By Arnon Puitrakul - 29 พฤศจิกายน 2021
ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน ตอนวางระบบ Network ในบ้าน เราบอกว่า เราเอาแค่ WiFi Router แบบที่ใช้ใน Home Use พอ จนเพื่อนบอกว่าเอา Mikrotik RB4011 ไปเลย จะได้เล่นอะไรได้ ตอนนั้นก็บอกว่า บ้าเหรอเอามาทำไม ตอนนี้ก็คือใช้อยู่คุ้มมาก เพื่อนยังบอกว่า เนี่ย เดี๋ยว UniFi มันต้องมา สุดท้ายมันมาจริง ! จนใช้งาน NAS เยอะขึ้น ก็บอกว่า อยากได้ Fibre Optics เสียบไปเลย 10G ก็มาจริง จนเมื่อหลายเดือนก่อนบอกว่า อีกสัก 2-3 ปี เราค่อยขยาย Fibre ก็ได้ SFP+ Switch มันแพงไหนจะหัว ไหนจะอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับ Mac อีก จะบอกว่า มันไม่ต้องรอ 2-3 ปีแล้ว เพราะวันนี้เรากด Switch ที่จะเข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องนี้แล้วกับ Aruba Instant On 1930 ที่เป็น Managed Switch สำหรับ Small Business ที่แน่นอนว่า เราก็บ้าจี้ เอามาใช้งานในบ้าน
ถ้าอยากอ่านความหาทำในบ้านก่อนหน้านี้ก็ลองดูด้านบนได้ เรียงความหาทำลงมาเลย บางทีก็คิดแหละว่า ตรูทำอะไรฟร๊ะ
ในระบบก่อนหน้าที่จะติดตั้ง Aruba ตัวนี้ลงไป เราต่อ ONU ไปที่ Mikrotik RB4011 แล้วเสียบอุปกรณ์บางส่วนที่ต้องการการเข้าถึงเร็ว ๆ ลงไปใน Mikrotik เลย หรือก็คือ เราทำให้ Mikrotik เป็นทั้ง Router และ Core Switch ไปด้วยเลย นอกจากนั้น เราก็ยังเดินสาย Fibre Optics ไปที่ NAS ด้วย ที่จะเสียบเข้ากับ Port SFP+ Bandwidth 10 Gbps ผ่าน Mikrotik RB4011 ไปเลย
ส่วนอุปกรณ์ที่ไม่ได้ต้องการความเร็วสูงมากอย่างพวก TV ต่าง ๆ เราก็จะเสียบเข้ากับ Switch อีกตัวคือ TP-Link SG1016D ที่เป็น Unmanaged Switch จำนวน 16 Port ตอนนั้นที่ซื้อตัวนี้มาเพราะ เราเดินสายในบ้านเพิ่ม ทำให้ Mikrotik RB4011 มันเสียบไม่พอเลย เอาตัวนี้มาเสริม แล้วต่อ Uplink เป็น Gigabit Ethernet ปกติ ทำให้ความเร็วสูงสุดที่ Switch จะออก Internet และ NAS ได้จะไม่เกิน 1 Gbps เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่า มันก็ถือว่าเพียงพอแล้วจริง ๆ บ้านเรามีทีวี 3 เครื่อง ถึงทุกเครื่องจะ Stream หนังระดับ Blu-Ray ระดับ 100 Mbps ++ พร้อม ๆ กัน รวม ๆ Handshake มันก็กินอย่างมากไม่เกิน 400 Mbps แน่ ๆ และ Internet เราเร็วที่ 500 Mbps ทำให้ Bandwidth ในการใช้งานมากสุด ๆ ก็ยังไม่ถึง 1 Gbps อาจจะปลิ่ม ๆ หน่อยก็เสียว ๆ อยู่ แต่ก็ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานปกติ
แต่สิ่งที่ทำให้การใช้งานมันไม่พอคือ เรามีการ Transfer File ขนาดใหญ่มาก ๆ เป็นพวกวีดีโอความละเอียดแบบ 4K ที่อัดด้วยกล้อง Sony A6400 แบบ High Bitrate เลย ไฟล์อลังการมาก ซึ่งถ้าเรา Transfer พร้อม ๆ กับทุกอย่างรันพร้อม ๆ กัน ตัว NAS ที่รัน Fibre 10G มันเอาอยู่นะ แต่มันจะไปคอขวดที่ Switch มากกว่า
