Technology

มิเตอร์ TOU คืออะไร ? เปลี่ยนแล้วจะคุ้มค่าจริงมั้ย ?

By Arnon Puitrakul - 26 สิงหาคม 2022

มิเตอร์ TOU คืออะไร ? เปลี่ยนแล้วจะคุ้มค่าจริงมั้ย ?

เมื่อก่อนเราก็เข้าใจว่า การคิดค่าไฟในประเทศไทย มันจะมีแค่แบบเดียวคือการใช้อัตราก้าวหน้าแบบปกติเลย แต่หลังจากที่เราติด Solar Cell ไป คนที่ติดให้เขาแนะนำให้เราเปลี่ยนไปเป็นมิเตอร์แบบ TOU ตอนนั้นเราก็คิดนะว่า เปลี่ยนแล้วมันจะคุ้มกว่ามั้ย วันนี้เราลองมาวิเคราะห์ให้ดูกันจัง ๆ เลยดีกว่า

มิเตอร์ TOU คืออะไร ?

มิเตอร์ TOU หรือ Time of Use เป็นการคิดค่าไฟแบบหนึ่งที่เกิดปัญหาจากว่า ช่วงเวลากลางวัน วันธรรมดาเลย พวกโรงงาน บริษัท ห้างร้าน เขาก็ทำงานกันหมด ส่งผลให้โรงไฟฟ้าในตอนนั้นมันก็ต้องทำงานหนักขึ้นมา แต่กลับกันกลางคืน คนก็นอนกันหมด โรงงานและธุรกิจส่วนใหญ่ก็ปิดหมด ทำให้ใช้ไฟน้อยลง แต่โรงไฟฟ้าก็ยังต้องทำงานอยู่ ก็อาจจะต้องใช้วิธีการลดกำลังการผลิตเอา ซึ่งแน่นอนว่า มันก็อาจจะไม่คุ้มเท่าไหร่

ซึ่งถ้าเราไปดูในการใช้ไฟของคนทั่ว ๆ ไปส่วนใหญ่ กลางวัน เราก็จะออกไปทำงาน ตามเวลาที่ภาคธุรกิจ และ อุตสาหกรรม ใช้ไฟจำนวนมาก กลับกันกลับบ้านมา เราก็จะมาใช้ไฟที่บ้านแทน เราจะเห็นว่า มันจะสลับกันอยู่เสมอ ๆ เลยเกิดมิเตอร์แบบ TOU ขึ้นมา

TOU Rate

โดยที่การคิดแบบ TOU เราจะคิดค่าไฟต่อหน่วยเป็นช่วงเวลา โดยในไทย เราจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงได้แก่ On-Peak และ Off-Peak ซึ่งจากที่เราดูล่าสุด เขาจะคิดอยู่ที่หน่วยละ 5.1135 บาท และ 2.6037 สำหรับ On-Peak และ Off-Peak ตามลำดับ กับ On-Peak จะอยู่ในช่วงเวลา 9.00 - 22.00 น. ของวันธรรมดา และ Off-Peak อยู่ที่ 22.00 - 09.00 น. ของวันธรรมดา รวมไปถึง วันเสาร์ และ อาทิตย์ กับ วันหยุดที่รัฐกำหนดด้วย ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า การใช้ไฟในช่วง Off-Peak เราจะใช้เงินน้อยกว่ามาก ๆ เพราะเป็นช่วงที่การไฟฟ้าพยายามอยากให้คนมาใช้นั่นเอง

TOU มันจะเหมาะกับใคร ?

ถ้าดูจากลักษณะการคิดค่าไฟแล้วการคิดค่าไฟแบบ TOU น่าจะเหมาะกับคนที่มีพฤติกรรมการใช้ไฟในช่วงเวลากลางคืนซะเยอะ หรือเอาจริง ๆ เลย เป็นกลุ่มคนที่ทำงานแล้วกลับบ้าน กลางวัน ไม่ค่อยมีคนได้อยู่บ้านสักเท่าไหร่ น่าจะเหมาะกับ การใช้ TOU แล้วละ

อย่างที่เราบอกว่าเราได้รู้จัก TOU หลังจากที่ติด Solar Cell นั่นก็เพราะว่า ช่วงเวลา On-Peak เราก็จะได้ไฟจาก Solar Cell หมดอยู่แล้ว แต่เอาจริง ๆ คือ ในช่วงเวลา 18.00 - 22.00 ที่ยังคงเป็นช่วง On-Peak เราจะไม่ได้ไฟจาก Solar Cell แล้ว ทำให้ถึงแม้ว่า เราจะติด Solar Cell แล้ว เอาจริง ๆ คือ มันก็ยังทำให้ช่วง On-Peak เราไม่หายไปทั้งหมดอยู่ดี แต่ก็อาจจะพอช่วยลดได้แหละ อาจจะมีการ Optimise ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ไฟหน่อยก็น่าจะลดค่าใช้จ่ายได้เยอะขึ้นอีก

TOU ประหยัดกว่าจริงเหรอ ?

