By - 08 มีนาคม 2024
ไม่น่าเชื่อว่า เวลาผ่านไปเร็วขนาดนี้ ตอนนี้น้องไฟท์ หรือรถ ORA Good Cat มาอยู่กับเรา 2 ปีแล้ว จนเขาออกตัวรุ่นประกอบไทยแล้วด้วย วันนี้เราจะมารีวิวให้อ่านกันว่า 2 ปีที่ผ่านมา อะไรที่เป็นปัญหา และ ในรอบปีที่ผ่านมา เราเสียค่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่กับรถคันนี้ไปบ้าง เผื่อจะเป็นข้อมูลสำหรับหลาย ๆ คนที่พิจารณาการซื้อทั้งรถ BEV และ ORA Good Cat เอง
ในรีวิวนี้เราจะเน้นการสรุปข้อมูลจากการใช้งานมากกว่า ถ้าอยากดูรีวิวตัวรถ กลับไปอ่านรีวิวที่ทำไว้ปีก่อนที่ด้านบนนี้ได้เลย
ค่าใช้จ่าย เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการเลือกซื้อรถสักคันหนึ่ง เราขอแบ่งออกเป็น 4 หมวดใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ ค่าเชื้อเพลิง, ค่าการบำรุงรักษา, ค่าประกันและพรบ และ อื่น ๆ
ค่าเชื้อเพลิง หรือในกรณีนี้คือ ค่าชาร์จไฟ ตลอดปี 2023 ที่ผ่านมา เราเสียค่าไฟในการชาร์จรวม 3,627.23 บาท แบ่งเป็นการชาร์จที่บ้าน 3,478.28 บาท และ ชาร์จข้างนอก 148.85 บาท (รวมเฉพาะการชาร์จที่มีการจ่ายเงินจริงเท่านั้น)
ค่าบำรุงรักษา ด้วยความที่ตัวรถเรายังอยู่ในระยะที่ GWM ไม่คิดค่าบำรุงรักษา ทำให้เราไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการที่ศูนย์ แต่ มันมีชิ้นส่วนสิ้นเปลืองบางอย่างที่เราเปลี่ยนในปีนี้คือ ใบปัดน้ำฝน ของ BLAUPUNKT อยู่ที่ 567 บาท และ เรารู้สึกว่ายางมันเริ่มมีเสียง กับเริ่มมีอาการแล้ว เลยเปลี่ยนยางเป็น MICHELIN E PRIMACY 215/55 R18 เปลี่ยนที่ B-Quik ตอน ODO อยู่ที่ 43,051 กิโลเมตร ราคาอยู่ที่ 34,360 บาท ทำให้ราคาในหมวดค่าบำรุงรักษาอยู่ที่ 34,927 บาท มันจะดูเยอะหน่อย เพราะค่ายางนี่แหละ จริง ๆ ศูนย์ก็ยังบอกนะว่ายางยังใช้ได้อีกนาน แต่มันเป็นความคันส่วนตัวแหละ เลยเปลี่ยนตอนนี้ละกัน
ค่าประกัน และ พรบ ในปีที่ 2 นี้ ทุนประกันอยู่ที่ 780,000 บาท ซึ่งมันหายไปเยอะมาก ๆ เมื่อเทียบกับราคาของตัวรถภายใน 2 ปีเท่านั้น รวมทั้งหมดอันนี้ เราเสียเงินอยู่ที่ 26,699.77 บาท
หมวดสุดท้าย อื่น ๆ คือ หมวดที่เราไม่รู้จะไปลงตรงไหน มีรายการเดียวคือ การเปลี่ยนโช้ค Profender Fitz ที่เราเคยรีวิวไป คือช่วงล่างมันไม่ได้เป็นปัญหาอะไร แต่อีกแล้วคือ ความคัน อยากเปลี่ยน ราคาอยู่ที่ 33,000 บาท
