By Arnon Puitrakul - 22 มีนาคม 2022
เดือนที่ผ่านมา เราได้เปลี่ยนรถไปใช้ ORA Good Cat 500 Ultra ซึ่งมันเป็นรถ BEV หรือเรียกว่า ไฟฟ้า 100% นั่นเอง ทำให้เราจะต้องมีการติดตั้งที่ชาร์จสำหรับรถเอาไว้เผื่อเราชาร์จจากที่บ้านเราเลย ทำให้ในบทความนี้ เราจะมาเล่าถึงการเตรียมระบบไฟ การขอมิเตอร์จากการไฟฟ้า และ การชาร์จรถกินไฟขนาดไหนกัน
ปล. อันนี้เราจะพูดถึงแค่พื้นที่ ที่ PEA เป็นผู้ดูแล สำหรับ กทม และ ปริมณฑล ก็จะเป็น MEA ดูแล ประสบการณ์อาจจะแตกต่างกันตามพื้นที่ และ ผู้ดูแลการขายในพื้นที่บ้านเรา
สำหรับ Wall Charger ที่แถมมากับรถ ORA Good Cat จะเป็นขนาด 1-Phase 32A หรือถ้าคิดออกมา มันก็จะเป็นประมาณ 7 kW หรือ 7,000 W นั่นเอง โดยที่บ้านทั่ว ๆ ไป เขาจะขอมิเตอร์มาไว้ให้เราแค่ 15(45) หรือ วิ่งได้ไม่เกิน 45A นั่นเอง ดูแล้วมันเยอะกว่า 32A ถึง 13A เลยนะ ทำไมเราจะใช้ไม่ได้
ต้องบอกว่า ไม่เกิน 45A นี่คือ รวมทั้งหมดเลยนะ ทั้งบ้าน และรถชาร์จ 13A ถ้าคูณออกมาก็ประมาณ 2.8 kW เท่านั้น แน่นอนว่า แค่เปิดแอร์ หรืออาบน้ำก็มีสิทธิ์ที่มิเตอร์ก็แตกแล้ว ดังนั้น เขาเลยไม่ให้เราใช้ Wall Charger กับมิเตอร์ขนาด 15(45) นั่นเอง เราจะต้องขยายขนาดขึ้นไป
สำหรับพื้นที่ที่ PEA เป็นคนดูแล เราจะเลือกขอมิเตอร์หลัก ๆ ได้ 5 ขนาดเลย คือ 5(15), 15(45) และ 30(100) สำหรับ 1-Phase และ 15(45) และ 30(100) สำหรับ 3-Phase นั่นเอง ซึ่งราคาในการขอ ก็จะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดที่ใหญ่ขึ้น ขึ้นกับการใช้งานของเรา
ทีนี้ เราจะต้องขอขนาดเท่าไหร่ละ มันก็ขึ้นกับการใช้ของเราแล้ว สำหรับเคสของเราเอง เราสามารถขอ 30(100) 1-Phase หรือ 15(45) 3-Phase ก็ได้ แต่ในเคสของเราเอง เรามี Solar Inverter อยู่แล้ว ที่มันเป็นไฟ 1-Phase ทำให้ ถ้าเราจะขอ 3-Phase มา เราจะต้องรื้อเปลี่ยน Inverter อีก ซึ่งเสียเงินขึ้นไปอีก เราเลย ขอเป็น 1-Phase ขนาด 30(100) ไป
แต่สำหรับรถที่ชาร์จมากกว่า 7 kW พวกนั้น ยังไง ๆ ก็ต้องเป็น 3-Phase นะ เพราะที่ชาร์จพวกนี้มันเอา 3-Phase แน่นอน ไม่มีตัวที่มากกว่า 7 kW แล้วใช้ 1-Phase ได้เพราะไฟแรงไป๊ ไม่มีใครรองรับ แต่ Good Cat ชาร์จ AC ได้แค่เกือบ ๆ 7 kW เท่านั้น 1-Phase พอแล้ว
