Technology

EV101 : Battery รถ EV เสื่อมง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ

By Arnon Puitrakul - 13 กุมภาพันธ์ 2023

EV101 : Battery รถ EV เสื่อมง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ

แบตเสื่อม เป็นเหตุที่คนไม่ได้ใช้ EV ส่วนใหญ่เป็นห่วงกันมาก ฟิล ๆ คนใช้ไม่ได้ห่วง คนห่วงไม่ได้ใช้เยอะมาก จนเราไปคุยกับหลาย ๆ คนมา ทำให้เราถึงกับช๊อคกับความจริงที่เจอคือ เขาคิดว่า แบตโทรศัพท์ ไม่ต่างจากแบตรถ BEV เข้ !!!! ช๊อค !!! ก็ว่า ทำไมถึงคิดว่า แบตมันจะเสื่อมอะไรเร็วขนาดนั้น

เราวัดอายุ Battery จากอะไร ?

ปกติ มันจะมีหลากหลายค่าที่จะใช้วัดอายุของ Battery แต่ค่าที่เราใช้วัดกันง่าย ๆ คร่าว ๆ ก็คือ Cycles หรือ ภาษาไทย เราเรียกว่า รอบ นั่นเอง

รอบของ Battery จะคิดเป็น 1 รอบ เมื่อ เราชาร์จ 0% ไปถึง 100% ดังนั้น ถ้าเราใช้จนแบตหมดเลย แล้วเราเสียบให้เต็มเลย นั่นคือ 1 รอบ

แต่โดยปกติ เราจะไม่ได้ใช้จนมันหมดใช่มั้ย งั้นรอบจะคิดยังไงละ ง่ายมาก ๆ สมมุติว่า เราชาร์จจาก 60% เป็น 100% อันนี้เราจะยังไม่นับว่า มันคือ 1 รอบนะ ยังไม่ถึงครึ่งเลย และ อีกรอบ แบตก้อนเดียวกัน เราใช้งานไป เหลือ 40% เราชาร์จจนถึง 100% ตรงนี้แหละ เมื่อมันบวกกันได้ 100% มันก็จะนับเป็น 1 รอบ Battery ทันที

Determine battery cycle count for Mac laptops
Learn how to determine the number of cycles your Mac laptop’s battery has.

ตัวอย่างเช่น Battery ของ Macbook Pro เอง Apple ก็เคลมไว้ว่า สูงสุดของ Macbook Pro จะได้ทั้งหมด 1,000 รอบด้วยกัน นั่นแปลว่า เราจะใช้จนหมด แล้วชาร์จเต็มได้สูงสุด 1,000 รอบก่อนที่แบตจะใช้งานไม่ได้เลย ถือว่าเยอะมาก ๆ แล้วนะ หรือถ้าเป็นพวก iPhone ก็จะอยู่แค่ 500 รอบเองมั้ง

งั้น แปลว่า แบตของ Macbook Pro จะชาร์จได้แค่ 2 เท่าของ iPhone เหรอ คำตอบคือ ไม่จริง ถึงถ้าเราจะนับที่ รอบ มันก็จริง แต่ รอบนึง ของแต่ละอุปกรณ์มันไม่เท่ากันนะ เช่น Battery A ความจุที่ 200 mAh และชาร์จได้ 500 รอบไปเลย แต่ Battery B จุที่ 1,000 mAh ชาร์จได้ 1,000 รอบ

ถ้าเราบอกว่า รอบนึงคือ 0 ถึง 100% เราประมาณเลยละกันว่าความจุไม่ลด ก็ Overestimate ไปเลยเพื่อความง่าย ความจุที่ Battery A จะชาร์จเข้าได้จริง ๆ ก็คือ เอา 200 คูณด้วย 500 ได้ 100,000 mAh แปลงเอา Prefix ออก ก็จะเป็น 100 Ah ส่วน Battery B เราอัดเข้าได้สูงสุดที่ 1,000 Ah เลย ดังนั้นจะเห็นว่า มันขึ้นกับ ความจุ และ จำนวน Cycle ด้วย