อ่านมาขนาดนี้แล้ว เราว่าหลาย ๆ คนที่ไปทำงานในช่วงกลางวัน ไม่ได้อยู่บ้าน อยากจะวิ่งไปขอเปลี่ยนมิเตอร์ที่การไฟฟ้าแล้วละ คำถามคือ มันคุ้มกว่าจริง ๆ เหรอ ถ้ามันคุ้มกว่า มันคุ้มกว่ากันเท่าไหร่กันละ เราลองคำนวณแยกออกมาเป็นทั้งหมด 8 เคสด้วยกัน โดยเราจะตั้งตัวแปรต้นเป็น หน่วยไฟที่เราใช้ เราจะ Vary ตั้งแต่ 100 จนไปถึงหน่วยไฟที่เราคิดว่าบ้านน่าจะใช้กันคือ 1,500 หน่วยต่อเดือน กับตัวแปรตามเป็น ค่าไฟที่เราจะต้องเสียในแต่ละเคส อันนี้เราจะแยกออกเป็น 8 เคสย่อย ๆ ด้วยกัน ส่วนตัวแปรควบคุม เราจะคิดโดยอ้างอิงจากโปรแกรมประมาณค่าไฟของ PEA ทั้งหมด โดยที่เราจะเลือกเป็นเดือนสิงหาคมปี 2022 ทั้งหมด ซึ่งค่า Ft จะอยู่ที่ 24.77 สตางค์ อนาคตอาจจะมีการปรับขึ้นหรือลงได้อีก

ส่วนของตัวแปรตามทั้ง 8 Case เราจะเลือกใช้การใช้มิเตอร์ปกติเป็น Baseline ในการคำนวณ เพราะเป็นมิเตอร์ที่เราใช้งานกันเป็นปกติอยู่แล้ว ส่วนของ TOU เราจะแยกออกมาเป็น 8 เคสย่อย ๆ โดยจะแบ่งออกเป็น อัตราส่วนการใช้งานช่วง On-Peak และ Off-Peak ตามลำดับตั้งแต่ 80-20, 70,30, 60-40, 50-50, 40-60, 30,70, 20-80 และ 0-100 ตามลำดับ

โดยเคสที่เราคิดว่า แตกแน่นอน โง่สุด ๆ คือ 80-20, 70-30 และ 60-40 อันนี้ยังไงก็แตกแน่นอน ในเคส 50-50 น่าจะเป็นเคสที่มีการใช้ไฟทั้งวัน อาจจะบ้านที่มีคนอยู่บ้าน แล้วเปิดแอร์มันทั้งวันทั้งคืนเลย เคสอย่าง 40-60 น่าจะเป็นบ้านที่มีการ Optimise วิธีการใช้ไฟหน่อย ให้มันอยู่ในช่วง Off-Peak ทำให้เป็นเคสที่เรามองว่า อันนี้ไม่ต้องติด Solar Cell ก็ไหว ส่วน 30-70 และ 20-80 น่าจะเป็นบ้านที่อาจจะติด Solar Cell มาแล้ว ทำให้ช่วง On-Peak ก็จะไปโดนแค่ช่วง 18.00 - 22.00 เท่านั้น ถ้า Optimise ดีหน่อย ๆ ก็น่าจะน้อยระดับ 20-80 เลย

ปล. เราขอเอาเคส 0-100 ออกจากการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนนี้ก่อนนะเป็นเคสที่เราเอามาเพื่อชาร์จรถ EV

จากตารางผลการทดลอง เราจะเห็นได้ว่า ถ้าเราใช้ไฟน้อยสุด ๆ เลยเพียงแค่ 100 หน่วยเท่านั้น การใช้ TOU ที่เหมือนจะทำให้ถูกลงกลับทำให้แพงขึ้นเคสที่แย่ที่สุดคือ ห่างกัน 2.05 เท่า เมื่อเราเทียบระหว่างมิเตอร์ปกติ และ TOU แบบ 80-20