สำหรับคนที่ใช้รถไฟฟ้า หรือติด Solar Cell เขาก็จะมีอีกทางเลือกก็ได้เหมือนกันคือ การขอพวก TOU Meter (Time of Use) คือ เป็นการคิดค่าไฟตามช่วงเวลา ไม่ได้เป็นขั้นบันไดเหมือนปกติ มันจะแบ่งเป็นช่วง Peak ที่คนใช้ไฟเยอะ ๆ กลางวันวันธรรมดานั่นเอง และ Off-Peak คือ ช่วงดึก ๆ ของทุก ๆ วัน และ วันหยุดนั่นเอง อย่างในประกาศของ PEA เอง เขากำหนดอยู่ที่ 5.1135 บาท สำหรับช่วง Peak และ 2.6037 บาทต่อหน่วย สำหรับช่วง Off-Peak
เราจะเห็นว่า เห้ยย ช่วง Off-Peak ราคาดีมาก ๆ เลยนะ หายไปเกือบครึ่งเลยนะ ดีกว่าพวกมิเตอร์แบบธรรมดาด้วย ที่คิดเป็นขั้นบันได ใช้เยอะ ๆ หน่อยคิดออกมา อาจจะหน่วยละ 4 บาทกว่า ๆ ได้เลยตลอดเวลาด้วย ประกอบกับพฤติกรรมการชาร์จไฟจริง ๆ คือ กลางวันเราก็ออกไปทำงานนอกบ้าน กลับบ้านมาตอนเย็นเราค่อยชาร์จ ทำให้บ้านทั่ว ๆ ไปที่ใช้รถไฟฟ้า 100% ก็อาจจะได้ประโยชน์จากมิเตอร์แบบ TOU เลย
หรือกระทั่งคนที่ใช้งานพวก Solar Cell ที่กลางวันเราก็จะใช้ไฟจาก Solar Cell อยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่ เราก็แทบไม่ได้ไปซื้อไฟช่วง Peak เลย แล้วกลางคืน เราก็ซื้อไฟจากการไฟฟ้าในเรทราคาที่ถูกกว่า ทำให้ TOU Meter ก็แจ่มสำหรับคนที่ติด Solar Cell เลย
การขอขยายมิเตอร์ เราจะต้องไปติดต่อที่การไฟฟ้าเขตที่ดูแลบ้านของเราเองว่า เราจะขอขยายมิเตอร์ มันจะมีเอกสารมาให้เรากรอก พร้อมกับยื่นหลักฐาน คือ สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของมิเตอร์, ทะเบียนบ้าน, หลักฐานการแสดงความเป็นเจ้าของบ้าน เช่นพวก สัญญาการซื้อขายบ้าน และ เอกสารมอบอำนาจ ถ้าคนที่ไปยื่นไม่ใช่เจ้าของมิเตอร์
จากนั้นเขาจะให้เราไปทำการปรับปรุงระบบไฟเพื่อให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนมิเตอร์ หลังจากนั้น เขาจะมีคนจากการไฟฟ้าที่อยู่ในพื้นที่เรานี่แหละเป็นคนมาตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่เราปรับปรุงแล้วว่า มันโอเคหรือยังไม่โอเคอะไรยังไง เขาจะมีมาตรฐานของเขาอยู่ ลองถามเขาดูก็ได้ เพราะบางเรื่อง เราก็พึ่งรู้นะ เช่นว่าพวกสาย N เราจะต้องเดินเข้ามาที่ Ground Bar ก่อน แล้วถึงจะเข้า N ใน Main Breaker เรา ปกติ เขาก็เอา N จาก Meter เข้า N ของ Main Breaker เลย เออแปลกดีอะไรแบบนี้
ถ้าเจ้าหน้าที่เช็คแล้วว่า เออ มันผ่านแล้วนะ เขาจะแจ้งให้เราเข้าไปชำระค่าตรวจสอบระบบไฟฟ้า เขาจะนัดวันเข้ามาติดตั้งมิเตอร์ใหม่
