By Arnon Puitrakul - 30 มิถุนายน 2016
หลังจากตอนที่แล้วก็หายไปนานเลย สารภาพบาปว่า ตอนนั้นงานยุ่งมาก จนลืมไปเลย ตอนนี้ปิดเทอมแล้ว จะมาไล่เขียน Tutorial ที่ค้างไว้ให้จบกันเลย คราวที่แล้ว เราได้เรียนรู้ การดู Histogram กันไป วันนี้ เราจะมาดูอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญของการ Process ภาพนั่นคือ White Balance
White Balance (WB) หรือภาษาไทยเราเรียกว่า สมดุลแสงขาว (อ่านแล้วแปลก ๆ มาก !) แต่ก่อนที่จะไปดูความหมาย เราต้องเข้าใจก่อนว่า แสงที่เรามองเห็นนั้นมี อุณหภูมิ ที่แตกต่างกัน สังเกตไม่ยาก เราลองดูมองออกไปนอกหน้าต่างตอนกลางวัน และเทียบกับ แสงจาก Flash จากโทรศัพท์ของเราดู เราจะเห็นว่า แต่ละแหล่งกำเนิดแสงให้แสงที่มี อุณหภูมิ หรือสีที่แตกต่างกันออกไป
อุณหภูมิของแสง เราจะวัดกันในหน่วย เคลวิน ยิ่งมาก แสงจะออกสีไปทาง ส้ม มากขึ้น กลับกัน ถ้าน้อยจะออกไปทาง ฟ้า จนถึง ดำ
หลัก ๆ แล้วเหตุผลที่เราปรับ WB น่าจะมีอยู่แค่ 2 เหตุผลดังนี้
ถ้าเข้ามาใน Lightroom ให้เรากด D เพื่อเข้า Develop Mode จากนั้นเข้าไปดูที่แถบทางด้านขวา จะเห็นอยู่ Section นึงเขียนว่า WB ในนั้นจะมีค่าให้เราปรับอยู่ 2 ตัวนั่นคือ Temp และ Tint
Temp คือการปรับอุณหภูมิสีในภาพ ดังที่อธิบายไปตอนแรก ส่วน Tint จะเป็นการปรับแก้ สีเขียว และ สีชมพู ในบางกรณี เวลาเราถ่ายออกมา มันจะไม่ติดเหลือง ติดฟ้า แต่มันกลายเป็น ติดเขียว แทน ซึ่งการปรับ Tint จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ภาพด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบระหว่างต้นฉบับและภาพที่ผ่านการปรับ WB แล้ว
การปรับ WB จะช่วยให้ภาพของเราสามารถสร้างอารมณ์ และเรื่องราวของภาพได้มากขึ้น หรืออาจจะทำให้ภาพของเรามีสีที่ถูกต้องคล้ายกับตอนที่เราถ่ายได้ สำหรับตอนนี้ก็ไม่น่าจะมีอะไรมาก มีเพียงเท่านี้แหละ แล้วพบกันใหม่ตอนหน้า สวัสดีนาจา
เมื่อหลายวันก่อน เราไปทำงานแล้วใช้ Terminal แบบปีศาจมาก ๆ จนเพื่อนถามว่า เราทำยังไงถึงสามารถสลับ Terminal Session ไปมาได้แบบบ้าคลั่งขนาดนั้น เบื้องหลังของผมน่ะเหรอกัปตัน ผมใช้ tmux ยังไงละ วันนี้เราจะมาแชร์ให้อ่านกันว่า มันเอามาใช้งานจริงได้อย่างไร เป็น Beginner Guide สำหรับคนที่อยากลองละกัน...
Firewall ถือว่าเป็นเครื่องมือในการป้องกันภัยขั้นพื้นฐานที่ปัจจุบันใคร ๆ ก็ติดตั้งใช้งานกันอยู่แล้ว แต่หากเรากำลังใช้ Ubuntu อยู่ จริง ๆ แล้วเขามี Firewall มาให้เราใช้งานได้เลยนะ มันชื่อว่า UFW วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก และทดลองตั้ง Rule สำหรับการดักจับการเชื่อมต่อที่ไม่เกี่ยวข้องกันดีกว่า...
Obsidian เป็นโปรแกรมสำหรับการจด Note ที่เรียกว่า สารพัดประโยชน์มาก ๆ เราสามารถเอามาทำอะไรได้เยอะมาก ๆ หนึ่งในสิ่งที่เราเอามาทำคือ นำมาใช้เป็นระบบสำหรับการจัดการ Todo List ในแต่ละวันของเรา ทำอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า เราจัดการะบบอย่างไร...
อะ อะจ๊ะเอ๋ตัวเอง เป็นยังไงบ้างละ เมื่อหลายเดือนก่อน เราไปเล่าเรื่องกันขำ ๆ ว่า ๆ จริง ๆ แล้วพวก Loop ที่เราใช้เขียนโปรแกรมกันอยู่ มันไม่มีอยู่จริง สิ่งที่เราใช้งานกันมันพยายาม Abstract บางอย่างออกไป วันนี้เราจะมาถอดการทำงานของ Loop จริง ๆ กันว่า มันทำงานอย่างไรกันแน่ ผ่านภาษา Assembly...