Review

รีวิวประสบการณ์ Apple Music VS Spotify อันไหนดีกว่า เสียเงินให้อันไหนดี

By Arnon Puitrakul - 17 สิงหาคม 2021

รีวิวประสบการณ์ Apple Music VS Spotify อันไหนดีกว่า เสียเงินให้อันไหนดี

หลังจากเมื่อหลายเดือนก่อนเรารีวิวการ Stream เสียงคุณภาพ Lossless บน Apple Music ไปแล้ว อ่านได้ ที่นี่ จากเดิมที่เราอยู่บน Spotify 100% เราก็เปลี่ยนมาใช้ Apple Music ไปเลย 100% วันนี้เราเลยจะมารีวิวว่า หลังจากที่เราเปลี่ยนแล้ว มันเหมือน หรือแตกต่างกับการใช้ Spotify อย่างไร

ปล. รีวิวนี้ อ้างอิงจากประสบการณ์ตรงของเราเท่านั้น ไม่ได้จะเป็นการบอกว่า เจ้าไหนดีกว่าเข้าไหนเด้อ

Recommendation System

เรื่องระบบที่ถือว่าเป็นจุดแข็งของ Spotify เลยก็ว่าได้คือ Recommendation System หรือการแนะนำเพลง ปกติแล้วเราว่าปัญหาของคนที่ฟังเพลงบ่อย ๆ โดยอาจจะเปิดเป็น Background เวลาทำงาน หรือเปิดฟังผ่าน ๆ มักจะไม่ได้รู้สึกว่า มันมีเพลงอะไรที่อยากฟังเป็นพิเศษเท่าไหร่ เราก็จะอยากได้ Playlist ที่มันมีเพลงที่เราชอบ หรือเพลงที่มันไหลไปเรื่อย ๆ ได้ สำหรับ Spotify เอง เขาเก่งเรื่องนี้มานานแล้ว มันมีพวก Daily Mix ที่เราสามารถกด เข้าและเล่นได้อย่างรวดเร็วเลย อันนี้คือดีมาก ๆ ชอบ ๆ กับถ้าไม่รู้จะกดอะไรจริง ๆ เราจะไปดู พวก Your top song 20xx อะไรพวกนั้น มันก็จะเป็น Playlist ที่ Spotify จัดมาให้เราทุกสิ้นปี พอไปนั่งฟังมันก็จะหวนถึงอดีตได้ดีเลยทีเดียว

ส่วน Apple Music เปิดขึ้นมา มันจะเน้นความว่า เพลงอะไรมาใหม่บ้าง หรือจะเป็นเพลงที่เราเล่นล่าสุด พอจะกดมันจะเอ๊ะ ว่า ชั้นอยากฟังเพลงนี้จริง ๆ อ่อ ใช่อ่อ คือมันจะไม่เหมือนกับ Spotify เลย มันจะเอ๊ะ บางทีมันจะเหมือนตอนเราเข้า Netflix แล้วหนังมันเยอะเหลือเกิน แค่นั่งเลือกก็หมดเวลา ไม่ดูละ ตอนนี้เราว่า เรากับ Apple Music มันเป็นแบบนั้นจริง ๆ แต่ส่วนเรื่อง Recommendation มันก็มีนะ มันจะอยู่ใน Session ชื่อ Made for you กับ Station for you ซึ่งเอาจริง ๆ จากที่ลองฟัง เราว่ามันยังแนะนำเพลงได้ไม่ถูกจริตเราเท่ากับ Spotify เท่าไหร่

แต่สิ่งที่ Apple Music ทำได้ดีมาก ๆ คือ การทำ Infinity Playlist ด้วยตัวเอง เช่นถ้าเราเปิดเพลงสักเพลงที่มันมีอยู่ Item เดียว เช่นการเปิด Single ตัว Apple Music มันจะไปหาเพลงที่เราน่าจะชอบมาลงใส่ให้เราไปเรื่อย ๆ เลย อันนี้จะเหมาะมาก ๆ สำหรับคนที่อาจจะจะเปิดไปแล้วทำอย่างอื่นไป จะได้ไม่ต้องมานั่งกด ๆ โทรศัพท์เพื่อเลือกเพลงบ่อย ๆ นั่นเอง