พอถึงวันที่มาติดตั้ง สำหรับของเราเอง เราแจ้งเจ้าหน้าที่ไว้ว่า ถ้าจะมาทำให้แจ้งเราล่วงหน้าก่อนตัดสายหน่อย เพราะการที่เราเปลี่ยนมิเตอร์ได้ เขาจะต้องดึงสาย Main ของเราออกจากมิเตอร์เก่า ทำให้กว่าเขาจะเอามิเตอร์ใหม่ใส่เข้าไป มันก็จะต้องใช้เวลาสักหน่อย เราก็จะใช้ไฟไม่ได้ช่วงนึงเลยสัก 20 นาทีได้ ทำให้เราจะต้อง Shutdown พวก Server และ Solar Cell ก่อนนั่นเอง หลังจากนั้นพี่เขาก็ขึ้นไปจัดการเปลี่ยนมิเตอร์ใหม่เลย ต้องลากสายใหม่ด้วยมั้งเลยต้องปีนขึ้นไปบนเสาอย่างที่เห็นในรูป
และเวลาผ่านไป 20 นาที ไฟก็กลับมา ได้มิเตอร์ลูกใหม่ใสกิ้งเลย เป็นลูก 30(100) ตามที่เราขอไว้เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว
ความงามไส้มันอยู่ที่ว่า ตอนที่เราทำระบบไฟเสร็จหมดแล้ว เราถ่ายรูปส่งไปในไลน์ของ PEA xxx แล้ว จากนั้นเขาก็ตอบกลับมาว่า "ครับ พรุ่งนี้เข้าตรวจครับ" จนวันต่อมา รอจน 11 โมงกว่าแล้ว ก็คือยังไม่มีใครหน้าไหนมาตรวจอะไรทั้งสิ้น เลย Line หา PEA xxx ว่า สรุปยังไงนั่นนี่ ไม่มีใครตอบจนเลยไปถึง บ่าย 3 กับ 14 นาที มีการตอบกลับบอกว่า "ประสานให้ค่ะ" แล้วหายไปเลย จนเรากังวลว่า ชิบหาย แมร่งจะ 4 โมง มันจะเลิกงานแล้ว วันศุกร์ด้วย เลยทักไปถามอีกรอบ เขาก็ขอเบอร์โทรกลับ ไม่เกิน 20 นาที เจ้าหน้าที่ก็มาตรวจ ๆ นั่นนี่ ปรากฏว่า PEA เขาให้เราจัดการสายไฟที่อยู่ที่หลังมิเตอร์ทุกอย่างเลย ซึ่ง เราไม่ได้บอกช่างแบบนั้น เพราะตอนที่เราไปติดต่อ PEA ตอนแรกเลย เขาบอกว่า เดินสาย Main ไว้ เดี๋ยวมีคนมาจั้มเข้ามิเตอร์ให้ เราก็เลยบอกช่างให้ทำแค่นั้น แต่พอมาตรวจจริง ๆ บอกว่า ต้องเดินสายเข้ามิเตอร์เลย เดี๋ยววันที่มาเปลี่ยนคือ เขาจะยุ่งกับแค่มิเตอร์ กับสายที่อยู่หน้ามิเตอร์เท่านั้น
เรากับช่างก็ ฟัค นี่มันเ_ย อะไรเนี่ยยยยย อะ เจ้าหน้าที่ก็กลับไป ทิ้งไว้กับความ งง ว่า ไม่เหมือนที่คุยกันไว้นี่หว่า..... ไอ้สั_ อะ ไม่เป็นไร อาจจะ Miscommunication แล้วมันเป็นวันศุกร์นั่นแปลว่า ช่างมาได้อีกทีวันจันทร์เลย ก็รอไป
จนวันจันทร์ช่างที่เราจ้างก็มาเดินสายเข้ามิเตอร์ให้ตามที่ผู้ตรวจบอกให้จัดการ จนเสร็จตอน 4 โมง 4 นาที เราก็ถ่ายรูปแล้วก็ Line ส่งไปที่ PEA xxx เขาก็ถามว่า แล้วตรง Breaker ละครับ เราก็ถ่ายให้ดู เขาก็บอกว่า สาย N ต้องต่อเข้า Bar Ground เรากับช่าง ก็ห่ะ วอททท โอเค เราอาจจะไม่รู้ ผู้ที่มาตรวจวันนั้นก็ไม่รู้หรอก เพราะวันนั้น เรายังไม่ได้ต่อสาย Main เส้นใหม่เข้าระบบ เลยให้ช่างต่อเดี๋ยวนั้นเลย จนเสร็จ เราถ่ายรูปส่งไปใน Line ชิบหาย มัน 4 โมง 31 นาที เลิกงานแล้ว อะ พรุ่งนี้เขาคงมาตอบแหละ