ทำให้ในปีนี้ เราเสียเงินกับรถไปทั้งหมด 98,254 บาท แต่ถ้าไม่รวมความคัน ตัดค่ายาง และ ค่าโช้คออกจะอยู่ที่ 30,894 บาทเท่านั้น เหตุที่เราแจงราคาตัดด้วย เพราะ ในความเป็นจริง โช้คมันเป็น Optional และ ยาง ณ ช่วงที่เราเปลี่ยน เราคิดว่ามันไม่ถึงอายุที่ต้องเปลี่ยน แต่เราอยากเปลี่ยนเองล้วน ๆ
มาถึงเรื่องที่เราคิดว่า หลาย ๆ คนให้ความสนใจ คือ อัตราสิ้นเปลือง โดยเราสามารถคิดได้หลายแบบจากข้อมูลที่มี เบื้องต้นเราขอใช้เป็น การเอาระยะทางที่วิ่งทั้งหมด หารด้วยจำนวนพลังงานที่ชาร์จเข้าไป
โดยมีระยะทางการวิ่ง 20,634 กิโลเมตร และ ชาร์จไปทั้งหมด 3,100.44 kWh ทำให้หารออกมาต่อระยะทางอยู่ที่ 15.03 kWh/100km ถือว่าสูงมากสำหรับเรานะ แต่พอจะเข้าใจได้ เพราะมันก็มีบ้าง ที่อยากแว้น เลยซัดหนัก จัดเต็ม ออกเดินทางต่างจังหวัด ทำความเร็วสูงก็มี แต่ปกติ เราจะวิ่งอยู่ประมาณ 11.2-11.5 kWh/100km
แต่ถ้าเราหารในแง่ของราคาเชื้อเพลิงที่เราจ่ายไป ได้อยู่ที่ 0.17 บาท/กิโลเมตร เท่านั้น ถือว่า อยู่ในจุดที่เราค่อนข้างโอเค ไม่เครียดเวลาจะติดเครื่องแล้วขับออกไปว่า เอ๋ จะกี่บาทกันนะ ที่มันดูราคาถูก เพราะจริง ๆ แล้ว ค่าใช้จ่ายในหมวดเชื้อเพลิง เราไม่ได้นับพวกที่เราไปชาร์จฟรีต่าง ๆ เช่น เรามี Credit ที่ได้จาก GWM และค่าชาร์จที่เราสามารถเบิกได้
เป็นคำถามที่คนไม่ได้ใช้ BEV แมร่งต้องเอาไปปั่นกันมั่ว ๆ แน่นอน กับ เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี นิด ๆ กับรถที่วิ่งไปทั้งหมด 45,656 กิโลเมตร HV Battery จะมีอาการเสื่อมไปเท่าไหร่ ต้องเยอะแน่ ๆ จนส่งผลกระทบถึงระยะทางการวิ่งเลยใช่มั้ย
เริ่มจากที่รถรายงานค่า State of Health (SoH) การได้มาซึ่งข้อมูลนี้เกิดจากการเสียบ OBD Adapter เข้ากับตัวรถ และใช้ App Car Scanner อ่านค่าออกมา โดยตัวรถรายงาน SoH ออกมาอยู่ที่ 94.2% หรือหายไป 5.8% ในเวลา 2 ปีกว่า ๆ แต่ถ้าทุกคนกำลังคิดจะ Exterpolate ออกไปเช่น 4 ปีต้องหายไป 11.6% และ 8 ปี หายไป 23.2%
มันไม่เป็นแบบนั้น เพราะโดยธรรมชาติของ Li-ion Battery ค่า SoH ในช่วงแรกจะลดลงเร็วมาก ๆ จนถึงจุดที่มันเริ่มเข้าสู่สมดุล ค่า SoH จะลดช้ามาก ๆ เรียกว่าแทบจะนิ่งเลยก็ว่าได้ เหตุผลหนึ่งที่มันลดลงเร็วมาก ๆ ในช่วงแรก เป็นเพราะการเกิดปฏิกิริยาเคมีมันยังไม่นิ่ง แต่เมื่อมันนิ่ง ค่า SoH ของเราก็เกือบ ๆ นิ่งเอง จนถึงจุดสุดท้ายที่ใช้งานไปแล้วแตกอย่างรวดเร็ว เราเรียกจุดนั้นว่า Valley of the death
