By Arnon Puitrakul - 17 มิถุนายน 2022
อย่างที่เราเคยรีวิว iPad Pro 2018 เมื่อเกือบ 4 ปีที่แล้ว มาในปี 2022 นี้ เราก็ยังคงใช้อยู่ ไม่ได้ Upgrade แต่อย่างใด วันนี้เราเลย อยากจะพามาดูกันว่า iPad ที่ใช้งานมากว่า 3-4 ปี มันจะเป็นยังไง อะไรที่ใช้ได้ หรือไม่ได้อย่างไรบ้างมาดูกัน
สปอยว่า ไม่ต่างจาก iPhone 13 ที่ใช้ SoC Apple A15 ที่เป็นตัวล่าสุดเลย
iPad รุ่นที่เราจะพูดถึงในวันนี้คือ iPad Pro 11-inch 2018 ที่มาพร้อมกับ SoC แบบ Apple A12X Bionic ที่เรียกได้ว่า แรงที่สุดในตระกูล A-Series ตอนนั้นแล้ว แรงกว่า Apple A12 ที่อยู่ใน iPhone Xs อะไรตอนนั้นเยอะเลย โดยเฉพาะ GPU ที่แรงมาก ๆ ทำให้เราเล่นเกม หรือทำงานที่เป็น Graphic หนัก ๆ ได้สบายเลย
ตัวอย่างที่เราทำหนัก ๆ มากจริง ๆ คือการใช้งานพวก Affinity Photo โดยเฉพาะเรื่องของการไดคัตรูปที่มันทำได้ดีมาก ๆ เลือกได้ละเอียดยันปอยผม ซึ่งแน่นอนว่าการทำงานแบบนี้ มันจำเป็นที่จะต้องใช้ GPU พลังมหาศาลมาก ๆ ในการที่จะทำอะไรแบบนั้น แต่ iPad Pro เราก็สามารถจัดการมันได้อย่างสบาย ๆ เลย
ตัวหน้าจอก็ยังมาพร้อมกับ หน้าจอแบบ Liquid Retina display ขนาด 11 นิ้ว ความละเอียด 2388x1668 pixel ที่รองรับการแสดงผลขอบเขตสีกว้าง (Wide Colour P3) พร้อมกับ True Tone Display และ ProMotion ที่เราขาดไม่ได้เลย ทำให้เราสามารถดู Content ได้ที่ความชัดแบบสุด ๆ และรองรับมาตรฐาน HDR ถึงระดับ Dolby Vision เลยทีเดียว เต็ม ๆ แน่นอน
พวกนี้ก็จะเป็นส่วนที่เราใช้งานกับมันบ่อย ๆ ส่วนพวกสเปกอื่น ๆ กลับไปอ่านได้ที่รีวิวของเราด้านบนได้เลย
พวก SoC ของ Apple เราต้องยอมรับเลยว่า มันทำออกมาได้ล้ำยุคมาก ๆ ในแต่ละรุ่นที่ออกมา เรียกได้ว่า Performance มันล้นคู่แข่งในปีเดียวกันไปพอสมควรเลย ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป กว่ามันจะเก่าได้ มันก็ต้องใช้เวลาหน่อยแหละ ซึ่งเราก็เคยสงสัยว่า เออ ถ้าเราเอามาเทียบกับพวก A-Series ใหม่ ๆ อย่างในปี 2021 ก็จะเป็น A15 Bionic
ถ้าเราเอามาเทียบเลย ผ่าน App สำหรับการทำ Benchmark อย่าง Geekbench เราจะเห็นเลยว่า คะแนนของ A12X บน iPad Pro 2018 กับ A15 บน iPhone 13 Pro Max ที่เป็นรุ่นล่าสุด ต่างกันไม่เยอะเท่าไหร่เลยนะ โดยเฉพาะ Multicore Performance ส่วนนึงเป็นเพราะตัว A12X มันมาพร้อมกับ CPU 8 Core แบบ big.LITTLE ที่แบ่งเป็น 4 Core Performance และ 4 Core Efficiency (พวก Heterogenous CPU Core มันมีมานานมาก ๆ แล้ว ไม่ได้พึ่งเกิดใน M1 เลยนะ) ส่วน A15 มากับ CPU แค่ 6 Core เท่านั้น เลยทำให้ถึงมแม้ว่า A15 จะมี Single-Core Score สูงกว่า แต่ Multi-Core Score ก็ยังสู้ A12X ไม่ได้อยู่ดี แต่เอาจริง ๆ เลยนะ ถามว่า มันต่างกันขนาดนั้นเลยมั้ย ก็ไม่นะ 100 กว่าคะแนนเอง
