By Arnon Puitrakul - 14 พฤศจิกายน 2018
ช่วงนี้รีวิวออกถี่ซะเหลือเกิน เดี๋ยวมันจะออกมาเรื่อย ๆ เพราะเราไปช๊อปที่งาน Commart มาได้ของเล่นมาหลายชิ้นอยู่ วันนี้ให้คิวน้องเล็กกันก่อนอย่าง External SSD จาก WD ในรุ่น My Passport SSD
เราขออนุญาติไม่แกะกล่องละกัน เพราะ ณ ตอนที่เราเขียน เราใช้ไปสักพักละ ไม่ได้ถ่ายรูปตอนแกะไว้ เพราะตื่นเต้นอยู่ เอาละ เรามาเริ่มที่ขนาดและหน้าตากันก่อน
WD My Passport SSD เป็น External SSD ที่มีขนาดเล็กและเบามาก ๆ เบาจนตกใจเลย คือเราเอาเอามันมาถือในมือ จากรูปคือมือเราเองมันเล็กมากจริง ๆ และอีกหนึ่งข้อสังเกตคือ รูปร่างของมันนั้นไม่ใช่เกือบ ๆ จตุรัสเหมือน My Passport และ My Passport Ultra เลย แต่เป็นสีเหลี่ยมผืนผ้าที่ถ้าถือแนวตั้งก็จะแคบมาก ๆ เพราะพวกนั้นมันฟิคกับขนาดของ HDD ขนาด 2.5 นิ้ว แต่ด้วยความที่เป็น SSD จะออกแบบให้เป็นรูปร่างได้ค่อนข้างง่ายกว่า HDD ธรรมดา
ลักษณะการออกแบบก็จะล้อเหมือนกับตัวรุ่นพี่อย่าง My Passport อื่น ๆ มาหมด นั่นคือ ด้านบนเป็นพลาสติกด้าน และด้านล่างเป็นพลาสติกสีเทา ถ้ามือมัน ๆ หน่อยจับแล้วมันจะเป็นลอยนิ้วมือนิดหน่อย แต่เช็ดออกได้ มีลายให้ดูสวยงาม ด้านหน้าข้างบนก็จะมีตราของ WD เป็นเงา ๆ อยู่
กลับไปที่ด้านหลังก็จะมีเขียนว่าเป็น My Passport SSD และ Bar Code อะไรก็ว่ากันไป ไม่มีอะไร ด้านข้างและบนก็เช่นกัน
ด้านล่างทางขวา ก็จะมี Port USB-C สำหรับเชื่อมต่อออกไปที่อุปกรณ์อยู่
นอกจากในกล่องก็ยังมีสาย USB-C เป็น USB-C อยู่ 1 เส้นที่ค่อนข้างหนามาก ๆ ทนทานแน่นอน (สำหรับใครที่ไม่มี USB-C บนเครื่องตัวเองละก็ ทาง WD ก็ถามหัวแปลงจาก USB-C เป็น USB-A มาอีกด้วย)
การใช้งานก็คือ เราไม่ได้ซื้อมาเก็บข้อมูลแบบใหญ่ ๆ อันนี้เราเลือกซื้อมาเพราะเราเอามาเก็บงานที่กำลังทำอยู่ อันเนื่องมาจากเนื้อที่ในเครื่อง Mac เนี่ยค่อนข้างแพง เพราะฉะนั้น การซื้อ Mac ที่มาพร้อมกับ SSD ขนาดใหญ่มาก ๆ ก็ไม่น่าเป็นมิตรกับกระเป๋าตังค์สักเท่าไหร่
วิธีการใช้งานนั้นง่ายมาก ๆ เพียงแค่เราเอาสาย USB-C มาเสียบระหว่างเครื่องกับตัว SSD เข้าด้วยกัน แค่นี้เองก็ใช้ได้แล้ว
ขนาดที่เอามาทดลองเป็นขนาด 256 GB เท่านั้น ก็ลองกันง่าย ๆ เลยโดยการเอา My Passport SSD เสียบเข้า Macbook Pro 2018 โดยใช้ USB-C โดยตรง ไม่ได้ผ่านตัวแปลงใด ๆ และใช้โปรแกรม Blackmagic Disk Speed Test ก็ได้ความเร็วราว ๆ 500 MB/s อ่าน และ 129 MB/s เขียน ก็ถือว่า ไม่เลวเลยนะสำหรับราคาที่เราซื้อมา ส่วนเรื่องความร้อนก็ไม่ได้ร้อนอะไรจนน่ากลัว
ด้วยความที่มันเป็น USB-C และเป็น SSD ที่กินไฟต่ำ ทำให้เราสามารถเอามันมาเสียบใช้บนโทรศัพท์ได้เลย โคตรดีย์ แต่ถ้าจะเอามาใช้ในโทรศัพท์จริง ๆ แนะให้เปย์โทรศัพท์ให้มันเป็นรุ่นท๊อปหน่อย ๆ ที่มี Memory แบบ UFS2.1 ขึ้นไป ก็จะเข้ากันได้อย่างดี
ก็เป็นรีวิวสั้น ๆ ของ WD My Passport SSD ก็ถ้าใครที่มีงบหน่อย และต้องการที่เก็บข้อมูลคุณภาพสูงสักตัว เจ้าตัวนี้ก็เป็นทางเลือกที่ดีตัวนึงในการเก็บข้อมูลอยู่เหมือนกัน ใช้แล้วจะรักเลย ตอนนี้เราใช้ SSD ตัวนี้เป็น Hot Storage สำหรับงานที่ยังไม่เสร็จ พอเสร็จแล้วก็เอาไปไว้ใน My Passport ที่เป็น External Harddisk ธรรมดาเป็น Cold Storage ก็จะช่วยประหยัดตังค์ค่าซื้อ SSD ไปเยอะ
เป็นเวลากว่า 1 เดือนเต็ม ๆ แล้วที่เราได้ใช้งาน Macbook Pro 14-inch M4 Max ในการทำงานของเรา ความเห็นเราจะเปลี่ยนจากตอนที่เรารีวิวไปตอนแรกหรือไม่วันนี้เราจะมาบอกเล่าประสบการณ์ที่เราได้ใน 1 เดือนจาก Laptop เครื่องนี้กัน...
เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...
ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...
จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...