แต่ ๆ เราไม่ได้บอกนะว่า มันจะทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ มันเป็นเพียงตัวเลขที่บอกว่า สูงสุด ๆ มันทำได้ขนาดไหน เพราะมันอาจจะมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น อุณหภูมิ ถ้าเราใช้งานในอุณหภูมิสูงเยอะ ๆ มันก็อาจจะใช้งานได้ไม่ถึง เหมือนกับที่เราเห็นในโทรศัพท์ส่วนใหญ่ เช่นบอกว่า 500 รอบ ตีว่า วันนึงเราใช้หมดเลย เราน่าจะใช้ได้ปีกว่า ๆ แต่ ความเป็นจริง มันอาจจะไม่ถึงด้วย เพราะโทรศัพท์เมื่อใช้งาน และชาร์จมันจะร้อน มันก็อาจจะน้อยกว่านั้นหน่อย โดยเฉพาะพวกที่ใช้งานหนัก ๆ จะเห็นภาพเลย

แบตลิเธียมไอออน เกิดมาไม่เท่ากัน

ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า Battery มันมีหลายประเภทมาก ๆ ตั้งแต่แบตตะกั่วกรดที่เราเห็นได้ในรถทุกคัน ก้อนเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงฝากระโปงหน้ารถ 12V จนไปถึงแบตที่เป็นลิเธียมไอออนที่เราใช้กันในหลายอุปกรณ์มาก ๆ เช่น Laptop, Tablet, โทรศัพท์ และ EV เอง

NMC vs LFP Battery Composition

เมื่อเราเข้ามาฝั่งแบตที่เราสนใจในวันนี้คือแบบลิเธียมไอออน ก็จะมีแยกย่อยออกมาหลายประเภทเหมือนกัน เช่น แบตที่เราใช้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ จะใช้งานกลุ่ม Lithium Cobalt Oxide (LCO) หรือถ้าเป็นพวกกลุ่มรถ EV เราก็จะเห็นเป็น Lithium Ion Phosphate (LFP) และ Lithium Nikel Manganese Cobalt Oxide (NMC) ซึ่งมันจะมีความแตกต่างกันในส่วนประกอบของธาตุในขั้ว เป็นหลัก เช่น LFP มันก็จะใช้ขั้วที่เป็นสารประกอบ LiFePO4 หรือ Lithium Iron Phosphate ตามชื่อของมันเลย ในแต่ละประเภท มันก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน

เราเริ่มจากแบตโทรศัพท์ก่อนละกัน ที่เราใช้งานกันเยอะ ๆ จะเป็นกลุ่ม Lithium Cobalt Oxide (LCO) ถามว่า มันดียังไง อย่างแรกที่มันดีเลยคือ ค่าพลังงานจำเพาะ หรือพูดง่าย ๆ คือความหนาแน่นของพลังงานมันสูงมาก ๆ ทำให้ ถ้าเราต้องการพลังงานเท่าเดิม เราสามารถย่อส่วนแบตให้มีน้ำหนักที่เบาขึ้นเหมาะกับการพกพาได้สะดวก แต่กลับกัน คือ การชาร์จ และ การปล่อยกระแสก็จะทำได้ไม่แรงมาก ซึ่งไม่ใช่ปัญหาของอุปกรณ์พวกนี้เท่าไหร่ เพราะจอไม่ใหญ่มาก คอมพิวเตอร์กินไฟไม่เยอะ กับ รอบการชาร์จส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ 500 - 1,000 รอบเท่านั้น

