรง ๆ ได้ และในคู่มือก็ไม่มีบอกวิธีการเปลี่ยนถ่านด้วย ถ้าเราแงะออกมาเลย ตัวเหล็กที่ใช้ยึดถ่านมันก็จะงอ จนมันล๊อคถ่านไม่ได้ ทำให้เวลาเราเอาไปใช้มันอาจจะไม่ติดเพราะถ่านมันหลวม วิธีที่น่าจะดีกว่าคือ การแกะแผงมันออกมา โดยการเอาไขควงปากแบนแงะมันออกมา ตอนจะแงะให้ดูตำแหน่งที่เราเอาไขควงไปโดนมันด้วยนะ ถ้าไปโดนตรงวงจรแล้วเราแงะมันอาจจะทำให้วงจรเสียหายได้
มันก็ออกมาอย่างง่ายดายเลย แล้วเราก็เลื่อนถ่านออกมาเปลี่ยนได้เลย และ ขาเอาใส่ ก็ใส่ให้ถูกด้านด้วยนะ เราว่าอันนี้แหละทำให้การบำรุงรักษา การเปลี่ยนถ่านเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วไปมาก
ส่วนชิ้นเล็กลักษณะจะเหมือนกับชิ้นใหญ่เลย โดยที่มันจะมีร่องสำหรับให้เราแงะเปิดฝาได้ เมื่อแงะออกมา ด้านในจะเป็นแท่งโลหะอันนึงเท่านั้นเอง แต่ข้อสังเกตุคือ ขนาดของตัวชิ้นเล็กมันค่อนข้างใหญ่ ทำให้มันอาจจะมีปัญหากับการติดตั้งบนประตูและหน้าต่างของบางบ้านได้ เช่นบ้านเราเอง ตัวชิ้นเล็กที่จะติดไว้ที่วงกบ มันกลับใหญ่เกินไป อันนี้อาจจะต้องไปดู Spec ขนาด และ วัดขนาดวงกบของเราก่อนจะซื้อ
การติดตั้งบอกเลยว่าไม่ยากเลย เพียงแค่เราหาที่วาง Bridge ในที่ ๆ อยู่กลางบ้านหน่อยเพื่อให้อุปกรณ์พวก Sensor มันส่งข้อมูลถึงได้ ถ้าเป็นบ้านสองชั้นทั่ว ๆ ไป เราว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร หรือบางที ถ้าอุปกรณ์ของเราอยู่ไกลจาก Bridge หน่อย มันอาจจะถึง แต่กว่ามันจะทำงานได้ คือมันหน่วงมาก ๆ ไม่ดีเท่าไหร่
ก่อนจะซื้อต้องลองนับก่อนว่า จำนวนของพวก Sensor หรืออุปกรณ์ที่ต่อกับ Bridge ก่อน เพราะ มันสามารถรับได้แค่ 32 ตัวต่อ 1 Bridge เท่านั้น ถ้ามันเกิน เราจะต้องซื้อ Bridge เพิ่มด้วยนะ
ส่วนพวกอุปกรณ์ต่าง ๆ ในกล่องเขามีกาวสองหน้าสำหรับติดมาให้แล้ว แต่เราไม่ใช้กาวตัวนั้น เพราะมันแน่นเกินไป กลัวว่าเวลาต้องแกะออกมาเพื่อย้ายที่ หรือ เอาออกมาเปลี่ยนถ่านมันจะทำให้สีพนังลอกออกมาได้ เราเลยเลือกใช้กาวดินน้ำมัน
ปาดให้มันเรียบ ๆ เสมอกันหน่อยเพื่อความสวยงาม ไม่ต้องให้มันนูนมาก ไม่งั้นเวลาเราแปะไปมันจะเกยไม่สวยเท่าไหร่ แล้วเราก็เอาไปติดได้เลย ทีนี้พอเราจะเปลี่ยนถ่าน หรือย้ายที่เราก็ดึงออกมาจัดการเปลี่ยนถ่าน และใช้กาวเดิมนี่แหละติดกลับไปได้เลย
หลังจากติดตั้งลงไป ด้วยความที่อุปกรณ์มันชิ้นเล็กมาก ทำให้ถ้าเราเลือกที่ติดดี ๆ หน่อย เราจะสามารถซ่อยมันได้อย่างแนบเนียบเลยเชียว แต่เราเองนั้นไม่มีสกิลในด้านนี้ ก็ติดมันตรง ๆ นี่แหละ ฮ่า ๆ
ในการเชื่อมต่อตัว Sensor เข้ากับ Bridge ในคู่มือคือมันบอกว่าให้เราจิ้มที่ปุ่ม Reset ค้างไว้จนไฟกระพริบ 3 ครั้งแล้วกด Add จากในหน้า App ได้เลย แต่พอเอาเข้าจริงคือ มันติดบ้างไม่ติดบ้าง อันนี้คือเรานั่งทำห่างจาก Bridge ไม่ถึง 30 cm เท่านั้นเองมันยังไม่ติดเลย ต้องออกเข้า App ใหม่ กด Add ใหม่ อยู่ ๆ มันก็ติดเฉย แล้วพอเอาอีกอันมาก็ไม่ติดก็ต้องปิดเปิด App ใหม่วนไปเรื่อย ๆ คือ งง มากว่ามันเป็นที่อะไรกันแน่
