By Arnon Puitrakul - 15 มกราคม 2018
ใครติดตามผมในเฟสอยู่ก็น่าจะเห็นมาสักพักแล้วละว่าตอนนี้ผมเปลี่ยนมาใช้ Google Pixel 2 XL แล้ว ซึ่งมันเป็นโทรศัพท์ในตระกูล Pixel ที่สานต่อความสำเร็จจากรุ่นพ่ออย่าง Pixel และ Pixel XL ในรุ่นแรกที่ได้คะแนน DxOMark สูงลิงลิ่วในปีนั้น มาในปีนี้ Google ก็เปิดเรือธงรุ่นต่อไปนั่นคือ Google Pixel 2 (ธรรมดาและ XL) จะเป็นยังไง เรามาดูกันเลย
เริ่มต้นที่สเปกโดยรวมของเครื่องกันก่อนเลย Google Pixel 2 XL มาพร้อมกับ CPU Snapdragon 835 และ GPU อย่าง Arduino 540 ที่จัดว่าเป็นสเปกเรือธง ตัวท๊อปสุดของปี 2017 และ RAM จำนวน 4 GB พร้อมกับหน่วยความจำขนาด 64 GB หรือ 128 GB โดยตัวที่เอามารีวิวในวันนี้เป็นขนาด 128 GB สีดำ (จริง ๆ ตัวที่ขายจะมี 2 สีคือ สีดำ และสีขาวดำ หรือที่เรียกว่าสี Panda 🐼)
เหนือสิ่งอื่นใดเรามาเริ่มจากการแกะกล่องกันก่อนเลย เริ่มต้นที่หน้ากล่องที่มีรูปตัว Pixel 2 โชว์อยู่บนหน้ากล่องบอกให้รู้ว่า "ฉันสีดำนะ !!" อยู่ข้างหน้าพร้อมกับชื่อรุ่น กลัวเราไม่รู้ 🤪
หลังกล่องอันนี้ชอบมาก มีการเขียน #teampixel ไว้สำหรับขาถ่ายรูปไว้ลงรูปกัน ที่ชอบที่สุดคือมันเป็นสีฟ้าาาาาาาา และเราชอบสีฟ้าาาาา ฮ่า ๆๆๆๆๆๆๆๆ
พอเปิดกล่องมา ก็ซูดดดดดดด กลิ่นกล่องของใหม่ อ่าห์ หอมชื่นใจ ~~ 🌿 เราก็จะเจอโทรศัพท์ที่เคลือบด้วยพลาสติกวางอยู่บนถาดกระดาษสีขาว
ถัดจากถาดกระดาษที่วางโทรศัพท์ ก็จะเป็นกล่องใส่พวก Paper Work ทั้งหลาย และกล่องเล็ก ๆ ข้างล่าง เดี๋ยวมาดูกันว่ามันคืออะไร
ในกล่อง Paper Work เปิดมาเราก็จะพบ คู่มือเล่มสีฟ้าาาา ~~~ ถัดจากเล่มฟ้าก็เป็นคู่มือเรื่องความปลอดภัยในการใช้โน้นนี่นั่น และที่สำคัญที่จิ้มถาดซิม จุดสังเกตคือ มันเป็นกลม ๆ คือเวลาใช้เสร็จแล้วจะเก็บมันเก็บยากมาก !!! โว้ยย 😫
ถ้าเราเอากล่อง Paper Work ออกไปเปิดออกมา เราก็จะเจอกับ USB OTG ที่ให้กับกล่องตัวเครื่องด้วย ซึ่งดีมาก
ที่มันมาให้สำหรับ Transfer เพียงแค่เราเอาสายที่มาในกล่องเสียบเข้าเครื่องเรา และเอาอีกด้านเสียบกับ OTG และเสียบเข้าเครื่อง แล้วกดย้าย มันก็จะย้ายทุกอย่างมาหมดเลย
หลังจากปที่แล้วที่ Google ไปแซะ Apple ว่า เรายังมีรูหูฟัง 3.5 อยู่น้าาาา พอมาปีนี้มันหายไปแล้วแจ้ !!! มันกลายร่างออกมาเป็นหัวแปลงจาก USB-C เป็นหัว 3.5 ออกมาแทนซะงั้น อันนี้เราค่อนข้าง Pain สำหรับผมมาก จุดสังเกตคือตัวแปลงตัวนี้สามารถใช้กับโทรศัพท์รุ่นอื่น ๆ ที่มี USB-Type C ได้ด้วย ต่างจากโทรศัพท์จาก Brand อื่นเช่น HTC ที่ตัวแปลงในกล่องไม่สามารถใช้กับโทรศัพท์ Brand อื่นได้เลย
สำหรับสายชาร์จ และหัวแปลง แน่นอนว่าเป็นพวกชาร์จเร็วด้วย ที่รองรับมาตราฐาน 5v 3A/9v 2A พร้อมสาย USB-C เป็น USB-C สายค่อนข้างที่จะหนามาก เมื่อเทียบกับสายชาร์จ Lighting ที่ได้มากับ iPad Pro นอกจากนั้นยังมีที่เก็บสายมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บสายด้วย และก็ ไม่รองรับ Wireless Charging นาจา
ด้วยสายที่ให้มาเป็น USB-C เป็น USB-C หัวแปลงก็ต้องเป็น USB-C ด้วยเช่นกัน
