Tutorial

Java Class - Random Class คลาสมหาสนุก

By Arnon Puitrakul - 11 มีนาคม 2015

Java Class - Random Class คลาสมหาสนุก

กลับมาอีกแล้ว อันนี้ก็ถามกันมาเยอะ นั่นคือเรื่องของ Random Class มันใช้ยังไง ทำอะไร
เรื่องที่ว่ามันเอามาทำอะไรนั้นก็ไปอ่านชื่อ Class ซะว่ามันชื่ออะไร นั่นแหละคือสิ่งที่มันทำ
ใช้ยังไง? ก่อนอื่นต้อง Import มันเข้ามาก่อน

import java.util.Random;

ทีนี้เราจะมาลอง Random Int กันแต่ก่อนอื่นเรามาสร้าง Object จากClass Random กันก่อน

Random rand = new Random ();

ในการที่เราจะ Random ค่าตัวเลขมาสักค่านึงเราจะต้องเรียก Method ชื่อ nextInt() ใน Argument จะเป็น Bound (ขอบเขต) ของมันซึ่งจะตั้งแต่ 0 ถึงที่เราป้อนลงไป แต่ถ้าไม่ใส่มันจะเอาเลขอะไรมาให้เราก็ได้

for (int i = 1;i<=20;i++)
{
   System.out.println(rand.nextInt(20)+1);
}

จากโค๊ตด้านบนผมก็วนลูป 20 รอบให้มัน Generate เลขออกมา แต่สงสัยใช่มั้ยว่าทำไมต้องบวก 1 ด้วย?
เจ้านี่เป็นทริกอย่างนึง คือใน Argument เราไม่สามารถกำหนดเลขเริ่มต้นได้ว่าให้มันเริ่มที่เลขอะไร ผมเลยบวกมันเข้าไปเลยให้มันเริ่มด้วยเลขที่เราต้องการนั่นเอง เพราะฉะนั้นมันจะ Random เลขตั้งแต่ 1-21 นั่นเอง
แต่จริงๆแล้วเรา Random อย่างอื่นได้อีกโดยการเรียก Method next...() เช่น nextBoolean(), nextByte(), NextDouble(), NextLong() เป็นต้น
เรามาลองใช้มันทำอะไรสนุกกันดีกว่า เช่น จั่วไพ่เป็นต้น //เรื่องการพนันนี่มาไวเลย
ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ว่าไพ่นั้นมี 52 ใบ เกิดจาก ตัวเลข A,2,3,4,5,6,7,8,9,J,Q,K และหน้าการ์ด นั้นคือ Clubs, Diamonds, Hearts และ Spades
เพราะฉะนั้นเราจะต้อง Random 2 อย่างนั่นคือเลขการ์ดกับหน้าการ์ด แต่ผมจะให้ผู้ใช้สามารถป้อนจำนวนไพ่ได้ด้วย

import java.util.Scanner;
import java.util.Random;

public class PlayCard
{
    public static void main (String [] args)
    {
        Random rand = new Random();

        Scanner sc = new Scanner (System.in);
        System.out.print("Input Number of Card : ");
        int numOfCard = sc.nextInt();

        for(int i=1;i<= numOfCard;i++)
        {
            System.out.println(GetCardFace(rand.nextInt(3)) + " " + getCardNumber(rand.nextInt(12)+1));
        }

        sc.close();
    }

    public static String GetCardFace (int faceNumber)
    {
        if (faceNumber == 0) return "Clubs";
        else if (faceNumber == 1) return "Diamonds";
        else if (faceNumber == 2) return "Hearts";
        else return "Spades";
    }

    public static String getCardNumber (int cardNumber)
    {
        if (cardNumber == 1) return "A";
        else if (cardNumber == 10) return "J";
        else if (cardNumber == 11) return "Q";
        else if (cardNumber == 12) return "K";
        else return Integer.toString(cardNumber);
    }
}