แต่ถ้าเราติดตั้งได้หมดแล้ว ที่เหลือก็น่าจะเป็นเรื่องง่าย ๆ แล้วละ เพราะการทำพวกนี้มันทำแค่ครั้งแรกครั้งเดียว ถ้าถ่านหมด เราใส่ก้อนใหม่ลงไปมันก็จะต่อกับ Bridge เอง เราไม่ต้องไป Pair ใหม่ให้เสียเวลาเลย
การใช้งานจริง เราว่ามันใช้ได้เลยนะ ความเร็วในการตอบสนองของมันทำได้ดีมาก โอเคแหละมันช้านิดนึง แต่ถ้าเทียบกับตัว RF แล้วเราว่าไม่ได้หนีกันมาก แต่สิ่งที่ Zigbee มันได้คือ สถานะของอุปกรณ์ที่มากกว่าแบบ RF หลายขุม เช่นตัว Door/Window Sensor มันบอกได้ว่าตอนนี้มันกำลังเปิดหรือปิดอยู่ แต่ถ้าเป็นตัว RF ทำได้แค่บอกว่าเปิดเท่านั้นมันต่างกันมาก ตัว Zigbee มันทำให้การตั้งค่าพวก Automation ใน App Ewelink ทำได้เยอะขึ้นมาก
ปัญหาที่เราบอกเรื่อง PIR ในห้องน้ำสามารถถูกแก้ไขได้ด้วยตัว PIR ที่เป็น Zigbee เลย เพราะมันส่งข้อมูลกลับไปบอก Bridge ได้ว่า มันไม่มีการเคลื่อนไหว เราก็สั่งให้มันปิดไฟไปก็จบ มันทำให้การตั้งค่าง่ายขึ้นมาก
พวกปุ่ม เมื่อเอาไปใช้งานจริง ๆ เราว่าปุ่มมันทำมาตื้นไปหน่อย เวลากดลงไปมันไม่ค่อยรู้สึกเลย แต่เวลาใช้ไปสักพักมันจะชินเอง จนเหมือนเรารู้แล้ว่าเราจะต้องกดยังไงมันถึงจะติด ตัวอย่างของปุ่มที่เราใช้คือ เราใช้มันแทน Switch ไฟ เราก็เอาปุ่มไปติดไว้ และเราสั่งไว้ว่า ถ้ากดปกติ ให้มันเปิดไฟ และ กด 2 ครั้งคือให้มันปิดไฟ แรก ๆ มันก็จะ งง ๆ หน่อย แต่พอใช้ ๆ ไป มันก็โอเค พอใช้ได้อยู่ ไม่ได้ดี แต่ก็สมราคามันละกัน
และสุดท้าย PIR หรือ Motion Sensor เราว่ามันแอบมี Delay มากไปหน่อย เราติดไว้ที่ตรงบันได เราต้องเดินไปจนเกือบจะถึงชั้น 2 Sensor พึ่งจะรู้ตัว และ เปิดไฟให้เรา อีกนิดจะเดินสะดุดบันไดในความมืดตายละ กับบางที เราไม่ค่อยเข้าใจมันเท่าไหร่ บางที พอเราขยับอยู่ในห้อง แทนที่มันจะเปิดไว้ตลอดจนเราออกไปสักพัก ไม่มันปิดให้เราอยู่ในห้องน้ำมืด ๆ ซะงั้น งงไปหมด ตัวรุ่นที่เป็น RF ก็เป็น แต่มันเป็นน้อยกว่ามาก เลย งง ๆ ว่าทำไมอันนี้มันไม่โอเคเลย
เรื่องสุดท้ายคือการ Maintenance เรื่องนี้แหละที่เราไม่พอใจมันมาก ๆ เพราะฝาหลังก็ทำมาแกะยาก ทำให้ถ้าเราจะแกะจริง ๆ เราต้องเอาทั้งตัวมันออกมาเพื่อแงะฝาออก นั่นแปลว่าเราต้องใช้เครื่องมืออีก เราว่าการทำอะไรแบบนี้มันไม่ควรที่จะต้องใช้เครื่องมือเลย นอกจากนั้น ถ่านที่ใช้ทุกตัวมันเป็น CR2450 หมด แต่ตัว Door/Window Sensor มันเป็น CR2032 มันอาจจะทำให้คนที่เป็นมือใหม่ งง ได้ว่าทำไมเราซื้อมา มันใส่กันไม่ได้ มันควรจะใช้ให้เหมือนกันให้หมดไปเลยเพื่อความง่าย โดยรวมแล้วการ Maintenance ไม่เป็นมิตรต่อผู้ใช้ทั่วไปเลย