และนี่คือของทั้งหมดที่มาในกล่อง ข้อสังเกตคือ Google ตัดรูหูฟัง 3.5 ออกไป แต่ก็ยังไม่ได้แถมหูฟัง USB-C มาด้วย อย่างที่ Apple แถมหูฟังที่เป็น Lighting แถมมาในกล่องด้วย
มาที่ตัวเครื่องกันบ้าง Google Pixel 2 XL มาพร้อมกับหน้าจอแบบ P-OLED โค้ง ๆ หน่อย ๆ ขนาด 6 นิ้ว ความละเอียด 1440x2880 pixel ที่คนว่ากันระนาวถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากหน้าจออันนี้ แน่นอนว่าในหน้าจอนี้รองรับมาตรฐาน P3 Gammut แต่ Google เลือกที่จะตั้งค่าหน้าจอเป็น sRGB แทน แงงงง TT 😭
เรื่องของขอบจอบนล่างก็ได้รับการแก้ไข จากในรุ่นแรกที่จะเว้นมาทำไมเยอะแยะ มาใน Pixel 2 XL ได้รับการแก้ไข มันก็เล็กลง และมาพร้อมกับลำโพง Stereo อีกด้วย
มาที่ด้านหลังกันบ้าง ด้านหลังของเครื่องนี้ก็ยังให้กลิ่นอายของความ Pixel อยู่เหมือนเดิมด้วยการใช้กระจกและโลหะผสมกัน โดยมาในรุ่นนี้ส่วนของที่เป็นกระจกน้อยลงไป พร้อมกับตรงที่เป็นโลหะก็มีการเคลือบทำให้สัมผัสคล้าย ๆ กับพลาสติก Google บอกว่าทำเราสามารถจับได้ง่ายขึ้น ทำให้มันดูสวยขึ้นหน่อย ๆ นะ (ไม่รู้นะส่วนตัวคือชอบแบบนี้มากกว่า) และอีกจุดนึงคือเรื่องของกล้องที่ได้อันดับ 1 ใน DxoMark (เดี๋ยวเรื่องกล้องรีวิวในหัวข้อต่อไป) ที่ความละเอียด 12.2 MP f/1.8 ที่ให้ภาพดีแม้ในที่แสงน้อย แต่จุดนึงที่ผมไม่ค่อยชอบคือ ตัวเลนส์กล้องมันยื่นออกมาจากตัวเครื่องทำให้ตัวเครื่องแอบวางไม่นาบกับโต๊ะสักเท่าไหร่ และด้านล่างก็จะมีโลโก้ Google อยู่
กระจกด้านหลังเวลาใช้แนะนำให้ระวังนิดนึง เพราะมันจะเป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย ส่วนรอยขนแมวนี่ยังไม่เจอเลย แต่เห็นในรีวิวต่างประเทศบอกว่ามันเกิดขึ้นได้ง่ายมาก
และที่สำคัญคือมาพร้อมกับ Fingerprint Sensor ที่ Google เรียกว่า Google Imprint ที่สแกนลายนิ้วมือได้เร็วมาก ๆ Google ถึงกับเคลมเลยว่าเร็วกว่า Pixel รุ่นแรกถึง 2 เท่า คือรุ่นแรกลองเล่นมันก็เร็วแล้ว มาในรุ่นนี้โคตรเร็ว เร็วโคตร ๆ ⚡️ ถึงกับแค่เอานิ้วเลื่อนผ่านมันก็เข้าเครื่องได้แล้ว (เดี๋ยวนะ ยังปลอดภัยอยู่ใช่มั้ยฮ่า ๆ) จุดที่วาง Sensor ตอนแรกก็คิดว่ามันจะจับยังไง พอมาจับแล้วมันดีมาก ๆ
ด้านซ้ายของตัวเครื่อง จะเป็นช่องสำหรับใส่ซิม โดยจะต้องใช้ที่จิ้มซิมจิ้มออกมานะ อย่าไปแงะเล่นละ
โดยเมื่อเราจิ้มออกมาแล้ว เราจะพบถาดสำหรับใส่ซิมที่เป็น Nano Sim และแน่นอนว่าไม่มีช่องสำหรับใส่ SD Card มานะ เพราะฉะนั้นตอนซื้อก็คิดดี ๆ ว่าจะเอารุ่น 64GB หรือ 128GB และรองรับ eSim (สำหรับเครือข่ายและประเทศที่รองรับเท่านั้นนะ)
สำหรับตัวเครื่องข้างขวา จะมีปุ่ม Power สำหรับเปิดปิดและล๊อคเครื่อง และปุ่มเพิ่ม/ลด เสียง ปุ่มค่อนข้างที่จะกดง่าย แต่ก็ไม่ง่ายขนาดจะลั่นได้ง่าย ๆ รวม ๆ ก็กลาง ๆ กดง่ายแต่ไม่ลั่น แต่ก็ยังไม่ใช่ปุ่มที่ดีที่สุดอยู่ดี ถ้าเรากดปุ่มล๊อคเครื่อง 2 ครั้งพร้อมกันก็จะเป็นเมนูลัดสำหรับเข้าเมนูกล้องได้ทันที