ทำให้ในยกนี้ เราให้ Spotify ชนะไป อย่างขาดลอย ต้องบอกก่อนด้วยนะว่า ที่จริง ๆ Spotify มัน Suggest เพลงได้ดีกว่า เพราะเราอาจจะฟังมันมานานแล้ว ทำให้มันมีข้อมูล และ เข้าใจเรามากกว่า Apple Music ที่เราพึ่งใช้ แต่ความจริงที่ไม่เปลี่ยนคือ เราว่าวิธีการ Suggest เพลงของมัน ยังอยู่หลบซ่อนไปหน่อย ต้องเลื่อนลงมาเยอะ ๆ เราว่าบางทีมันไม่ Healthy เท่าไหร่

Playlist

Playlist ที่กำลังจะเล่าถึง ไม่ใช่ความสามารถในการสร้าง Playlist เพราะทุกตัวสามารถทำได้หมด แต่เรากำลังจะเล่าถึง ความหลากหลาย ของ Playlist อย่างที่เราบอกไปว่า เราเป็นคนที่ไม่รู้จะฟังเพลงอะไรดี การมี Pre-Defined Playlist มันก็จะช่วยเราได้เยอะมาก ๆ ยิ่งถ้าเจอ Playlist ที่ถูกจริต เข้ากับอารมณ์ตอนนั้น แบบกดปุ๊บ ต้องร้องว่า อีเ_ย โดนนนนสั__ !!!! อะไรแบบนั้นเลย

ฝั่ง Spotify ตัว Playlist ที่เราเข้าถึงได้ มันจะมาจาก 3 ส่วนด้วนกันคือ Playlist จาก Spotify เอง, Playlist ที่เราสร้างขึ้นเอง และ Playlist ที่คนอื่น ๆ สร้างขึ้น เริ่มจากส่วนแรกก่อน เราว่ามันก็เป็นส่วนที่เรียกได้ว่า General มาก ๆ เพราะเจ้าไหนก็มี แต่วิธีการสร้างของ Spotify เราว่ามันน่าจะมาจากการดู Insight ของลูกค้าพอตัวเลยนะ เช่นการสร้าง Playlist ตาม Action ต่าง ๆ อย่างพวก ฟังเพลินตอนทำงาน หรือพวก Songs to sing in the shower เราว่ามันก็เป็นอะไรที่ดีเลยนะ หรืออีกพวกจะเป็นแบบตามอารมณ์มันก็มีเหมือนกัน แต่อันที่เราว่าทำให้การฟังเพลงมันโคตรสนุกเลย คือการหา Playlist ที่คนอื่น ๆ สร้างไว้

ชื่อแต่ละอันมันคือความสุดยอดมาก ๆ เป็น Challenge ของเรากับเพื่อนอยู่ช่วงนึงเลย ว่าใครสามารถให้ Playlist ชื่อเด็ด ๆ ได้ที่สุดมาแข่งกัน ดู งง ๆ นะ แต่ชื่อแต่ละอันที่หาออกมาได้มันคือ ความสุดยอดมาก ๆ แล้วเพลงมันก็ดันเกี่ยวกับชื่อที่ตั้งแปลก ๆ จริงนะ มันทำให้เราสนุกกับการฟังเพลงใหม่ จาก Playlist เหล่านี้เลย