และถ้าเราเอาค่า SoH นี้ไปเทียบกับเพื่อน ๆ ในกลุ่ม ORA Good Cat Thailand หลาย ๆ ท่าน เราคิดว่าค่า SoH ของแบตเรา ลดลงเร็วกว่าค่าเฉลี่ยของคนอื่น ๆ ในกลุ่มเสียอีกด้วยซ้ำ แต่ถามว่าน่ากังวลหรือไม่ เรามองว่า ไม่ เพราะขนาดเรามองใน Worst Case เรา Exterpolate ค่า SoH โดยใช้ข้อสมมุติฐานว่า ค่า SoH มีความสัมพันธ์กับระยะทางแบบ Linear แล้ว เมื่อเวลาผ่านไป 8 ปี หากเรามีพฤติกรรมวิ่งต่อปีเท่าเดิม ค่า SoH หายไป 23.2% มันก็ยังรับได้ และ เอาเข้าจริงอย่างที่เราบอกว่า การประมาณการลักษณะนี้ ไม่เป็นจริง ค่าความเสื่อมที่เราประมาณการณ์ขึ้นมา มัน Overestimate ไปไกลจากเหตุผลที่เราได้บอกไป
สิ่งที่น่าสนใจคือ มันส่งผลไปถึง ความจุ Battery เท่าไหร่ เราคิดง่าย ๆ ถ้าเกิดว่า เราอยากจะคำนวณว่า หากเราต้องการชาร์จเพิ่ม x % เราจะต้องชาร์จด้วยพลังงานเท่าไหร่ วิธีการคำนวณคือ เอา SoC ที่เราต้องการเพิ่มหารร้อย คูณด้วยความจุจากโรงงาน ในที่นี้ของเราเป็น 63.139 kWh
แต่ตอนนี้เรามี พลังงานที่เราต้องชาร์จเข้าไป อยากรู้ความจุ ถ้าเราแก้สมการออกมา ทำให้ความจุเกิดจาก พลังงานที่ชาร์จเข้าไป หารด้วย SoC ที่ชาร์จเพิ่มหารด้วย 100 อีกที เราทำแบบนี้กับทุก ๆ Charging Session ที่เราเก็บมา ดังนั้น เราจะได้ความจุคร่าว ๆ ของแบต ณ ขณะนั้น
หากแบตเรามีการเสื่อมจนความจุมันลดมากจนเห็นได้จริง ถ้าเราเอาความจุมา Plot โดยแกน X เป็นวันเดือนปีที่เกิดการชาร์จ และ แกน Y คือ ความจุคร่าว ๆ ที่เราคำนวณขึ้นมา อย่างแรกที่เราสังเกตได้คือ แบตเรามีขนาด 63.139 kWh แต่ทำไม Data Point บางอันมันมากกว่านั้นละ มันเกิดจาก Charging Lost หรือการสูญเสียพลังงานจากการชาร์จ เลยกลายเป็นว่า เรา Overestimate พลังงานจริง เท่าที่ลองดู หากเราชาร์จที่บ้านเรา เฉลี่ย ๆ อยู่ที่ประมาณ 5% เราเลยขอหักทุก Data Point ละ 5% ถ้าเราดูเส้น Trendline ที่ความชันมันสูงขึ้น ซึ่งมันไม่น่าใช่ละ เราคิดว่า ความจุของแบตมันอาจจะหายจริง แต่มันหายไปในจำนวนที่น้อยมาก น้อยกว่า Error ของการตรวจวัดจากข้อมูลของเรา ที่เราค่อนข้างมั่นใจว่ามันหายไปน้อยมาก เพราะ ระยะทางที่เราสามารถวิ่งได้ มันไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่เช่นกัน หากต้องการวัดอย่างชัดเจน จำเป็นต้องเก็บข้อมูลให้ละเอียดกว่านี้มาก ๆ ซึ่งเราไม่สามารถเหมือนกัน