แล้วก็เงียบไปเลยจนวันพฤหัส เราทัก Line PEA xxx ไปตอน 9 โมง 41 นาที ว่า "อันนี้คือยังไงต่อครับ" เขาก็บอกว่า "ช่างกำลังเข้าตรวจครับ มีคนอยู่บ้านหรือเปล่าครับ" เราก็บอกว่า "วันนี้ไม่อยู่ครับ พรุ่งนี้มีคนอยู่ครับ" คือ แบบ ตรู ออก ไป ข้างนอก ตั้ง 2 วัน พี่เล่นเงียบเลย จนสักพักก็มีเบอร์โทรมาบอกว่า โอเค พี่เห็นสายอะไรแล้วละ กับวันนั้นที่มาตรวจก็ไม่น่าจะมีอะไรแล้ว ก็เดี๋ยวส่งใบชำระเงินให้นะ แล้วเข้ามาชำระเงินค่าตรวจระบบ จนเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง นิด ๆ จริง ๆ ก็ 1 ชั่วโมงกับอีก 2 นาที เขาก็ Line เป็นรูปบิลจ่ายมา
วันถัดมาคือวันศุกร์ เราก็เลยไปที่ PEA xxx เพื่อจ่ายเงิน ก็คือ เอารูปบิลนี่แหละ ไปจ่ายที่ Counter ใน PEA xxx ได้เลย แล้วเราก็ไปคุยกับเจ้าหน้าที่ที่เราติดต่อเรื่องขยายมิเตอร์ไป เขาบอกว่า ก็คือเรียบร้อย เดี๋ยววันจันทร์ ไม่ก็ อังคาร จะมาช่างเข้าไปเปลี่ยนมิเตอร์ให้นะครับ
แล้วเราก็ไม่คาดหวังเ_ยอะไรอีกว่าเขาจะมาวันจันทร์ หรือแม้กระทั่งวันอังคารก็ตาม จนเห้ยยยย วันจันทร์ เขามาเว้ยยยทุกคน ช่วงเกือบ ๆ เที่ยง เขามาทุกคน เขามา !!!! น้ำตาจะไหล นั่นแหละ ก็เปลี่ยนจนเสร็จ และ นั่นก็คือ มหากาพย์ แห่งการเปลี่ยนมิเตอร์กับ PEA สาขา xxx ไม่ขอเอ่ยชื่อละกัน แต่ถ้าพี่อ่านอยู่น่าจะพอรู้ เพราะในไลน์มี Log ที่คุยกัน กับ Voice Record ฮ่า ๆๆๆๆๆ
ย้อนกลับมาตอนที่เราจะปรับระบบไฟ หลัก ๆ สำหรับคนที่เปลี่ยนมิเตอร์ คือเราจะต้องปรับระบบให้เข้ากับขนาดของมิเตอร์ใหม่ที่เราจะติดตั้ง เช่น เราบอกว่า เราจะติดมิเตอร์ 1-Phase ขนาด 30(100) ที่ของเดิม เราเป็น 1-Phase เหมือนกัน แต่ขนาดเล็กกว่า อันนี้ง่ายหน่อย เราก็ต้องเปลี่ยนสาย Main ให้ใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้นจริง ๆ นะ ใช้สายเบอร์ 35 ไปเลย ตอนแรกไม่รู้ใหญ่ขนาดไหน จนเห็นของจริง ต้องอุทานออกมาว่า อีเ_ย ใหญ่ชิ_หาย สงสารคนตัดเลย
