By Arnon Puitrakul - 31 พฤษภาคม 2024
ตอนก่อนเรารีวิว iPad Pro M4 13-inch ภาคแกะกล่องเรียบร้อยละ ตอนนี้เราได้เอามาใช้งานกว่า 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา ทำให้เราเห็นข้อสังเกตเยอะมาก ๆ วันนี้เราจะมาเล่าข้อสังเกตเหล่านี้ สำหรับใครที่จะซื้อ จะได้เอามาเป็นข้อมูลสำหรับพิจารณา
เรื่องแรกที่เราอยากออกมา Confirm ตัวเองมาก ๆ คือ จอมันดีจริง ไม่อิงนิยายใด ๆ เริ่ดมาก ปังมากพี่นัท ของแทร่ ความสว่างที่มันให้ได้ ทำให้เราต้องปรับลดความสว่างเวลาใช้งานในพื้นที่ Indoor เลย และพอเอาไปใช้ Outdoor แดดเมืองไทยตอน 11 โมงถึงเที่ยง มันใช้งานได้ เห็นมากกว่าจอรุ่นก่อน ๆ หลายเท่าตัว
และเมื่อมันเป็น OLED มันสามารถ ปิด แต่ละ Pixel ได้อย่างอิสระ นั่นแปลว่า ส่วนที่แสดงมืดมันสามารถปรับลงไปได้ถึง 0 nits หรือเท่ากับว่า Pixel นั้นปิดหลอดไปหมดเลย ส่งผลต่อเรื่อง Contrast ในการแสดงผลที่น่าเหลือเชื่อมมาก ๆ โดยเฉพาะหากเราดู HDR Content ยิ่งรู้สึกตระการตามาก ๆ อย่างไม่น่าเชื่อ ให้ฟิลลิ่งคล้ายกับ TV OLED แต่พอมันอยู่ใกล้กว่ามันรู้สึกอลังการกว่ามาก ๆ หากมอง iPad Pro เป็น Media Consumption Device เราคิดว่า เป็นตัวที่น่าสนใจมาก ๆ โดยเฉพาะ 13 นิ้ว คือ ใหญ่จริงอะไรจริงมาก
แต่ถามว่า หากเราเอามาทำงานจริง ๆ การมี OLED Panel ส่งผลอะไรบ้างมั้ย ถ้าด้วยงานของเราต้องบอกเลยว่า ไม่ส่งผลใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะ งานที่เราทำ ไม่ได้ต้องการ Contrast ที่สูง และ การแสดงผลที่จัดจ้านขนาดนั้น เราไม่ได้ทำพวก HDR Content ทั้งฝั่งวีดีโอ และ รูปภาพเลย
และหน้าจอแบบ Nano-Texture ที่จะเลือกได้เฉพาะรุ่นความจุ 1 และ 2 TB เท่านั้น หากเราไม่ได้ต้องการจะซื้อรุ่นควาทจุเท่านั้นอยู่แล้ว เราคิดว่า ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเพิ่มไปเพื่อเอา Nano-Texture เลย เพราะหากเราซื้อมาแล้ว เอาไปติดฟิล์ม เราจะสูญเสียคุณสมบัติของมันหมดเลย หรือถ้าไม่ติดฟิล์มต้องถามว่า ไหวเหรอ…. เราไม่อะ
ต้องยอมรับเลยว่า การเปิดตัว M4 ในครั้งนี้ น่าสนใจมาก ๆ ด้วยความแรง และการกินไฟของมันที่ทำได้ดีกว่า Generation พอสมควร จากการใช้การผลิตแบบ 3nm ใน Generation ที่ 2 แต่สุดท้าย เมื่อเรามาใช้งานจริง เราพบว่า ตัวเครื่องไม่สามารถรีดประสิทธิภาพของ M4 ออกมาได้อย่างเต็มที่
ส่วนหนึ่งเกิดจากตัว iPadOS เองที่ยังไม่รองรับการขูดรีด Resource อย่างเต็มที่ เช่นในเครื่องความจุ 1 และ 2 TB ที่มาพร้อมกับ Unified Memory ขนาด 16 GB ตัว App ณ วันที่เขียนก็ยังไม่สามารถจองใช้งานมากกว่า 5 GB (เราไม่แน่ใจว่า Apple แก้ปัญหานี้แล้วหรือยัง) ซึ่งมันค่อนข้างไป สัมพันธ์กับผลการทดสอบของช่องด้านบนที่ ทดสอบเทียบระหว่างรุ่นที่มี Unified Memory ขนาด 8 และ 16 GB ผลแทบไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเลย จึงทำให้เราคิดว่า มันน่าจะยังมีการ Limit ตรงนี้อยู่