ดังนั้น เราคิดว่า อย่าพึ่งไปตกใจกับค่า SoH มากขนาดนั้น อย่างที่บอกเพราะมันไม่ได้มีความสัมพันธ์กันแบบ Linear กับความจุ และ ระยะทางที่วิ่งได้ ถึงแม้ว่า SoH จะเหลือ 94.2% แล้ว แต่ระยะทางที่วิ่งได้ ณ ตอนนี้มันก็ยังไม่ได้หายไปจนเห็นอย่างชัดเจน
ส่วนเรื่องหน้าปัดของรถ เมื่อชาร์จเต็ม 100% ก็ยังแสดงระยะทางอยู่ที่ 501 กิโลเมตร แต่ที่เรามาสร้างการคำนวณขนาดนั้น เป็นเพราะ เอาเข้าจริงคือ เราไม่รู้ว่า ระยะทางที่วิ่งได้ที่แสดงอยู่บนหน้าจอมัน Peg ไปกับระยะทางที่โรงงานกำหนดมาหรือไม่
หน้าปัดวัดความเร็วบนรถส่วนใหญ่ มักจะวัดเพี้ยนไปจากการวัดด้วย GPS ไปสัก 1-2% หรือมากกว่านั้น แต่เรื่องที่ขอชื่นชม คือ ORA Good Cat ของเรา มาตรวัดความเร็วที่แสดงผลบนรถ แทบจะเท่ากับการวัดผ่าน GPS ทั้ง บน iPhone 14 Pro และ Samsung Galaxy Z Flip 5 ผ่าน App Google Maps อาจจะมีคลาดเคลื่อนหลักวินาที เช่น 1-2 วินาทีเท่านั้น และเราลองเอาข้อมูลที่ได้จาก GPS Location จากโทรศัพท์มาคำนวณหา ระยะทาง และ ความเร็วออกมา เทียบกับ ความเร็ว ที่ได้จุ๊บจาก CAN Bus ของรถ ปรากฏว่า คลาดเคลื่อนกันไม่ถึง 1% เท่านั้น แปลกใจมาก ๆ
นอกจากนั้น มันทำให้เรารู้ว่า เครื่องวัดความเร็วบนมอเตอร์เวย์ที่จะไปบางแสน และ พัทยา มันแม่นเว้ย เชี้ย มันแม่นจริง คลาดเคลื่อนไป 1-2 km/hr เทียบกับหน้ารถเมื่อตอนที่หน้าจอเครื่องวัดความเร็วแสดงตัวเลขเลย ทั้งในช่วงย่านความเร็วต่ำกว่ากฏหมายกำหนดและ.... เออนั่นแหละ
เรื่องนี้เรียกว่าเป็น Elephent in the room ของรถคันนี้ตั้งแต่ออกมา เท่าที่เราประสบมา กับที่เราเห็น ๆ ในกลุ่ม ORA Good Cat น่าจะมีประมาณ 8 เรื่องด้วยกัน
เรื่องที่ 1 สำคัญมาก ๆ คือ คอมพิวเตอร์ช้ามาก ๆ ไม่ใช่แค่ Boot Time เท่านั้น แต่เป็นการใช้งานทั้งหมด เช่น งานง่าย ๆ อย่างการปรับแอร์ กดเรียกหน้าต่างแอร์ กว่าจะมา หลักวินาทีอะ แล้วปุ่มก็คือไม่มี ต้องทำผ่านหน้าจอช้า ๆ ก็คือ ถ้าเราขับรถอยู่ต้องการปรับแอร์ เราว่าสักวันต้องมีอุบัติเหตุเพราะเรื่องแบบนี้กับ ORA Good Cat แน่ ๆ โอเค ถึงจะแก้ไปใน Patch เมื่อสักปีแรก ๆ เลยมั้ง แต่ปัญหานี้ก็ยังคงอยู่ แค่ว่ามันไม่แย่เหมือนช่วงแรก ถ้าใครซื้อรถล๊อตแรก ๆ น่าจะ ด่าพ่องไปตาม ๆ กัน
พูดถึง Software แล้วก็ต้องพูดถึง Apple CarPlay ที่ช่วงแรก ๆ มันช้ามาก ๆ ช้าจนถ้าเราใช้นำทาง รถเลยซอยไปเป็นกิโลละ แต่ Map ยังวิ่งไม่ถึงซอยเลยด้วยซ้ำ จนตอนนี้ได้รับการแก้ไขละ ก็ยังช้าอยู่ แต่อย่างน้อยมันก็ไม่เลยซอยเป็นกิโลแล้ว กับความสามารถในการทำ Multitouch หายไป Pinch to zoom ใน Maps ไม่ได้แล้วด้วย