ทำให้เราเลยอยากมี Core Switch เพิ่มขึ้นมา เปลี่ยนตัวมาใช้เป็น SFP+ 10G ให้หมด แล้วค่อยพ่วงลงมาที่ TP-Link ก็ได้ ซึ่งตอนนั้น ก็มีรุ่นในใจคือ CRS305-1G-4S+IN ที่เป็น Switch มี Port SFP+ 10G 4 Port กับ Gigabit Ethernet อีก 1 Port ดูน่าจะดีเลยละ เอาพวกอุปกรณ์ที่ต้องการ Bandwidth สูง ๆ อย่างพวก NAS และ Workstation ทั้งหลายเสียบเข้าไปเลย เร็วแน่นอน ไม่มีคอขวด ส่วนพวกที่เหลือหนัก ๆ จริง ๆ อย่างทีวี 3 เครื่องพร้อม ๆ กัน 300-400 Mbps ใช้ Gigabit Ethernet เป็น Uplink ก็เพียงพอแล้ว ชิว ๆ แต่ ฝันสลาย เพราะจะบอกว่า ราคามันไม่ถูกเลย มันอยู่ที่ 6 พันกว่าบาท และ เราไม่น่าได้ใช้ตอนนี้เลย ทำให้เราทิ้งเรื่องนี้ไว้นานมาก ๆ จนนี่แหละ เรามาเจอ Aruba Instant On 1930 มันลดราคาอยู่ แล้วมัน 9.5k บาทเองอะ แล้วมันตอบโจทย์เรามาก ๆ มากกว่าที่เราคิดไว้อีก เลยกดมาเลยไม่รอช้า
ก่อนอื่นเลย เราต้องยอมรับก่อนว่า อุปกรณ์ในตระกูลนี้ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในระดับ Business หรือมากกว่านั้นอีก ทำให้เรื่องของการออกแบบกล่องอะไรมันก็จะไม่ได้ดูหรูหราหมาเห่าอะไรเหมือนกับพวกอุปกรณ์ที่เราใช้ตามบ้าน ทำให้ตัวกล่องของ Switch จริง ๆ ก็จะเป็นกล่องน้ำตาลธรรมดาเลย ไม่มีอะไรแปลก มาส่งก็คือมีแค่นี้เลย โง่ ๆ นี่แหละ มีเทปปิดอยู่
ที่หัวกล่องมีการพิมพ์ยี่ห้อ อย่าง Aruba ลงไป ถ้าเราดูข้างล่าง มันจะเขียนว่า Hewlett Packard Enterprise ใช่แล้วฮ่ะ มันคือ Brand HP ที่เราซื้อ Laptop หรืออะไรพวกนั้นแหละ แต่เขามี Brand ที่เป็นอุปกรณ์สำหรับ Business และ Enterprise อย่าง HPE ตัว Aruba ก็เป็นอุปกรณ์กลุ่มของ Network ในฝั่งของ HPE นอกจากนั้นเขาก็ยังผลิตพวก Server ออกมาอีกนะ ดูมีแววว่าจะได้อุดหนุนในอีกไม่นานฮ่า ๆ
ที่ด้านท้ายของกล่อง มันจะมี Sticker ที่แปะพวกรายละเอียดของรุ่นที่เราซื้อมาอยู่ พร้อมกับพวก Serial Number และ MAC Address ที่เราเบลอเอาไว้ สาเหตุที่เขาต้องบอกรุ่นตรงนี้เพราะถึงจะเป็น Aruba Instant On เหมือนกันที่เราเห็นบนกล่อง แต่กล่องขนาดเท่านี้มันก็มีอุปกรณ์หลายตัวอยู่เหมือนกัน กระทั่ง Switch ในตระกูล 1930 เองก็มีหลายรุ่นมาก ๆ ตามความต้องการของเราเลย เลยต้องแปะไว้ให้เช็ค กันความสับสน
ส่วนด้านข้างของกล่องก็จะเป็นการพิมพ์บอกว่ามันคือ Network Switch และมีสติ๊กเกอร์ของ Aruba แปะอยู่
เมื่อเปิดกล่องออกมา เราจะพบกับอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ภายในกล่องเลย ดูผ่าน ๆ เราก็จะเห็นพวกสายไฟ และ Paperwork ต่าง ๆ อยู่ เดี๋ยวเราลองไปดูทีละชิ้นกัน