จากทั้งหมดของตัวเครื่องทำให้เราเห็นได้ว่าเรื่องของงานประกอบทำออกมาได้ดีมาก ๆ สอบผ่าน !! ✅ ตัวเครื่องจับแล้วรู้สึกแพง ไม่มีชิ้นส่วนชิ้นไหนดัง เอี๊ยด ๆ ถึงแม้เราจะบีบเครื่องก็ตาม เพราะทุกชิ้นถูกทำและประกอบมาพอดี ทำให้เรามั่นใจได้ว่ามันจะไม่พังคามือเพราะงานประกอบแน่นอน
มาที่เรื่องของหน้าจอกันบ้าง หน้าจอของ Pixel 2 XL นั้นมาพร้อมกับขนาด 6 นิ้วแบบ P-OLED ในอัตราส่วน 18:9 ที่อาจจะแปลกไปสักหน่อย แต่ถ้าเอามาดูพวกตัวอย่างหนังมันจะดูเต็มตามากขึ้นแบบอลังโคตร !!! แต่เวลาเราดูวีดีโอต่าง ๆ ที่ใช้อัตราส่วน 16:9 มันทำให้มันรู้สึกแปลก ๆ ไปสักหน่อย
เรื่องของสีจอให้สีตามมาตรฐาน P3 Gammut อย่างที่บอกไปตอนแรก ตัวหน้าจอเองที่ทาง Google บอกว่ามันโค้ง ซึ่งจริง ๆ แล้วมันแสดงผลไม่ถึงโค้งนะ (โค้งปลอม ๆ ฮ่า ๆ เรียก 2.5D ละกัน) จุดสังเกตอีกอย่างคือ ขอบของจอ มันจะเป็นโค้ง ๆ แทน ส่วนตัวคือชอบนะ มันดูแล้วแปลกตาดี แต่ถ้าเราไม่ได้สังเกต ก็ไม่ได้น่าเป็นจุดสนใจที่จะทำให้เราเห็นอะไรขนาดนั้นนะ
อย่างที่ทุกคนน่าจะได้ข่าวหรือได้อ่านมาจากเว็บอื่น ๆ ถึงเรื่องปัญหาของ Panel จอใน Google Pixel 2 XL (เป็นเฉพาะรุ่น XL เท่านั้น ตัวเล็กไม่เป็น) ซึ่งเกิดมาจาก Panel จอของ LG ปัญหาที่ดูจะร้ายแรงที่สุดน่าจะเป็น Screen Burn-in
Source : My Pixel 2 XL Screen Burn Experience by taytortot in Reddit
Screen Burn-in เป็นอาการที่เป็นเรื่องปกติของ Panal จอประเภท OLED แต่ปัญหาคือ มันดันเกิดขึ้นเร็วมาก มีผู้ใช้ใน Reddit พบปัญหานี้หลังจากที่ใช้งานไปแล้วเพียงแค่ 1 อาทิตย์เท่านั้น ที่มันบูมเป็นเพราะว่า มือถือเรือธง และราคาแพงขนาดนี้ แต่มันเกิดขึ้นเร็วได้ขนาดนี้ ซึ่งในปัญหานี้ทาง Google เองก็รับทราบ และทำการ Update Software ให้มีการเปลี่ยนแปลงสีของ Navigation Bar ด้านล่างของจอไปตามสิ่งที่แสดงผล เพื่อไม่ให้หน้าจอมันแสดงผลของอย่างเดียวกันค้างไว้ และยังยืดระยะเวลาในการรับประกันเพิ่มเป็น 2 ปี (แต่เอาจริง ๆ เราก็คงไม่ได้ใช้หรอก) แต่ตัวเครื่องที่ผมกำลังใช้อยู่ก็ยังไม่เจอนะ
อีกหนึ่งปัญหาคือ Blue Tint ก็เป็นปัญหาปกติของ OLED เช่นกันกับ Screen Burn-in โดยที่ถ้าปกติเรามองจอมุมไหนมันก็ควรจะให้สีที่ใกล้เคียงกัน แต่มาใน Pixel 2 XL นั้น เวลาที่เรามองด้านที่ไม่ได้ตรง ๆ จอมันจะออกฟ้า ปัญหานี้ผมเจอจริง ๆ แต่มันก็ไม่ได้มีผลกับการใช้งานมากขนาดนั้นเพราะเวลาเราใช้โทรศัพท์ เราก็คงไม่ได้เอียงเล่นแน่นอน
ปัญหาถัดไปคือ Black Smear คือปัญหาตอนที่หน้าจอของเรามันจะเปลี่ยนการแสดงผลจาก Pixel ดำ ๆ ให้กลายเป็น Pixel ที่มีสี ซึ่งเวลาเราเลื่อนมันจะให้อารมณ์เหมือนกับว่ามันกระตุก ๆ เพราะตัวเครื่องมันรันวิ่งไปก่อนที่จอจะชาร์จไฟเข้าแต่ละเม็ด Pixel เสร็จ ถามว่ามันเป็นปัญหาอะไรขนาดนั้นมั้ย ตอบเลยว่าไม่ เพราะตั้งแต่ใช้มาก็ไม่รู้มาก่อนเลยว่ามันมีปัญหานี้ จนกระทั่งเล่นโทรศัพท์ในโรงหนังก่อนหนังจะฉาย เราก็ต้องปรับแสงให้มันมืดหน่อย เพราะในโรงหนังมันมืด แล้วพอเราเลื่อนปุ๊บ อาการมันก็มาเลย แต่มันก็ไม่ได้อะไรขนาดนั้น พอเราเอามาเล่นในที่สว่างหน่อยก็หาย เท่าที่ลองเล่นในที่มืดในหอก็ไม่เป็นนะ ก็ยังงง ๆ ว่าทำไมโรงหนังมันสว่างกว่าห้องปิดไฟตอนกลางคืนแต่ดันไม่เป็น