แต่ถามว่า 16 GB ไร้ค่าขนาดนั้นมั้ย คำตอบคือ ถ้าปัญหานี้เกิดจากการโดน Limit Memory Allocation ถ้าเราเอามาเปิด App ที่ใช้ Memory หนัก ๆ พร้อม ๆ กัน เราคิดว่า น่าจะเห็นผล เช่นฝั่งนึงเรา Render Video บน LumaFusion และ อีกฝั่งกำลังทำ Sound บน Logic Pro น่าจะเห็นผลอยู่ เอาเข้าจริง เราทำแบบนั้นกันสักเท่าไหร่กันเชียว ทำให้เรามองว่า ณ วันนี้ หากเราไม่ได้ใช้งานอะไรที่หนักหน่วงมาก 8 GB ถือว่าเหลือ ๆ แล้ว อย่าลืมว่า iPadOS มันเป็น OS สำหรับ Tablet ที่ออกแบบมาให้มัน บาง กว่าพวก Desktop OS อย่าง macOS มาก ๆ ดังนั้น Memory Footprint ย่อมน้อยกว่าอยู่แล้ว
อีกเหตุผลคือ Application ณ วันนี้ ยังไม่ดึงประสิทธิภาพการทำงานของ M4 ออกมาได้ทั้งหมด เราต้องเข้าใจก่อนว่า iPad คือ Tablet และมันจะยังเป็น Tablet ต่อไป ทำให้ งานที่มันทำได้มันจะไม่ได้เยอะมาก เน้น Agility เป็นหลัก หรือหาก App ไหนทำ Feature เก่งมาก ๆ กินเครื่องหนักมาก ๆ ออกมา ปัญหาคือ ไม่ใช่ iPad ทุกเครื่องเร็วพอที่จะใช้งานได้ หากมันแรงแค่พอสำหรับ M-Series ตัวใหม่ ๆ ก็มีแค่ M2 และ M4 เท่านั้น จำนวนผู้ใช้ยิ่งน้อยเข้าไปอีก ยังไม่นับว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะซื้อ App ที่มี Feature หรูหราเท่า PC นี่อีก ไม่คุ้มค่ากับการที่ Developer จะลงทุน
ดังนั้น ด้วยเหตุที่เราเล่ามาทำให้ เรามองว่า ณ วันนี้ การที่เรามี M4 มันไม่ได้ทำให้เราทำอะไรได้เพิ่มไปมากกว่า M1 และ M2 ใน iPad Pro ตัวก่อนหน้านี้เลย หากคุณกำลังมองว่า เราอยากเปลี่ยนมาใช้ เพราะ M4 เราคิดว่า รออีกหน่อย รอดูงาน WWDC’24 ที่กำลังจะจัดก่อนว่า iPadOS จะมีความสามารถอะไรเพิ่มเติม เพื่อรีดประสิทธิภาพการทำงานของ M4 ออกมาให้เต็มที่กว่านี้มาก ๆ
อย่างที่เล่าไปว่า รอบนี้ iPad Pro บางเบาลงกว่ารุ่นก่อนมาก เรียกว่าบางที่สุดเท่าที่ Apple เคยทำมา แน่นอนว่า การทำให้บางเบาลงมันก็อาจจะดีสำหรับบางคนที่ต้องถือมือเดียวนาน ๆ แหละ
แต่สำหรับเรา เรามองต่างออกไป พอเครื่องมันบางเบาลง นั่นแปลว่า ความจุ Battery ย่อมเล็กลงตามไปด้วย iPad Pro 12.9-inch M2 ให้แบตมา 40.88 Wh แต่ในรุ่น 13 นิ้ว M4 ให้มาแค่ 38.99 Wh หรือหายไปประมาณ 1.89 Wh หากแปลงเป็นเวลาในการใช้งาน อาจจะมีได้อีกประมาณ 30 นาทีกว่า ๆ เมื่อใช้อ่านหนังสือ จด Note อะนะ แต่ถ้าหนักกว่านั้น เราว่าไม่จะเพิ่มมาไม่เกิน 10 นาที
และเมื่อเราเอามาใช้งานจริง ออกมานั่งทำงานข้างนอกใช้ Safari, Obsidian และพวก Affinity Designer ต่อ WiFi ปกติ เราเริ่มต้นเอาออกจากบ้านด้วยแบต 100% กลับมาบ้านเราเหลือประมาณ 25-30% เท่านั้น มันถือว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานใน 1 วันจริง ๆ แหละ แต่พอมันเป็น M4 เราแอบคาดหวังมากกว่านี้ว่า มันน่าจะทำให้เราไม่ต้องชาร์จสัก 2 วัน (ทำงาน Screen-on วันละ 8 ชม รวม 2 วันเป็น 16 ชั่วโมง) เหมือน MacBook Air M1 ที่เราเคยใช้