อย่างแรกคือสายไฟ ก็จะเป็นสายไฟปกตินี่แหละ 3 หัว เป็น 2 หัวแบน และ 1 หัวกลมสำหรับสายดิน เหมือนปกติเลย อันนี้ไม่มีอะไรพิเศษ ถ้าหาย หรือพังจริง ๆ ก็ไปหาซื้อมาเปลี่ยนได้ง่าย ๆ แต่ของเราที่ติดตั้งจะใช้สายเดิมที่มากับ TP-Link เพราะจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่อีก Rack มันเล็กไม่อยากล้วงเยอะ
อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับพวก Network Equipment ระดับ Business ขึ้นไป เขาจะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการยึดต่าง ๆ พวกหูติด Rack และน๊อตต่าง ๆ ที่เราต้องใช้
ตัวหูยึด Rack ทำมาแข็งแรงใช้ได้อยู่ในมาตรฐานปกติเลย ด้านนึง เราจะต้องเอามาแนบ และใช้น๊อต 4 ตัวยึดกับตัว Switch
ส่วนด้านหน้า เราจะต้องเอาไปยึดกับตัว Rack ได้เลย ถือว่าออกแบบมาง่ายดี จริง ๆ เราชอบนะ พวกอุปกรณ์ที่ใส่หูเอง มันจะมีบางพวกที่มันใส่มาเลย แล้วเราแกะไม่ได้ อันนั้นลำบากมาก ๆ
หรือสำหรับใครที่ไม่ได้ต้องการเอาไปยึดกับ Rack เขาก็จะมีแผ่นยางกับกาวสองหน้ามาให้สำหรับติดที่ใต้เครื่องจะได้เอาไปวางเฉย ๆ ได้ อากาศจะได้ผ่านได้ง่าย ๆ จะได้ไม่ร้อน
ส่วนตัว Paperwork ก็จะเป็นพวกคู่มือการเริ่มต้นใช้งานอย่างง่าย พร้อมกับพวก Safety Manual ต่าง ๆ อันนี้ปกติ ก็ข้ามไปบั้ยยยยย
มาที่ตัวพระเอกของเราดีกว่าคือตัว Switch นั่นเอง เขาห่อมาดีนะ ห่อมาในถุงพลาสติกอย่างดี พร้อมกับมีการใช้พวกเหมือนลังไข่มายึดไว้ทำให้เวลาเราถือไปมา มันก็จะไม่โคลงเครงไปมานั่นเอง
แต่อีกสิ่งที่เราไม่ค่อยเห็นเจ้าไหนทำเท่าไหร่คือการเอาพวกวัสดุดูดความชื้นมาใส่ไว้ด้วย ปกติเห็นแต่ในขนม ฮ่า ๆ เข้าใจแหละว่าป้องกันพวกความชื้นที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง แล้วอาจจะทำให้เสียหายได้แค่รู้สึกว่าแปลกดี
หลัก ๆ ในกล่องก็มีแค่นี้เลย คือ ตัว Switch, แผ่นยางสำหรับติดเพื่อวางโต๊ะ, น๊อต อุปกรณ์ยึด Rack และพวก Paperwork งี้แหละ ปกติสำหรับพวกอุปกรณ์ระดับ Business ไม่ต้อง Bundle อะไรมาเยอะ เอาเท่าที่ใช้พอไม่งั้นได้ขยะมหาศาลมาก ๆ แน่ ๆ เพราะพวกบริษัทเอาจริง ๆ ใหญ่ ๆ หน่อย เขาอาจจะไม่ได้ใช้ตัวนี้ตัวเดียวไง อาจจะกดมา 10 ตัวอะไรแบบนั้น ทำให้เขาจะต้องเอาแต่ของที่จำเป็นจริง ๆ ใส่มา ไม่ใส่ของมั่วซั่วมานั่นเอง