ถ้าใครได้มาลองเล่นแล้ว จะเห็นว่าหน้าจอมันดู ซีด ๆ นั่นเป็นเพราะ Google บอกว่า ใช้ตามมาตรฐานสี sRGB ทำให้มันจะซีด ๆ หน่อย แต่ใน Update ใหม่มี Settings เพิ่มเติม เพื่อให้เราสามารถปรับสีของหน้าจอได้ ส่วนตัวผมเอง ผมก็ใช้ค่า Default แรก ๆ มันก็จะดูซีด ๆ แต่พอใช้ ๆ ไปมันก็ชินไปซะแล้ว พอกลับไปดูจอ iPad มันเหมือนไม่รู้สึกต่างกันมากขนาดนั้น ฉะนั้นเรื่องของความซีด ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร หรือถ้ารู้สึกว่าซีดเกิ้นนน ไม่ไหวก็สามารถเข้าไปปรับได้ใน Settings นอกเหนือจากปัญหาที่ว่ามาแล้ว หน้าจอของมันจัดว่าคมมาก ๆ
Pixel 2 และ 2 XL มาพร้อมกับลำโพงคู่ด้านหน้าที่ให้เสียง ดังและชัดเจน เท่าที่ลำโพงที่มันอยู่ใกล้กันขนาดนี้จะได้ เบสมีหน่อย ๆ ข้อดีของการววางลำโพงไว้ข้างหน้าคือเวลาเราเล่นเกม หรือดูวีดีโอแนวนอน มือเราก็จะไปพังลำโพง เพราะฉะนั้นการเอาลำโพงมาอยู่ข้างหน้าปัญหานี้ก็ตัดไป
และแน่นอนว่าใน Pixel 2 ไม่มีรูหูฟัง 3.5 นะแจ๊ะ (ปีที่แล้วยังไปแขวะ Apple อยู่เลย ไหงไม่มีแล้วละ !!) สำหรับใครที่ใช้หูฟัง Bluetooth อยู่แล้วในตัวเครื่องก็รองรับ Codex สำหรับการเล่นเสียงแบบ High Definition อีกด้วย แต่สำหรับใครที่ใช้หูฟังมีสาย ในกล่องก็ได้แถมหัวแปลงจาก USB-C เป็น 3.5 มาให้ซึ่งเสียงของมันก็ไม่ได้ดีขนาดนั้น (Xperia X Compact ยังดีกว่าเยอะเลย) เอาเป็นว่าก็แค่พอฟังได้ แต่ถ้าเป็น Audiophile แล้วละก็แนะนำให้ซื้อ DAC มาต่อเพิ่มเอานะครับ น่าจะดีกว่า
ด้วยการที่ถ้าเราต้องการใช้หูฟังไป การที่ไม่มีรูหูฟังมาให้ทำให้เราไม่สามารถใช้หูฟังแบบมีสายโดยที่ชาร์จแบตพร้อม ๆ กันไม่ได้ อันนี้เศร้าใจจริม ๆ 😢
เรื่องของ CPU ไม่ต้องเป็นห่วงเลย เพราะมันมาพร้อมกับ CPU ระดับเรือธงอย่าง Snapdragon 835 และ RAM 4GB ที่ดูแล้วก็ไม่ได้เป็นสเปกสูงขนาด Razer ที่มาพร้อมกับ RAM 8 GB และก็ไม่ได้แปลกอะไร เพราะมือถือเรือธงค่ายอื่น ๆ ก็เอามาใช้กัน เป็นเรื่องปกติเฉยมาก
ในการทำงานจริง ด้วยความที่มันเป็น Pure Android ทำให้การทำงานนั้นลื่นไหล คือมันจัดว่าเป็น Android Phone ที่ใช้แล้วลื่นที่สุดเท่าที่เคยใช้มาเลย อาจจะเป็นเพราะเรื่องของการ Optimise Software เองให้เข้ากับตัวเครื่อง เพราะ Google เป็นคนทำ Android และเครื่อง Google ก็ออกแบบ ทำให้มันเกิดความเข้ากันของ Hardware และ Software เหมือนที่ Apple ทำกับอุปกรณ์ตระกูล i ทั้งหลาย เช่น iPhone, iPad
ขนาดเล่น ROV ปรับสุดมันหมดทุกอย่าง ตอนบวกกัน FPS ก็ไม่ลงต่ำกว่า 60 เลยซึ่งเรื่องนี้ทำออกมาได้ดีมาก ๆ และถึงแม้ว่า Pixel 2 จะมาพร้อมกับ RAM แค่ 4 GB เท่านั้น แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะช้ากว่าเครื่องที่แรมเยอะกว่า นั่นเป็นเพราะตัวเครื่องถูก Optimise มาทั้ง Software และ Hardware เพื่อรีดประสิทธิภาพสูงสุดของเครื่องเรานี่เอง
