Tutorial

Java 101 - Input & Output (EP.3)

By Arnon Puitrakul - 23 ธันวาคม 2014

Java 101 - Input & Output (EP.3)

จากเรื่องที่แล้วเราได้เรียนเรื่องของ Class กับ Object ไปแล้วว่ามันต่างกันยังไง ใช้งานยังไง
วันนี้เรื่องสั้นๆครับ นั่นคือเรื่องของ Input & Output นั่นเอง
ก่อนอื่น เราพูดถึงเรื่องของการเอาข้อมูลออกโดยใช้คำสั่งตามข้างล่างนี้เลย

System.out.println(“Write Sth”);

คล้ายๆ printf บนภาษา C เลย เห็นมั้ย ไม่ยากอย่างที่คิด
แต่จริงๆแล้วคำสั่ง **Print **นั้นไม่ได้มีแค่ println แต่มันมีอีกเยอะเลย เช่น **printf **(ตัว printf ผมมีตัวอย่างให้ใน Source Code แล้ว) ส่วนตัวที่เหลือให้ลองไปดูใน Doc ของตัว Java
ถัดมาเป็นเรื่องของการเอาข้อมูลเข้าหรือ **Input **อันนี้จะซับซ้อนกว่า **Input **นิดหน่อย เราจะต้องสร้าง Object **นิดหน่อย **ก่อนอื่นเราจะต้อง Import Library เข้ามาก่อน โดยเพิ่ม

Import java.util.Scanner;

ไว้บนหัวโปรแกรมก่อน หลังจากนั้น เราต้องมาสร้าง Object จาก Class ชื่อ Scanner กัน

Scanner sc = new Scanner (System.in);

ถ้าจำไม่ได้ให้กลับไปอ่าน EP.2 แล้วจะเข้าใจ โค๊ตด้านบนนี้ เราสร้าง Object ชื่อ sc จาก Class Scanner ขึ้นมา
หลังจากเราได้ Object ชื่อ sc เข้ามาแล้ว ทีนี้เราจะมาใช้ Object ตัวนี้กัน

String name = sc.nextLine();

ด้านคือโค๊ตตัวอย่าง มาอธิบายโค๊ตกัน
เราสร้างตัวแปรชื่อ name ที่เป็น String ขึ้นมา แล้วให้ค่ามันคือ ให้ Object sc ไปรับค่าจาก Keyboard มาทั้งบรรทัด (อารมณ์เหมือนกับ gets() ในภาษา C เป๊ะเลย)

แล้วถามต่อว่า เราจะรับค่าตัวเลขแค่ตัวเดียวทำยังไง?

ไม่ยากเลย แค่เปลี่ยนจาก nextLine เป็น nextInt เท่านั้นเองใช้ได้เหมือนกัน
สุดท้าย หลังจากใช้ Scanner เสร็จแล้วอย่าลืมปิดมันด้วยโดยเรียก Method close จากตัว Object Scanner ที่เราสร้าง ในที่นี้ผมใช้ชื่อ Object ว่า sc เพราะฉะนั้นโค๊ตควรจะเป็นอย่างด้านล่าง

sc.close();

Source Code :https://drive.google.com/folderview?id=0BwrPA9Miv4o2WmRERjg2ZGRrREk&usp=sharing

Read Next...

สร้าง Book Tracking Library ด้วย Obsidian

สร้าง Book Tracking Library ด้วย Obsidian

เราเป็นคนที่อ่านกับซื้อหนังสือเยอะมาก ปัญหานึงที่ประสบมาหลายรอบและน่าหงุดหงิดมาก ๆ คือ ซื้อหนังสือซ้ำเจ้าค่ะ ทำให้เราจะต้องมีระบบง่าย ๆ สักตัวในการจัดการ วันนี้เลยจะมาเล่าวิธีการที่เราใช้ Obsidian ในการจัดการหนังสือที่เรามีกัน...

Garbage Collector บน Python ทำงานอย่างไร

Garbage Collector บน Python ทำงานอย่างไร

หากเราเรียนลงลึกไปในภาษาใหม่ ๆ อย่าง Python และ Java โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการ Memory ว่าเขาใช้ Garbage Collection นะ ว่าแต่มันทำงานยังไง วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า จริง ๆ แล้วมันทำงานอย่างไร และมันมีเคสใดที่อาจจะหลุดจนเราต้องเข้ามาจัดการเองบ้าง...

ติดตั้ง Zigbee Dongle บน Synology NAS กับ Home Assistant

ติดตั้ง Zigbee Dongle บน Synology NAS กับ Home Assistant

ก่อนหน้านี้เราเปลี่ยนมาใช้ Zigbee Dongle กับ Home Assistant พบว่าเสถียรขึ้นเยอะมาก อุปกรณ์แทบไม่หลุดออกจากระบบเลย แต่การติดตั้งมันเข้ากับ Synology DSM นั้นมีรายละเอียดมากกว่าอันอื่นนิดหน่อย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการเพื่อใครเอาไปทำกัน...

โหลด CSV วิธีไหนเร็วที่สุด ?

โหลด CSV วิธีไหนเร็วที่สุด ?

เมื่อหลายวันก่อนมีพี่ที่รู้จักกันมาถามว่า เราจะโหลด CSV ยังไงให้เร็วที่สุด เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายนะ แต่พอมานั่งคิด ๆ ต่อ เห้ย มันมีอะไรสนุก ๆ ในนั้นเยอะเลยนี่หว่า วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันมีวิธีการอย่างไรบ้าง และวิธีไหนเร็วที่สุด เหมาะกับงานแบบไหน...