แต่ถ้าเราไปดูแบตที่เราใช้กันใน BEV เอาอันแพง ๆ เลยอย่าง Lithium Nikel Manganese Cobalt Oxide (NMC) เราจะเจอได้ใน BEV ที่ราคาสูงหน่อย เช่น Tesla ทั้งหลายที่เป็น Long Range และ Performance หรือใน ORA Good Cat เองก็จะอยู่ในรุ่น Ultra 500 ข้อดีของแบตพวกนี้คือ ความหนาแน่นของพลังงานแทบจะสู้ LCO ได้เลย ทำให้ในน้ำหนักที่เท่ากัน มันสามารถเก็บพลังงานได้มากขึ้น เบาขึ้น ก็ทำให้รถใช้พลังงานในการขับเคลื่อนมากขึ้น นั่นหมายถึงประสิทธิภาพที่สูงขึ้นอีก แถมยังรองรับอุณหภูมิได้สูงกว่า LCO เยอะมาก ๆ อีกด้วย ทำให้เมื่อเราเอารถไปจอดตากแดด หรือเราโหลด Battery เยอะ ๆ มันก็จะไม่ได้รับผลกระทบมากเท่ากับ LCO นั่นเอง ข้อเสียของ NMC จริง ๆ คือ เรื่องจำนวนรอบการชาร์จ เรากำลังคุยกันอยู่ที่ 1,000 รอบ ++++ เท่านั้น แต่ นั่นก็สูงกว่า LCO เยอะมาก ๆ ทำให้ เราไม่สามารถเอาแบตสำหรับรถ BEV มาเปรียบเทียบกับ แบตโทรศัพท์ได้เลยนะ มันคนละเรื่องกันเลย

ถ้าบอกว่า โหยยย 1,000 รอบมันน้อยไป ขอให้ไปเจอกับ Lithium Ion Phosphate (LFP) พวกนี้ มันสามารถชาร์จไปได้เกิน 2,000 รอบเข้าไปอีก กับอีกข้อดีคือ มันยังมีราคาถูกกว่า และ ทนอุณหภูมิได้สูงกว่า NMC มาก ๆ แต่ข้อเสียมันคือ ความหนาแน่นของพลังงานต่ำมาก ๆ น่าจะเกือบ ๆ น้อยที่สุดในแบตลิเธียมแล้วละ ทำให้มันมักจะไปอยู่ในรถ BEV ที่ไม่ได้เน้นเรื่องประสิทธิภาพสูงมาก ๆ และ วิ่งได้ไกล ๆ อะไรขนาดนั้น เน้นอายุยาว ๆ แบบดุดันไม่เกรงใจใครเลย

ตัวอย่างของ LTP Battery ที่โหด ๆ ก็หนีไม่พ้น Blade Battery ของ BYD อันนั้นคือ เขาเคลมกันระดับ 3,000 รอบเลย ถือว่า​โคตรสูง สูงเ_ย ๆ เลย กับเราว่ามันทำให้มันกินพื้นที่ต่ำกว่าด้วย มันเป็นแผ่น ๆ มันวาง ๆ ต่อ ๆ กันไปได้แน่นมาก ๆ ทำให้ใช้พื้นที่ในการเก็บน้อยลงไปเพิ่มพื้นที่โดยสารได้อีกเยอะเลย กับพอพื้นที่ผิวเยอะขึ้น ศัตรูที่น่ากลัวอย่าง ความร้อน ก็จัดการได้ดีกว่าแบบเดิมที่เป็นทรงกระบอกมาก ๆ ที่คนเขาตื่นเต้นมาก ๆ คือ ความปลอดภัยสูงมาก ดูจากวีดีโอด้านบนที่ BYD เขาทดสอบจะเห็นเลยว่าเมื่อ Battery ฉีกขาด อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุ มันไม่มีไฟพุ่งออกมาเหมือนกับแบบก่อนหน้า ลดโอกาสที่จะไฟไหม้สูงมาก ๆ นั่นทำให้ถึงจะเป็น LTP ที่จุพลังงานได้น้อย แต่โคตรน่าสนใจมาก ๆ