ถ้าเราจะป้ายยาให้เพื่อนซื้อ Pixel เหมือนเรา เปิดกล้องแล้วถ่ายรูปแล้วส่งให้มัน!!! 😼 บอกเลยว่ามัน มหัศจรรย์มาก!! และยังเป็นกล้องโทรศัพท์ที่ได้รับคะแนนจาก DxOMark สูงถึง 98 คะแนน แซงหน้า iPhone 8 Plus และ Galaxy Note 8 ไปเลย
"Neuron" in Prince Mahidol Hall
กล้องหลังมาพร้อมกับความละเอียดที่ 12.2 MP f/1.8 บวกกับ OIS และ EIS ที่สวนกระแส ความกล้องคู่ ไปกันหมด ภาพที่ออกมาถือว่าให้ สีและความคมชัดต่าง ๆ ที่ดีมาก ๆ แถม OIS และ EIS ก็ทำให้ภาพถ่ายในที่แสงน้อยก็ทำออกมาได้ดียิ่งขึ้นไปอีก วีดีโอนี่วินไปเลยเรื่องการลดสั่น และ HDR Mode ที่จะช่วยให้รูปของเราดูสวยงามมาขึ้นตามสมัยนิยม
Prince Mahidol Hall
นอกจากโหมด HDR แล้ว ก็ยังมีขั้นกว่าไปอีก นั่นคือโหมด HDR+ ที่จะเหนือกว่า HDR นิดนึงคือมันจะเก็บภาพมา 10 ภาพ แล้วมันจะพยายามเอา 10 ภาพนี้มารวมกัน ทำให้เราได้ความ Dynamic มากขึ้น แต่ก็ต้องแลกด้วยการที่กว่ามันจะถ่ายเสร็จก็กินเวลาเกือบวินาทีเลยแหละ
Google Pixel 2 ก็ยังทำได้ดีในการถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย ข้อสังเกตของมันคือ จำนวน Noise ของมันก็ยังเยอะอยู่เมื่อเทียบกับโทรศัพท์รุ่นอื่น แต่นี่ก็เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย สำหรับคนที่ต้องการเอาภาพไปแต่งต่อ อันนี้จะเป็นข้อดีมาก เพราะเราสามารถปรับแต่งอะไรได้มากขึ้น ในขณะที่คนที่เป็นสาย #nofilter อาจจะเซ็งหน่อย ๆ
Google พัฒนาเทคโนโลยีกล้องที่เรียกว่า Dual Pixel ที่จะใช้หลักการของการวาง Pixel คู่กัน ผสมกับ AI ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแยกความลึก ตื้นของวัตถุได้ โดยที่มีกล้องแค่ตัวเดียว (เอาจริง ๆ มันก็คือกล้อง 2 ตัววางเหลื่อมกันมั้ยอะ ?) เพื่อเอามาให้กับ Feature สมัยนิยมอย่าง Portrait Mode ที่จะทำให้เราสามารถถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอได้ดียิ่งขึ้น จากการได้ลองเล่นดูแล้ว ก็พบว่าภาพที่ออกมานั้นแจ่มแมวเวอร์ !!
นอกจากที่มันจะสามารถแยกคนแล้วทำออกมาเป็นหน้าชัดหลังเบลอได้แล้ว มันยังแยกสิ่งมีชีวิตและส่งของอื่น ๆ ได้ด้วย เช่นรูปด้านบนนี้เป็นต้น ข้อเสียจุดนึงของการใช้เทคนิคนี้ในการถ่ายภาพคือ มันไม่สามารถที่จะแยกวัตถุที่มีความซับซ้อนได้ดีนัก บางทีถ่ายมาข้างหน้ามันก็โดนเบลอเฉยก็มี แต่ไม่ต้องกลัว เพราะภาพที่ถ่ายด้วย Portrait Mode นั้นมันจะเก็บภาพต้นฉบับให้เราไว้ด้วยเผื่อเราไม่ต้องการที่ใช้ภาพหน้าชัดหลังเบลอ
ประสิทธิภาพของกล้องหน้าก็ไม่แพ้กัน มาด้วยความละเอียดที่ 8 MP f/2.8 ไม่มี Dual Pixel ในกล้องหน้านะ แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มี Dual Pixel แล้วเราก็ยังสามารถใช้ Portrait Mode ได้อยู่ดี เท่าที่สังเกตมันก็จริงแหละ มันก็ทำเท่าที่ได้จริง ๆ เพราะลองเอามาถ่ายในหลาย ๆ สถานการณ์มันก็ไม่ได้ดีขนาดนั้น ทำให้คิดว่าสรุปแล้ว การที่เราใช้ Portrait Mode ได้นี่เป็น ฝีมือของ Dual Pixel หรือ AI กันแน่ ???