อ่านไปแล้วก็เอ๊ะว่า ไหนบอกว่า TOU ถูกกว่าไง งั้นเราลองมาดูกันว่า ต้องใช้ไฟเท่าไหร่ถึงการติด TOU จะถูกกว่า ถ้าเราไล่ดูลงไปเรื่อย ๆ TOU จะถูกลงเร็วที่สุด เมื่อเราใช้ไฟเป็นอัตราส่วน On-Peak ต่อ Off-Peak ที่ 80 ต่อ 20 บน 400 หน่วยไฟ โดยจะถูกกว่า 1.57% ด้วยกัน ขึ้นไปอีกหน่อยที่เป็นจริงได้ง่ายกว่า เราว่าน่าจะเป็นอัตราส่วน 30 ต่อ 70 จะถูกกว่าที่ 500 หน่วย จะถูกกว่า 1.54% เมื่อเทียบกับการใช้งานมิเตอร์ปกติ แล้วค่อย ๆ ไล่ลงไปเรื่อย ๆ

มีแค่ 2 เคสที่ไม่ว่าเราจะใช้ไฟจนถึง 1,500 หน่วยแล้วก็ยังแพงกว่ามิเตอร์ปกติคือ การใช้ TOU ในอัตราส่วน On-Peak ที่มากกว่า Off-Peak ดังนั้นจากข้อมูลด้านบนนี้เราจึงสามารถสรุปได้ 2 ข้อด้วยกัน

ข้อแรก ถ้าเราใช้ไฟกลางวันมากกว่ากลางคืน การใช้ TOU ไม่ตอบโจทย์เลย เพราะทำให้เราจำเป็นจะต้องเสียเงินในการซื้อไฟเพิ่มมากขึ้น ตรงข้ามกับคำว่าประหยัดไปไกลเลย

ข้อสอง สำหรับคนที่ใช้กลางคืนน้อยกว่า ก็ไม่ใช่ทุกเคสที่จะติด TOU แล้วจะประหยัดกว่า ขึ้นกับลักษณะการใช้ไฟของเราล้วน ๆ ยิ่งเราใช้กลางคืนเยอะเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งคุ้มเร็วขึ้นเท่านั้น โดยที่ เร็วที่สุดจะเป็นการใช้อัตราส่วน On-Peak ต่อ Off-Peak ที่ 20 ต่อ 80 บน 400 หน่วย นี่คือจุดที่คุ้มเร็วที่สุดแล้ว ถ้าเราใช้งาน On-Peak ในอัตราส่วนที่สูงกว่านี้ก็จะต้องใช้ไฟเยอะขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ยอด TOU ถูกกว่าแบบปกตินั่นเอง ทำให้ถ้าเราจะเปลี่ยน TOU จริง ๆ ก็คือ เราจะต้องใช้ไฟเยอะมาก ๆ ถึงจะคุ้มค่า

ขอ TOU ลูกที่ 2 คุ้มกว่าจริงมั้ย ?

สำหรับคนที่ใช้รถ EV หลาย ๆ คนน่าจะได้ยินกันมาเยอะว่าอย่างง่ายที่สุดน่าจะขอมิเตอร์ TOU สำหรับการชาร์จรถ EV โดยเฉพาะ ซึ่ง ณ วันที่เขียน เราสามารถทำได้แค่ฝั่งของ PEA แค่นั้น ถ้าใครที่อยู่ในพื้นที่ของ MEA หมดสิทธิ์นะ ถามว่าแล้วเมื่อไหร่มันจะคุ้มกันละ

สาเหตุที่เราเอาเคส อัตราส่วน On-Peak ต่อ Off-Peak ที่ 0 ต่อ 100 เพราะก็คือ เราจะชาร์จแค่ช่วง Off-Peak เท่านั้น คือเรากลับบ้านมา เราก็เสียบ กับตั้งเวลาไว้ 4 ทุ่มเราก็เริ่มชาร์จผ่าน Wall-Charge ยังไง ๆ มันก็จะเต็มก่อน 9 โมงเช้าแน่นอน