แล้วมันจะวิ่งได้เท่าไหร่ก่อนจะใช้ไม่ได้ละ

ต้องบอกว่า แบต เมื่อเราผลิตออกมา แล้วเริ่มใช้งานมันก็จะเริ่มมีอาการเสื่อมลงเรื่อย ๆ ทำให้ เมื่อเราใช้งานไปเรื่อย ๆ นาน ๆ มันก็จะวิ่งไม่ได้เท่ากับวันแรกที่เราออกจากศูนย์มาละ แต่ถ้าจะให้คำนวณคร่าว ๆ ละกันว่า ถ้าจาก Battery Spec ที่เราเห็นกัน มันน่าจะทำให้เราวิ่งได้ไกลขนาดไหนก่อนที่เราจะต้องเปลี่ยนแบต เหมือนที่ทุกคนเป็นห่วงกัน

เราขอยกตัวอย่าง รถเราเลยละกันคือ ORA Good Cat 500 Ultra ใช้แบตแบบ NMC ความจุ 187 Ah หรือตีเป็นพลังงานที่ 63.1 kWh ด้วยกัน ซึ่งเขาเคลมว่า แบตเต็ม ๆ วิ่งได้ 500 km แต่เอาจริง ๆ เราไม่น่าวิ่งได้ถึงหรอก งั้นเราตีของเราขับไปทำงานทั่ว ๆ ไป เราได้ประมาณ 450km นั่นคือ ประมาณ 1 รอบเลยละกัน แล้วถ้าเราบอกว่า NMC เอาว่า มันชาร์จได้แค่ 1,000 รอบเลย เราก็จะวิ่งได้ประมาณ 450,000 กิโลเมตรแล้วนะ หรือถ้าเราถนอมมันหน่อย เราตีขำ ๆ นะ น้อยไปด้วยซ้ำที่ 1,500 รอบ ก็จะวิ่งได้สุด ๆ เลย ประมาณ 675,000 กิโลเมตร อย่าลืมนะว่า อันนี้เรา Overestimate แต่เราว่า อย่างมาก เราก็น่าจะ Over ไปสัก 30% งั้นลองหักออกไป มันก็จะเหลือ 472,500 กิโลเมตร

หรือถ้าเราไปดูรถที่ใช้แบต LFP อย่าง BYD Atto 3 วิ่งสุด ๆ ตามมาตรฐาน NEDC ที่ 480 km เราตีว่าวิ่งในเมืองเลย เหลือสัก 390 km เลยละกัน และ BYD บอกไว้ว่า มันใช้งานได้ประมาณ 3,000 รอบไปเลย แปลว่า มันจะวิ่งได้สุด ๆ เลยคือ 1.444 ล้านกิโลเมตร เราหักไปครึ่งเลยก็ได้ เผื่อว่า เออ รับไม่ได้ว่า แบตเสื่อมเท่านั้นเท่านี้ กับ BYD อาจจะตอแหล ก็ 7 แสนกว่าแล้วนะ มันเลยคำว่า รถบ้านไปไกลแล้วนะ

ในต่างประเทศที่เขานำหน้าเราใช้กันไปนานมาก ๆ แล้ว ก็มีเคสที่ไปกันได้ถึง 1 ล้านกิโลเมตรกันไปแล้ว ถ้าเราบอกว่า เออ สภาพอากาศเมืองไทย กับฝั่งโน้น บ้านเราร้อนกว่า ทำให้แบตเสื่อมเร็วกว่าแน่ ๆ เอาแบบ ร้อนจัด ๆ เลย เราว่าไม่น่าทำให้มันตกเร็วกว่าเขาถึง 50% หรอก แปลว่า แย่สุด ๆ เราวิ่งได้แค่ 5 แสนกิโลเมตร ก็ยังถือว่า เยอะอยู่ดี