ไม่แน่ใจว่า เป็นเพราะกล้องหน้าไม่มี Dual Pixel หรืออย่างไร บางครั้งเวลาที่เราถ่าย Seflie หลาย ๆ คนแล้ว หน้าของคนถ่ายมันก็จะไม่ถูกเบลอในขณะที่หน้าของคนที่เหลือโดนหมด เอิ่ม... 😅
อีกจุดที่ทำให้หลาย ๆ คนเลือกซื้อ Google Pixel นั่นเป็นเพราะ Google ให้ผู้ใช้เก็บรูปภาพและวีดีโอที่ถ่ายจะ Pixel ด้วยความละเอียดเต็มบน Google Photos ได้ถึงปี 2020 กันเลยทีเดียว
มาที่อีกหนึ่ง Feature ที่ดูเหมือนจะเป็น Gimmick ของโทรศัพท์รุ่นนี้กันหน่อย นั่นคือเรื่องของ Active Edge ที่เป็นการบีบตัวเครื่องแล้วจะเป็นการเรียก Google Assistant หรือก็คือ ผู้ช่วยอัฉริยะจากทาง Google นั่นเอง ที่เราสามารถ ถามหรือสั่งให้มันทำหลาย ๆ อย่างเช่นการจด Note หรือถามเรื่องต่าง ๆ ได้ ซึ่งโดยส่วนตัวผมเป็นหนึ่งในคนที่ใช้ Google Assistant เป็นประจำอยู่แล้ว
ตอนแรกที่อ่านรีวิวจากเว็บอื่นก็คิดนะว่า Active Edge มันน่าจะเป็นแค่ Gimmick ที่ทำให้โทรศัพท์มันดูน่าสนใจไปงั้นแหละ แต่พอใช้จริง ๆ มันทำให้ผมใช้ Google Assistant มากขึ้นไปอีกนะ มันเหมือนกับเราตัดขั้นตอนการเรียก ที่บางทีมันต้องใช้ความพยายามสักหน่อย คือตอนใช้เครื่องเก่าคือต้องปลดล๊อคแล้วกดแถบ Search แล้วกดไมค์ พอมาใน Google Pixel 2 ก็คือสามารถบีบแล้วพูดได้เลย มันทำให้คนที่ใช้ Google Assistant สะดวกขึ้นมากเลย
Google Lens เป็นบริการที่คล้าย ๆ กับ Google Goggles ที่ทำให้เราสามารถค้นหาอะไรบางอย่างจากภาพได้ เช่นเบอร์โทรศัพท์ที่อยู่บนป้าย หรือ Landmark ต่าง ๆ ซึ่งในตอน ณ ที่เขียนตอนนี้ Google Lens ยังอยู่ในสถานะ Beta อยู่ ซึ่ง Google ก็เปิดให้เฉพาะโทรศัพท์ในตระกูล Pixel ได้เล่นก่อนนั่นเอง
ถามว่า มันดีขนาดนั้นมั้ยก็คงตอบว่า ไม่ ด้วยความที่มันไม่ได้เก่งขนาดนั้นเลยนะ อาจจะเพราะว่ามันยังเป็น Beta อยู่รึเปล่าไม่รู้ แต่ก็รู้สึกว่ามันยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ได้ขนาดนั้นเลยเฉย ๆ
ด้วยความที่ Google Pixel 2 XL มาพร้อมกับจอแบบ P-OLED ทำให้หน้าจอสามารถเปิดปิดบางส่วนของหน้าจอได้ ส่งผลให้เราสามารถเปิดหน้าจอบางส่วนไว้แสดงผลอะไรบางอย่างไว้ตลอดได้โดยที่ไม่กินพลังงานอะไรมากนัก ซึ่ง Google เรียกมันว่า Always-on Display ที่จะแสดงนาฬิกา และ Notification ต่าง ๆ ที่เราได้รับ ด้วยความที่แรก ๆ ไม่ชิน ก็ทำให้เราชอบไปมองเครื่องบ่อย ๆ เพราะว่าหน้าจอมันเปิดอยู่ ทำให้นึกว่าลืมล๊อคหน้าจอนั่นเอง ฮ่า ๆ
และที่สำคัญคือ มันจะแสดงเพลงที่มันได้ยินอยู่อีกด้วย เรียกว่า Now Playing ตอนแรกก็คิดนะว่า มันจะมีมาทำไม แต่พอมาใช้จริง ๆ อื้ม... เฮ้ยมีมันก็ดีนะ คือมันจะมีหรือไม่มีก็ได้อะ ไม่ได้จำเป็นอะไรขนาดนั้น แรก ๆ ที่ใช้ก็รู้สึกน่ากลัวหน่อย ๆ นะ เหมือนโทรศัพท์มันแอบดักฟังเราอยู่ตลอดเลย แต่พอใช้ ๆ ไปมันก็ชินนะ ดีซะด้วยซ้ำ เพราะส่วนตัวเป็นคนที่ชอบดูหนัง แล้วถามตลอดว่าเพลงที่มันเปิดตรงนี้คือเพลงอะไร ตอนนี้ก็ไม่ยากเลย แค่เราหยิบโทรศัพท์ออกมาดูก็รู้เลย ถ้าเราอยากฟังบน Spotify เราก็แค่กดที่ชื่อเพลง แล้วกด Play in Spotify ได้เลย โคตรสะดวก
สิ่งที่น่าตกใจของ Feature Now Playing คือ Google บอกว่ามันไม่ได้เชื่อมต่อไปที่ Server หรือ Internet ใด ๆ เพื่อหาชื่อเพลงออกมา แต่ทั้งหมดถูกทำบนเครื่องเราหมดเลย แล้วประเด็นคือมันแม่นมาก ๆ (เฉพาะในเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษนะ) ส่วนเพลงไทยยังใช้ไม่ได้ ซึ่งคาดว่าในอนาคตคงได้รับการปรับปรุงให้ดีกว่านี้แน่นอน