เรื่องที่ 2 คือ วิทยุเปิดเอง อันนี้ครั้งแรก เราไม่ได้เจอกับตัว แต่เพื่อนมาถาม เราเลยลองเอาไป Reproduce ดู ปรากฏว่า เชี้ย แมร่งจริงด้วยหวะ คือถ้าเราไม่เสียบ Apple CarPlay แล้วติดรถขึ้นมา สักพักวิทยุมันจะเปิดเอง เข้าใจได้นะว่า เออ ถ้าเราขึ้นรถมา แล้วไม่มี Media Source แล้วจะเล่น วิทยุ ให้เองเป็นค่าเริ่มต้น เพื่อความสะดวก แต่..... ถ้ามันเป็นแบบนั้นจริงอะ ทำไมมันไม่เป็นแบบนี้ทุกครั้ง ทำไมมันไม่สามารถ Reproduce ปัญหานี้ได้ทุกครั้งกันละ
เรื่องที่ 3 ยังอยู่กับระบบ Infortainment อยู่คือ Voice Command เราเข้าใจนะว่า เขาอยากให้ผู้ใช้สะดวก ไม่ต้องกดเรียกให้มันฟังเสียงเราตลอดเวลาซะเลย แต่.... พอเป็นภาษาไทยที่พึ่งทำปุ๊บ คุณภาพเฮงซวยทันที คุย ๆ อยู่ "สวัสดีค่ะ" เด่วววว ชั้นยังไม่ได้เรียกแก หรือ คำต้องห้ามต่าง ๆ เช่น "กลับบ้าน" พูดปุ๊บ Nav ของรถจะตั้งเส้นทางกลับบ้านทันที สิ่งที่ตลกคือ เวลาจะกลับบ้านจริง พูดว่า กลับบ้าน มึงไม่พากรูกลับบ้าน อีห๊อยส์ !
เรื่องที่ 4 สำหรับรุ่น 500 Ultra ที่มี Welcome Seat อาการคือ ถ้าเรานั่งอยู่ในรถ แล้วเปิดประตูรถ เก้าอี้ถอยให้ ปิดประตูเดินออกไป โดยยังไม่ตัดไฟและล๊อครถอะไรทั้งนั้น เหมือนกับจะออกจากบ้านละ ลืมของเลยเดินกลับไปเอา พอเปิดประตูกลับมานั่ง เบาะที่ถอยไปแล้วมันไม่กลับมา เดาว่า Programmer เขียน Test Case ไม่ครบ เลยหลุดเคสแบบนี้ออกมาได้
เรื่องที่ 5 คล้าย ๆ กับ 3 คือ ถ้าเรา Login GWM Account ในรถของเรา เวลาเราขึ้นรถมา กระจกข้างมันจะปรับเป็นมุมอะไรไม่รู้ งง ไปหมด อันนี้เราลองจับอาการ กับแกล้งมันหลายรอบละ เราเดาว่า พอเรา Login มันจะมี Driving Profile มา หนึ่งในนั้นคือ องศากระจกข้าง สิ่งที่มันเกิดคือ เมื่อเราขึ้นรถมา รถมันพยายามปรับไปที่ Profile ที่ถูกต้อง แต่มันไม่ได้เช็คองศากระจกปัจจุบัน คล้าย ๆ กับมันตี 0 แล้ววิ่งด้วยค่าที่กำหนดไว้ แต่กระจกจริง ๆ มันไม่ได้อยู่ใน State 0 ไง แล้วพอมันวิ่งจนสุด มอเตอร์มันหยุดให้เอง เลยมักจะเจออาการว่า มันหมุนขึ้น หรือลง จนสุด ยังไม่นับว่า ถ้าเราเปิดให้มันหมุนกระจกตอนเราเข้าเกียร์ถอย แล้วเรากลับมาเกียร์ D ตำแหน่งกระจกมันเลื่อนกลับที่เดิมบ้าง ไม่เลื่อนบ้าง ตามอารมณ์มัน