มันจะมีอีกส่วนคือ ความกังวลเรื่องที่ เราไม่ได้ขับนาน ๆ เช่น อาจจะไม่ได้ขับเป็นปี ๆ หรือหลาย ๆ เดือน เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ถ้าเราจอดรถทิ้งไว้หน้าบ้าน แล้วเหลือ SoC ทิ้งไว้สัก 50-60% เราก็จอดทิ้งไว้ได้ชิว ๆ อยู่แล้ว ความเสื่อมันก็ต้องเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่ถามว่า มันเยอะจนน่าเป็นห่วงมั้ย เราว่าไม่ขนาดนั้น เว้นแต่ เราจะจอดทิ้งไว้สัก 10 ปี เราว่าแบต 12V น่าจะเกมไปตั้งแต่เดือนแรกแล้วมั้ง หรือเร็วกว่านั้นอีกด้วยซ้ำ

ปัญหาแบตเสื่อมน่ากลัวขนาดนั้นเลยเหรอ

ทำให้นำไปสู่คำถามที่ว่า ปัญหาแบตเสื่อมที่หลาย ๆ คนกังวลกันมันน่าจะกลัวขนาดนั้นเลยเหรอ จากที่เราคำนวณกันมันวิ่งได้เยอะมาก ๆ มันเลย คำว่า รถบ้าน ไปไกลมาก ๆ แล้วนะ เช่นถ้ามันวิ่งได้แค่ 4 แสนโล เราว่ายังไงก็เลยไปแล้ว เพราะรถส่วนใหญ่ที่เราเห็น ก็ไม่เกินแสนโล ก็ขายกันแล้ว

ตีว่าคนทั่ว ๆ ไปขับรถ ตามที่ศูนย์กำหนดเลย 10,000 โล ใน 6 เดือน ปีนึง 20,000 โล ถ้าเราใช้งานสัก 5 ปีโดยเฉลี่ย เราก็จะวิ่งกันอยู่แค่ 100,000 โลเท่านั้นเอง ห่างไกลกับระยะทางที่เราคำนวณกันไปไกลมาก และห่างจากประกันด้วยซ้ำ เว้นแต่ซื้อมาทรมานแบตเล่น เอาไฟจุดเผา หรือทำให้มัน Overheat เล่น ๆ หรือไม่ก็ตัดสาย Coolant มันเล่น ก็อาจจะไม่ถึงแหละ

หรือถ้ากลัวเรื่อง เสื่อมแล้วมันวิ่งได้ไม่ไกล เราว่า รถที่ราคาสูงพอใช้งานเป็นรถคันแรกหน่อย ณ วันที่เขียนวิ่งได้เกิน 400km หมดละ ถ้าบอกว่า เสื่อมแบบแย่ ๆ เลย เอาไปสัก 50% ก็คือ เหลือ 200km ถามว่ามันยังใช้งานได้อยู่มั้ย คำตอบ คือ ได้ เพราะระยะการเดินทางของคนส่วนใหญ่ไม่ถึง 100km ต่อวันด้วยซ้ำ

เราไม่นับพวกที่บอกว่าเปลี่ยนเป็น Module ได้นะ เพราะเรายังไม่เห็นวันนี้ อนาคตอาจจะได้เห็น เพราะถ้ามันเสื่อมจนจะเปลี่ยนจริง ๆ เอาจริง ๆ เลยนะ ถึงตอนนั้นเราเปลี่ยนรถหนีไปนานแล้ว เปลี่ยนก่อนแบตจะเสื่อมอีกด้วยซ้ำ

ดังนั้นปัญหาแบตเสื่อม เราว่ามันไม่ใช่ประเด็นเลย แบบ ไม่ใช่เลย ห่างไกลมาก ๆ เราว่า เอาเวลาไปกลัวเรื่อง อุบัติเหตุดีกว่า เมื่อมันเกิดความเสียหายกับ Battery จนต้องเปลี่ยน ประกันในไทยยังไม่โอเคกับเรื่องนี้เท่าไหร่