Aruba Instant On 1930 Switch เป็น Switch ที่มี Gigabit Ethernet 24 port และมี SFP+ ที่รองรับความเร็วระดับ 10 Gbps อีก 4 Port ด้วยกัน มาใน Form Factor ที่ทำให้เราสามารถยึดกับ Rack ได้ง่าย ๆ เลย เหมาะกับพวกสาย Business ที่เน้นการใช้ Rack เป็นหลัก ตัวแผงด้านหน้าเป็นอะไรที่เห็นครั้งแรกแล้วร้อง อิหยังว้าาา เพราะเขาทำมาเป็นสีขาว ปกติ อุปกรณ์ Network พวกนี้ เขาจะทำเป็นสีดำ หรือสีเข้ม ๆ แต่ล่อทำสีขาวมาเลย มารอลุ้นว่า ใช้ ๆ ไปมันจะเหลืองมั้ยนะ ที่ด้านล่างซ้าย มีการเขียนรุ่นเอาไว้เลยว่าเป็น 1930 Switch ส่วนด้านขวาสุด เป็นการพิมพ์ตัว Logo ของ Aruba Instant On ลงไปด้วย ก็ดูดีนะเอาจริง ๆ แค่มันแปลก ๆ เพราะเป็นสีขาวเฉย ๆ มันจะไม่เข้ากับเพื่อนตัวอื่นใน Rack ไง
มาดูที่ด้านหน้าทางขวาใกล้ ๆ อย่างที่บอกว่า มันมี Logo ของ Aruba Instant On แล้ว ด้านล่างยังเป็นไฟแสดงสถานะการทำงานต่าง ๆ เช่นสถานะการเชื่อมต่อกับ Cloud หรือพวกการใช้งาน Diagnostic Mode อะไรพวกนั้น พร้อมกับปุ่มดำ ๆ สำหรับกดเพื่อเปลี่ยนลักษณะของไฟแสดงผล และด้านล่างสุด เป็นรูจิ้มเพื่อทำการ Reset ตัวอุปกรณ์กลับสู่ค่าโรงงาน
ขยับออกมาทางซ้ายหน่อย เราก็จะเจอกับ Port SFP+ จำนวน 4 Port ที่รองรับความเร็วสูงสุดถึง 10 Gbps ไปเลย ทำให้เราสามารถพ่วงอุปกรณ์ที่ต้องการ Bandwidth สูง ๆ ได้ตรง ๆ เลย หรืออาจจะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องการ Latency ที่ต่ำมาก ๆ ก็ได้เหมือนกัน สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยแนะนำให้กลับไปอ่านบทความเรื่องที่เรา Upgrade เป็น Fibre Optics ในตอนแรกได้เลย
ส่วนที่เหลือก็จะเป็นส่วนของ Gigabit Ethernet จำนวน 24 Port ที่วางเรียงเลย โดยที่แต่ละ Port จะมีไฟแสดงผล ที่จะติดเมื่อเรามีการเสียบ Link เข้าไปที่มัน แต่ไฟเราบอกเลยว่า มันจะแอบ ดูยากนิดนึง ถ้าเราดูดี ๆ เราจะเห็นว่าที่ไฟมันจะมีตัวเลขกำกับอยู่ โดยเรียงไฟอยู่แค่ด้านบน แต่ Port มันมี 2 แถวนิ ใช่แล้วฮ่ะ มันเอาไฟเรียง ๆ กันอยู่แค่แถวเดียวเลย มันจะสลับกัน ของอันบน ของอันล่าง โดยที่ลูกศรกำกับอยู่ ถ้าเราดูผ่าน ๆ แล้วไม่ชิน ก็มี งง ๆ เหมือนกันฮ่า ๆ หรือส่วนของ SFP+ เอง เออ อันนี้ งง น้อยหน่อย มันทำไฟมาเป็นลูกศรเลย มองปุ๊บ อ่อออ อันนี้นะ
ส่วนด้านล่าง จะเป็นโลหะขัดด้าน จับแล้วะเย็นเจี๊ยบ โดยที่ตรงกลางจะมีการเขียนรายละเอียด อยู่ ซึ่งบางบรรทัด ก็คือมาเป็นภาษาจีนเหรอไม่รู้สิ มีญี่ปุ่นอะไรด้วย เลยเออข้าม ๆ ไปละกัน
ด้านหลัง ทำออกมาเป็นรูสำหรับระบายอากาศล้วน ๆ เลย เพราะต้องเข้าใจว่า จำนวน Port มันเยอะมาก ๆ ไหนจะพวก Fibre อีกก็ทำให้มันเป็นตัวที่ร้อนนิด ๆ การมีรูสำหรับระบายอากาศเลยเป็นเรื่องจำเป็นหน่อย อีกอย่างตัวนี้มันไม่ได้มีพัดลมมาใช้ Passive Cooling ล้วน ๆ เลย รูต้องเยอะนิดนึง พร้อมกับด้านขวาจะเป็นช่องสำหรับเสียบไฟเข้า Switch ตัวนี้ไม่มี Redundant PSU นะ ถ้าจะทำไปหาซื้อ UPS ที่ทำได้ละกัน และส่วนที่เราเบลอไว้มันจะเป็นพวก MAC Address และ Serial Number แปะไว้ที่ด้านท้าย