มาดูที่ main กันก่อน ก่อนอื่นผมก็ให้ User กรอกจำนวนไพ่ที่ต้องการจั่วเข้ามา จากนั้นก็เข้า For Loop ตามจำนวนไพ่ที่กรอกเข้าไป แล้วในลูปก็ให้เราปริ้นไพ่ที่จั่วได้ออกมา โดยสร้าง Method ชื่อ getCardFace() ขึ้นมาเพื่อแปลงจากเลขที่สุ่มให้กลายเป็นชื่อหน้าของไพ่ และ getCardNumber() เพื่อแปลหน้าไพ่ให้เรา แล้วถามว่าทำไมตรง Random อันหลังต้องบวก 1 ด้วยล่ะ
นั่นเพราะเพื่อให้เราสะดวกมากขึ้นครับ เพราะไพ่มันไม่มีแต้ม 0 มันมีแค่ A,1,2,3,4,5,6,7,8,9,J,Q,K เพราะฉะนั้นตัวที่เราจะต้องเปลี่ยนนั่นก็มีแค่A,J,Q,K มันทำให้เราจัดการกับ Index ที่สุ่มมาได้ง่ายขึ้นนั่นเอง!

ปล ตัวแดงๆ ตัวหนา ใหญ่ๆ : ที่เขียน Random ไพ่นี้ไป มันยังไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นะครับ ลองเขียนให้ดูคร่าวๆ (ยังไม่ได้จัดการกับการ์ดซ้ำ)

**Sources Code : **https://drive.google.com/folderview?id=0BwrPA9Miv4o2TDBESTgxcVkyR00&usp=sharing

Read Next...

นายเองก็ดูเทพได้นะ ด้วย tmux น่ะ

นายเองก็ดูเทพได้นะ ด้วย tmux น่ะ

เมื่อหลายวันก่อน เราไปทำงานแล้วใช้ Terminal แบบปีศาจมาก ๆ จนเพื่อนถามว่า เราทำยังไงถึงสามารถสลับ Terminal Session ไปมาได้แบบบ้าคลั่งขนาดนั้น เบื้องหลังของผมน่ะเหรอกัปตัน ผมใช้ tmux ยังไงละ วันนี้เราจะมาแชร์ให้อ่านกันว่า มันเอามาใช้งานจริงได้อย่างไร เป็น Beginner Guide สำหรับคนที่อยากลองละกัน...

ปกป้อง Ubuntu ผ่าน Firewall แบบง่าย ๆ ด้วย UFW

ปกป้อง Ubuntu ผ่าน Firewall แบบง่าย ๆ ด้วย UFW

Firewall ถือว่าเป็นเครื่องมือในการป้องกันภัยขั้นพื้นฐานที่ปัจจุบันใคร ๆ ก็ติดตั้งใช้งานกันอยู่แล้ว แต่หากเรากำลังใช้ Ubuntu อยู่ จริง ๆ แล้วเขามี Firewall มาให้เราใช้งานได้เลยนะ มันชื่อว่า UFW วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก และทดลองตั้ง Rule สำหรับการดักจับการเชื่อมต่อที่ไม่เกี่ยวข้องกันดีกว่า...

จัดการเรื่องแต่ละมื้อ แต่ละเดย์ด้วย Obsidian

จัดการเรื่องแต่ละมื้อ แต่ละเดย์ด้วย Obsidian

Obsidian เป็นโปรแกรมสำหรับการจด Note ที่เรียกว่า สารพัดประโยชน์มาก ๆ เราสามารถเอามาทำอะไรได้เยอะมาก ๆ หนึ่งในสิ่งที่เราเอามาทำคือ นำมาใช้เป็นระบบสำหรับการจัดการ Todo List ในแต่ละวันของเรา ทำอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า เราจัดการะบบอย่างไร...

Loop แท้ไม่มีอยู่จริง มีแต่ความจริงซึ่งคนโง่ยอมรับไม่ได้

Loop แท้ไม่มีอยู่จริง มีแต่ความจริงซึ่งคนโง่ยอมรับไม่ได้

อะ อะจ๊ะเอ๋ตัวเอง เป็นยังไงบ้างละ เมื่อหลายเดือนก่อน เราไปเล่าเรื่องกันขำ ๆ ว่า ๆ จริง ๆ แล้วพวก Loop ที่เราใช้เขียนโปรแกรมกันอยู่ มันไม่มีอยู่จริง สิ่งที่เราใช้งานกันมันพยายาม Abstract บางอย่างออกไป วันนี้เราจะมาถอดการทำงานของ Loop จริง ๆ กันว่า มันทำงานอย่างไรกันแน่ ผ่านภาษา Assembly...