ขายมือสอง

หลังจากเขียนเสร็จ เราพยายามมานั่งหาข้ออ้างว่า ทำไมคนกลัวเรื่องแบตเสื่อมขนาดนั้น จนไปที่ว่า เมื่อเราใช้รถเสร็จ ส่วนใหญ่ เรามักจะขายเป็นรถมือสองไป ซึ่งถ้าเรายังวิ่งอยู่ไม่กี่ปี ยังไม่ถึงประกัน หรือเลขไมล์ไม่ถึงที่ประกันกำหนด เราว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ในทาง Logic อะนะ เพราะคนเน้น Emotion เป็นหลักอยู่แล้ว

Tesla มือสอง ราคาแพงกว่ารถใหม่ เพราะอะไร? - Electric Vehicle EV |
ปกติแล้วรถยนต์มือสอง มักจะมีราคาถูกกว่ารถใหม่ป้ายแดงราว 30-60% ทว่าไม่ใช่กับรถยนต์ Tesla ที่รถมือสองมีราคาเทียบเท่า หรือสูงกว่ารถใหม่ป้ายแดง ทั้งๆ ...

แต่กลับกัน ถ้าเลขไมล์ที่ขับ หรือ ปี มันเกินประกันไปแล้ว อันนี้เราแอบเป็นห่วง เรื่องของราคาขายมือสอง เพราะอย่างที่บอกคือ คนเน้น Emotion ไม่ได้เน้นเรื่อง Logic เท่าไหร่ ถ้าคนยังกลัว ราคามันตกแน่นอน แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นกับในต่างประเทศฝั่ง US หรือ EU เลย เพราะ Tesla กลับกลายเป็นว่า ขายมือสอง ราคาขึ้นเฉย งงมาก เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นกับวงการรถยนต์เท่าไหร่ หรือถ้าถูกกว่า อาจจะมาในรูปแบบที่หารราคาต่อปีออกมา ถูกกว่าเช่ารถเฉย

เรื่องนี้ เรายังไม่สรุปนะว่า มันจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ยังไม่รู้เหมือนกัน ไม่เคยเจอเหตุการณ์นี้ในไทย หรือในโลกเลย แต่สาเหตุที่ฝั่งโน้นมันเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น เราคิดว่าเป็นเพราะ 2 ประเด็นใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ Supply มันน้อยกว่า Demand มาก ๆ การผลิตมันช้ากว่าการที่คนอยากได้ คนต้องใช้เวลาจองนานมาก ๆ กับ ราคาที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ตามใจ Elon กว่าจะได้รถ ประกอบกับ จากข้อมูลการใช้งานที่ผ่านมา มันทำให้เห็นแล้วว่า Tesla ทำรถที่วิ่งได้หลักล้านกิโลเมตรมาแล้ว การซื้อมือสองที่หลักไม่กี่แสนโล มันก็ยังค่อนข้างมั่นใจว่า มันใช้งานได้อยู่ ทำให้พวกคนขายรถมือสอง สามารถอัดราคาให้แพง เพื่อให้คนที่ไม่อยากรอรถนาน ๆ เอาไปได้เลย

แต่ถ้าเราบอกว่า เราไม่ได้ขับ Tesla แล้วเหตุการณ์นี้ไม่น่าเกิดขึ้นได้จริง ถามว่า เมื่อเราขายรถมือสอง เราคิดว่า ราคาหล่นฮวบ ๆ แน่ ๆ ทำให้เราไม่สามารถขาย เพื่อเอาเงินก้อนไปดาวน์รถใหม่ได้ แต่ ๆๆ EV พวกนี้ มันคิดกลับด้านกัน มันจะต้องไปเก็บในส่วนที่เราประหยัดเชื้อเพลิงได้ ทำให้ในความเป็นจริง มันจะมีจุดคุ้มทุนที่ส่วนต่างค่าเชื้อเพลิงและ Maintenance และประกัน มันจะไปถึงค่าดาวน์รถได้ ถึงตอนนั้น เราไม่ต้องแคร์แล้วว่าคนที่รับซื้อจะให้เราเท่าไหร่ เพราะมันกำไรไปแล้ว มันเป็นการเปลี่ยน Mindset ในการวางแผนทางการเงินเลยแหละ