แต่ฝั่ง Apple Music เองมันก็มี Playlist ที่ Apple สร้างไว้ แต่เราว่ามันไม่ค่อยเข้ากับ Culture ของการฟังเพลงประเทศเราสักเท่าไหร่ เราว่ามันถูกจริตฝั่งตะวันตกนะ แต่ฝั่งเรา หรือเราเอง เราไม่ชอบฟัง Playlist ของ Apple เลย แต่สิ่งที่ Apple เน้นมากกว่า คือการแสดงเพลงเป็นอัลบั้มเลยมากกว่า คล้ายกับ Tidal  ซึ่งเอาจริง ๆ เลยนะ เราว่ามันย้อนแย้งกับความเป็น Apple มาก ๆ เพราะ iTunes Store มันออกมาเพื่อแก้ปัญหาว่า ถ้าเราอยากฟังเพลงเดียว ทำไมเราต้องซื้อทั้งอัลบั้ม ก็ซื้อเพลง ๆ เดียวไปสิ เพราะจริง ๆ แล้ว อัลบั้มส่วนใหญ่ที่ออกมาเราจะฟังอยู่แค่ 1-2 เพลงที่เป็น Masterpiece จริง ๆ ของอัลบั้มนั้น ๆ ไม่ใช่ฟังทั้งอัลบั้ม (ยกเว้นบางอัลบั้มจริง ๆ เช่น The Dark Side of the Moon ของ Pink Floyd คือเจ๋งงงงงงงงงงง หรือ พวกเพลงของ Ed Sheeran ที่ติด Chart ทั้งอัลบั้ม พวกนี้คือ Exceptional มาก ๆ) กับ Apple Music ไม่ได้มี Feature สำหรับค้นหา Playlist ของคนอื่นที่ทำไว้ด้วยเด้ออ ดังนั้น มันก็จะอยู่กับ Recommendation จาก Apple ไปแค่นั้น

ทำให้เรื่อง Playlist ฝั่ง Spotify ก็ยังเป็นผู้ชนะแบบขาดลอยด้วยการ Cruate Playlist ได้เข้ากับจริตการฟังเพลงของคนส่วนใหญ่มากกว่า และ Playlist สาธารณะที่มีเยอะมาก ๆ หลากหลายสุด ๆ ทำให้การฟังเพลงบน Spotify มันสนุกขึ้นมากอย่างไม่น่าเชื่อเลย

Song Discovery

พอเวลาเราใช้ Music Streaming เราว่าหลาย ๆ คนน่าจะมีปัญหาว่า ไม่รู้จะฟังเพลงอะไรดี ถ้าเรานึกเอง มันก็จะเป็นเพลงเดิม ๆ ซะเยอะ ยิ่งถ้าเราเปิดเพลงแล้วนั่งทำงานทั้งวัน เราว่า เปิดสัก 2-3 วัน มันต้องวนกลับมาที่เดิมแล้วละ เราเคยถามแม่เหมือนกันว่า ทำไมไม่เปิด Spotify ตอนทำงาน แม่บอกว่า เพราะ Spotify เราต้องมาเลือกเพลงเองแล้ว มันก็จะซ้ำ ๆ แต่วิทยุ เขาเปิดเพลงเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เราก็เอ๋อออออออ จริงหว่ะะะะะะ ทำให้เรื่องของการ Discover เพลงใหม่ ๆ ในระบบเป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจมาก ๆ

เริ่มจากฝั่ง Spotify ก่อน เราว่าเรื่องนี้ Spotify ทำได้ไม่ดีเท่าไหร่ จากการใช้งาน เราเห็นเลยว่า พอเราฟัง ๆ ไปทั้งวันหลาย ๆ วันทำงานไปด้วย เรามักจะลงเอยกับเพลงเดิม ๆ เฉลี่ยวันละ 1.2 - 1.8 ครั้งในเพลงเดิมต่อวันเลย ถือว่าไม่น้อยเลยนะ และยิ่งถ้าเราฟังไปเรื่อย ๆ เราจะเห็นว่าค่าเฉลี่ยนี้มันจะมากขึ้นไปเรื่อย ๆ เลย เราเลยลองไปวิเคราะห์เพิ่มเติมดูว่าจริง ๆ แล้วมันเกิดจากอะไรกันแน่ จาก Interface ของ Spotify ใน Section แรก ๆ มันจะเป็นการแสดง Playlist ที่เราพึ่งเล่นไป หรือพวก Playlist ที่เกิดจากการ Recommend ของระบบ ซึ่งแน่นอนว่า ส่วนใหญ่มันก็จะไม่ได้หนีไปจากแนวเพลงที่เราฟังสักเท่าไหร่แน่ ๆ ถ้าเราเลื่อนลงไปลึก ๆ สิ นั่นแหละมันจะเป็นพวก Section ตามอารมณ์หรือ Chart เพลงต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่แล้ว การใช้งานของเราเอง เราก็จะไม่เลื่อนลงไปเกิน 4-5 Section แน่ ๆ ถ้าหมด 4-5 Section และยังไม่ได้เพลง เราก็เริ่มจะ Search เพลงเองแล้วละไม่ไถลงไปถึงข้างล่างบ่อยสักเท่าไหร่