นอกจากนั้น Main Breaker เราจะต้องเปลี่ยนเป็นขนาด 100A ด้วย ซึ่งอันนี้แหละที่เป็นปัญหา เพราะก่อนหน้านี้ เราใช้ตู้ Consumer แบบปีกนกอยู่ เลยไปหา Main Braker ทั้งตามร้านขายวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ คือ แถวบ้านเราจะมีอยู่ 3 ห้างใหญ่ ๆ เลย ก็คือ ไม่มีจ้าาาาา มีที่นึง แต่มันเป็นแบบ Plugin
เรื่องน่ารู้ ตัวตู้ Consumer ที่เราใช้กันตามบ้าน มันจะมี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบปีกนก ที่เป็นรางให้เราเอาลูกย่อยมาเสียบ แล้วต่อสายเองทั้งหมด และ อีกแบบคือ Plug-in ที่เราเอาลูกย่อยมาเสียบ โดยที่เราไม่ต้องเดินสายไฟเข้าเลย เดินแต่สายไฟออก เพราะมันเป็นรางไฟมาให้แล้ว
เราเลย เอาวะ ในเมื่อหาไม่ได้แล้วจริง ๆ ช่างก็จะมาเปลี่ยนแล้ว งั้นเราเปลี่ยนตู้ไฟในบ้านใหม่แมร่งเลยมั้ยละ อ๋าาา ได้นะ เหตุผลหลักจริง ๆ ไม่ใช่เพราะหา Breaker ไม่ได้นะ แต่เป็นเพราะว่า ไฟ 100A มันไม่น้อย เราไม่อยากใช้ยี่ห้ออะไรไม่รู้ที่หมู่บ้านให้มาถูก ๆ เราอยากได้ยี่ห้อที่เราไว้ใจเท่านั้น จ่ายแพงเท่าไหร่ก็ยังถูกกว่า ถ้าบ้านไหม้ทั้งหลังเนอะ กับก็ดีแหละ ทำใหม่ เราจะได้เดินพวก RCBO หรือกันดูด กับพวก Safety ต่าง ๆ ไว้เต็มระบบเลย เพราะอุปกรณ์เราเยอะมาก ๆ
ยี่ห้อที่เราไว้ใจ เขาไม่ได้จ่ายนะคือ Schneider ก็คือ เราจะต้องไปเดินหาซื้อตั้งแต่ตู้เลย ซึ่งบ้านเราเองใช้ประมาณ 13 ช่องเลย กับถ้าเราไปดูเรื่องของกันดูดจริง ๆ เราหากันดูดที่ขนาด 100A ไม่ได้เลย เราเลยเลือกรุ่นที่เป็น 2 Bus Bar ไปเลย เลยได้มาเป็น 8+8 และแถม RCBO 63A มาให้ในกล่องเลย
กับลูกย่อย เราก็หาซื้อไม่ยากนะ มันมีขายค่อนข้างทั่วไปเลย สำหรับเราเอา อันความเรื่องมาก เราเลย ต้องไป Shopping เองเลย สำหรับใครที่เป็นแบบเรา ง่ายสุด ๆ คือ เราพยายามซื้อให้ได้เท่ากับลูกเดิมเลย
ของมา ก็รับบทคนจีนเลย คือ รื้ออออ บ้าน ช่างก็จะทำการไล่ถอดสายเก่าออกจากลูกย่อยเก่า แล้วค่อยยกตู้ออกมา พอมาเห็นคือ อะไรฟร๊ะเนี่ยย !!! ใหญ่โตมาก
แล้วค่อยต่อสายเข้าไปใหม่ เราก็จะได้ตู้ใหม่ละ อันนี้เป็นหน้าที่ของช่างละกัน ไม่พูดเยอะ เท่านี้ระบบบ้านของเราก็พร้อมสำหรับการตรวจสอบจากการไฟฟ้าแล้ว อ่อ กับเราติดพวก CT Clamp เพื่อวัดไฟเข้าไปด้วย เลยเห็นเป็นเครื่องที่อยู่ด้านล่างของรูป