นั่นทำให้ การทำงานของ iPad Pro 2018 ยังคงลื่นไหลได้อยู่แม้เวลาจะผ่านมา 4 ปีแล้ว งานที่ iPhone 13 Pro Max ทำได้ iPad Pro 2018 ก็ยังทำได้แบบเนียน ๆ ไม่ต่างกันเลยด้วยซ้ำ เราใช้อยู่ทั้ง 2 เครื่อง บอกเลยว่า การทำงานหนัก ๆ หลาย ๆ ก็ทำได้แทบไม่ต่างกันเลย
จากที่เราเห็นในเรื่องของ Performance มันก็ยังสู้กับ SoC รุ่นใหม่ ๆ ที่เปิดตัวทีหลังอย่าง Apple A15 ได้สบาย ๆ เลย แล้วในแง่ของการใช้งานละ มันเป็นอย่างไร
การใช้งานเราต้องยอมรับเลยนะว่า มันยังใช้งานได้แบบไม่มีปัญหาเลย ไม่ว่าเราจะเอาอะไรมาโยนใส่มัน ไม่ว่ามันจะเป็นพวก ไฟล์ RAW จากกล้อง A7R IV มันก็ยังไม่แคร์ ตัว Affinity Photo มันก็ยังเอาอยู่เหมือนเป็นไฟล์ JPG ทั่ว ๆ ไปอยู่ดี
หรือจะเป็นการเล่นเกมที่ เกมใหม่ ๆ บน Apple Arcade เราก็ยังเล่นได้แบบลื่น ๆ ปกติเลยนะ ไม่ได้มีอาการกระตุกอะไรทั้งสิ้น ทำให้เกมง่าย ๆ อย่างพวก ROV อะไรแถว ๆ นั้น ก็คือ 60 FPS นิ่ง ๆ ไปเลย กับยิ่งเราเสียบสายแลนผ่านพวก Dongle ก็ยิ่งทำให้ Latency ต่ำลงไปอีกได้ระดับแบบ 3ms กันไปเลย เล่นกันลื่น ๆ ทั้งเน็ต และ Graphic ไปเลย
ตอนเราซื้อ iPad Pro เครื่องนี้มาใช้งาน ตอนนั้นเราเรียน โท ปีแรก ๆ อยู่ซึ่งทำให้เราใช้เครื่องเรียกได้ว่า เป็นเครื่องหลักในการเรียนทุกวันเลย ตั้งแต่การจด Lecture จนไปถึงการทำงานเอกสารหลาย ๆ อย่าง ตอนนั้นก็คือพก แค่ iPad เครื่องเดียวไปเรียนเลย แทบไม่ถือ Laptop เลย เพราะมันหนักมากเมื่อเทียบกับ iPad เอง ตอนนั้นเราว่า Battery Cycle น่าจะขึ้นเยอะเลยละ
ผ่านมาเกือบ ๆ 4 ปี ตอนนี้เราก็ยังรู้สึกว่า Battery มันก็ยังได้อยู่นะ ก็ยังใช้งานได้อยู่เลย แต่อาจจะใช้งานไม่ได้นานเท่ากับตอนแรกแล้ว เดี๋ยวจะลองใช้ไปเรื่อย ๆ แหละ ว่ามันจะเสื่อมแบบสุด ๆ ตอนไหน แล้วเราค่อยเอาไปเปลี่ยนทีเดียวเลยละกัน เพราะเอาจริง ๆ เราว่าเครื่องมันน่าจะยังใช้ได้อีกนานเลยละ
การที่ทำให้ Hardware อายุกว่า 4 ปี ที่ผ่านการใช้งานมาอย่างหนักหน่วง และ มีการ Update Software มาหลายรุ่นแล้ว แต่ก็ยังทำให้มันลื่นได้อยู่นั้น เรามองว่า มันเป็นเรื่องของการ Optimisation ที่ดีเยี่ยม เพราะต้องเข้าใจว่า SoC ที่ใส่มาอย่าง Apple A12X เอง ชื่อมันก็บอกอยู่ว่า มันเป็นของ Apple เอง ทำให้ Apple ที่เข้าใจโครงสร้างของ SoC สามารถออกแบบ Software ที่ทำงานได้อย่างราบลื่นนั่นเอง