มีบางวัน เราตัดวีดีโอใน LumaFusion จากกลับบ้านมาเหลือ 30% มันจะเหลืออยู่ประมาณ 15% เท่านั้นเองนะ โดยที่ตัดเสร็จละ ถ้าจะ Export อีกปรากฏว่าเฉียดมาก ๆ จนเสียบแบตเถอะ ไม่รอดแน่นอน ส่วนนึงเราคิดว่า น่าจะเกิดจากการที่เราเสียบ External SSD เข้าไปมันเลยกินพลังงานมากกว่าด้วยละมั้ง อันนี้ว่าเขาไม่ได้
เราลองทดสอบการชาร์จ ปรากฏว่า iPad Pro 13-inch M4 เครื่องที่เราใช้นั้น สามารถชาร์จได้สูงสุดเพียงแค่ 40W เท่านั้น และเมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมาใช้งาน เปิดความสว่างหน้าจอ และ เสียงสุด เปิด Apple TV+ เล่น HDR Content ทำให้โหลดมันขึ้นไปถึงประมาณ 42-44W เท่านั้น ไม่ใช่ 60W ที่เราเคยพูดถึงไป และหากเราเสียบเข้ากับ Magic Keyboard เราได้กำลังไฟเข้าพอ ๆ กับเสียบตรงเข้าตัวเครื่องดังนั้น เราคิดว่าเสียบตรงไหนก็เท่ากันแล้วละ ไม่ต้องซีเรียส
ดังนั้นเรื่องของ Battery จริง ๆ ไม่ได้แย่นะ ใช้งานได้ทั้งวัน เราไม่มีปัญหาอะไร แค่ว่าไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว มันน่าจะใช้งานได้นานมากกว่านี้ น่าจะเข้ากับงานฝั่ง Professional มากกว่านี้
Magic Keyboard ที่เราชอบบอกราคามหัศจรรย์ หลังจากใช้งานมา เราต้องบอกเลยว่า มันก็ยังมหัศจรรย์อยู่ แต่คุ้มค่ามากกว่าเดิมมาก ๆ ด้วย การเปลี่ยนวัสดุตรง Palm Rest อะลูมิเนียม เหมือนกับ MacBook ทั้งหลาย นอกจากจะเพิ่มความหรูหราแล้ว เมื่อเอามาใช้งานไปนาน ๆ พิมพ์ไปสักพัก เหงื่อบนฝ่ามือเริ่มออก จนทำให้มันเริ่มเป็นคราบบริเวณ Palm Rest แรก ๆ มันเอามือปาดออกได้ แต่หากปล่อยไว้นาน ๆ ไม่เช็ดทำความสะอาด มันจะเป็นคราบแน่นเหมือน MacBook เป๊ะ ๆ ต้องใช้พวกน้ำยาเช็ดจอมาขัด ๆ หน่อยถึงจะออก
ข้อพับ เป็นอีกปัญหาคือ พอมันไม่มีอะไรมาหุ้มไว้ บางที เรายกมาจะง้างฝาออกมา เราชอบเอาข้อพับวางลงบนโต๊ะก่อน ซึ่งมันอาจทำให้ข้อพับนี้เกิดรอยจากการใช้งานได้ และช่องเสียบชาร์จนั้น พอเปลี่ยนเป็นแนวนอน เราพบว่า เวลาจะเสียบและถอดสายทำได้ยากกว่าเดิมมาก ๆ
แต่เรื่องที่เราคิดว่าเป็นปัญหาหนักมาก ๆ ที่ Apple ยังไม่สามารถแก้ไขได้สักที คือ มุม ที่ใช้พิมพ์และมองเครื่อง ท่าทางที่ได้ออกมา มันสนับสนุนให้ ไหล่งุ้ม และ คอยื่นมาก ๆ ยิ่งเราเองที่ใช้งาน Keyboard เป็นหลักด้วย ค่อนข้างน่ากลัวพอสมควร หากใครมีพวกอุปกรณ์เสริมที่แก้ปัญหาเรื่องนี้ รบกวนบอกมาหน่อยจะไปซื้อ ปวดคอมากค๊า
สุดท้ายโดยรวมของ Keyboard ตัวนี้ นำเสนอความคุ้มค่าที่มากกว่าเดิม แต่แลกมากับปัญหาใหม่อีกสารพัดเกินจะบรรยาย แต่ปัญหาเหล่านี้ ส่วนตัวเรามองว่า อยู่กับมันได้ หากเราปรับตัวหน่อย