เรื่องที่ 6 คือ แมว หรือ ปลาทอง ตัวรถมันไม่จำค่าอะไรเลย คือ ถ้าเราตั้งค่าบางอย่างไว้ เช่น อัตราการ Regen พลังงานกลับ และเมื่อเราตัดไฟล๊อครถไปสักพัก แล้วมาติดคอมพิวเตอร์ใหม่ ปรากฏว่า มันกลับไปที่ค่าเริ่มต้นเฉยเลย อันที่เราปวดหัวสุด ๆ น่าจะเป็น Driving Mode ที่ทุกวันนี้ ทุกครั้งที่เราขึ้นรถมา เราจะต้องกดเข้าไปใน Energy Consumption Assistant แล้วเปิด One Padal ทุกครั้ง ประกอบกับเรื่องแรกช้าเหลือเกินนนนนนนนนนนนน กว่าจะได้ออกรถก็โน้น เกือบ 5 นาทีได้ อะ ๆ ให้ Credit GWM หน่อย เมื่อปีก่อน เขามี Software Update ออกมาให้มันจำ ELK และ Wireless Charger ได้ละ แล้วทำไมพี่ไม่ทำให้มันจำได้ทั้งหมดฟร๊ะ !!!!!!!!!!! การใช้หน่วยความจำเพิ่มขึ้นอีกสัก 1 Bit มันยากขนาดนั้นเลยเหรอถามจริ๊งงงง
เรื่องที่ 7 คือ ระบบ Telemetry ที่เชื่อมต่อกับ GWM Application บางครั้งมันไปแสดงข้อมูลตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้ บางที Delay กันไปเป็นวันเลย และเวลามีการสั่งการจาก App ไปที่รถ เรียกว่า ถ้ารถมัน Deep Sleep อยู่ ก็คือ กว่าจะสั่งถึงคือ หลักนาทีได้เลย ซึ่งอันนี้เราว่ามันเป็นทั้งเรื่องของการออกแบบ Hardware และ Software เลยคือ Hardware ที่มันต้อง Sleep เพื่อไม่ให้กินไฟจาก 12V จนหมด ซึ่งมันแก้ปัญหาได้ด้วยการที่หากรถเห็น Voltage มันต่ำ ก็เชื่อมต่อ HV Battery แล้วชาร์จกลับเข้าไป และ Software ที่การเขียนโปรแกรมให้มันแสดงเวลาที่มันอัพเดทข้อมูลล่าสุด และ ปรับให้มันอัพเดทให้ถี่ขึ้นหน่อย มันกิน Internet เพิ่มไม่กี่ kB หรอก
เรื่องที่ 8 คือ BMS ที่ได้รับการอัพเดทล่าสุด มันช้ามาก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เทียบกับ Version แรกที่มันมีช่วงที่ดัน Flat Rate ได้นานกว่ามาก ๆ เราเข้าใจว่า เขามาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความร้อนที่เกิดขึ้นจากคลิปของ teslabjorn ที่เอาไปชาร์จแล้วอยู่ ๆ Fault ขึ้นรัว ๆ เพราะความร้อน (เอาจริง ๆ นั่นก็เกิดจากความโง่ของ Software Engineer ที่ไม่ทำ Error Handling อย่างจริงจัง ไม่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญกับผู้ใช้เลย) จนมาถึง BMSv4 แล้วมันก็ยังไม่เร็วเท่ากับตัวแรกอยู่ดี ยังไม่นับว่า ถ้าแบตเรามี SoC เกินสัก 80% ค่า SoE จะเป็น 0.00 kWh ด้วยเมื่อเราดึงข้อมูลจาก OBD มาดู
