Technology

ใช้ HDD ขนาดใหญ่ หรือ HDD ขนาดเล็กจำนวนมากใน NAS ดี?

By Arnon Puitrakul - 09 กุมภาพันธ์ 2024

ใช้ HDD ขนาดใหญ่ หรือ HDD ขนาดเล็กจำนวนมากใน NAS ดี?

จากเมื่อเดือนก่อน ๆ เราเล่าเรื่องที่เราเปลี่ยน HDD ไปในความจุที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เราคิดย้อนตอนที่เรา Design NAS ที่จะใช้ในบ้านครั้งแรกว่า เราควรจะใช้ HDD ขนาดเท่าไหร่ดี จะใช้ HDD ขนาดความจุเล็ก ๆ จำนวนมาก หรือเอาความจุสูง ๆ ไม่กี่ลูกดีกว่า วันนี้เราเอาประสบการณ์มาเล่ากัน

HDD ขนาดใหญ่ ๆ ต้องคุ้มกว่าสิ

ถ้าเราเอาตามสามัญสำนึกทั่ว ๆ ไปของคนเรา เวลาเราซื้อของ ยิ่งเราซื้อในขนาดที่ใหญ่ขึ้น ราคาต่อหน่วยก็จะถูกลงไปด้วยเช่นกัน เหมือนกับเราซื้อเหมา กับซื้อปลีก ฝั่งของ HDD ก็คล้าย ๆ กันที่ ในการผลิต HDD 1 ลูก มันมี Fixed Cost ของมันอยู่ เช่น Frame, Motor และ Platter ต่าง ๆ ของมัน ตัวที่ความจุสูงหรือต่ำ ยังไง ๆ ต้องมีของพวกนี้เสมอแน่นอน

Cloud vs NAS ตัวไหนคุ้มทุนมากกว่ากัน
เมื่อหลายวันก่อน เราได้เห็นราคาการเช่าพื้นที่การจัดเก็บทำให้เกิดคำถามว่า เอ๊ะ การใช้ NAS มันจะถูกกว่ามั้ยนะ วันนี้เราจะมาลองคำนวณเพื่อหาจุดคุ้มทุนกันว่า ถ้าเราใช้งานพื้นที่สักเท่าไหร่ เราน่าจะไปลงทุนกับ NAS แทนที่จะยอมจ่าย Cloud ไปเรื่อย ๆ

แต่ในความจุสูง ๆ บางตัว เขาอาจจะต้องใส่เทคโนโลยีบางอย่างเข้าไปเพื่อทำให้ ในพื้นที่ขนาดเท่าเดิมคือ ขนาด 3.5" หรือ 2.5" มันใส่ข้อมูลเข้าไปได้มากขึ้น ส่งผลให้ราคาสูงขึ้นเท่านั้นเอง จากบทความก่อนหน้า เราเล่าตัวราคา HDD ในแต่ละขนาดลงไปด้วย เราขอใช้ตัวเลขเดิมเลยละกัน

เพื่อเป็นการพิสูจน์สมมุติฐานนี้ เราจะเอาราคา หารด้วยขนาดความจุของ HDD แต่ละลูกออกมา เราจะเห็นแนวโน้มได้อย่างชัดเจนว่า ยิ่งความจุสูง ราคาต่อความจุมันจะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ 2 TB ราคาไปที่ 1,354 บาท/TB แต่พอเราไปดูที่ขนาด 12 TB แทนราคาต่อความจุลงไปที่ 944.44 บาท/TB เท่านั้น เรียกว่าหายไปเยอะมาก ๆ

ยังไม่นับว่า ถ้าเรามีจำนวน HDD ไม่เยอะ เราไม่จำเป็นต้องซื้อ NAS ที่มีจำนวน Bay เยอะ ๆ อาจจะ 2-4 Bay น่าจะอยู่แล้วสบาย ๆ ไม่ต้องไปซื้อพวก Expansion Bay ให้เสียเงินเพิ่มอีก ยังไม่นับว่า พอ HDD เราน้อย การกินไฟย่อมน้อยลงไปอีก ทำให้ในระยะยาวเราจะเสียค่าไฟกับ NAS น้อยลงไปอีก

ดูแล้วมีแต่ดีกับดีเลย แล้วทำไมยังมีบางคนถึงใช้ HDD ขนาดเล็ก ๆ อยู่กันละ

RAID ไม่ได้ทำงานแบบนั้นอะสิ

เวลาเราเอา HDD มาทำงานด้วยกัน เราจะทำงานผ่านระบบ RAID แล้วแต่ว่า เราจะต้องใช้กี่ลูกขนาดเท่าไหร่ เรายกตัวอย่างเคสนึงที่ทำให้ ที่เราบอกว่า การซื้อ HDD ขนาดใหญ่ ๆ มันคุ้มเป็นเท็จไปได้เลย