สำหรับเรื่อง Battery ก็ไม่น้อยหน้าใคร เพราะ Google อัด Battery มาให้ถึง 3520 mAh แบบถอดเปลี่ยนเองไม่ได้ (โทรศัพท์สมัยนี้ถอดเปลี่ยนเองไม่ได้ ทำไม !!) ที่ทำให้เราสามารถใช้มันได้ตลอดวัน เอาเป็นว่าตั้งแต่ใช้มาก็ไม่เคยเหลือต่ำกว่า 35% ตอนถึงหอเลยนะ รวม ๆ ก็ใช้ 4G บ้าง Wifi บ้าง และ ROV ไม่ต่ำกว่า 3-4 เกม กับใช้งานพวก Search และ Spotify อะไรทำนองนั้น ก็ยังไม่เคยหมด และด้วย Doze ที่มาใน Android เวอร์ชั่นใหม่ที่ทำให้ Battery อยู่ได้นานขึ้นอีก เพราะมันจะเข้าไปจัดการเรื่องพลังงานเวลาที่เราไม่ได้ใช้นั่นเอง
แต่ถ้าแบตหมดก็ไม่ต้องกลัว เพราะ Adapter ที่มาในกล่องรองรับมาตรฐาน Fast Charge ⚡️ ที่ Google เคลมว่า ชาร์จเพียงแค่ 15 นาทีก็สามารถทำให้ใช้งานโทรศัพท์ไปได้อีกหลายชั่วโมงเลย จุดที่ชอบของ Adapter ที่มาในกล่องคือ เวลาชาร์จแล้วมันไม่รู้สึกว่าร้อน เมื่อเทียบกับ Adapter ที่มาในกล่องของ iPad Pro แล้วที่ร้อนโคตร ๆ 🔥
แน่นอนว่า Pixel 2 XL ก็ไม่ได้น้อยหน้าใครเรื่องของการเชื่อมต่อ เพราะมันมาพร้อมกับ Model ตัวท๊อปอย่าง Qualcomm Snapdragon X16 LTE ที่ให้ความเร็วระดับ Gbps ใน LTE (CAT16 ในภาค Downlink และ CAT13 ในภาค Uplink) และยังรองรับ 256-QAM และ 4x4 MIMO อีกด้วย และยังรองรับ VoLTE (ในเครือข่ายที่รองรับ ซึ่งในไทยขนาดขายยังไม่มีขายเลย ฉะนั้น VoLTE ก็อดนาจา)
เรื่องของ Sim จะรองรับแค่ Sim เดียวเท่านั้นโดยขนาดที่ใช้จะเป็น Nano Sim และนอกจากนั้นยังรองรับ eSim ที่เป็น Sim ฝังเครื่องอีกด้วย ทำให้เวลาเราไปไหน เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนซิมไปมาอีกต่อไป เราก็แค่เอาเครื่องของเราไปลงทะเบียนกับเครือข่ายที่เราต้องการใช้ เท่านี้ก็ได้แล้ว แต่ ณ ตอนที่เขียน ยังไม่มีเครือข่ายไหนในประเทศไทยรองรับนาจา 😢
นอกเหนือจากเรื่อง Cellular ที่ได้กล่าวไปแล้ว WiFi ก็รองรับจนถึงมาตรฐาน ac กันเลยทีเดียว มาพร้อมกับ Bluetooth 5.0 + Low Energy ที่ทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายได้ง่ายขึ้นและประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น NFC และ GPS ก็ยังอยู่เหมือนเดิมไม่ได้ไปไหน
Pixel 2 XL ก็มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Android (แหงแหละ ก็โทรศัพท์เครื่องนี้ Google ทำนี่หว่า) ซึ่ง ณ ตอนที่เขียนตอนนี้ก็ได้อัพเกรดเป็น Android 8.1 Oreo เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มันก็มาพร้อมกับหลาย ๆ Feature มากมาย
และอย่างที่เรารู้กันว่าโทรศัพท์จาก Google จะได้รับ Software Update ใน Day 0 หมายความว่า พอ Google เปิดตัว Android ใหม่ปุ๊บ เราก็จะได้อัพเกรด หรืออัพเดท ในทันที ต่างจากค่ายอื่นที่ต้องรอให้แต่ละ Brand ใส่โน้นนี่นั่นลงไปใน Rom ของค่ายตัวเองเพื่อให้มี Feature อลัง ๆ นอกจากนั้น Google Pixel 2 ได้รับการประกัน Software จาก Google ถึง 3 ปีทำให้เรามั่นใจได้ว่า เราจะไม่โดนลอยแพก่อน 3 ปีแน่นอน ซึ่งเอาจริง ๆ โทรศัพท์ Android ที่จะได้อัพเดทนานขนาดนี้มันต้องเป็นโคตรเรือธงเลยละ แต่สุดท้ายก็คงเป็นโทรศัพท์รุ่นเดียวในโลกที่ได้รับการอัพเดทก่อนใคร และประกัน Software นานถึง 3 ปี ก็คงมีแค่โทรศัพท์จาก Google เองเท่านั้น