คือปัญหา Software เอาเข้าจริงมันไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่ ORA Good Cat เท่านั้น รถที่มาจากจีนทั้งหมดล้วนมีปัญหาทางด้าน Software อย่างรุนแรงกันเยอะมาก จนเริ่มสงสัยแล้วนะว่า เดี๋ยวนะ Software Engineer ประเทศนั้นมันเรียนเหมือนสากลโลกมั้ยวะ ทำไมเขียนขยะออกมาเยอะจัง
เรากล้าพูดขนาดนี้ เพราะเราไปนั่งสังเกต การออกแบบ Software ของรถจีนทุก ๆ รุ่นที่ขายในประเทศไทย ณ ตอนนี้ เขาจะเน้นเรื่องนึงที่สำคัญมาก ๆ ที่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากความเป็น Asian คือ Feature ต้องเยอะ ๆ เน้น ๆ จุก ๆ เอาให้อกแตกตายไปเลย ใช้ได้จริงมั้ยอีกเรื่อง ไปดูในรถกันได้ มี 10 Feature ใช้จริงโอเคไม่มีปัญหา ถึง 5 มั้ยก่อน ลองไปเทียบกับฝั่งยุโรป (ไอ้นั่นก็ตลกไป๊ รถหลายล้าน พึ่งมามี ACC หัวจะปวด) หรือ US (เว้น Tesla ไว้ตัวนึง ไอ้นั่นมันเป็นบริษัทรถที่รันโดย Software Engineer) พวก Software เขาไม่ได้มี Feature อะไรมากแต่ทุก ๆ Feature ที่ใส่มา มันใช้ได้จริง
พอ Feature มันมีสิบล้านอย่าง การจัดการประสบการณ์การใช้งาน มันเลยทำได้ยาก และ ออกมา แย่มาก ๆ มันออกมาเหมือน เราไปก๊อป Feature ข้างบ้านมา เห็นข้างบ้านมี อะ ๆ ทำออกมาบ้าง แล้วแปะตรงไหนดีว้าาา ไม่รู้เลยอะ งั้นตรงนี้ละกัน ทำออกมามันดูไม่เป็นระบบ หรือ ลอกมาก็ลอกมาไม่หมด
เราอาจจะมองในมุมของการเป็น Software Engineer มากเกินไปนะ เราเข้าใจแหละว่า การทำงานในองค์กรที่มีนักธุรกิจ มันทำให้ F_ck up ได้มากแค่ไหน และ ความเป็นบริษัทรถที่พึ่งมาให้ความสำคัญกับ Software (ไม่ได้อยากหรอก แต่ Trend มันไปทางนั้น) มันทำให้ Software ที่ออกมาตอนนี้ มันขาดการ Polish ในหลาย ๆ จุดเยอะมาก บางจุดก็ขัดกันเอง ประสบการณ์การใช้งานแมร่งเละไปหมด เหมือนเอาเด็กฝึกงานมาทำส่ง ๆ ว่างั้นแหละ
สิ่งที่ทำให้ ปัญหาทั้งหมดมัน ชิบหาย กว่าเดิมคือ ผู้บริหารทั้งฝั่ง ประเทศไทย และ จีนในเรื่อง การสื่อสาร และ การแก้ปัญหาของทางบริษัทเอง ทั้ง ๆ ที่มีเสียงด่ามาขนาดนี้ แต่.... คุณก็ยังไม่แสดงท่าทีอะไรเลยที่คุณอยากจะแก้ปัญหา บางที เราก็เข้าใจนะว่า ฝั่งประเทศไทยเราทำอะไรไม่ได้ พวก Software Engineer Team เขาอยู่ที่จีน แต่ในเรื่องนี้ การสื่อสาร ก็สำคัญมันทำให้คนใจเย็นได้จริง ๆ นะ ผู้บริหารนอกจากจะบริหารลูกน้องคุณแล้ว ต้องบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย หรือถ้าจะขาย ๆ จนได้กำไรฉ่ำแล้วก็ห่อเสื่อกลับจีนนั่นอีกเรื่อง