Synology RAID Calculator
Synology RAID Calculator https://www.synology.com/th-th/support/RAID_calculator

ตัวอย่างเช่น เราต้องการพื้นที่การใช้งานทั้งหมด 12 TB ถ้าบอกว่า เราจะเอา HDD ขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับเคสนี้คือ 12 TB และเราเอามาทำ RAID 1 ทำให้สุดท้าย เราจะต้องใช้ทั้งหมด 2 ลูก ราคาที่เราหามาลูกละ 11,335 บาท 2 ลูกจะกลายเป็น 22,670 บาท

Synology RAID Calculator

กลับกัน ถ้าเราใช้ HDD ที่เล็กลงมาหน่อยอย่างความจุ 6 TB เราเอามาทำ RAID5 หรือ SHR เราจะต้องใช้ทั้งหมด 3 ลูก ราคาลูกละ 6,775 บาท ทำให้สุทธิกลายเป็น 20,325 บาท ถูกกว่า การใช้ 12 TB 2 ลูกไป 2 พันบาทเลย

Synology RAID Calculator

พีคเข้าไปอีก เราเลือก HDD 4 TB มาเสียบแทน เอามาทำ RAID5 หรือ SHR เราจะต้องใช้ HDD 4 ลูก ราคาลูกละ 4,590 บาท ทำให้สุทธิเป็น 18,360 บาท ยิ่งถูกลงไปอีก

NAS ไม่ได้มีแค่ค่า HDD แต่มีค่าตัวเครื่องเองด้วย

เพื่อให้มันสะท้อนความเป็นจริงได้มากขึ้นไปอีก เราอยากจะใส่ราคาของ NAS เข้าไปบวกด้วย เรามาดูกันทีละเคสนะ

เคสที่ 1 ใช้ 12TB x 2 เราสามารถหา NAS ที่มี 2 Bay ได้อย่าง Synology DS723+ ราคา 17,900 บาท เมื่อรวมกับค่า HDD จะอยู่ที่ 40,570 บาท

เคสที่ 2 เราใช้ 6TB x 3 แต่ Synology ไม่มี NAS ขนาด 3 Bay เลยขอใช้เป็น 4 Bay ไปเลย ทำให้จะเหมือนกับเคสที่ 3 ที่เราใช้ 4TB x 4 เราขอใช้เครื่องเดียวกันเลยคือ Synology DS923+ ราคา 22,350 บาท ทำให้สุดท้าย เคสที่ 2 และ 3 ราคาจะอยู่ที่ 42,675 บาท และ 40,710 บาทตามลำดับ (จริง ๆ มี 4 Bays อีกรุ่นที่ราคาถูกกว่าคือ DS423+ แต่นั่นคือ เราไม่สามารถต่อ Expansion Bay ได้ กับ HDD ขนาดเล็ก คิดว่าน่าจะไม่คุ้ม)

อ้าว กลายเป็นว่า เมื่อรวมค่าเครื่องเข้าไปด้วย กลายเป็นว่า การใช้ HDD ขนาดใหญ่ ๆ ราคาถูกกว่าซะงั้นเลย เพราะยิ่ง NAS มี Bay มากขึ้นเท่าไหร่ ราคามักจะแพงขึ้นมากไปเรื่อย ๆ ถ้าเราอยากให้ละเอียดขึ้น อาจจะต้อง Factor เรื่อง ราคา Sale ด้วย เนื่องจาก HDD ความจุต่ำ ๆ โอกาสที่มันจะลดราคาจะมีเยอะมากกว่า HDD ที่ความจุราคาสูง การที่เราใช้ความจุต่ำ ๆ แล้วเน้นสอยตอนที่มันลดราคาอยู่ ไป ๆ มา ๆ อาจจะทำให้เราได้ราคาถูกกว่าการซื้อความจุใหญ่ ๆ เลยก็เป็นได้

เช่นเราเอง ระบบเราเดินจาก 4 TB มาทั้งหมด เราค่อย ๆ สอย ตอนลดราคามาเรื่อย ๆ เช่นเมื่อก่อน Advice ลดราคา เราก็กด 1-2 ลูก ค่อย ๆ เติมไปเรื่อย ๆ พอมาลองบวก ๆ เงินที่จ่ายลงไปจริง ๆ กลายเป็นว่า ถูกกว่า 12 TB ที่เรายกตัวอย่างไปซะอีก