เราเลยลองคำนวณขำ ๆ เทียบกับ Honda City 1.0L ที่เราเคยขับ เราประมาณไว้เฉลี่ยกิโลเมตรละ 2 บาท ด้วยค่าน้ำมันเมื่อปี 2021 เทียบกับ ORA Good Cat ที่เราขับอยู่ เราได้อยู่ 12 kWh/100km กับบ้านที่ลง Solar Cell แล้วชาร์จช่วง Off-Peak จะได้อยู่ที่ประมาณ 2.49 บาท/kWh ทำให้หารออกมาจะได้ที่ 0.3 บาท/กิโลเมตร อันนี้ยังไม่รวม เรื่องค่าประกันที่ EV สูงกว่าเห็น ๆ กับ ค่าบำรุงรักษาที่ EV ต่ำกว่า ICE หลายขุม (ปีนึง เราเสียเงินค่าเปลี่ยนที่ปัดน้ำฝน 567 บาท แค่นั้น)

เราลองเอาส่วนต่าง เทียบกับระยะทางมา Plot ดูตีกว่า ถ้าเราขับไปสัก 3 แสนกิโลเมตร ก็คือ ส่วนต่างเราเทียบ ORA Good Cat กับ Honda City RS 1.0L ที่เราเคยขับ มันจะได้ส่วนต่างค่าเชื้อเพลิงอยู่ที่ 510,000 บาท และ ถ้าเราขับไป 4 แสนกิโลเมตร เราจะได้ส่วนต่างที่ 680,000 บาท ย้ำว่า ถ้าน้ำมัน และ ไฟฟ้าไม่ขึ้นราคา (อีน้ำมันนี่คือ บวกเอาบวกเอา สั่นกลัวทุกเย็น) เราว่า 4 แสนโล อะ อาจจะไม่ถึง เราเอาที่ 3 แสนโล และ เราถือว่า เราไม่ขาย เราทิ้งซากเล่น ๆ ขำ ๆ ไม่ก็เอาไประเบิดเล่น เราก็จะมีเงินมาดาวน์รถที่ 5 แสนกว่าบาท ก็คือ ถ้าจะซื้อรถ 1 ล้านบาทเท่าเดิม ก็ดาวน์ 50% ไปเลยจุก ๆ

สรุป

สิ่งที่เราจะเล่าในวันนี้อย่างแรกคือ แบตโทรศัพท์ และ แบตสำหรับ BEV มันคนละเรื่องกันเลยนะ ถึงจะเป็นแบตลิเธียมเหมือนกัน แต่มันเกิดมาไม่เท่ากัน คนละประเภทกันเลย อายุการใช้งาน เราจะเอาโทรศัพท์มาจินตนาการไม่ได้เลยด้วยซ้ำ กราบละ อย่าเอาโทรศัพท์มาเทียบเลยนะ อายุการใช้งานของมันเท่าที่เราลองคำนวณขำ ๆ มัน Beyond รถบ้านไปไกลมาก ๆ (หรือระดับรถขนส่งก็น่าจะกลาง ๆ) อยู่แล้ว ทำให้เรา งง ประเด็นที่กลัวแบตเสื่อมมาก ๆ มันไม่น่าจะเป็นประเด็นแล้วนะ กลับกันเรื่องที่เราเป็นห่วงคือ ประกันส่วนใหญ่มันจะอยู่ที่ 180,000 km หรือ 8 ปี เราจะได้ใช้มั้ยดีกว่า.....

Read Next...

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

Apple M4 รุ่นไหนเหมาะกับใคร

หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

Cloudflare Access ของดีขนาดนี้ ฟรีได้ไงวะ

จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

Mainframe Computer คืออะไร ? มันยังมีชีวิตอยู่ใช่มั้ย ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

Infrastructure as Code คืออะไร ทำไมถึงสำคัญมากในปัจจุบัน

เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...