นอกจากนั้น เราไม่ไว้ใจคุณภาพของโครงการเลย แล้วเราใช้ไฟขนาดนี้ เรื่องสายดินเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ เราเลยบอกให้ช่างตอก Ground Rod และเดินสายดินใหม่หมดเลย เพื่อความปลอดภัย กับ เช็คนิดนึง เพราะเครื่องชาร์จส่วนใหญ่ มันจะเช็คหาสายดินด้วยนะ ถ้าไม่มี หรือ ไม่พอ มันจะไม่ยอมให้เราชาร์จ
Ground Rod ที่ตอกเข้าไปใหม่ เป็นขนาดยาว 2.4m ไปเลย เพียงพอต่อการกระจายไฟถ้าเกิดรั่วแน่นอน ดูขนาดเทียบกับไม้กวาดนั่นสิ ยาวมาก ๆๆๆ
พอระบบไฟบ้านเสร็จแล้วเนี่ย เราจะทำตู้ย่อยสำหรับวางระบบในการชาร์จรถโดยเฉพาะเลย การเดินสายของเราคือ เราเดินสายออกจากตู้หลักผ่าน Breaker ขนาด 50A จากนั้นต่อไปที่ตู้ย่อย เข้า Main ที่เป็น RCBO หรือกันดูด ขนาด 63A ถามว่า เพียงพอมั้ย คำตอบคือสบายเลยนะ เพราะ Wall-Charge มันจะกินอยู่ที่ 32A หรือ ถ้าเราเสียบที่ชาร์จฉุกเฉินอีก 16A มันก็จะอยู่ที่ 48A ก็เฉียว ๆ กับ 50A พอดีเสียว ๆ หน่อย
แต่ปกติ เราไม่ได้เสียบพร้อม ๆ กันอยู่ละ ไม่มีปัญหา แล้วมาเข้าลูกย่อยที่เป็น 50A สำหรับ Wall-Charge และ 20A สำหรับที่ชาร์จฉุกเฉิน แล้วต่อเข้ากับ Smart Power Meter แล้วค่อยไปที่ Charger กับปลั๊กเสียบแค่นั้นเลย
แต่ตอน Implement จริง ๆ จากในรูป เราจะต้องใช้ตู้ทั้งหมด 2 ตู้ด้วยกัน เพราะ ลูกย่อย เราต้องการใช้ของ Schneider แล้วมันเป็นแบบ Plugin แต่... ตัว Smart Meter มันเป็นแบบปีกนก เราเลยต้องใช้ตู้ย่อย ของ ย่อย อีกทีมาเพื่อวาง Smart Meter โดยเฉพาะบ้าเอ้ยย เลยกลายเป็นว่า ตู้บ้าอะไรเนี่ย เต็มไปหมด
สุดท้าย พอมาติด Wall-Charge ก็จะออกมาเป็นแบบนี้เลย พอเราจะใช้เราก็เสียบเข้ากับรถได้เลย แล้วเอาบัตรมาแตะ มันก็ใช้งานได้เลย
ก่อนที่เราจะติดตั้งระบบชาร์จรถ EV ขั้นตอนมันก็จะยุ่งยากนิดนึง ที่เราจะต้องไปขอมิเตอร์เพิ่ม โดยเราจะเลือกได้ระหว่าง ขยายขนาดมิเตอร์เดิม หรือ เราอาจจะขอลูกใหม่ที่เป็น TOU ได้เพื่อให้ประหยัดมากขึ้น และเราก็ต้องทำการปรับปรุงระบบไฟ โดยส่วนใหญ่แล้ว ช่างที่เราจ้างมาก็จะจัดการให้เราแหละ แต่เราก็หาทำ อยากได้ยี่ห้อที่ต้องการกับ Design เองใส่พวก IoT เข้าไป ทำหมด เราว่าน่าจะเป็นหมื่นเหมือนกัน TT เพราะแค่ตู้กับลูกย่อย ของตู้หลักก็น่าจะเกือบ ๆ 5 พันแล้วมั้ยเนี่ย ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ละกันสำหรับเพื่อน ๆ ที่ซื้อรถ EV มาใช้งานกัน
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...
จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...