ทีนี้ ถ้าเราดูจากตารางการทดลอง เราเทียบกับการใช้มิเตอร์ปกติ จุดที่คุ้มเร็วที่สุดคือ 200 หน่วย เทียบกัน TOU ถูกกว่า มิเตอร์แบบปกติถึง 12.26% เลยนะ ซึ่งเอาจริง ๆ โดยเฉลี่ยแล้ว รถเราขับกันจริง ๆ ก็น่าจะประมาณ 200 หน่วยอาจจะถึงได้นะ เช่น บ้านเราเองที่มี ORA Good Cat 2 คันด้วยกัน เดือนนึงใช้ไฟในการชาร์จอยู่ 300-350 หน่วยต่อเดือน

ดังนั้นการขอมิเตอร์ TOU สำหรับการชาร์จรถ EV เรามองว่า น่าจะคุ้มอยู่นะ เพราะการใช้งานส่วนใหญ่ก็น่าจะเกิน 200 หน่วยที่เป็นจุดคุ้มทุนต่อเดือนอยู่

สรุป

การใช้มิเตอร์ TOU เป็นวิธีการคิดค่าไฟที่เหมือนจะประหยัด แต่เอาเข้าจริง มันไม่ได้ประหยัดกับทุก ๆ คน โดยเฉพาะคนที่ใช้ไฟกลางวันเยอะกว่ากลางคืน เคสนี้คุ้มยากมาก ๆ เว้นแต่จะใช้เกิน 1,500 หน่วย ยังไม่นับเรื่องความเสียเวลาที่ต้องไปติดต่อการไฟฟ้าเพื่อให้มาอีกเรื่องเยอะไปหมดนะ แต่สำหรับคนที่ใช้ไฟกลางคืนเยอะกว่าอันนี้เรามองว่าใช้เกิน 400 หน่วยอะไหวเลยสบาย ๆ กับอีกเคสที่เชียร์ให้เพิ่มคือ คนที่ใช้งานรถ EV แล้วชาร์จแค่ตอน Off-Peak อย่างเดียว ก็จะถูกกว่าเยอะนั่นเอง

ปล. Data ที่เราทำไว้ เราใส่ Google Sheet ไว้ให้ ตรงนี้

Read Next...

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

Trust ความเชื่อมั่น แต่ทำไมวงการ Cyber Security ถึงมูฟออนไป Zero-Trust กัน

คำว่า Zero-Trust น่าจะเป็นคำที่น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย หลายคนบอกว่า มันเป็นทางออกสำหรับการบริหาร และจัดการ IT Resource สำหรับการทำงานในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และ ทำไมหลาย ๆ คนคิดว่า มันเป็นเส้นทางที่ดีที่เราจะมูฟออนกันไปทางนั้น...

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

แปลงเครื่องคอมเก่าให้กลายเป็น NAS

หลังจากเราลงรีวิว NAS ไป มีคนถามเข้ามาเยอะมากว่า ถ้าเราไม่อยากซื้อเครื่อง NAS สำเร็จรูป เราจะสามารถใช้เครื่องคอมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาเป็นเครื่อง NAS ได้อย่างไรบ้าง มีอุปกรณ์ หรืออะไรที่เราจะต้องติดตั้งเพิ่มเติม วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกัน...

รีวิว Ugreen Nexode Pro Charger ที่เบา กระทัดรัดที่สุด

รีวิว Ugreen Nexode Pro Charger ที่เบา กระทัดรัดที่สุด

เมื่อปีก่อน เรารีวิว Adapter 100W จาก UGreen ที่เคยคิดว่ามันเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาง่ายที่สุดไปแล้ว ผ่านมาปีนึง เรามาเจออีกตัวที่มันดียิ่งกว่าจากฝั่ง Ugreen เช่นเดียวกันในซีรีย์ Nexode Pro วันนี้เรากดมาใช้เอง 2 ตัวคือขนาด 65W และ 100W จะเป็นอย่างไร อ่านได้ในบทความนี้เลย...

Tor Network ทำงานอย่างไร ทำไมถึงตามยากนัก

Tor Network ทำงานอย่างไร ทำไมถึงตามยากนัก

ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนนานมาก ๆ แล้ว ตำรวจไทยได้จับกุมเจ้าของเว็บ AlphaBay ขายของผิดกฏหมายรายใหญ่ ซึ่งเว็บนั้นมันอยู่ใน Dark Web ที่จำเป็นต้องเข้าถึงผ่าน Tor Network วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันทำงานอย่างไร และทำไมการตามตัวในนั้นถึงเป็นเรื่องยากกัน...