อีกเรื่องที่เราประทับใจ Apple มากคือ ระยะเวลาในการ Support Software ถ้าเรามองไปที่ Android Tablet เลยเอาจริง ๆ นะ เขาจะ Support เรากี่ปีกัน ไม่ต้องพูดถึงเรื่อง Major Version เลยนะ เอาแค่ Security Patch เถอะ บางทีถ้าเขาไม่สนใจแล้วก็ถือแพ กันอย่างเร็วเลย แต่มาในฝั่งของ iPad Pro เครื่องเราเอง ที่ผ่านมาเกือบ ๆ 4 ปีแล้ว Apple ก็ยัง Support Software ออกมาเรื่อย ๆ ทำให้เรารู้สึกว่า เออ มันก็ยังใช้งานได้ต่อเลยนะ Software ตัวใหม่ ๆ ก็มา กับ Performance ของเครื่องก็ยังเอาอยู่ ทำให้เราค่อนข้างประทับใจมาก ๆ ไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่บ่อย ๆ
แต่ เราจะบอกว่า ด้วย iPad OS ใหม่ที่พึ่งเปิดตัวไปในงาน WWDC 2022 ที่ผ่านมาทำให้ iPad Pro 2018 ก็ไม่สามารถใช้ Feature พวก Stage Manager ได้นะ เพราะว่า Memory ที่มีมันไม่เพียงพอกับการที่จะรัน Feature พวกนี้ได้ คือ ส่วนตัวเรายอมรับแล้วว่า มันก็เท่านี้แหละ ไม่ได้น่าจะมีอะไรใหม่มากเท่าไหร่กับ iPad Pro ที่ออกมา เรียกว่า 4 ปีแล้ว
iPad Pro 11-inch 2018 เราบอกเลยว่า ยังน่าสนใจอยู่นะ เพราะการใช้งานมันยังทำได้ดีมาก ๆ เลยทีเดียว แต่ถามว่า ถ้าเราจะซื้อ iPad ใหม่ ก็ไม่แนะนำให้หาทำไปหา iPad Pro 2018 มาใช้นะ เพราะต้องยอมรับว่า iPad Air หรือ iPad Mini ตัวปัจจุบันเองที่ใช้ SoC A14 และ A15 มันก็ทำงานได้ดีกว่า A12X ไปแล้วละ กับใช้พลังงานน้อยกว่า แต่สิ่งที่เราจะบอกคือ เมื่อเวลาผ่านไป A12X ที่เคยแรงจนไม่รู้จะทำอะไร ตอนนี้ก็ยังไม่รู้จะเอาความแรงไปทำอะไรเหมือนเดิม ฮ่า ๆ
หลังจากเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน Apple ออก Mac รัว ๆ ตั้งแต่ Mac Mini, iMac และ Macbook Pro ที่ใช้ M4 กันไปแล้ว มีหลายคนถามเราเข้ามาว่า เราควรจะเลือก M4 ตัวไหนดีถึงจะเหมาะกับเรา...
จากตอนก่อน เราเล่าเรื่องการ Host Website จากบ้านของเราอย่างปลอดภัยด้วย Cloudflare Tunnel ไปแล้ว แต่ Product ด้าน Zero-Trust ของนางยังไม่หมด วันนี้เราจะมาเล่าอีกหนึ่งขาที่จะช่วยปกป้อง Infrastructure และ Application ต่าง ๆ ของเราด้วย Cloudflare Access กัน...
ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Mainframe Computer กันมั้ย เคยสงสัยกันมั้ยว่า มันต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปอย่างไรละ และ Mainframe ยังจำเป็นอยู่มั้ย มันได้ตายจากโลกนี้ไปหรือยัง วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันเลย...
เคยมั้ยเวลา Deploy โปรแกรมสักตัว เราจะต้องมานั่ง Provision Infrastructure ไหนจะ VM และ Settings อื่น ๆ อีกมากมาย มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเรามีเครื่องมือบางอย่างที่จะ Automate งานที่น่าเบื่อเหล่านี้ออกไป และลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Infrastructure as Code กัน...