แต่กลับกัน Apple Music มองตรงกันข้ามกับ Spotify เลย เพราะ Section แรกสุด ที่เป็น Top Pick มันจะไม่ได้เป็นแค่เพลงที่ระบบ Recommend ขึ้นมาแต่ถ้ามันมีเพลงใหม่ มันก็จะขึ้นมาให้เราเห็นเป็นอย่างแรกเลย ทำให้เราค้นหาเพลงใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น หรือจริง ๆ การแสดงรายชื่อเป็นอัลบั้มก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการทำให้เราค้นหาเพลงใหม่ ๆ นอกจากเพลงที่เราฟังอยู่ได้เยอะขึ้น (ไม่มากเท่าไหร่) แม้กระทั่ง Section New Releases อันนี้แหละ ที่ทำให้ Apple Music ชนะในเรื่องนี้เลย

การหาเพลงใหม่ ๆ ฟัง โดยใช้เวลาน้อยที่สุดก็เป็นอีกส่วนที่น่าสนใจมาก ๆ Spotify เน้นการใช้ระบบ Recommendation ที่แข็งแกร่งของเขาในการหาเพลงใหม่ ๆ เข้ามาให้ผู้ใช้ แต่แน่นอนว่า มันก็ยังทำให้เราติดกับแนวเพลงเดิม ๆ อยู่ เหมือนเป็นดาบสองคม ที่เราว่า Spotify ต้องทำการบ้านเพิ่มว่า เขาจะ Weight ทั้ง 2 เรื่องนี้ให้พอดีได้ยังไง ส่วน Apple Music เองด้วยความที่มันเล่นแสดงเพลงไปเรื่อยเลย ไม่แปลกเลยที่ผู้ใช้จะได้ค้นหาเพลงใหม่ ๆ มาฟังได้ แต่ก็แน่นอนว่าแลกกับความว้าว ทำให้ในเรื่องนี้ Apple Music กินไปเลยจ้าาา

Continuity

Continuity ที่เรากำลังพูดถึงมันจะเป็นเหตุการณ์ที่เรากำลังเล่นเพลงอยู่บน อุปกรณ์ตัวนึงแล้วเราจะย้ายมาเล่นที่อุปกรณ์อีกเครื่อง เช่น ถ้าเราฟังอยู่บนโทรศัพท์ เราเปิดคอมขึ้นมาจะทำงานแล้ว และ เราต้องการที่ะขยับเพลงมาเล่นที่คอมเราแทนมันจะเป็นยังไง

ฝั่งของ Spotify ทำดีเรื่องนี้มานานแล้วเช่นกัน ถ้าเรากำลังเล่นเพลงอยู่ และเราพยายามใช้ Account เดียวกันเปิดขึ้นมาในอีกอุปกรณ์นึง มันจะเด้งขึ้นมาถามเลว่า เราจะสลับมาเล่นที่อุปกรณ์นี้หรือไม่ และถ้าเรากดเปลี่ยนเพลงที่อุปกรณ์ใดก็ได้ที่ Login Account เดียวกันอยู่ มันก็จะเปลี่ยนเพลงที่เครื่องที่กำลังเล่นอยู่เลย ตัวอย่างเหตุการณ์ที่เราใช้งานทุก ๆ วันคือ เราฟังเพลงมาบนรถตอนขับกลับบ้านเลย แล้วพอถึงบ้าน เปิดคอมจะมาทำงานต่อ สิ่งที่เราต้องทำคือ เราก็แค่เปิด App Spotify ขึ้นมาบนคอม แล้วกด ให้สลับมาเล่นที่เครื่องคอมเราได้เลย มันสะดวกมาก ๆ และเพลงมันก็เล่นต่อเลย แทบจะต่อระดับวินาทีเลย เป็นการฟังเพลงที่ไม่ขาดตอน