2 ปีผ่านไป ตัวรถยังคงทำหน้าที่ของตัวเองได้ยอดเยี่ยมสมราคาเหมือนเดิม การขับขี่ต่าง ๆ เหมือนเดิม พวกวัสดุต่าง ๆ ไม่ได้มีร่องรอยการเสื่อมสภาพให้เราเห็นแต่อย่างใด ทุกอย่างยังเหมือนเดิมเมื่อตอนออกรถมาอยู่ ประกอบกับค่าใช้จ่ายต่อปีเอาเข้าจริง ถ้าไม่รวมหมวดความคันอยากเปลี่ยนยางและโช้ค จริง ๆ 30k กว่า ๆ ถือว่าไม่แย่เลยสำหรับการขับรถสักคันต่อปี รวมค่าเชื้อเพลิงแล้วด้วยซ้ำ ซึ่งถ้าเทียบกับแค่ค่าน้ำมันของ Honda City 1.0 Turbo คันเก่าของเราหากวิ่งในระยะทางที่เท่ากัน ค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมประกันของ ORA Good Cat ไม่รวมค่าความคัน จะถูกกว่าประมาณ 37% ได้ และเรื่องศูนย์บริการ และการเบิกอะไหล่ต่าง ๆ การให้บริการก็ยังอยู่ในระดับที่ประทับใจไม่มีอะไรที่รู้สึกขัด อย่างน้อยเร็วกว่า Honda นนทบุรีที่เคยใช้บริการมาตลอดแน่นอน หากใครกำลังสนใจ อยากได้แมวมาใช้ เราคิดว่า ต้องถอดสมองขับไปเลย ฟิลมาเป็นรถขับ แบบขับไปไหนก็ไปไม่ต้องคิดเยอะ และ ถ้ารับเรื่องปัญหา Software ที่เราเล่ามาได้ และ ทนกับการไม่สื่อสารของผู้บริหารทั้งไทยและจีนเลย เน้นซื้อแล้วจบ
เป็นเวลากว่า 1 เดือนเต็ม ๆ แล้วที่เราได้ใช้งาน Macbook Pro 14-inch M4 Max ในการทำงานของเรา ความเห็นเราจะเปลี่ยนจากตอนที่เรารีวิวไปตอนแรกหรือไม่วันนี้เราจะมาบอกเล่าประสบการณ์ที่เราได้ใน 1 เดือนจาก Laptop เครื่องนี้กัน...
เวลามันผ่านไปเร็วมาก ๆ เรายังจำวันที่ Macbook Pro M1 Max ของเรามาส่งที่บ้านได้อยู่เลยว่า เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ๆ เวลาผ่านไป 3 ปี หมดประกันเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราจะมาเล่ากันว่า สภาพตอนนี้มันเป็นอย่างไร และยังจะสามารถใช้ได้อีกนานหรือไม่...
ไหน ๆ Apple Watch เข้าเลขสองหลักกันแล้ว มีหรือเราจะพลาด เพื่อเป็นการฉลองก็เลยจัดมาเลยเรือนนึง เป็น Apple Watch เรือนที่ 3 ของเราละ ผ่านมา 10 Series จะมีอะไรใหม่ ใส่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมารีวิวเล่าให้อ่านกัน...
จาก Part ที่แล้วเราเล่าไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดประเด็นสำคัญนั่นคือ Performance ของ M4 Max ว่า มันเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน หรือทำให้การทำงานของเราเร็วขึ้นได้อย่างไร วันนี้จะเน้น Benchmark และพยายามมาหาสาเหตุกันว่า ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นกัน...