ด้านข้างทั้ง 2 จะหน้าตาเหมือนกันเป๊ะเลย คือ มีรูระบายอากาศเต็มไปหมดเลย ส่วนด้านหน้า จะเป็นรูน๊อตสำหรับการติดหูที่ขึ้น Rack
สำหรับการติดตั้ง เราติดตั้งบน Rack ดังนั้น เราเลยทำการใช้ขายึด พร้อมกับ น๊อต ไขเข้าไป ไม่ยากเลย มันก็จะได้เหมือนในรูปเลย หรือถ้าเราจะวางบนโต๊ะ เราสามารถที่จะเอาเท้าที่เป็นยางติดเข้าไปก็ได้เหมือนกัน เท่านี้ เราก็พร้อมสำหรับการติดตั้งแล้ว
เมื่อก่อนพวก Enterprise และ Business Network ทั้งหลาย อุปกรณ์มันจะ Setup ยากมาก ๆ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ หรือคนที่อบรมมาเลย แต่บอกเลยว่า Aruba Instant On 1930 มันทำให้ง่ายมาก ๆ ให้เราเริ่มจากเสียบสาย Uplink ที่ออก Internet ได้ แล้วเสียบปลั๊ก มันจะมีไฟขึ้นมา มันจะ Boot และพยายามต่อ Cloud ให้ได้
ถ้าพร้อมแล้วตัวไฟที่เป็นรูป Cloud มันจะกระพริบเป็นสีส้ม สลับกับเขียว เท่านี้ฝั่งของ Switch ก็เรียบร้อยแล้ว จากนั้น เราสามารถ Download App Aruba Instant On แล้ว Setup ตามขั้นตอนได้เลย ทั้งหมดเราทำจบภายในเวลาไม่เกิน 5 นาทีเท่านั้นเอง ถือว่าเร็ว และง่ายมาก ๆ เอาจริงคือ เจอครั้งแรกก็ตกใจนะ ทำไมมันง่ายขนาดนั้น
เมื่อ Setup เสร็จ เราก็สามารถเอาขึ้น Rack แล้วเสียบสายก็ใช้งานได้เลย ง่ายมาก ๆ
จุดเด่นของ Aruba Instant On ทั้งหลายคือ ตัวมันถูกออกแบบมาเพื่อทำงานบน Cloud เป็นหลักเลย ซึ่งมันจะแตกต่างจากบางเจ้าที่เราจะต้องติดตั้งพวก Controller ลงไป เพื่อทำการตั้งค่าและควบคุม พอมันเชื่อมต่อผ่าน Cloud นั่นแปลว่า เราสามารถเข้าถึงการตั้งค่าได้จากที่ไหนก็ได้บนโลกที่มี Internet เลย โดยเราสามารถเข้าผ่านหน้าเว็บก็ได้ หรือ เราสามารถใช้ Application ก็ได้เหมือนกัน
โดยในหน้าแรกเมื่อเราเข้ามา มันก็จะแสดงพวกรายละเอียดคร่าว ๆ ของ Switch เช่นจำนวนอุปกรณ์ที่เรากำลังจิ้มอยู่ หรือจะเป็นพวกปริมาณข้อมูลที่ใช้งานในรอบวันที่ผ่านมาให้เราเห็นเพื่อประเมินการทำงานคร่าว ๆ ของระบบได้ หรือแม้กระทั่งว่า ถ้าเกิดปัญหาอะไรบางอย่างขึ้นระบบมันจะขึ้นเตือนที่ด้านบนเลย เช่น Switch หายไปจากระบบ หรืออุปกรณ์อะไรมันทำงานผิดปกติมันจะเตือนเราที่หน้าแรกให้เราเห็นชัด ๆ เลย
นอกจากนั้น เรายังตั้งค่ารายละเอียดอื่น ๆ ของ Switch เราได้ผ่านหน้าเว็บเลย อย่าลืมว่า นี่คือ Cloud นั่นแปลว่า เราจะเข้าถึงหน้านี้ได้จากที่ไหนก็ได้เลย มีปัญหาอะไรขึ้นมาตราบใดที่ Switch ยังออก Internet ได้ เราก็ยังสามารถที่จะ Remote เข้ามาตั้งค่าได้เสมอ ถือว่าเป็น Feature ที่ดีมาก ๆ