แต่ฝั่งของ Apple Music เรื่องนี้ไม่มีเลยนะ เปิด App ขึ้นมา มันจะขึ้นเป็นเพลงที่เราเล่นค้างไว้ล่าสุดบนอุปกรณ์นั้น ๆ เราก็ต้องมานั่งหา Playlist ที่เล่นอยู่บนอีกอุปกรณ์นึง อ้าว สุ่ม ไม่เหมือนกันอีก เอ้าเพลงซ้ำ โอ๊ยยยย กำหมัดหนักมาก !!! ความต่อเนื่องเป็น 0 ไปเลยสำหรับ Apple Music

เราว่าเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เราว่าทุก ๆ คนน่าจะเคยมี Moment ประมาณว่า ขับรถถึงหน้าบ้านแล้ว แต่เห้ยยย เพลงที่เราชอบมันยังไม่จบอะ เราก็ไม่อยากลุกไปไหนเพราะเรารู้ว่าเราดับเครื่องปุ๊บ มันก็ขาดตอนไป เราว่ามันยังมีอีกหลาย ๆ Moment แหละที่มันคล้าย ๆ กันต่างแค่สถานการณ์เท่านั้น ทำให้ Continuity ถูกนำมาใช้ในการเลือก Music Streaming ในดวงใจของเราด้วย

Streaming Quality

เรื่องสุดท้าย เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมาก ๆ คือคุณภาพของไฟล์ที่ใช้ในการ Stream เหมือนกับเวลาเราดูหนังเลย ถ้าไฟล์มันคุณภาพสูงขึ้น ภาพที่ได้ก็จะชัดคม น่าดูมากขึ้นนั่นเอง ในส่วนของ Spotify เอง ก็จะ Stream ที่ 320 kbps เท่านั้น ซึ่งเอาจริง ๆ ถือว่าเป็น Bitrate ที่สูงมาก ๆ แล้วสำหรับคนฟังเพลงทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้เป็น Audiophile อะไร เราว่าสำหรับคนทั่ว ๆ ไป สูงกว่านี้อีก ส่วนใหญ่ก็จะฟังไม่ออกแล้ว เราลองถามเพื่อนเราหลาย ๆ คนที่ไม่ได้ฟังเพลงจริงจังอะไร เกือบทุกคนก็จะบอกว่า แยกยากนะ ยิ่ง High Quality บน Spotify กับแม้กระทั่ง Hi-Resolution แบบสุด ๆ อย่าง 24-bits/ 192 kHz แยกไม่ค่อยออก เลยทำให้ส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้สนเรื่องของคุณภาพมาก เพราะทุกเจ้าตอนนี้เขาให้คุณภาพที่ใช้งานได้แล้วมากกว่านี้แยกไม่ออกแล้วนั่นเอง

แต่ถ้าเอาตัวเลขมาเทียบเลย เรื่องนี้ Apple Music กินขาดเลย เพราะล่าสุด Apple ออกการ Stream แบบ Lossless มา คุณภาพสูงสุดที่ 24-bits/192 kHz ซึ่งถือว่าสูงมาก ๆ เลยทีเดียว เป็นน้อง ๆ Tidal Master ที่ใช้ MQA เลย ถ้าเราใช้พวก DAC และหูฟังดี ๆ สำหรับเราจะรู้เลยว่าโหยยยยย อย่างต่างเลย บางเพลงชัดมาก ๆ ว่าเสียงช่วงต่ำมันจะอิ่มกว่าเยอะ ไหนจะเรื่อง Spatial Audio ที่ใช้ Dolby Atmos แต่เราว่าเรื่องนี้ เราไม่ค่อยเห็นผลเท่าไหร่ กับจำนวนเพลงที่รองรับยังไม่ได้เยอะมาก เราเลยไม่เอามาตัดสินในเรื่องนี้ด้วย