Sonoff Zigbee Device ที่เราเอามารีวิววันนี้คือเป็นเพียงส่วนนึงของที่ Sonoff ขายยังมีอีกหลายอย่างเลย ถ้าเราเอาไปเทียบกับ Brand อื่น ๆ เราต้องบอกเลยว่า Sonoff ทำราคาได้ดีมาก โดยเฉพาะถ้าเรารอได้หน่อย เราสั่งซื้อจากจีนเลย ราคามันจะถูกมาก ๆ รวม ๆ ทั้งบ้านแค่ตัว Zigbee เราว่าไม่น่าเกิน 5 พันบาทเลย ได้ Sensor ประตูหน้าต่างครบ พร้อมกับ PIR ตามทางเดิน และ Wireless Swtich สำหรับการเปิด และ ปิดอุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้าน เมื่อรวมกับผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ๆ ของ Sonoff ทั้งบ้านเราไม่ว่าไม่น่าจะเกิน 8 พันบาท ก็ทำให้เราได้ระบบ Smart Home ดี ๆ สักตัว ในขณะที่ Brand อื่นที่ดูดีกว่าหน่อย มันอาจจะจบที่หมื่นนึงก็ได้
อีกเรื่องที่เราไม่ได้บอกคือพวกของ Sonoff มันสามารถเชื่อมต่อไปที่ระบบ Smart Home อื่น ๆ ได้ เช่น Home Assistant ผ่าน 3rd Party Library ไว้เราจะมารีวิวพาทัวร์อีกทีเมื่อระบบทั้งหมดเสร็จละกัน เราจะมาบอกราคาในการทำด้วยว่าทั้งบ้านเราทั่ว ๆ ไป เราใช้ทั้งหมดเท่าไหร่ในการทำทั้งหมด
ดูเหมือนจะสวยหรู ราคาถูกแล้วดีมันหายาก มันต้องมีสิ่งที่ต้องแลกมาเสมอ ในเคสนี้คือเรื่องของคุณภาพที่ Body ของมันเป็นพลาสติกเกรดที่ไม่ได้สูงมาก ถ้าอยู่ในที่ร้อนหน่อยเราว่า 3-4 ปีก็น่าจะมีกรอบกันบ้างแหละ กับ พวกการ Maintenance ถือว่าทำได้ยากมาก ๆ อันนี้ไม่พอใจมาก ๆ แต่ก็นะ ราคาเท่านี้มันต้องมีอะไรแลกมาบ้างแหละ อีกอย่างของพวกนี้ มันไม่ได้ใช้ไม่กี่เดือนแล้วถ่านจะหมด พวกนี้มันใช้เป็นปีเลยกว่าจะหมด ถ้าตีกว่าทุกปีเราต้องมานั่งลำบาก เราว่ามันก็โอเคแหละ ไม่แย่มาก
ทำให้ตัว Solution นี้ของ Sonoff เราว่าน่าซื้อสำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นทำพวก Smart Home เลย เพราะราคาที่ถูก และ ระบบ มันทำมาให้เรา Custom การใช้งานได้ยืดหยุ่นมาก เหมาะกับการเอาไปทดลองเล่น ที่อาจจะเอาไปต่อยอดเพื่อต่อกับระบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น หรือถ้าพอใจ อนาคตอาจจะเปลี่ยนไปใช้ Hardware ที่ดีกว่านี้ มันก็ทิ้งได้ไม่เสียดายมาก
หนึ่งใน Feature ใหม่ที่เปิดออกมาทั้งใน macOS Sequoia, iPadOS 18 และ iOS 18 คือ App ที่ชื่อว่า Password เป็น Password Manager ของ Apple วันนี้เราได้ทดลองใช้งานมันมาประมาณ 1 อาทิตย์แล้ว จะมาเล่าให้อ่านกันว่าอาการมันเป็นยังไง มันทำให้ชีวิตเราเหนื่อยขึ้นได้อย่างไร...
เป็นประจำในทุก ๆ ปีที่ Apple จะเปิดตัว macOS Version ใหม่ออกมาให้ผู้ใช้ Mac ได้ Upgrade กัน ในปีนี้เอง Crack Marketing Team ก็ทำหน้าที่ของตัวเองในการออกไปหาชื่อใหม่ให้กับ macOS ในปีนี้ชื่อว่า macOS Sequoia จะมี Feature อะไรเด็ด ๆ บาง วันนี้เรารวมเอามาเล่าให้อ่านกัน...
หลังจาก Apple เปิดตัว iOS18 และ iPadOS18 วันนี้เราจะมาเล่าพวก Feature ต่าง ๆ ที่เราได้ทดลองใช้งานมาหลายวันพร้อมกับบอก Use Case การใช้งานต่าง ๆ ว่ามันเอามาทำอะไรได้บ้าง...
อีกหนึ่งรีวิวที่หลาย ๆ คนถามเข้ามากันเยอะมาก นั่นคือ รีวิวของ iPhone 16 Pro Max วันนี้เราได้เครื่องมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมารีวิวประสบการณ์การใช้งาน จับข้อสังเกตต่าง ๆ รวมไปถึงตอบคำถามที่สำคัญว่า iPhone รุ่นนี้เหมาะกับใคร...