หรือมองให้กว้างกว่านั้นอีก เราว่าในองค์กรขนาดใหญ่ ๆ ที่มีหลายสาขา เราว่ามันช่วยให้ IT ทำงานได้ง่ายมาก ๆ นะ สมมุติว่า เรามีสัก 20 สาขาอยู่ทั่วไทยเลย การตั้งค่า Network สักที Rollout รอบนึง สนุกแน่ แต่ถ้าเราใช้ตัว Aruba Instant On คือเราทำทั้งหมดนี่แหละ ผ่านหน้าเว็บจากที่สำนักงานใหญ่ได้เลย โดยที่เราไม่ต้องวิ่งไปที่ Site เลย ทำให้การทำงานสะดวกมาก
เอาจริง ๆ เราก็ว่าการใช้ Cloud ล้วน ๆ มันก็ดีนะ แต่บางเรื่องเราก็หงุดหงิดเหมือนกัน พวกการ Monitoring ต่าง ๆ ที่มันไม่ได้ Realtime มากมายเหมือนกับพวกที่เป็น Local อื่น ๆ ทำให้ตัวที่เราชอบสุด ๆ จริง ๆ ก็น่าจะเป็นของ UniFi นี่ละ เพราะมันทำเป็น Local ทำให้เราได้ Real-time Data กับต่อ API ออกไปได้ แต่ก็ยังสามารถเข้าถึงผ่าน Cloud ได้อยู่ คือมันกึ่ง ๆ กัน แต่แน่นอนว่ามันก็มีข้อเสียที่จะต้องวาง Controller ถ้า Site เดียวไม่กี่พันจ่ายสบาย แต่ถ้าสัก 20 Site ก็หลายหมื่นอยู่นะ หรือถ้าเกิด Internet Link เรามีปัญหาเลย มันทำให้เราไม่สามารถตั้งค่าตัว Switch ได้เลยนะแตกจริงอะไรจริงเลย เลยทำให้มันก็มีข้อดีข้อเสียเหมือนกัน ขึ้นกับการใช้งานของเรามากกว่า ว่าแบบไหนมันจะเหมาะกว่า แต่สำหรับเรา เราชอบแบบ กึ่ง ๆ แบบของ UniFi
ในตัว Aruba Instant On 1930 Switch มาพร้อมกับ Feature หลาย ๆ อย่างที่ Managed Switch ควรจะมี เช่นการ Monitor Traffic ที่ผ่านแต่ละ Port และการระบุ Device ว่ามันเสียบกับ Port ไหนอะไรยังไง มันทำได้เยอะมาก ๆ
หรือกระทั่ง Feature อย่างการทำ Link Aggregation ที่ทำให้เราได้ Bandwidth เยอะเป็นเท่าตัว เช่นเราเสียบ Gigabit Ethernet 4 เส้น เราสามารถทำ Link Aggregation เพื่อเพิ่ม Bandwidth เป็น 4 Gbps ได้เลย ที่จะเหมาะกับ NAS หรือเครื่องที่มีการ Transfer File หนัก ๆ แล้วไม่อยากเดินพวก Fibre หรือใช้ 10 GbE ซึ่งพวกนี้เป็นสิ่งที่ Unmanaged Switch ทำไม่ได้เลย
สิ่งที่เราประทับใจ และไม่ได้คาดหวังว่าจะได้จาก Aruba คือ ความเรียบง่าย ในการตั้งค่า ตัวเลือกต่าง ๆ มันอยู่ในที่ ๆ หาง่าย ทำให้เราไม่ต้องคิดอะไรเยอะเลย เราสามารถเลือก ๆ กด ๆ แล้วเราก็ได้สิ่งที่เราต้องการเลย ตัวอย่างเช่น Link Aggregation นี่แหละ ถ้าเป็นบน Router ที่เราใช้ มันจะต้องเข้าไปหาเมนูอะไรยากมาก แต่พอมาเป็น Aruba เราจิ้มในคอมเลยว่า เราจะเอารูไหน Link กับรูไหนบ้าง กด Apply แล้วใช้งานได้เลย ถือว่าทำออกมาได้ดีมาก ๆ เป็นมิตร กับทั้ง Network Admin และผู้ใช้ที่เป็น Power User แบบเรา
อีก Feature ที่เราชอบมาก ๆ และ Aruba ทำได้คือ เมื่อเราเปิดการใช้งานมา มันจะทำการตั้งค่าพวก Trusted Port ให้เราเลย สำหรับป้องกันพวก DHCP ซ้อนกัน กับพวก Looping ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่เห็นเลย มันเป็น Feature ที่ Managed Switch ควรทำได้ แต่ Aruba ทำให้ง่ายกว่านั้นด้วยการตั้งค่าเรื่องพวกนี้ให้เราแบบอัตโนมัติมาให้เราเลย โดยมันจะเลือก Uplink Port เป็น Trusted Port และที่เหลือมันจะตั้งมาเป็น Untrusted Port โดยเริ่มต้นเลย