ถ้าให้เราสรุปเรื่องนี้ เราคงพูดยากมาก ถ้าเอาในมุมของเราเลยนะ เราว่าพอ ๆ กัน ละกัน จากการใช้งานของเรา 90% ++ ของเวลาในการฟังเพลงของเรา จะอยู่บนหูฟังที่เป็นแบบ Wireless คุณภาพระดับ 320 Kbps ก็ทำให้เราเพลิดเพลินกับการฟังเพลงพร้อมกับการทำงานได้แล้ว การที่ Apple Music ทำ Hi-Res Streaming ออกมา มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องไม่ดี แต่แค่ว่า เวลาส่วนใหญ่ของเราไม่ได้โฟกัสกับคุณภาพที่ต้องสูงขนาดนั้น ยกเว้นตอนที่เรานั่งเฉย ๆ นอน ๆ นวด ๆ เสียบ DAC ฟังเพลงก่อนนอน นั่นแหละ ตอนนั้นที่เราต้องการ Hi-Res แบบสุด ๆ

Conclusion

โดยสรุปแล้วจากการสลับมาใช้ Apple Music มาได้เป็นเดือน ๆ ก็คือ กลับมาบ้านเก่าจ้าาาาา กลับมาซบ Spotify เหมือนเดิม จากประเด็นที่เราเล่ามาเลยดูจาก Score ก็คือ เห็นเลยว่า เราเอาอันไหน ฮ่า ๆ และอีกเรื่องที่เราไม่ได้เล่าคือ เรื่องของ Compatibility ด้วย เช่นพวก เครื่องเสียงส่วนใหญ่ เราจะใช้เป็น Chromecast หมดเลย รวมไปถึงพวก Nest Mini กับ Nest Hub ด้วย พอเราใช้ Apple Music ใน iOS กับ iPadOS มัน Stream ออกไปได้แค่ AirPlay เท่านั้น เลยเซ็ง ๆ เลย (แต่ งง มาก Apple Music App ใน Android มันใช้ Chromecast ได้นะ ทำไมไม่ให้ใน iOS ทำได้ฟร๊ะ !!) แต่เราอยากจะบอกนะว่า ในรีวิวนี้เราไม่ได้บอกว่า ใครดีกว่ากันนะ แต่เรามารีวิวในมุมมองประสบการณ์ของเราเท่านั้น ท่านอื่นอาจจะมี Lifestyle ไม่เหมือนกัน มี Hardware ที่แตกต่างกัน มันก็ทำให้ประสบการณ์ที่ได้ไม่เหมือนกันนั่นเอง

Read Next...

1 เดือนกับ Macbook Pro 14-inch M4 Max ไม่ผิดหวังเลยจริง

1 เดือนกับ Macbook Pro 14-inch M4 Max ไม่ผิดหวังเลยจริง

เป็นเวลากว่า 1 เดือนเต็ม ๆ แล้วที่เราได้ใช้งาน Macbook Pro 14-inch M4 Max ในการทำงานของเรา ความเห็นเราจะเปลี่ยนจากตอนที่เรารีวิวไปตอนแรกหรือไม่วันนี้เราจะมาบอกเล่าประสบการณ์ที่เราได้ใน 1 เดือนจาก Laptop เครื่องนี้กัน...

Macbook Pro 14-inch M1 Max ผ่านไป 3 ปีอาการเป็นยังไงบ้าง

Macbook Pro 14-inch M1 Max ผ่านไป 3 ปีอาการเป็นยังไงบ้าง

เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...

รีวิว Apple Watch Series 10 ในที่สุด ก็ได้กลับมาใส่ Titanium อีกครั้ง

รีวิว Apple Watch Series 10 ในที่สุด ก็ได้กลับมาใส่ Titanium อีกครั้ง

ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...

รีวิว Macbook Pro 14-inch M4 Max ไปให้สุดหยุดที่หมดตัว v2 (Part Performance Analysis)

รีวิว Macbook Pro 14-inch M4 Max ไปให้สุดหยุดที่หมดตัว v2 (Part Performance Analysis)

จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...