เนื่องด้วยตัว Software มันมาจากทาง Google เองทำให้ Android ที่เรารันอยู่ใน Google Pixel 2 มัน เป็น Android ที่ให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด ย้ำว่าดีที่สุดตั้งแต่เคยใช้มาแล้ว ด้วยหน้าจอที่เรียบง่าย เลื่อนขึ้นเพื่อเปิด App Drawer และ Recent App ต่าง ๆ ทำให้การใช้งานมันลื่นไหลมาก ตัว Rom ก็โล่งมาก ๆ (บางทีก็รู้สึกโล่งไปหน่อย) เพราะมันไม่มีพวก Bloatware มาให้รกเครื่อง รกหูรกตาเลยสักนิดเดียว ฟิลลิ่งของมันคือ Android อย่างที่ Google อยากให้เป็นมาก ๆ
ตั้งแต่ใช้ Android มายังไม่เคยเจอตัวไหนที่มันจะลื่นติดนิ้วขนาดนี้มาก่อน ปกติ Android เครื่องก่อน ๆ ที่ใช้มา เวลาใช้ ๆ ไปมันจะรู้สึกว่าช้าลง แต่อันนี้ึคือไม่ นางเสมอต้นเสมอปลายมาก ๆ ลื่นยังไงก็ลื่นอยู่อย่างงั้น คือดีงามเวอร์ ! ถ้าอยากอ่านรีวิว Software เต็ม เดี๋ยวจะเขียนแยกให้นะ
เท่าที่ใช้งานมา อยากจะบอกเลยว่ามันเป็นโทรศัพท์ที่ให้ประสบการณ์การใช้งานโทรศัพท์ที่มันเป็นโทรศัพท์จริง ๆ เพราะส่วนตัวผมแล้วผมไม่ได้ใช้โทรศัพท์เพื่อโทรซะเป็นส่วนใหญ่ ผมมักจะใช้โทรศัพท์เพื่อ Get things done นั่นคือการใช้คุยงาน ทำงานซะมากกว่า ซึ่ง Google Pixel 2 XL เครื่องนี้ก็ทำให้ผมสามารถจัดการงานหลาย ๆ อย่างได้ง่ายขึ้น ด้วยขนาดของตัวเครื่องที่ทำให้ผมสามารถพิมพ์ได้อย่างสะดวก และ Google Assistant ที่เป็นเหมือนผู้ช่วยของผม ที่ทำให้ผมสามารถจัดการอะไรหลาย ๆ อย่างได้ดีขึ้นเยอะมาก ๆ ด้วยการแค่บีบเรียก... กับเรื่องของกล้อง 📷 ที่ทำให้ความจำเป็นในการหยิบกล้องใหญ่น้อยลงมาก ๆ มันทำให้ผมอยากที่จะถ่ายภาพมากขึ้นมาก ๆ ภาพที่ได้ออกมามันดูสวยมาก ๆ โคตรชอบ !
อีกเหตุผลคือ ส่วนตัวผมเป็นคนที่ใช้งานหลาย ๆ Service อยู่ใน Google Ecosystem ทำให้การทำงานมันก็ค่อนข้าง Seamless มาก ๆ เช่นผมมักจะใช้ Google Keep ในการจด Short Note หรือ Email เองผมก็ใช้ Gmail อยู่แล้ว
โดยสรุปแล้ว Google Pixel 2 XL เป็นโทรศัพท์ที่น่าซื้อเครื่องนึงเลย ถึงแม้มันจะไม่ได้มี DAC ดี ๆ อย่าง LG V30 หรือ S-Pen อย่าง Galaxy Note 8 หรือ Feature ต่าง ๆ ที่ดูเป็น Gimmick แต่
มันเป็นโทรศัพท์ที่เรายิ่งใช้เราจะยิ่งรักมันเข้าไปเรื่อย ๆ ❤️
จากความที่ Minimal และอัฉริยะในหลาย ๆ ด้านโดยการหยิบ AI เข้ามาช่วย มันก็ทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น กับกล้องที่ เออ มึ_เอาไปเหอะ !! บางทีถ่ายแล้วอัพลงเฟสไปคนนึกว่าเอากล้องใหญ่ไปถ่าย
แต่สำหรับใครที่อยากได้ ก็ไม่มีขายในไทยนะแจ๊ะ ก็ลองหาเครื่องหิ้ว แต่สิ่งนึงที่ต้องยอมรับกับเรื่องของเครื่องหิ้วคือ ประกัน ก็ถ้าใครคิดว่าปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่แนะนำให้ไปหารุ่นอื่นดีกว่า เพราะมันค่อนข้าง Pain มากกับเรื่องประกันในประเทศเรา ส่วนเรื่องจอเท่าที่ใช้มายังไม่เคยเจอ ยกเว้น Blue Tint ที่ไม่ได้มีผลอะไรกับชีวิตเลย รวม ๆ ก็เป็นโทรศัพท์อีกเครื่องที่อยากแนะนำต่อเลยละ ถ้าใครคิดจะซื้อก็แนะนำ ซื้อเลย โคตรแจ่ม !
เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...
ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...
จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...
หลังจาก Apple Transition ไปสู่ Apple Silicon มาจนถึงจุดที่การเปลี่ยนผ่านเสร็จสิ้น เราก็ไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไรกับ Apple Silicon อีกเลย จนกระทั่งตอนที่ M4 ออกนี่แหละ ที่เราคิดว่า มันถึงจุดที่ใช่ละ ฤกษ์มันมาแล้ว ก็จัดเลยสิครับ มาดูกันว่าฤกษ์มันจะตรงอย่างที่เราคิดหรือไม่...