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะว่า Feature ใหม่ใน Apple Pencil Pro ไม่ใช่การที่ เราบีบแล้วกล่องเครื่องมือจะออกมาทุก App หรือ หมุนแล้วมันจะทำได้เหมือนที่ Apple เล่าใน Keynote
มันเป็นเพียงความสามารถหนึ่งที่ นักพัฒนา App สามารถนำ Hardware ที่มีเพิ่มเติมใน Apple Pencil Pro ไปพัฒนาเป็น Feature อะไรก็ได้ใน App ของตัวเอง เราจะตั้งให้ บีบแล้วไฟห้องนอนปิดก็ได้ หรือทำอะไรก็ได้ ปัญหาคือ ณ วันนี้ App ที่รองรับ Feature ใหม่ ๆ ของ Apple Pencil Pro ยังมีไม่เยอะมาก เราคิดว่าส่วนหนึ่งเกิดจากมันพึ่งออกเลยยังไม่มีนักพัฒนาที่ออกความสามารถออกมาเยอะ กับอีกส่วนเป็นเรื่องของความคุ้มค่าละ ว่า จำนวนผู้ใช้ Apple Pencil Pro ในตลาดเท่าไหร่ เราคิดว่า สถานการณ์เดียวกับ Dynamic Island ที่แรก ๆ ไม่ค่อยมี App Support กันเยอะ แต่พอเวลาผ่านไป มันเริ่มมีรุ่นโทรศัพท์ที่รองรับมากขึ้น Developer ก็ค่อย ๆ เริ่มพัฒนา Feature ที่ใช้งานออกมาทีหลัง ดังนั้นหากเรามองว่า หากเราคันอยากซื้อเพื่อมาใช้ Feature พวกนี้จัง ๆ เราคิดว่า มันไม่คุ้มค่าเท่าไหร่เหมือนกัน อาจจะต้องมี 1-2 ปี น่าจะมีมากขึ้นแล้วละ
ข้อสังเกตที่เราเล่ามาในรีวิวนี้ เราไม่ได้จะโจมตีว่า iPad รุ่นนี้ไม่ดีนะ เรามองว่ามันเป็น Tablet ที่ดี ใช้งานได้จริง แต่มันยังมีข้อสังเกตหลาย ๆ อย่างที่ทำให้ประสบการณ์ใช้งานไม่ลื่นไหล และไม่คงทนในการใช้งานระยะยาว เราต้องบอกเลยนะว่า ค่าเครื่องและอุปกรณ์เสริมขนาดนี้ เราคาดหวังสูงกว่านี้มาก ๆ ซึ่ง iPad Pro ตัวนี้ยังทำได้ไม่ถึง ยังขาดอะไรหลาย ๆ อย่างอยู่ ข้อสังเกตที่เราเอามาเล่าในวันนี้ น่าจะช่วยทำให้หลาย ๆ คนที่กำลังลังเลอยู่ได้เป็นข้อมูลพิจารณาดูว่าเรารับได้มั้ย ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเล็กน้อยหรือใหญ่ แต่ถ้าเราต้องอยู่กับมันทุกวัน เป็นเวลานาน (เว้นแต่จะเปลี่ยนบ่อย ๆ) เราจะโอเคมั้ย นั่นอีกเรื่องเลยนะ
ไว้ในตอนหน้า เราจะมาเล่าในฟังของ App และ iPadOS บ้างว่า การที่เราเอามาใช้ทำงาน Content Creator มาเต็ม ๆ 1 สัปดาห์ เราใช้ App อะไรบ้าง และประสบการณ์ที่ได้มันเป็นอย่างไร เรื่องมันยาว เลยขอแยกไว้อีกตอนละกัน
เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...
ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...
จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...
หลังจาก Apple Transition ไปสู่ Apple Silicon มาจนถึงจุดที่การเปลี่ยนผ่านเสร็จสิ้น เราก็ไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไรกับ Apple Silicon อีกเลย จนกระทั่งตอนที่ M4 ออกนี่แหละ ที่เราคิดว่า มันถึงจุดที่ใช่ละ ฤกษ์มันมาแล้ว ก็จัดเลยสิครับ มาดูกันว่าฤกษ์มันจะตรงอย่างที่เราคิดหรือไม่...