HDD น้อยไปเพิ่มความเสี่ยงได้

อย่างที่เราคุยกันว่า HDD ความจุสูง ๆ จำนวนน้อย ๆ ได้ราคาต่อขนาดถูกกว่า แต่ การใส่ HDD น้อย ๆ นั้นเพิ่มความเสี่ยง เช่น เราใส่ไป 2 ลูก ทำ RAID1 นั่นแปลว่า เราจะสามารถเสีย HDD พร้อมกันได้เพียง 1 ลูกเท่านั้น กลับกัน หากเราใช้ HDD ขนาดเล็กหลาย ๆ ลูก เราสามารถทำ RAID6 หรือ SHR-2 ได้ ทำให้เราทนทานมากขึ้น รองรับการเสียพร้อม ๆ กันได้ 2 ลูก ดังนั้น การที่เราใช้ HDD จำนวนน้อยเกินไป ทำให้ ระบบเรามีความเสี่ยงสูงขึ้น

แต่หากเราใช้ HDD จำนวนมาก ๆ เกินไป ก็ทำให้เรามี Point of Failure มากขึ้น มีเยอะ จุดเสียเยอะตามไป มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาได้มากขึ้น นั่นส่งผลต่อเรื่อง การ Maintainance ที่มากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้ ความจุและจำนวนเป็นปัจจัยสำคัญมาก ๆ ในการเลือก

เสียงและการใช้พลังงาน

อีกปัจจัยในการเลือกที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เสียง และ การใช้พลังงาน โดยเฉพาะ HDD ที่ต้องหมุนตลอดเวลา ยิ่งเราเอามาใส่กันในเครื่องเดียวกันจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เสียง มันจะเยอะขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าใครมี HDD ลองเสียบแล้วเอาหูไปใกล้ ๆ เราจะได้ยินเสียงครึก ๆ ที่หัวอ่านมันหมุนไปตามแผ่น และเสียงมอเตอร์หมุนจาน แล้วคิดภาพว่า ถ้ามันอยู่ด้วยกัน ทำงานพร้อม ๆ กันสัก 4-5 ลูก เสียงมันจะเยอะขนาดไหน

โดยเฉพาะหากเราวางเครื่องอยู่ในบ้านด้วย มันจะมีเสียงรบกวนออกมาเยอะพอสมควรเลยละ เช่นเราเอา เราวางไว้ในห้องดูหนัง นั่งดูไปมีเสียงครืด ๆๆ มาเรื่อย ๆ ยิ่ง Stream จาก Media Server ตัวเครื่องอ่านไฟล์จาก HDD มาเรื่อย ๆ เสียงยิ่งเยอะกว่ามัน Idle อยู่ปกติ เท่าที่เห็นบางเคส ถึงกับเอาไปใส่กันในตู้เสื้อผ้า หรือห้องบางอย่างเพื่อกลบเสียงกันเลยทีเดียว ไหนจะเสียงพัดลมอีก

นอกจากนั้น การที่เรามี HDD มากขึ้น นั่นหมายถึงการใช้พลังงานที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน หากดูจากกำลังไฟฟ้าที่ใช้ เรายกตัวอย่าง เช่น WD Red Pro ขนาดเล็กสุด 12TB หากกำลังอ่านเขียนจากสเปกกินไฟ 6W แต่หากเป็นขนาดใหญ่สุด 22TB กินไฟ 6.9W เพิ่มขึ้นหลักทศนิยม เท่านั้น แต่แน่นอนว่า Server เราเปิดแบบ 24/7 ในระยะยาวมันกินไฟคิดเป็นมูลค่าได้อยู่เหมือนกัน

สรุป

โดยสรุปจากการทดลองคำนวณ เราไม่สามารถบอกได้เป็น Magic Number ว่าเราควรจะใช้ HDD ความจุสูง ๆ หรือเน้นจำนวนเยอะ ๆ แทน เพราะในแต่ละเคสมันแตกต่างกัน แต่ Factor ที่เราได้เล่าไปคือ ราคาต่อความจุ, ความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูล, เสียงรบกวน และ การใช้พลังงานเป็นปัจจัยที่สำคัญ อยากให้ตอนคิด คิดถึงปัจจัยพวกนี้จะดีมาก นอกจากนั้นยังมีปัจจัยพวกเรื่องของ การ Upgrade ไปตามทางเรื่อย ๆ เช่น หากเราใช้ความจุสูง เวลาเราจะเพิ่มทีนึงมันจะใช้เงินเยอะกว่าความจุต่ำ ๆ อาจจะต้องลองคิดถึงเรื่องพวกนี้ด้วย สุดท้ายจึงแนะนำให้ก่อนเราจะซื้อ NAS ลองคำนวณ วางแผนดูก่อน เพื่อให้เราได้ระบบที่เหมาะกับเรามากที่สุด ในราคาที่ถูกที่สุด

Read Next...

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...