หรือถ้าเราต้องการไปเปลี่ยนการตั้งค่าพวกนี้ เราไม่ต้องทำอะไรให้มันยุ่งยากเลย เมื่อก่อนเราอาจจะต้องเข้าไปใน Setting หลาย ๆ จุด เพื่อเปิด Feature แต่ว่า ตัว Aruba ทำออกมาง่ายกว่านั้นมาก โดยการติ๊กถูกที่ Security Protection แล้วกด Apply ก็เป็นอันเสร็จเลย อะไรมันจะง่ายได้ขนาดนั้นฟร๊ะ !
นอกจากนั้น มันยังมี Feature ในเรื่องของ Security เพิ่มเติมไว้อยู่ เช่น ถ้าเราติดตั้งในองค์กร แล้วเรารู้อยู่แล้วว่า Port นี้จะมีอุปกรณ์อะไรบ้าง เราก็สามารถที่จะเปิดการใช้งานเฉพาะ Port หรืออุปกรณ์นั้น ๆ ได้เลย ถ้าเครื่องที่อยู่นอกเหนือมาเสียบมันก็จะใช้งานไม่ได้เลย ทำให้ระบบ Network ของเราปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
หรือ Feature สุดท้ายอย่างการทำ VLAN ที่เมื่อก่อนเป็นเรื่องยาก แต่ Aruba มันก็ทำให้เป็นเรื่องง่ายมาก ๆ เราจิ้มได้เลยว่า เราอยากให้ Port ไหน Tag VLAN อะไรบ้าง แล้วมันจะจัดการให้เราเองหมดเลย ที่เหลือเราก็อาจจะต้องไปเซ็ตใน Router เพื่อให้มันวิ่งข้ามกัน หรืออะไรก็ตามที่เราต้องการ
Aruba Instant On 1930 เป็น Managed Switch ที่เหมาะสำหรับ Small Business ที่มีการเดินระบบ Network ขนาดไม่ใหญ่มาก หรือกระทั่งสามารถใช้ในบ้านที่มีความต้องการในการใช้งานค่อนข้างสูงก็ได้เหมือนกัน ด้วย Feature ที่ครบครันของการเป็น Managed Switch สามารถติดตั้ง และ Monitor ได้ง่าย ๆ ผ่าน Cloud เลย ทำให้มันไม่แปลกเลยที่เราจะนำมาใช้กับการใช้งานในบ้านขนาดใหญ่ก็ได้ จนไปถึงธุรกิจขนาดเล็ก และ Interface ที่ค่อนข้างครบ และรองรับ Interface ความเร็วสูงอย่าง SFP+ 10 Gbps พร้อมสำหรับการเสียบกับพวก NAS ที่มีการใช้งานบนความเร็วสูง แน่นอนว่าองค์กร มีการใช้งานที่หลากหลายมาก ๆ ทำให้ใน Aruba Instant On 1930 Series มีหลากหลายขนาดให้เราเลือกตั้งแต่ 8 Port ยาวไปถึง 24 Port ทั้งแบบ POE และไม่ POE ตอบสนองความต้องการขององค์ได้เป็นอย่างดีแน่นอน
เป็นเวลากว่า 1 เดือนเต็ม ๆ แล้วที่เราได้ใช้งาน Macbook Pro 14-inch M4 Max ในการทำงานของเรา ความเห็นเราจะเปลี่ยนจากตอนที่เรารีวิวไปตอนแรกหรือไม่วันนี้เราจะมาบอกเล่าประสบการณ์ที่เราได้ใน 1 เดือนจาก Laptop เครื่องนี้กัน...
เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...
ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...
จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...